Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 19)

“คนละครึ่ง” โครงการจากรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจลึกถึงฐานราก

ต้องยอมรับว่าปีพุทธศักราช 2563 ประเทศไทยเผชิญวิกฤตรอบด้านในหลายมิติ โดยมีสาเหตุหลักจากเชื้อไวรัสโควิดที่อุบัติขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว และแพร่ระบาดหนักในช่วงไตรมาสแรกของปี ส่งผลกระทบเลวร้ายและรุนแรงกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างสึนามิ มหันตภัยโรคโควิด-19 ขยายวงการทำลายล้างไปในทุกวงการ ทุกภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลของแต่ละประเทศที่ประสบกับวิกฤตครั้งนี้ ต่างระดมสรรพกำลังและสมองเพื่อแก้ไขปัญหาที่ตามมาอย่างต่อเนื่องดุจระลอกคลื่น และสร้างยุทธวิธีฝ่าวงล้อมของศัตรูตัวฉกาจนี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจที่ถูกแช่แข็งไปในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่ง่ายเลยที่จะเอาชนะ ในด้านเชื้อไวรัสโควิด การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส นั่นหมายถึงการมีวัคซีนที่พร้อมสำหรับประชากรโลก แม้ว่าปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเริ่มฉีดแล้ว แต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในบางประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอาจต้องใช้เวลารออย่างเร็วภายในปีหน้ากว่าจะได้รับวัคซีน ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยพึ่งพาตลาดต่างชาติในหลายอุตสาหกรรม ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน นี่อาจเป็นโอกาสเหมาะสำหรับภาครัฐที่จะหันกลับมามองตัวเองและรังสรรค์นโยบายที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ ด้วยโครงการที่ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากประชากรในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแคมเปญ ทั้งโครงการ ชิม ช้อป ใช้ โครงการช้อปดีมีคืน ที่เชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้จ่าย และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทว่าโครงการดังกล่าวดูเหมือนจะจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ในระดับที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ในขณะที่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการล่าสุดอย่าง “คนละครึ่ง” ที่มุ่งเน้นไปเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตโควิดโดยเฉพาะ และมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ประชาชนระดับกลางถึงล่าง โครงการคนละครึ่ง ภาครัฐช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000

Read More

อาบป่า เยียวยาใจถึงกาย ท่องเที่ยวแนวใหม่ให้ธรรมชาติบำบัด

การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบตั้งแต่รุ่งอรุณ ภายใต้ความกดดันมากมายที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในชีวิตอย่างช้าๆ และเงียบงัน ภาวะความเครียดที่สะสมอยู่ภายใน อัดแน่นในห้วงอารมณ์ความรู้สึก จนบางคนไม่สามารถรู้ตัวได้เลยว่า ความเครียดได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีเหตุที่เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายมาจุดชนวนระเบิดและปลดเปลื้องความขึ้งเครียดนั้นออกมา ซึ่งแน่นอนว่าผลร้ายที่เกิดตามมาไม่ได้จำกัดวงแห่งหายนะที่ทำลายความรู้สึกในจิตใจแค่เฉพาะตัวเองเท่านั้น ผู้คนรอบข้างที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน ย่อมได้รับผลกระทบนั้นด้วย ชีวิตที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบมากมาย การกดดันตัวเองจากบทบาทหน้าที่ การงาน จนก่อให้เกิดความเครียดที่ฝังรากลึกอยู่นั้น เป็นส่วนสำคัญให้จิตใต้สำนึกเรียกร้องโหยหาแหล่งพลังงานใหม่ สถานที่ที่จะได้ปล่อยกาย พักใจ เดินออกจากภวังค์แห่งความวิตก ให้หัวใจ ร่างกาย และสมองได้ทำความรู้จักกับความสุขอีกครั้ง ปัจจุบันมีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการตั้งแคมป์ หรือการเดินป่าอย่างที่หลายคนยังให้ความนิยม แต่การท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากป่ามาเป็นตัวช่วยในการบำบัดและเยียวยาจิตใจ ที่รู้จักกันในชื่อ “อาบป่า” Forest Bathing หรือ Forest Therapy การอาบป่า มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นในยุค 80 คนญี่ปุ่นเรียกว่า “Shinrin-yoku” (ชินริน-โยกุ) มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนแนวคิดการอาบป่า ว่าเป็นศาสตร์ที่ช่วยบำบัดร่างกายและเยียวยาจิตใจได้จริง กระทั่งเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ การอาบป่า ไม่ใช่การเข้าไปอาบน้ำในป่าเขาลำเนาไพร แต่เป็นการนำพาร่างกายอันอ่อนล้าจากภาวะความเครียดจากเรื่องต่างๆ ที่ต้องเผชิญ ไปเข้าใกล้ธรรมชาติพร้อมกับจิตใจที่ยินดีจะเปิดรับการบำบัด และการอาบป่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการเดินป่าขั้นสูงแต่อย่างใด เพราะศาสตร์แห่งการอาบป่าไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปในป่าลึก หากแสงแดดยามเช้าในเมืองหลวงคือสัญญาณแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความเร่งรีบ แสงแดดจากพระอาทิตย์ดวงเดียวกันที่ฉายฉานอยู่ในป่าใหญ่คงเป็นสัญญาณแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง เมื่อความอบอุ่นจากแสงยามเช้าที่อาบไล้ผิวกายช่วยบำบัดอารมณ์และจิตใจให้สงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ ป่าและธรรมชาติ ยินดีต้อนรับเราเสมอ เมื่อเราพร้อมที่จะเปิดใจรับการบำบัด

