Home > On Globalization (Page 16)

จาก SARRC สู่ IDY การทูตวัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 Column: AYUBOWAN วันนี้ผู้เขียนต้องขออนุญาตท่านผู้อ่าน AYUBOWAN ทุกท่าน แทรกคิวและข้ามโพ้นบริบทของศรีลังกาไปสู่ภาพกว้างที่น่าสนใจติดตามและกำลังขยายให้เรื่องราวความเป็นไปของภูมิภาคเอเชียใต้ เป็นประหนึ่งศูนย์กลางของวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในมิติว่าด้วย well-being กันสักนิดนะคะ เนื่องเพราะเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมาได้รับการเฉลิมฉลองให้เป็นวันโยคะนานาชาติ หรือ International Day of Yoga: IDY เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งการประกาศวันโยคะนานาชาติเช่นว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่ใครอยากประกาศเฉลิมฉลองหรือจัดกิจกรรมยกย่องเทิดทูนผู้ใดหรือสิ่งใดก็ประกาศกันไปตามอำเภอใจนะคะ หากแต่เรื่องราวความเป็นไปของ International Day of Yoga: IDY ถือเป็นวาระที่มีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ร่วมพิจารณาและลงมติรับรองกันเลยทีเดียวค่ะ เรื่องราวความเป็นมาและเป็นไปของ International Day of Yoga ที่ว่านี้คงเกิดขึ้นได้ยากและคงต้องยกเครดิตให้กับวิสัยทัศน์ รวมถึงความสามารถของ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 และคนปัจจุบันของอินเดีย ที่นำพามิติทางวัฒนธรรมมาต่อยอดให้เกิดผลในระดับนานาชาติได้อย่างลงตัว ความเป็นไปของ Narendra Modi ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันนะคะ เพราะเขานำพาพรรค Bharatiya Janata Party หรือ BJP ให้สามารถครองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2014  แต่นั่นอาจไม่สำคัญเท่ากับการที่ Narendra

Read More

Dark is Beautiful

 Column: Women in Wonderland ทุกวันนี้เวลาที่เราเปิดโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือดูข่าวสารตามเว็บไซต์ต่างๆ เราจะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม อย่างเช่นเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เป็นต้น โฆษณาเหล่านี้มักจะมีการกล่าวถึงคุณสมบัติเด่นๆ ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละชิ้น และส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปรับสีผิวให้ดูขาวขึ้นมากกว่าสีผิวปกติ  ในปี 2521 บริษัท Unilever ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นบริษัทแรกที่ออกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้สีผิวขาวขึ้น และต่อมาก็มีบริษัทอื่นๆ เริ่มออกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรับสีผิวให้ขาวขึ้นมากกว่าเดิม ทุกบริษัทจึงมีการแข่งขันโฆษณากันอย่างดุเดือดถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าของตัวเองที่จะช่วยให้ผู้ใช้มีสีผิวที่ขาวขึ้นกว่าเดิม โฆษณาเหล่านี้หากดูเผินๆ แล้ว ก็เป็นการบอกเล่าคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มีสีผิวที่ขาวขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โฆษณาเหล่านี้กำลังปลูกฝังค่านิยมที่ผิดให้กับสังคม เพราะโฆษณาเหล่านี้กำลังจะบอกอย่างอ้อมๆ ว่า การที่มีผิวขาวนั้นจะทำให้เป็นที่น่าสนใจหรือดึงดูดสายตาของผู้ที่พบเจอในแต่ละวันมากกว่าคนที่มีผิวสีคล้ำ การที่เด็กๆ และผู้ใหญ่ได้ดูโฆษณาเหล่านี้หลายๆ ครั้งจากหลายๆ ผลิตภัณฑ์ ก็จะทำให้ผู้คนเหล่านี้รู้สึกไม่พอใจกับสีผิวของตัวเอง และต้องการให้ตัวเองมีสีผิวที่ขาวขึ้นมากกว่านี้ และที่แย่ไปกว่านั้นคือ คนที่เกิดมามีสีผิวคล้ำหรือดำ ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ ไม่มีความสุขกับสีผิวของตัวเอง และเกิดความวิตกกังวลว่าจะทำยังไงให้ตัวเองมีสีผิวที่ขาวขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ความคิดที่ว่า คนที่มีผิวขาวจะเป็นคนที่น่าสนใจ และดึงดูดสายตามากกว่าคนที่มีผิวสีคล้ำนั้น เป็นความคิดที่ผิด และนี่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีสีผิวต่างกัน ในปี 2525 Alice Walker ซึ่งเป็นนักเขียนชาวอเมริกัน ได้ให้คำจำกัดความ คำว่า

