Content

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย หวังเป็นตัวช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต บริษัทยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ “เครื่องสางใบอ้อย” สนับสนุนให้เกษตรกรตัดอ้อยสดตามนโยบายภาครัฐ เพิ่มรายได้ ลดปัญหาการเกิดมลพิษ PM2.5 อีกทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิต (Productivity) อ้อยที่ได้ลำต้นใหญ่ คงความหวานได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา ใบอ้อยยังนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย นายธัชพล ชวินธนโชติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ให้ความเห็นว่าหากเกษตรกรยังใช้วิธีเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ผลเสียโดยตรงนอกจากจะทำให้ได้น้ำหนักอ้อยลดลงแล้ว คุณภาพความหวานที่ลดลงยังส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอีกด้วย การเผายังทำลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินสูญเสียความชื้น เกิดวัชพืชได้ง่าย ซึ่งวัชพืชจะมาแย่งอาหาร ทำให้อ้อยตอแคระแกร็น และเมื่อปลูกอ้อยใหม่ในปีถัดมา เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอ้อยตอเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีเผา และเกษตรกรที่ใช้เครื่องสางใบอ้อย แน่นอนว่าแปลงที่ใช้เครื่องสางใบอ้อยย่อมได้ผลผลิตดีกว่า จึงอยากแนะนำและสนับสนุนให้เกษตรกรเลือกใช้เครื่องสางใบอ้อยก่อนตัดอ้อย และไถกลบใบอ้อยที่เหลือเพื่อช่วยถนอมหน้าดินไม่ให้ธาตุอาหารในดินถูกทำลาย และช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย และด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยันม่าร์ได้ให้ความสำคัญ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับการปลูกอ้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก และการเก็บเกี่ยว ด้วยแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย ประกอบกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยสไตล์ยันม่าร์ ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อลดขั้นตอนการปลูก ช่วยประหยัดเวลา อาทิ

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

เชลล์เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จอีวีแห่งแรกในไทย จับมือ BMW นำเสนอจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เชลล์เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จอีวีแห่งแรกในไทย จับมือบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทยนำเสนอโซลูชันส์บริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เชิญชวนลูกค้าร่วมสัมผัสโซลูชันส์พลังงานคาร์บอนต่ำแห่งอนาคตด้วยการเปิดตัวจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายใต้ แบรนด์ Shell Recharge ซึ่งเป็นจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง ควิกชาร์จแห่งแรกสำหรับเชลล์ในประเทศไทยที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์บนถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้ เป็นการผนึกความเชี่ยวชาญของเชลล์ ผู้นำในธุรกิจพลังงานและบีเอ็มดับเบิลยู ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก สนับสนุนการพัฒนาระบบ E-mobility ในไทย เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านพลังงานและรองรับความต้องการการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ จุดบริการใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าของเชลล์สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระหว่างเดินทางได้ที่สถานีบริการน้ำมันแฟลกชิปของเชลล์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ปัจจุบันโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมีการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิลมาสู่พลังงานทางเลือกที่สะอาดและลดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายหลักของโลก แต่การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ๆ อย่างไฟฟ้าก็นับว่ามีความสำคัญเช่นกัน โดยประเทศไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 750,000 คันต่อปีภายในปี 2573 นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้ประกาศแผนแม่บทที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางยานพาหนะไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2568 และขยายความร่วมมือกับพันธมิตรจากหลายภาคส่วนเพื่อเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ 1 เชลล์มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในธุรกิจบริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดอื่นๆ ผ่านการขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 60,000 สถานีทั่วทวีปยุโรป และได้นำความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน นายเรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย รักษาการกรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย

Read More

LPN Wisdom ระบุ 3 เทรนด์ การออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564

LPN Wisdom ระบุ การออกแบบโดยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการอยู่อาศัย, และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่พักอาศัย เป็นเทรนด์ของการออกแบบที่ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัยในปี 2564 นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (LPN Wisdom) บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ผนวกกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสนใจในการซื้อบ้านพักอาศัยมากขึ้นจากผลการสำรวจของ LPN Wisdom พบว่าปี 2563 มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 44,001 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 63% ของจำนวนโครงการที่เปิดขาย 70,126 ยูนิต

Read More

Dirty Coffee ความเปรอะเปื้อนที่กลมกล่อม

“Dirty Coffee ต้องใช้เวลาสักครู่นะครับ” เสียงตอบกลับจากบาริสต้าประจำร้าน เมื่อได้รับออเดอร์เป็น Dirty coffee เมนูกาแฟชื่อแปลกหูแต่แฝงไว้ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กาแฟชื่อชวนสงสัยแก้วนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาคอกาแฟเป็นอย่างมาก ร้านกาแฟหลายร้าน โดยเฉพาะร้านกาแฟประเภท Specialty coffee หรือกาแฟพิเศษ ต่างบรรจุเมนูนี้ไว้ในลิสต์เพื่อดึงดูดลูกค้า จนกลายเป็นตัวชูโรงให้กับบางร้านไปเลยทีเดียว แต่หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นในใจว่า Dirty Coffee คืออะไร ทำไมใช้คำว่า dirty ที่แปลว่า สกปรก มาผสมกับเครื่องดื่มอย่างกาแฟ และทำไมถึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบอยู่ในชณะนี้ จริงๆ แล้ว Dirty Coffee คือกาแฟนมที่เสิร์ฟแยกชั้นกันอย่างชัดเจนและต้องเสิร์ฟมาในแก้วใสแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง ด้านล่างเป็นชั้นสีขาวของนมสดที่แช่มาจนเย็น ส่วนด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มของ espresso shot หรือ ristretto shot ที่ค่อยๆ ไหลแทรกซึมเข้ากับชั้นของนมด้านล่าง ก่อให้เกิดลวดลายเฉพาะตัว เขรอะนิดๆ อาร์ตหน่อยๆ อันเป็นที่มาของชื่อ Dirty Coffee เมนูกาแฟที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และรสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ ต้นกำเนิดของกาแฟแก้วพิเศษนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยมาจากการสร้างสรรค์ของ “คัตซึยูกิ ทานากะ”

