Home > โควิด-19 (Page 26)

ผ่อนปรนคลายล็อกดาวน์ กับความเสี่ยงโควิด-19 ระบาดซ้ำ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยดูจะสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและได้ผลดีในการยับยั้งโรคอุบัติใหม่ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งมาตรการทางการสาธารณสุขที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้กลับส่งผลลบเป็น ยาแรง ที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปได้รับผลสั่นสะเทือนและนำไปสู่การที่รัฐต้องออกมาตรการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง การประกาศต่ออายุพระราชกำหนดฉุกเฉินออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ในด้านหนึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจในศักยภาพการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกปกติของรัฐ ขณะเดียวกันมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมบางประเภท หรือการผ่อนคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะให้สังคมเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับการควบคุมโรค กระนั้นก็ดี การผ่อนคลายซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมดังกล่าวจะมีการประเมินผลอีกครั้งใน 14 วัน บนฐานความคิดที่ว่าหากมีตัวเลขคงที่ของการติดเชื้อแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ รู้วิธีการจัดการตัวเองและกิจกรรมของตัวเอง การผ่อนคลายก็อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่หากในช่วง 14 วัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องถอยหลังกลับมาเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด การผ่อนคลายมาตรการของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ต่อและประชาชนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมากขึ้นนี้ ในด้านหนึ่งได้นำไปสู่ข้อกังวลในขีดความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของรัฐ เพราะภายใต้แนวความคิดว่าด้วย ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ที่กำลังโหมประโคมให้เป็นสำนึกใหม่ของสังคมไทยนั้น ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐยังย่ำเดินอยู่บนวิถีเดิมว่าด้วยการออกมาตรการควบคุมและขู่บังคับ มากกว่าการเอื้ออำนวยให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่ดำเนินไป ทัศนะคิดที่ประเมินว่าประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการอาจอาศัยมาตรการผ่อนคลายดังกล่าวกระทำการที่ไร้ความรับผิดชอบ หรือขาดวินัย เป็นทัศนะล้าหลัง ที่นำเสนอในมิติของความปรารถนาดีที่ไร้เหตุผลและในทางกลับกันทัศนะที่ว่านี้ยังมีลักษณะดูแคลนสติปัญญาของผู้คนในสังคมอย่างไร้ความรับผิดชอบที่สุด ความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ดำเนินอยู่ในทุกวินาทีและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่กลไกรัฐและผู้บริหารนโยบายด้านการสาธารณสุขควรให้ความสำคัญและบริหารจัดการจึงควรอยู่ที่การขยายขีดความสามารถและศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย ควบคู่กับการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าปัจจุบันมีเตียงหรือกลไกในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อทั่วประเทศได้มากน้อยเพียงใด ความตื่นตัวในการป้องกันและหลีกเลี่ยงที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้คนในสังคมไทยดำเนินไปอย่างกว้างขวางมาตลอดช่วงเวลาเดือนเศษของการแพร่ระบาดโควิด-19 แล้ว ความวิตกกังวลว่าการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหม่ในลักษณะของ

Read More

ซีอีโอของสตาร์บัคส์เชื่อมั่นว่า ผู้คนล้วนต้องการ “Third Place” อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

เควิน จอห์นสัน ประธานกรรมการบริหารของสตาร์บัคส์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงลูกค้าและพนักงาน หรือที่สตาร์บัคส์เรียกว่า “พาร์ทเนอร์” ทั่วโลก หลังจากที่ร้านสาขาในสหรัฐอเมริกาได้ทยอยกลับมา “เปิดให้บริการอย่างรับผิดชอบ” (responsibly re-opened) อีกครั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน สตาร์บัคส์พร้อมเข้าสู่กลยุทธ์ “now normal” ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาของสตาร์บัคส์ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยยังคงคำนึงถึงและให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของลูกค้าและพาร์ทเนอร์เป็นหลักสำคัญ “ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้คนทั้งโลกต่างต้องรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ภาพแห่งพลังความร่วมมือร่วมใจของมวลมนุษยชาติ ภาพของผู้คนที่เสียสละทำงานเพื่อส่วนรวม อีกทั้งความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นตั้งใจ และทัศนคติเชิงบวกของทุกคน คือแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้” คุณเควินกล่าว “หลังจากที่พวกเราในอเมริกาต้องอยู่บ้านมาเป็นเวลากว่า 7 สัปดาห์ เราได้ติดตามสถานการณ์ ปรับตัวอย่างรวดเร็ว และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ยุค now normal” คุณเควินกล่าว “และเมื่อทุกคนเริ่มทยอยออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน เราต่างโหยหาและต้องการกลับมามีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน อย่างไรก็ตาม ลูกค้ายังคงต้องการประสบการณ์ที่ปลอดภัย คุ้นเคย และสะดวกสบาย ดังนั้นเราจะนิยามอนาคตของสตาร์บัคส์ไปตามความต้องการของลูกค้า และสังคมที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยคำนึงถึงสุขอนามัยและความปลอดภัยเป็นอันดับแรก” “สตาร์บัคส์มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ Third Place หรือ บ้านหลังที่สามของผู้คน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ลูกค้าต้องการ นั่นคือ