Read More

AMBALANGODA: เมืองหน้ากาก

 Column: AYUBOWAN สังคมทุกวันนี้ ดูจะอยู่ยากขึ้นเป็นลำดับนะคะ แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีถ้อยความเปรียบเทียบประหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโรงละครโรงใหญ่ที่ทุกสรรพชีวิตต่างมีบทบาทซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ในสมัยปัจจุบัน นอกจากจะยอกย้อนอย่างยิ่งแล้ว สังคมมนุษย์ยังยั่วแยง ย้อนแย้งหนักหนาขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ยังไม่นับรวมถึงหน้ากากคุณธรรมและความดี ที่หลายท่านพยายามใส่ทับหัวโขนให้ต้องลำบากตรากตรำทั้งศีรษะและใบหน้าอย่างน่าฉงน จนบางครั้งแอบนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อส่องกระจกเห็นเงาตัวเองแล้ว แต่ละท่านจะตะลึงในภาพเบื้องหน้าเหล่านั้นบ้างไหมและอย่างไร เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก ทำให้นึกถึงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของศรีลังกา ซึ่งขึ้นชื่อเรืองนามว่าเป็นถิ่นฐานที่ผลิตหน้ากากไม้และหุ่นกระบอก หนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนฐานคติและแนวความคิด ความเป็นไปของสังคมศรีลังกาในยุคที่ตกอยู่ใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคมได้เป็นอย่างดี Ambalangoda เมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา ห่างจากโคลัมโบลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร คือเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้งพิพิธภัณฑ์หน้ากาก และสำนัก Maha Ambalangoda School of Kolam และ Nambimulla School of Kolam ซึ่งต่างเป็นสำนักที่ช่วยสืบทอดประเพณีการเต้นรำหน้ากากให้ยืนยาวมาจนปัจจุบัน จากพื้นฐานที่ผูกพันอยู่กับวิถีความเชื่อว่าด้วยเรื่องภูตผี เหล่ามารร้าย โรคภัยไข้เจ็บและเทพผู้พิทักษ์แล้ว หน้ากากเหล่านี้ยังแนบแน่นกับการร้องเล่นเต้นรำ ที่เป็นไปเพื่อประกอบส่วนในพิธีสำคัญของราชสำนักและมีประวัติการณ์สืบย้อนไปในอดีตได้นานกว่า 4 ศตวรรษ หลังจากที่คณะนาฏศิลป์จากอินเดียใต้เดินทางเข้ามาในศรีลังกาในช่วงที่โปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และดูเหมือนว่า หน้ากากจะถูกสงวนไว้ให้กับราชสำนัก มากกว่าที่จะเป็นไปเพื่อประชาชนทั่วไป แต่เมื่อสังคมอาณานิคมซึ่งทอดยาวต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนมือระหว่างชาติตะวันตก ทั้งโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ควบคู่กับความเสื่อมถอยลงของราชสำนักศรีลังกา การเต้นรำหน้ากาก (mask

