Home > ฝุ่นพิษ PM2.5

สร้างเกราะป้องกันให้ปอด เพราะโควิดยังไม่จบ และ PM 2.5 ก็มาเหมือนนัดกันไว้

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว อีกทั้งโควิด-19 ที่อยู่กับเรามาเกือบ 2 ปี ก็ปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลาจนคาดเดาไม่ถูกว่าจะจบลงเมื่อไหร่ นอกจากนั้น PM 2.5 ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายก็มาเป็นประจำทุกปีประหนึ่งนัดกันไว้ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปอด” อวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ดังที่ทราบกันดีกว่า “ปอด” เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจที่สำคัญมาก ทำหน้าที่กรองอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งต้องทำอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ตราบเท่าที่ยังต้องหายใจ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่อื่นๆ ทั้งควบคุมและขับสารต่างๆ อย่างแอลกอฮอล์ออกจากระบบเลือด ควบคุมสมดุลความเป็นกรด-ด่างในเลือด กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของปอด ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจดูแลและสร้างความแข็งแรงของปอดมากขึ้นเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วโควิด-19 อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปในที่สุด ประกอบกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงและฝุ่น PM 2.5 ที่ต้องพบเจอเป็นประจำล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อปอดทั้งสิ้น “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงได้รวบรวมวิธีการสร้างความแข็งแรงให้กับปอดมาฝาก เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแรงให้กับปอดของเราในระยะยาว วิธีดูแลปอดให้แข็งแรงสุขภาพดี 1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่ แน่นอนว่าการสูบบุหรี่และควันบุหรี่คือตัวการทำร้ายปอดตัวฉกาจ และยังสร้างความระคายเคืองต่ออวัยวะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องปาก ลำคอ หลอดลม และอวัยวะภายใน ดังนั้นถ้าอยากให้ปอดมีสุขภาพดีควรงดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพื่อถนอมปอดไม่ให้ทำงานหนักเกินความจำเป็น 2. บริหารปอดด้วยการหายใจลึกๆ หายใจให้อิ่ม

Read More

ไฟไหม้ฟาง: ฝุ่นพิษเริ่มจาง มาตรการหดหาย

ข่าวความเป็นไปของฝุ่นพิษ PM2.5 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้สร้างความตื่นตัวในประเด็นว่าด้วยสุขภาพให้กับสังคมไทยอย่างเอิกเกริก และส่งผลให้กลไกภาครัฐต้องขยับตัวเร่งแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการหลากหลาย ซึ่งสะท้อนวิถีความคิดและศักยภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งอยู่ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยเผชิญกับภาวะมลพิษทางอากาศ และคุณภาพอากาศเลวร้ายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ PM10 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝุ่นจากผลของการก่อสร้าง ขณะที่ฝุ่นพิษ PM2.5 ก็เคยปรากฏให้เห็นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากแต่ได้รับการประเมินว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “ตามฤดูกาล” และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนทัศน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับสำนึกตระหนักทางสังคมในมิติดังกล่าวทำให้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 เกิดขึ้นซ้ำซากในแต่ละปี และพร้อมที่จะทวีความหนักหน่วงรุนแรงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามปริมาณฝุ่นที่สะสมอยู่ในสภาพแวดล้อม ขณะที่แหล่งที่มาหรือต้นทางแห่งการเกิดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังดำเนินไปอย่างเป็นปกติ โดยไม่ได้มีมาตรการระยะยาวในการจัดการที่เป็นรูปธรรมมากนัก ประเด็นที่น่าสนใจจากความพยายามของกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นมิติของการขับเคลื่อนองคาพยพของหน่วยงานราชการ เมื่อการประชุมในระดับคณะรัฐมนตรีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวรวมมากถึง 11 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักนายกรัฐมนตรี แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใต้กลไกรัฐที่กำกับดูแลเหล่านี้ พยายามระบุว่า กรอบแนวคิด

Read More