Home > ตองก๊อแฟมิลี่

ทำผ้าทอเก็บเงินตั้ง ‘กองทุนหมู’ ชาวดอยห้วยตองก๊อรับมือสู้โควิด

ชาวดอยห้วยตองก๊อเมืองสามหมอกรับมือสู้โควิด-19 นักวิจัยแนะนำเงินที่ได้จากการทอผ้ามาตั้ง “กองทุนหมู” กับดอยสเตอร์ เป็นรายได้เสริมยามขาดนักท่องเที่ยวและจำหน่ายผ้าทอไม่ได้ เพื่อเป็นธนาคารอาหารที่เสริมความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน พร้อมวางแผนปรับสินค้า วิธีขาย และการตลาดมากขึ้นในอนาคต นายสมภพ ยี่จอหอ นักวิจัยและพัฒนาจากดอยสเตอร์ ผู้รับทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า-เอสเอ็มอี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ในโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อแรกเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกคนวิตกกันมากเพราะไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะชาวดอยบ้านห้วยตองก๊อ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีการผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติที่มีลวดลายผ้าเป็นเอกลักษณ์และมีศักยภาพทางการตลาดสูง ทำให้สินค้าของชุมชนภายใต้แบรนด์ "ตองก๊อแฟมิลี่" ร่วมกับดอยสเตอร์เป็นที่รู้จักและจดจำในตลาด ต้องหยุดชะงักไปพร้อมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน สถานการณ์โควิด-19 ทำให้สมาชิกในชุมชนต้องปิดหมู่บ้านและกักตัวห้ามคนเข้าออกหมู่บ้านเพื่อควบคุมโรค ในช่วงนี้นอกจากการพึ่งพิงแหล่งอาหารจากป่าจากไร่หมุนเวียนแล้ว สมาชิกชุมชนยังปลูกผักสวนครัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเสริมความหลากหลายและความมั่นคงทางอาหารแก่ครัวเรือนและชุมชน ส่วนแหล่งโปรตีนนั้นแต่เดิมเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูไว้กิน มีปลาในลำห้วยลำธารให้หาอย่างอุดมสมบูรณ์ ล่าสุดได้ริเริ่มตั้งกองทุนหมูขึ้นเพื่อสร้างรายได้และเป็นแหล่งโปรตีนของชุมชน โดยได้แรงบันดาลใจมาจากกองทุนวัวที่หน่วยงานอื่น ๆ เคยให้การสนับสนุนและชุมชนยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างดี ตนจึงได้หารือและแนะนำให้เยาวชนที่ตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่บ้านมีรายได้เสริมอีกอย่าง คือ เลี้ยงหมูดอยไว้ขาย แล้วขยายมาให้ครอบครัวอื่น ๆ ได้เลี้ยงกันเพิ่มด้วยบ้านละ 1-2 ตัวในช่วงเริ่มต้น ทำเป็นกลุ่มเป็นกองทุนหมูกับดอยสเตอร์ ทั้งนี้ งานผ้าทอส่วนใหญ่มักจะเป็นงานของผู้หญิง ส่วนผู้ชายและเด็ก ๆ

Read More

DoiSter Craftstay แบรนดิ้งแบบชาวดอย เสริมความแกร่งให้การท่องเที่ยวชุมชน

การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างแสวงหาวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่รีบเร่ง เพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) หรือโฮมสเตย์ (Home Stay) ซึ่งเป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เน้นความเรียบง่ายและไม่รีบร้อน จึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญเพราะตอบโจทย์สิ่งที่คนในสังคมต้องการ และดูจะได้รับความนิยมไม่น้อย เห็นได้จากแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดและทั่วทุกภาคของเมืองไทย ซึ่งแต่ละชุมชนต่างมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่มากมายในหลายพื้นที่นี้ “บ้านห้วยตองก๊อ” ชุมชนชาวปกาเกอะญอ ที่ฝังตัวอยู่ท่ามกลางขุนเขาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่น่าจับตามอง เพราะดำเนินการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมายาวนานร่วม 20 ปี อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ และพัฒนาการที่น่าสนใจ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ เกิดขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน (TG) ที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยตองก๊อ ส่งเสริมและให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างกาแฟ เกษตรหมุนเวียน การเลี้ยงสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แก้ปัญหายาเสพติด และสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน ภายหลังการสิ้นสุดของโครงการ ทางชุมชนได้ต่อยอดการพัฒนาดังกล่าว โดยก่อตั้ง “การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ” ขึ้นในปี 2542 เป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวมาช่วย เพื่อเผยแพร่วิถีชีวิต ถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน และทำให้การพัฒนาที่ได้ดำเนินมาเป็นไปอย่างยั่งยืน บ้านห้วยตองก๊อตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ การเดินทางค่อนข้างลำบาก ต้องลัดเลาะไปตามเทือกเขา ผ่านเส้นทางที่ทุรกันดาร ดังนั้น การเข้ามาท่องเที่ยวที่บ้านห้วยตองก๊อ

Read More