Read More

เดือนมงคลแห่งวิสาขะ

 Column: AYUBOWAN ตลอดเดือนพฤษภาคมที่กำลังจะผ่านไปสำหรับพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ถือเป็นเดือนมงคลแห่ง Vesak หรือวิสาขะ ซึ่งถือเป็นเดือนเริ่มต้นแห่งวิถีของ Poya ในศรีลังกา ที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Arahant  Mahinda Thero หรือ อรหันต์มหินทะเถระ นำพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ และถือเป็นเดือนแห่งการรำลึกถึงพุทธคุณ 3 ประการ คือประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ธงฉัพพรรณรังสี ซึ่งเป็นสื่อสัญลักษณ์ของความเป็นชาวพุทธ และเกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง จึงได้รับการประดับตกแต่งอยู่ทั่วทุกเขตย่านร้านถิ่น ขณะเดียวกันก็มีการเฉลิมฉลอง Vesak กันอย่างเอิกเกริก ทั่วทั้งเขตเมืองและชนบท ประเพณีการจัดงานเทศกาลวันวิสาขบูชาของศรีลังกานั้น เป็นวิถีที่สืบเนื่องติดต่อกันมาเนิ่นนาน และสามารถสืบย้อนทางกลับไปได้นับตั้งแต่ที่พระมหินท์ ซึ่งเป็นพระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในดินแดนแห่งนี้เลยก็ว่าได้  แต่หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าทุตถคามนี (Dutthagamini) ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 382-406 และได้ทรงโปรดให้มีการจัดเทศกาลเฉลิมฉลองประเพณีนี้ขึ้นประจำทุกปีตลอดรัชสมัยของพระองค์ ความเป็นไปของการเฉลิมฉลองวิสาขะ ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่จำเริญในธรรมของชาวศรีลังกา ได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลและให้ความสำคัญจากราชสำนัก ดังจะเห็นได้จากการที่กษัตริย์องค์ต่อมาได้สานต่อกิจกรรมเฉลิมฉลอง และหนุนนำให้การจัดงานวันวิสาขบูชาเป็นไปอย่างใหญ่โตและเอิกเกริก พร้อมกับมีการเพิ่มกิจกรรมที่เป็นการกุศลเข้ามาอย่างชัดเจน ทั้งการถวายจีวรให้กับคณะสงฆ์ รวมถึงประเพณีให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ซึ่งในด้านหนึ่งเพื่อสะท้อนภาพการเป็นราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมั่นคงในหนทางธรรม แต่สรรพสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง และประเพณีการจัดเทศกาลวันวิสาขบูชาของศรีลังกาก็ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นแต่อย่างใด เพราะพลันที่มหาอำนาจจากตะวันตกได้ยกทัพกรีธาพลขึ้นสู่ชายฝั่งศรีลังกา และขยายแผ่อิทธิพลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่เมื่อพุทธศตวรรษที่ 22 ไล่เรียงจากโปรตุเกส ดัตช์

Read More

ฉัพพรรณรังสี

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า ฉัพพรรณรังสี และคงนึกสงสัยว่ามีความหมายว่าอย่างไรบ้างไหมคะ รากฐานของฉัพพรรณรังสี มีที่มาจากคำสมาสในภาษาบาลี โดย “ฉ” หมายถึง หก และ “วณฺณ” หมายถึง สี และ “รํสี” หมายถึง รังสีหรือรัศมี รวมความก็จะได้ความหมายว่า รังสี 6 สี ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นรังสีที่แผ่ออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า  หากประเมินจากกรณีที่ว่านี้ อาจเรียกได้ว่าฉัพพรรณรังสี ก็คือ Aura’s Spectrum ของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งแสงและสีทั้ง 6 นี้ ถือเป็นสีมงคลของพุทธศาสนิกชนอีกด้วย เมื่อฉัพพรรณรังสี เป็นสีมงคล สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว การที่ได้รับรู้ว่าสีทั้งหก ที่เรียกว่าฉัพพรรณรังสีนี้ ประกอบด้วยสีใดและมีความหมายอย่างไรกันบ้าง ก็คงเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนผู้สนใจในธรรมควรได้ศึกษาต่อเนื่องออกไปอีกใช่ไหมคะ เริ่มจากสีนีละ ซึ่งหมายถึงสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน หรือสีน้ำเงินนั่นเอง เป็นสีที่เป็นตัวแทนและสื่อความหมายไปถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสากลจักรวาล สีปีตะ หรือ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง ซึ่งสื่อแสดงถึงมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง ติดตามมาด้วย สีโรหิตะ หรือ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน สื่อถึงการอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ

