Content

เน็ตฟลิกซ์ ลงนามในข้อตกลงกับสภาเศรษฐกิจโลก มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ในอาเซียน

เน็ตฟลิกซ์ ลงนามในข้อตกลงกับสภาเศรษฐกิจโลก มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ในอาเซียน ข้อตกลงในการร่วมพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งความสร้างสรรค์ ความปลอดภัยในโลกออนไลน์ และแนวทางบริหารจัดการเพื่อความคล่องตัว เน็ตฟลิกซ์ ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับคณะทำงานด้านดิจิทัล อาเซียนของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาขีดความสามารถและทักษะด้านดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ และเตรียมพร้อมสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ข้อตกลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ASEAN Digital Skills Vision 2020" โดยสภาเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและกลุ่มบริษัทเอกชน ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝน พัฒนาทักษะดิจิทัลแก่แรงงาน 20 ล้านคนในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 โครงการดังกล่าวนับเป็นภารกิจที่เร่งด่วน เนื่องจากการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในอาเซียนกว่า 56,000 คนโดยสภาเศรษฐกิจโลกพบว่า เยาวชน 52 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าพวกเขาต้องหมั่นพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในตลาดแรงงาน โดยเยาวชนผู้ตอบแบบสอบถาม ไดัจัดอันดับให้ความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพเชิงนวัตกรรม เป็นทักษะที่สำคัญอันดับหนึ่งที่ต้องมีในอนาคต นายยู-ชวง เคว๊ก กรรมการผูัจัดการประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของเน็ตฟลิกซ์ กล่าวว่า “ในขณะที่ธุรกิจของเน็ตฟลิกซ์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราได้ร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพันธมิตรร่วมอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์

Read More

นักวิจัยมช.พบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ‘พรหมจุฬาภรณ์’ รอต่อยอดยาต้านมะเร็ง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา

Read More

จากกรุงเทพฯ ถึงฮ่องกง บทเรียนและราคาที่ต้องจ่าย?!

การชุมนุมประท้วงของชาวฮ่องกงที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ที่ 10-11 และทวีความตึงเครียดขึ้นไปเมื่อมีการบุกรุกเข้าไปยังสนามบินนานาชาติ จนเป็นเหตุให้ต้องมีการยกเลิกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกในช่วงก่อนหน้านี้ โดยที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะก้าวไปสู่บทสรุปสุดท้ายอย่างไร ทำให้หลายฝ่ายเริ่มประเมินถึงผลกระทบจากกรณีดังกล่าวไปในทิศทางที่เป็นลบ และกังวลว่าอาจเป็นฟางอีกเส้นที่ส่งให้เศรษฐกิจในภูมิภาคถดถอยลงกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องเพราะการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจนำเงินเข้าไปลงทุนในฮ่องกงของบรรดานักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนชาวฮ่องกงโดยตรง ขณะที่การชุมนุมประท้วงที่ส่งสัญญาณความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำไปสู่การปิดสนามบินในช่วงกลางเดือน นับเป็นการท้าทายต่ออำนาจของทางการและรัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่งอย่างไม่อาจเลี่ยง การชุมนุมที่มีจุดเริ่มต้นจากการคัดค้านการที่คณะผู้ปกครองฮ่องกงเตรียมนำเสนอและผ่านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากฮ่องกงไปจีน ก่อนที่จะยกระดับไปสู่การชุมนุมที่สนามบินจนเป็นเหตุให้ต้องปิดการจราจรทางอากาศ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในฮ่องกง กลายเป็นการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สหราชอาณาจักรส่งมอบอธิปไตยของฮ่องกงคืนให้กับจีนเมื่อปี 2540 เค้าลางแห่งความไม่พึงพอใจจนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ ในด้านหนึ่งเป็นผลพวงมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สถานะของฮ่องกงหลังการส่งมอบคืนจีนเมื่อปี 2540 นั้น ดำเนินไปภายใต้ข้อตกลงพิเศษระหว่างจีนและสหราชอาณาจักร ที่ทำให้แม้ฮ่องกงจะเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ก็ยังมีสิทธิปกครองตนเอง แบบ “1 ประเทศ 2 ระบบ” โดยสิทธิพิเศษและเสรีภาพที่ฮ่องกงได้รับนี้จะสิ้นสุดลงในปี 2590 ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลจีนไม่ต้องการรอจนถึงเวลานั้น ขณะที่ประชาชนชาวฮ่องกงจำนวนไม่น้อยก็เริ่มกังวลใจต่ออนาคตที่กำลังคืบคลานใกล้เข้ามา ความพยายามที่จะประท้วง คัดค้าน และแสดงออกซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของชาวฮ่องกง เป็นกรณีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อปี 2546 โดยชาวฮ่องกงจำนวนหลายแสนคนประสบความสำเร็จในการประท้วงและสามารถล้มร่างกฎหมายที่ห้ามวิจารณ์จีนได้สำเร็จ และต่อมาเมื่อปี 2557 ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนก็ปักหลักชุมนุมยืดเยื้อหลายสัปดาห์ เพื่อต่อต้านจีน ที่ใช้อิทธิพลต่อการเลือกตั้งของฮ่องกง ซึ่งประชาชนจำนวนมากใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ป้องกันฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา จนถูกขนานนามว่า “การเคลื่อนไหวร่ม” (Umbrella Movement) ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจและเกิดขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษหลังจากที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกของจีนอยู่ที่คนหนุ่มสาวชาวฮ่องกงเริ่มตระหนักและตื่นตัวเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยอัตราการลงทะเบียนเลือกตั้งของคนอายุ