Read More

เวียดนามคู่แข่งไทยส่งออกข้าว รัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้

ช่วงไตรมาสแรกของปีที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤต สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงเวลานั้นมีสัญญาณเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจากเวียดนามที่ต้องจำกัดการส่งออกข้าว มีการคาดการณ์ว่าไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.) ตัวเลขที่แสดงออกมากลับให้ผลตรงกันข้าม เมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยยอดตัวเลขการส่งออกข้าว ว่าไทยทำได้เพียง 3.14 ล้านตัน ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ไทยถูกเบียดให้มายืนอยู่ในอันดับสาม รองจากอินเดียและเวียดนาม เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลายแม้จะยังไม่สิ้นสุด แต่สถานการณ์การส่งออกที่กลับมาดำเนินกิจการได้ ทำให้หลายฝ่ายพอจะมองเห็นสัญญาณในทางที่ดีว่าภาคการส่งออกน่าจะกลับมาเดินเครื่องและอาจช่วยให้ตัวเลขจีดีพีไทยไม่ติดลบมากนัก กระนั้นปัจจัยแวดล้อมด้านลบก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดต่างชาติลดลงไปด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยอยู่ในช่วงแข็งค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าส่ง และประเด็นสำคัญคือ พันธุ์ข้าวไทยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าผู้ส่งออกข้าวจะยอมรับว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดค้าข้าวโลกคือ ประเทศอินเดีย ทว่า ในระยะหลังกลุ่มผู้ส่งออกข้าวต้องรับมือกับคู่แข่งที่เหมือนจะเป็นม้ามืดในวงการนี้ คือ เวียดนาม ที่มุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเป้าหมายอยู่แค่เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น แต่พัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดค้าข้าวจากเจ้าตลาดเดิมให้ได้ มีบทความที่เผยแพร่โดย BIOTHAI ว่า เวียดนามพัฒนาข้าวสายพันธุ์ ST25 จนกลายเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จากการประกวดระหว่างการประชุมข้าวโลกเมื่อปี 2019 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากการสนับสนุนการวิจัยโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐในระดับจังหวัดของรัฐบาลเวียดนามเป็นสำคัญ และ Ho Quang Cua ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัด

Read More

BOI กระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปี เน้นยานยนต์ไฟฟ้าตามเทรนด์โลก