Read More

ลาซาด้า จัดงาน “Lazada Forward Women Awards” ครั้งแรก ชูศักยภาพผู้ประกอบการหญิงดาวเด่น ส่งต่อแรงบันดาลใจด้านอีคอมเมิร์ซ

6 สุดยอดผู้ประกอบการหญิงลาซาด้าจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเจ้าของร้าน AggieHome จากประเทศไทย คว้ารางวัลจากการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ลาซาด้า จัดงาน ‘Lazada Forward Women Awards 2021’ หรือ รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการหญิงแห่งปีจากลาซาด้า 2564 ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในวันสตรีสากล เพื่อยกย่องศักยภาพผู้ประกอบการหญิง 6 ราย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บุกเบิกแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ ที่แสดงถึงการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และนำนวัตกรรมมาปรับใช้ตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้ประกอบการ รางวัลดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเป็นการฉลองให้แก่ความสำเร็จและเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการหญิงในภูมิภาค ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ชุมชน สังคมและวัฒนธรรม โดยรางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการไอเดียสร้างสรรค์ (Creative Seller Award) รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการดีเด่น (Enterprising Seller Award) และรางวัลสุดยอดผู้ประกอบการที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring Seller Award) โดยผู้ประกอบการหญิงที่ได้รับรางวัลทั้ง 6 คนนี้ มีความโดดเด่นในการนำวิธีการที่หลากหลายมาใช้เพื่อก้าวข้ามผ่านอุปสรรคความท้าทายต่างๆ

Read More

แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 พุ่งเป้าเศรษฐกิจมูลค่าสูง สังคมเสมอภาค

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลง นับตั้งแต่ชาวโลกได้ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากว่า 1 ปี แต่ละประเทศมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุม พร้อมกับที่ต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับประเทศไทยที่นอกจากความพยายามควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแล้ว ขณะเดียวกันคือการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในประเทศให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก นับเป็นเป้าหมายสำคัญเพราะนั่นเป็นหนทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างยั่งยืน แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาหลายโครงการ แต่ต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจที่ไทยกำลังประสบอยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาอันสั้น ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจคือ วัคซีนถูกกระจายและฉีดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง การเกิดการระบาดระลอกใหม่และแนวทางการรับมือของภาครัฐ รวมไปถึงการประคับประคองเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นเสมือนก้าวที่ 2 ของการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สาระของกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องทำคือ การเปลี่ยนผ่านประเทศหรือ การ Transform ประเทศใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากรไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้ หรือการมุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง บนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Read More

เทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” สำคัญที่สุด

รายงานเทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” คือสิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุดในปี 2564 รายงานเทรนด์ดิจิทัล (Digital Trends Report) ประจำปี 2564 ของอะโดบี ระบุว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความสามารถและรวดเร็วในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และมีแผนในการลงทุนส่วนนี้อย่างจริงจัง รายงานดังกล่าวจัดทำร่วมกับ Econsultancy โดยอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด โฆษณา อี-คอมเมิร์ซ และไอที 13,000 คนที่ทำงานให้กับบริษัทเจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) อินเดีย และเอเชีย รายงานดังกล่าวของอะโดบี ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 11 มีความแตกต่างจากฉบับก่อนหน้า โดยเจาะลึกประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาด เช่น ผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้านของบุคลากร ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประสบการณ์ ดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ในปี 2563

Read More

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More

เซ็นทรัลเวิลด์ ท็อปฟอร์ม FOOD DESTINATION ระดับโลก ขนทัพร้านใหม่ต่อคิวเปิดต่อเนื่องตลอดทั้งปี

เซ็นทรัลเวิลด์ ท็อปฟอร์ม FOOD DESTINATION ระดับโลก ขนทัพร้านใหม่ต่อคิวเปิดต่อเนื่องตลอดทั้งปี ย้ำตัวจริงเดสติเนชั่นที่รวมร้านอาหารมากที่สุดในโลก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ยืนหนึ่งเรื่องอาหาร ตอกย้ำการเป็นผู้นำศูนย์การค้าที่รวมร้านอาหารทุกรูปแบบ และคาเฟ่ชื่อดังจากทั่วทุกมุมโลกไว้มากที่สุด เผยลิสต์ร้านอาหาร-คาเฟ่เปิดใหม่รับต้นปี 2564 มากกว่า 15 ร้านดัง รวมร้านที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ และอีกหลายร้านที่เตรียมจ่อคิวเซอร์ไพรส์คนไทยตามไทม์ไลน์ยาวถึงกลางปี โดยทั้งหมดจะถูกเพิ่มเข้าไปอยู่ใน “ฟู้ดไบเบิ้ล” ของเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งรวมแล้วจะมีร้านอาหารจากทั่วโลกมากถึง 225 ร้านจากกว่า 10 สัญชาติ (อัพเดท ณ วันที่ 3 มี.ค. 64) รวมความอร่อยจากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ในที่เดียวเป็น Food therapy ให้ทุกคนได้กินให้หายคิดถึง ไม่ต้องบินก็อร่อยฟินได้กับอาหารจากหลากหลายสัญชาติ อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน อิตาลี ที่เดียวที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงที่ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตอนนี้ อิศเรศ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขาย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

Read More