Read More

อสังหาฯ ไทยระส่ำ กับวิกฤตใหม่ที่ต้องเผชิญ

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ LTV ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน นับเป็นกระบวนการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ เพราะปัญหาของอสังหาริมทรัพย์เป็นชนวนเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ทิศทางการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเห็นได้จากซัปพลายที่เข้ามาในตลาดจำนวนมากเมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภคหรือขีดความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อที่ลดลง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว และยังต้องอาศัยอานิสงส์จากความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกซึ่งอยู่ในสภาวะถดถอยไม่ต่างกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขของตลาดอสังหาฯ จะตกวูบ บางค่ายมีจำนวนยูนิตเหลือขายสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหตุมาจากการที่ผู้ซื้อไม่ได้รับอนุมัติการปล่อยสินเชื่อ ในมุมของผู้ประกอบการอาจจะมองว่า ผลพวงจากการหดตัวของตลาดอสังหาฯ และจำนวนหน่วยที่เหลือขายนั้นเกิดจากการบังคับใช้มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติมองเห็นและคาดสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตถึงจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทว่าในอีกมิติที่ผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาคือ การขยายตัวของจำนวนอสังหาริมทรัพย์ในตลาดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีมากจนเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เพราะต้องยอมรับว่าผู้บริโภคบางส่วนซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเก็งกำไร แม้จะมีบางส่วนที่ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังแรกก็ตาม ห้วงยามนี้ที่ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจทุกตัวชะลอการทำงาน การท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาหนัก เมื่อนักท่องเที่ยวจีนที่เคยสร้างรายได้ให้กับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลดจำนวนลง อีกทั้งไทยไม่อาจต้านกระแสธารจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ รวมไปถึงการถดถอยของเศรษฐกิจโลก แน่นอนว่ามีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งจากภายในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยในประเทศเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่กราฟสูงขึ้นทุกปี กระทั่งแบงก์ชาติเตรียมใช้มาตรการใหม่เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอีกครั้ง มาตรการใหม่ที่ว่านี้จะเป็นการคำนวณภาระการผ่อนชำระหนี้โดยเทียบกับรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) เพื่อป้องกันและลดตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มผู้มีรายได้ไม่แน่นอน กลุ่มคนเริ่มต้นทำงาน กลุ่มคนใกล้เกษียณ และกลุ่มเด็กจบใหม่ โดยหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยนับตั้งแต่ปี 2551 คือ 52.4 เปอร์เซ็นต์

Read More

เปิดตัว Design Nation เทศกาลงานออกแบบ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ใหญ่ที่สุดในประเทศ

นิตยสาร art4d และ ไร้ท์แมน ผนึกกำลังกลุ่มพันธมิตรพลังสยาม (Siam Synergy) เปิดตัว “DesignNation” เทศกาลงานออกแบบ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ใหญ่ที่สุดในประเทศ โชว์ศักยภาพดีไซน์เนอร์ไทย มุ่งยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กสู่ระดับสากล บริษัท คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี จำกัด และ บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ร่วมกับ กลุ่มพันธมิตรพลังสยาม (Siam Synergy) นำโดย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ประกาศเปิดตัว“DesignNation” เทศกาลงานออกแบบ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ใหญ่ที่สุดในประเทศ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-24 พฤศจิกายน 2562 ณ ย่านสยาม

Read More

เมเจอร์ร่วมกับการบินไทย สร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้ผู้ชม ภาพยนตร์ “โปรเม อัจฉริยะ / ต้อง / สร้าง”

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ร่วมกับ การบินไทย สร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้ผู้ชม ภาพยนตร์ “โปรเม อัจฉริยะ / ต้อง / สร้าง” ลุ้นแพ็คเกจท่องเที่ยว ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-เชียงราย พร้อมที่พัก 10 รางวัล บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดงาน “Exclusive Movie Night โปรเม อัจฉริยะ / ต้อง / สร้าง” ให้ลูกค้าคนสำคัญของการบินไทยได้ชม ที่สุดของภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจสำหรับครอบครัวในโรงภาพยนตร์วีไอพีที่สามารถสัมผัสสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีความบันเทิงแห่งโลกภาพยนตร์ให้ได้รับประสบการณ์พิเศษแบบเต็มอรรถรสตลอดการชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ชมภาพยนตร์ โปรเม อัจฉริยะ / ต้อง / สร้าง ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม-5