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างประสบกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนที่ถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ก็ตาม ทว่า การพยายามก้าวต่อไปข้างหน้า ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในห้วงยามนี้ ในหลายประเทศมีมาตรการกระตุ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า หรืออย่างน้อยๆ ก็พอจะพยุงตัวและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง การชะลอตัวของการลงทุนเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิดจะอุบัติ แน่นอนว่าความเป็นไปบนโลกส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน เพราะเม็ดเงินที่ลงทุนไปในช่วงแรกย่อมต้องหมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงเดินหน้า จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากนักลงทุนชะลอเพื่อเฝ้ารอดูเหตุการณ์ ภาครัฐพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะให้นักลงทุนที่เคยส่งสัญญาณว่าจะเข้ามาสร้างฐานการผลิตในไทยยังคงดำเนินไปแม้จะมีอุปสรรคมาขัดขวางก็ตาม เพราะสิ่งที่ตามมาสร้างผลดีให้เกิดแก่สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศหลายระนาบด้วยกัน จังหวะการก้าวของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในช่วงท้ายปีดูจะเป็นแรงกระตุ้นชีพจรทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ด้วยหวังว่าจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้กระเตื้องขึ้น โดยดวงใจ อัศวจิตนจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน โดยเปิดประเภทกิจการให้การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ได้แก่ กิจการโรงพยาบาลผู้สูงอายุ กิจการดูแลผู้สูงอายุ และกิจการวิจัยทางคลินิก พร้อมทั้งเปิดให้การส่งเสริมรอบใหม่อีก 2 ประเภท คือ กิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และกิจการเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก รวมทั้งการขยายเวลาและปรับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน สำหรับการส่งเสริมการลงทุนกิจการบริการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้ส่งอายุแบบครบวงจรรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 นอกจากนี้ บีโอไอ ยังส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์ของไทย โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งด้านการผลิต บริการ การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นโอกาสให้สถาบันการแพทย์ของไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่จะมาดำเนินการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย และดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมที่เป็นพระเอกที่บีโอไอจะให้การสนับสนุนคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมเผชิญกับภาวะวิกฤต สถานการณ์ในปัจจุบันแม้จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวในด้านต่างๆ ทว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้เกิดการพัฒนารวมไปถึงการต่อยอดทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ

Read More

AWC เจ้าสัวเจริญมองไกล ตั้งกองทุนหมื่นล้านซื้อโรงแรม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างมาก เพราะจากสถิติการท่องเที่ยวของไทยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท และประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ 1.9 ล้านล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำเป็นต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ รายได้ที่หดหายไปส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมและแรงงานในภาคการบริการอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางรายประกาศปิดกิจการชั่วคราวไปจนถึงขั้นประกาศขายกิจการ ข้อมูลจากสมาคมโรงแรมไทยพบว่า ธุรกิจโรงแรมเลิกจ้างพนักงานไปแล้วประมาณ 1 ล้านคน พร้อมทั้งวอนขอให้รัฐช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ค่าจ้างงาน ค่าสาธารณูปโภค เมื่อยังไม่มีวัคซีนออกมาและยังไม่มีใครตอบได้ว่า การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แม้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ และคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวกันได้แล้วก็ตาม ทว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของคนไทยยังคงเงียบเหงา อันเป็นผลมาจากการระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะเปราะบาง กำลังซื้ออ่อนแอ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว อย่างโครงการ “เที่ยวด้วยกัน” แต่สัดส่วนที่เกิดขึ้นยังมีจำนวนไม่มาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สายป่านไม่ยาวพอจำเป็นต้องตัดสินใจขายกิจการทิ้งเพื่อความอยู่รอด กระทั่งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกลุ่มทุน บริษัท จำกัด (มหาชน) หรือ AWC มองการณ์ไกลด้วยการจัดตั้งกองทุนที่มีวงเงินสูงถึงหมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมซื้อโรงแรมที่มีผู้เสนอขาย วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป

Read More

ถอดบทเรียนจีนฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด สู่โอกาสของไทยหลุดพ้นจีดีพีติดลบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตโควิด-19 สร้างความเสียหายเชิงโครงสร้างแก่ทุกประเทศที่มีการแพร่ระบาด ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์อันยากลำบากในห้วงยามนี้ ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นทุนเดิม ประเทศจีนแม้จะเป็นประเทศต้นทางการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ และต้องเผชิญกับวิบากกรรมก่อนประเทศอื่น หลายประเทศแสดงความกังวลว่าจีนจะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร การประกาศล็อกดาวน์ของจีนในเวลานั้นส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งผลกระทบต่อประชากรในประเทศตัวเอง รวมไปถึงผลกระทบต่อประเทศคู่ค้า แต่ความเอาจริงเอาจังและศักยภาพที่มีทำให้จีนผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายมาได้ในที่สุด และด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เศรษฐกิจจีนที่เคยฟุบตัวลงในช่วงเวลาหนึ่งกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอีกครั้ง โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2563 มีการขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2563 นอกจากนี้ กิจกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คำสั่งซื้อที่สูงขึ้น ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากจีน ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อาทิ อุปกรณ์วัดไข้ ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย อีกทั้งมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ของหลายประเทศช่วยหนุนความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีน โมเมนตัมข้างต้นจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2563 จะยังขยายตัวต่อเนื่องได้สูงกว่าร้อยละ 5.0 (บนสมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างระลอกสอง) หากแต่ยังคงเป็นอัตราการขยายตัวต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อันเนื่องมาจากภาคการส่งออกของจีนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์การรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