Read More

ส่องชีวิตงานฮอตยุคโควิด-19 กับบทเรียน “ท้อได้ แต่แพ้ไม่ได้”

ปี พ.ศ. 2563 เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งความไม่คาดฝันสำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องสั่นสะเทือน ไม่เพียงแต่จำนวนผู้คนที่ล้มป่วยหรือเสียชีวิต แต่ภาคเศรษฐกิจก็ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก บ้างก็ต้องปิดตัวลงเพราะขาดรายได้ยาวนาน โดยรายงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่จำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว โดยมีการใช้มาตรา 75 (ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) ไปแล้วกว่า 2,237 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 15 เท่า จากปี 2562 และมีลูกจ้างได้รับผลกระทบแล้วกว่า 448,611 คน ชวลิต แซ่จัง มัคคุเทศก์หนุ่มที่พ่วงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง และคมสัน โชยดิรส ผู้ช่วยเชฟในโรงแรมหรูย่านศรีนครินทร์ สองหนุ่มคนขับแกร็บที่เพิ่งจะหันมารับงานอย่างจริงจังได้เกือบสองเดือน คือตัวอย่างของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 จากที่เคยต้องตื่นเช้าไปทำงานประจำในทุก ๆ วัน กลับต้องพบกับบททดสอบชีวิตครั้งสำคัญ ชีวิตพลิก เมื่อคลื่นซัด “นอกจากทำงานในบริษัท ผมยังรับหน้าที่เป็นไกด์ออกหน้างาน ทั้งงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ ขายงานเอง และงานอื่น ๆ

Read More

ทำผ้าทอเก็บเงินตั้ง ‘กองทุนหมู’ ชาวดอยห้วยตองก๊อรับมือสู้โควิด

ชาวดอยห้วยตองก๊อเมืองสามหมอกรับมือสู้โควิด-19 นักวิจัยแนะนำเงินที่ได้จากการทอผ้ามาตั้ง “กองทุนหมู” กับดอยสเตอร์ เป็นรายได้เสริมยามขาดนักท่องเที่ยวและจำหน่ายผ้าทอไม่ได้ เพื่อเป็นธนาคารอาหารที่เสริมความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน พร้อมวางแผนปรับสินค้า วิธีขาย และการตลาดมากขึ้นในอนาคต นายสมภพ ยี่จอหอ นักวิจัยและพัฒนาจากดอยสเตอร์ ผู้รับทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า-เอสเอ็มอี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ในโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อแรกเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกคนวิตกกันมากเพราะไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะชาวดอยบ้านห้วยตองก๊อ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีการผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติที่มีลวดลายผ้าเป็นเอกลักษณ์และมีศักยภาพทางการตลาดสูง ทำให้สินค้าของชุมชนภายใต้แบรนด์ "ตองก๊อแฟมิลี่" ร่วมกับดอยสเตอร์เป็นที่รู้จักและจดจำในตลาด ต้องหยุดชะงักไปพร้อมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน สถานการณ์โควิด-19 ทำให้สมาชิกในชุมชนต้องปิดหมู่บ้านและกักตัวห้ามคนเข้าออกหมู่บ้านเพื่อควบคุมโรค ในช่วงนี้นอกจากการพึ่งพิงแหล่งอาหารจากป่าจากไร่หมุนเวียนแล้ว สมาชิกชุมชนยังปลูกผักสวนครัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเสริมความหลากหลายและความมั่นคงทางอาหารแก่ครัวเรือนและชุมชน ส่วนแหล่งโปรตีนนั้นแต่เดิมเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูไว้กิน มีปลาในลำห้วยลำธารให้หาอย่างอุดมสมบูรณ์ ล่าสุดได้ริเริ่มตั้งกองทุนหมูขึ้นเพื่อสร้างรายได้และเป็นแหล่งโปรตีนของชุมชน โดยได้แรงบันดาลใจมาจากกองทุนวัวที่หน่วยงานอื่น ๆ เคยให้การสนับสนุนและชุมชนยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างดี ตนจึงได้หารือและแนะนำให้เยาวชนที่ตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่บ้านมีรายได้เสริมอีกอย่าง คือ เลี้ยงหมูดอยไว้ขาย แล้วขยายมาให้ครอบครัวอื่น ๆ ได้เลี้ยงกันเพิ่มด้วยบ้านละ 1-2 ตัวในช่วงเริ่มต้น ทำเป็นกลุ่มเป็นกองทุนหมูกับดอยสเตอร์ ทั้งนี้ งานผ้าทอส่วนใหญ่มักจะเป็นงานของผู้หญิง ส่วนผู้ชายและเด็ก ๆ