Read More

แกรมมี่ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งแรกในรอบ 8 ปี

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 มีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลจากกำไรสุทธิงวด 6 เดือนแรกของปี 2562 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 - 30 มิถุนายน 2562) ตามงบการเงินเฉพาะกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 81.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการ โดยบริษัทฯ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) ในวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในวันที่ 12 กันยายน 2562 นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท จีเอ็มเอ็ม

Read More

เคทีซีกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2,913 ล้านบาท ยืนหนึ่งคุม NPL

เคทีซีกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2,913 ล้านบาท ยืนหนึ่งคุม NPL ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลต่ำกว่าอุตสาหกรรม เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2562 โตเกินคาด 16% อยู่ที่ 2,913 ล้านบาท พอร์ตสมาชิกรวมโต 7% ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตสูงกว่าอุตสาหกรรม และสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลต่ำกว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เดินหน้าครึ่งปีหลังมุ่งสร้างความเชื่อมั่นและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็น และรักษาคุณภาพหนี้ดีต่อเนื่อง นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2562 จากเดิม 3.8% เป็น 3.3% ในขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคครึ่งแรกของปี 2562 มีอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2561” “ในช่วงครึ่งปีแรกเคทีซียังมีผลการดำเนินงานที่เติบโตเกินคาด โดยสามารถสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่องจากปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรและยอดลูกหนี้ของสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการควบคุมคุณภาพพอร์ตที่ดี มีอัตราหนี้เสียที่ต่ำ ทำให้ผลประกอบการของบริษัทสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 16%

Read More

รองเท้า KHYA คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้ง ลดขยะทางทะเล

“รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร”  ร่วมมือปลุกจิตสำนึกสังคมไทยลดขยะทางทะเล คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้งริมหาด ให้กลายเป็น “รองเท้า KHYA (ขยะ)” นายจักรพล จันทวิมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของแนวคิดในการพัฒนารองเท้า KHYA (ขยะ) และเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ว่า เนื่องจากปัญหาขยะทะเลเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งพบว่านอกจากพลาสติกแล้ว รองเท้าโดยเฉพาะรองเท้าแตะ มักถูกพบเป็นขยะทะเลจำนวนมาก “นันยาง” ในฐานะผู้ผลิตรองเท้าได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาโปรเจคใหม่ “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ที่เกิดจากการ Upcycled ขยะทะเลที่เป็นรองเท้าแตะให้กลายเป็นรองเท้าแตะคู่ใหม่ขึ้นในครั้งนี้ “โปรเจค “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและแทนสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับผู้คนในสังคมพร้อมเชิญชวนให้ตระหนักถึงปัญหาขยะทะเล การมองเห็นคุณค่าของขยะ การนำขยะมาเพิ่มมูลค่า และเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการของตนเองได้ตามความถนัด โดยในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกันระหว่าง “รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร” แบรนด์ Upcycling วัสดุจากทะเลซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรโดย ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย

Read More

Origine du monde กำเนิดของโลก

Column: From Paris กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรชื่อดังชาวฝรั่งเศสของศตวรรษที่ 19 เป็นจิตรกรคนแรกที่ “ขบถ” ต่อกฎเกณฑ์ของราชบัณฑิตสาขาวิจิตรศิลป์ ที่กำหนดให้การเขียนภาพขนาดใหญ่ต้องเป็นเรื่องราวของเจ้านายและศาสนาเท่านั้น เขาเป็นคนแรกที่เขียนภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับวิถีของชาวบ้าน เมื่อนโปเลองที่ 3 (Napoléon III) พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ปรัสเซีย และเยอรมนีจึงกรีธาทัพเข้ายึดฝรั่งเศส ชาวกรุงปารีสยอมรับไม่ได้ จึงลุกขึ้นต่อต้านเป็นเวลา 4 เดือน แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแพ้ ฝรั่งเศสจัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถลงคะแนนเสียง ได้สมาชิกสภาที่นิยมเจ้าถึง 400 คน และแต่งตั้งผู้นิยมนโปเลองในรัฐบาลหลายคน ชาวกรุงปารีสส่วนหนึ่งที่ต้องการเป็นสาธารณรัฐ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่แวร์ซายส์ (Versailles) เป็นยุค Commune de Paris เกิดการต่อสู้ระหว่างปารีสและแวร์ซายส์ พวก Commune ที่เรียกว่า Communard เผาทำลายสถานที่หลายแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของนโปเลองและสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuilleries) และเสาวองโดม-Colonne de Vendôme ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของนโปเลองที่ 1 ในการสงคราม กุสตาฟ

Read More