เทศกาลกินเจ’63 สุดเหงา ผู้บริโภคกระเป๋าเบา เน้นประหยัด

จีดีพีไทยติดลบถึงสองไตรมาสติดต่อกัน กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง สภาพการณ์ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในและต่างประเทศมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ลำบากกว่าวิกฤตครั้งไหน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากเทศกาลถือศีลกินผักปีนี้จะมีเงินสะพัดน้อยลง ผู้บริโภคปรับลดงบประมาณใช้จ่ายสำหรับการกินเจลง ทั้งศูนย์วิจัย วิเคราะห์เศรษฐกิจหลายแห่ง แสดงผลการวิจัยและการคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าศักราชนี้ประชาชนจะใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลกินเจลดลง และอาจต่ำสุดในรอบ 13 ปี เช่นที่หอการค้าไทยได้วิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจ โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,393 ตัวอย่าง เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 ตุลาคม 2563 พบว่า เทศกาลกินเจปีนี้คาดว่าจะไม่คึกคัก ส่วนใหญ่กว่า 39.8 เปอร์เซ็นต์ มาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเป็นหลัก รองลงมา 18.6 เปอร์เซ็นต์ ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและ 19.1 เปอร์เซ็นต์ มาจากคนตกงานรายได้ลดลง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของแต่ละคนในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้อยู่ที่ 11,469 บาท สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 11,155 บาท เป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มอาหารที่เกี่ยวข้องกับเจปรับราคาขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าเทศกาลกินเจปีนี้จะมีเงินสะพัดช่วงเทศกาลประมาณ 46,967 ล้านบาท ขยายตัว 0.9

Read More

ความท้าทายของอุตสาหกรรมหนังสือ จะหมุนอย่างไรเมื่อไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนแปลง

การอ่านเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในหลายระดับ ตั้งแต่การพัฒนาสติปัญญา เสริมเกราะทางภูมิปัญญาของผู้อ่านเอง จนไปถึงการพัฒนาในระดับชาติ ทว่า ทั้งการส่งเสริมการอ่าน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังสือจากภาครัฐกลับไม่เข้มข้นพอ ในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่เกี่ยวกับหนังสืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้องยอมรับว่าบรรดาหนอนหนังสือและนักอ่านจำนวนหนึ่งเฝ้ารอคอยงานนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการได้เปิดประสบการณ์ผ่านจินตนาการทางตัวหนังสือแล้ว ยังมีโอกาสได้ซื้อหนังสือในราคาประหยัด และไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักอ่านที่รอคอยงานหนังสือเท่านั้น ทั้งผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ ต่างเฝ้ารองานนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะบางสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนมักจะใช้ช่วงเวลานี้เปิดตัวหนังสือ หรือผลงานเล่มใหม่ ความคึกคักและการตื่นตัวที่เคยเกิดขึ้นทุกปีในวงการหนังสือเล่มดูจะค่อยๆ จืดจางลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การเติบโตของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้วงการหนังสือต้องพัฒนาและหมุนตามโลกให้ทันเพื่อไม่ให้หลุดจากวงโคจร ไม่ใช่เหตุผลทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหนังสือในห้วงยามนี้ ทว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในหลายแวดวงและแผ่อิทธิพลมาสู่วงการหนังสือด้วยก็คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไทยให้สาหัสกว่าเดิม เพราะนอกจากการที่อุตสาหกรรมหนังสือต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเติบโตของเทคโนโลยีด้วยการทรานส์ฟอร์มจากหนังสือเล่มไปสู่ e-book แล้ว ยังต้องรับมือกับการอ่อนแรงในเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 48 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 18 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไปสู่ช่องทางดิจิทัล ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการขายหนังสือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายสำนักพิมพ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน บางสำนักพิมพ์แม้จะไม่ได้ปิดตัวลงไปในทันที แต่ชะลอการพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมา และดำเนินธุรกิจด้วยการ Re-print

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More