Read More

MATA Fruitland รับซื้อผลไม้หวังช่วยชาวสวนมีรายได้รับมือวิกฤตโควิด-19

MATA Fruitland รับซื้อผลไม้ฤดูกาลจากเกษตรกรในปี 2563 เพิ่มจากปีก่อน 30% หวังช่วยชาวสวนให้เกิดรายได้ และบรรเทาผลผลิตล้นตลาดจากสถานการณ์โควิด-19 นางจิตตรา ปัญญาชัย เจ้าของกิจการ MATA Fruitland เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บรรดาโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ต่างชะลอการรับซื้อ เพราะการส่งออกไปยังต่างประเทศหยุดชะงัก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด โดยเฉพาะผลไม้ฤดูกาลซึ่งมีผลผลิตเหลือเป็นจำนวนมาก ทาง MATA Fruitland โรงคัดบรรจุผลไม้ของคนไทย (ล้งไทย) ที่สนับสนุนผลผลิตเกษตรกรไทยมาโดยตลอด จึงได้รับซื้อผลไม้จากชาวสวนเพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง ลำไย ทุเรียน ลิ้นจี่ และ สับปะรดภูแล เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีผลไม้เกรดส่งออกซึ่งมีความพิเศษ เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในโซนภาคเหนือเท่านั้น อาทิ “มะม่วงงาช้างแดง” รูปทรงของผลใหญ่สวยงาม ปลายผลงอน ดูคล้ายกับงาช้าง ผลสุกจะมีเนื้อในสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานหอม เม็ดเล็ก ไม่มีเสี้ยน และ “มะม่วงแดงจักรพรรดิ์” ผลมีขนาดใหญ่สีม่วงแดง ผลดิบหรือห่าม

Read More

กระทรวงดีอีเอสจับมือ CAT-TOT เพิ่มมาตรการเน็ตบ้านฟรี ช่วยประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายช่วงโควิด-19

กระทรวงดีอีเอสร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายบริการโทรคมนาคมเพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยสนับสนุนบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ (Fixed Broadband) แพ็กเกจพิเศษ “เน็ตอยู่บ้าน” ความเร็ว 100/50 Mbps (390.-/เดือน) ฟรี ให้แก่ประชาชนเป็นเวลา 3 เดือน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากนโยบาย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานภาครัฐร่วมกันดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนด้านต่างๆ ของประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงดีอีเอสได้เร่งพิจารณาแนวทางช่วยเหลือลดภาระค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคมให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ด้วยมาตรการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สนับสนุนบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่

Read More

พิษโควิด-19 ท่องเที่ยวไทยล้มทั้งยืน

การท่องเที่ยวไทยเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญของไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและเอกชนจึงให้ความสำคัญกับตลาดท่องเที่ยว และมักจะมีแคมเปญที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตลอด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์ การตลาดที่มีเป้าประสงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทย นอกจากนี้อีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญ คือการที่หลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงการดูแลทรัพยากรทางธรรมชาติให้อยู่ในสมดุลที่ดี รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้พร้อมสำหรับภาคการบริการ ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 การท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้รวมสูงถึง 3.01 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้เป็นการขยายตัวร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.93 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สร้างรายได้ในไทยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สร้างรายได้ 1.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยเป็นจำนวนสูงถึง 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสูงสุด 5 อันดับ

Read More

ตลาดจริงใจ (Farmers’ Market) เปิดพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ยึดมั่นหัวใจหลัก “สุขใจ ภูมิใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศด้านการส่งออกสินค้าผัก-ผลไม้ทั้งค้าขายในประเทศและต่างประเทศ “ตลาดจริงใจ (Farmers' Market)” บริหารโดยยึดมั่นหัวใจหลัก ‘สุขใจ ภูมิใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม’ ภายใต้การดูแลของ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล กรุ๊ป ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรในท้องถิ่นและภาคประชาชน โดยวางคอนเซปต์ให้เป็นตลาดผัก ผลไม้สด และอาหารท้องถิ่นจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อจำหน่ายให้กับคนในจังหวัด ในรูปแบบ ‘ปลูกโดยคนบ้านเฮา เพื่อคนบ้านเฮา’ จึงขอร่วมยืนหนึ่งเป็นกำลังใจในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกษตรกรไทยยังคงมีรายได้ และเปิดพื้นที่ในการเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ให้ได้ค้าขายสินค้าคุณภาพส่งตรงถึงผู้บริโภคทั้งช่องทางออฟไลน์-ออนไลน์ เพื่อก้าวข้ามวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน นายสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล กรุ๊ป ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า “ปัจจุบัน ตลาดจริงใจ (Farmers’ Market) มีทั้งหมด 15 สาขา ใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมาแม้ในยามเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 สมาชิกผู้ค้าของตลาดจริงใจ

Read More

กรมอนามัย จับมือ ลอรีอัล ประเทศไทย ให้ความรู้ร้านเสริมสวย รับมาตรการสุขอนามัยป้องกันโควิด-19

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตรียมร่วมกับ ลอรีอัล ประเทศไทย แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ จัดบรรยายให้ความรู้ในรายละเอียดมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับร้านเสริมสวย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ประกาศข้อกำหนดและมาตรการผ่อนปรนสำหรับร้านตัดผมเสริมสวย การให้ความรู้ด้านมาตรการดังกล่าว จะเป็นการบรรยายออนไลน์ผ่านทางเฟสบุ๊คไลฟ์ ของ ลอรีอัล ประเทศไทย โดยเปิดให้เจ้าของร้านเสริมสวย รวมถึงช่างผม เจ้าหน้าที่ในร้านเสริมสวย และประชาชนผู้สนใจทั่วประเทศ สามารถร่วมฟังการให้ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับร้านเสริมสวยและผู้เข้ารับการบริการ เพื่อความปลอดภัยของช่างผม เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และลูกค้าผู้รับบริการ ข้อมูลจากการบรรยายนี้นอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 แล้ว ยกจะช่วยระดับมาตรฐานสุขอนามัยร้านเสริมสวย ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าผู้ต้องการเข้าใช้บริการร้านเสริมสวยด้วย การบรรยายมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับร้านเสริมสวย บรรยายโดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย และ นพ. สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย จะจัดขึ้นวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม นี้ เวลา 13.00-14.00 น. เจ้าของร้านเสริมสวย ช่างผม หรือผู้สนใจ

Read More

สงครามโฮมช้อปปิ้งเต็มจอ ตลาดนัดออนไลน์ร้อนระอุ

สมรภูมิโฮมช้อปปิ้งร้อนแรงต่อเนื่องรับมาตรการ Work from home แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ยอมปลดล็อกผ่อนปรนการเปิดดำเนินธุรกิจบางกิจการ เช่น ร้านอาหาร ตลาดนัด แต่มีข้อกำหนดเข้มข้นและผู้คนส่วนใหญ่ยังหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รูปแบบช้อปปิ้งฟอร์มโฮม ทั้งทีวีและสื่อออนไลน์เป็นกระแสหลักที่สร้างรายได้ก้อนใหม่ให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรด สำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทั่วประเทศระหว่าง 23 มีนาคม-17 เมษายน 2563 พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรดไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 47.2 ต่ำที่สุดในรอบ 7 ไตรมาส หรือเกือบ 2 ปีที่เริ่มสำรวจมาตั้งแต่กลางปี 2561 ปัจจัยลบมีทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 การประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การสั่งปิดกิจการชั่วคราว มาตรการยกเลิกวีซ่าและฟรีวีซ่า การประกาศยกเลิกเที่ยวบินชั่วคราวของสายการบินในไทย และภัยแล้ง โดยเฉพาะคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและธุรกิจบางประเภท ให้ประชาชนอยู่ในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีคนพลุกพล่าน การบริหารจัดการธุรกิจมีข้อจำกัด เพราะการสั่งปิดกิจการกะทันหันกระทบต่อการจัดการเกี่ยวกับพนักงาน ปัญหาสภาพคล่อง เจอผู้ค้าออนไลน์เถื่อนจำหน่ายสินค้าตัดราคา การลักลอบจำหน่ายสินค้าหนีภาษีและปัญหากำลังซื้อหดตัว ประเมินกันว่า

Read More