Read More

ผู้หญิงอินเดียถูกไล่ออกจากงานเพราะตั้งครรภ์

 Column: Women in Wonderland ประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู (80.5%) และอิสลาม (13.4%) ซึ่งทั้งสองศาสนานี้มีกฎเกณฑ์ต่างๆ สำหรับผู้หญิงไว้ชัดเจน ทำให้ผู้หญิงอินเดียมีสิทธิในสังคมน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้นับถือสองศาสนานี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าในศาสนาฮินดูนั้นมีการแบ่งระดับคนไว้ 5 วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ หมายถึงคนที่เป็นนักบวช ทำหน้าที่สอนศาสนา ประกอบพิธีทางศาสนา และให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน วรรณะกษัตริย์ หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักปกครอง หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (3) วรรณะแพศย์ หมายถึงพวกเศรษฐี พ่อค้า คหบดี และเกษตรกร  วรรณะศูทร คือพวกกรรมกร และลูกจ้าง และ จัณฑาล ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในอินเดีย และถูกรังเกียจ เหยียดหยามจากคนในสังคม  จัณฑาล คือเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีวรรณะแตกต่างกัน การแบ่งชนชั้นเหล่านี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้วในเมืองใหญ่ๆ แต่ตามชนบทนั้นการแบ่งชนชั้นเหล่านี้ยังคงมีอยู่ และผู้หญิงอินเดียก็ได้รับผลกระทบจากการแบ่งชนชั้นวรรณะเช่นเดียวกัน อย่างที่กล่าวไว้ตอนเริ่มว่า ประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก จึงมีประชากรเป็นจำนวนมากที่มีฐานะยากจนและอยู่ในวรรณะต่ำ ผู้หญิงยากจนในวรรณะต่ำที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ นอกจากจะต้องทำหน้าที่เป็นแม่บ้านตามปกติแล้ว พวกเธอยังต้องทำงานหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง ขุดแร่ ปั้นหม้อดิน หว่านข้าว

Read More

มหัศจรรย์แห่งเอเชีย

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของศรีลังกาในชั่วโมงนี้ อาจทำให้ผู้คนจากต่างแดนจำนวนมากรู้สึกแปลกใจ ในขณะที่ประชาชนชาวศรีลังกาเองก็เริ่มแอบมองย้อนถึงการตัดสินใจ เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด และเป็นสิ่งที่พึงใจต้องการจริงหรือไม่ ปัญหาหลักของศรีลังกาที่เผชิญกับการก่อการร้ายและภาวะสงครามกลางเมืองมาอย่างยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอยู่ที่การขาดแคลนเสถียรภาพและความมั่นคงที่จะดึงดูดใจให้ผู้ลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็อยู่ในภาวะชะงักงัน ความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งจึงจำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้และนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาหนุนนำระบบเศรษฐกิจของศรีลังกาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ภายหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถกระชับและครองอำนาจสูงสุดในปี 2004 เรื่อยมาพร้อมกับการดำเนินมาตรการปราบปรามรุนแรง เพื่อยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ ซึ่งสิ้นสุดลงในปี 2009 เขาได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างน่าสนใจ ความมุ่งหมายในการพัฒนาภายใต้วลีปลุกเร้าว่าด้วย “The Emerging Wonder of Asia” กลายเป็นถ้อยความที่สื่อสารออกไปทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อโหมประโคมประชาสัมพันธ์บริบทใหม่ของศรีลังกาในยุคแห่งการเดินหน้าสู่สังคมสันติสุขและยุคสมัยแห่งการปรองดอง กลไกหลักที่นำถ้อยความนี้ออกสู่สาธารณะและเวทีประชาคมโลก นอกเหนือจากหน่วยงานของรัฐในทุกระดับระนาบแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวของศรีลังกาดูจะเป็นหน่วยงานที่สามารถสื่อสารข้อความนี้ให้เกิดภาพจำและความประทับใจได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่สิ้นสุดเหตุรุนแรงจากสงครามกลางเมืองในปี 2009 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนศรีลังกาก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงศรีลังกาปีละ 4.38-4.48 แสนคนต่อปี ในช่วงปี 2008-2009 แต่ในปี 2010 จำนวนนักท่องเที่ยวทะยานขึ้นสู่ระดับ 6.5 แสนคน และเป็น 8.5 แสนคนในปี 2011 ก่อนที่จะก้าวไปทะลุสู่ระดับ 1

Read More

ยุทธศาสตร์ศูนย์กลาง

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงในศรีลังกาช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากจะอุดมด้วยสีสันหลากหลาย และจังหวะก้าวที่ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งแล้ว ต้องยอมรับว่ากลไกส่วนหน้าที่ครอบครองอำนาจในช่วงที่ผ่านมา สามารถกำหนดและวางกรอบโครงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของที่นี่ได้ในระดับที่น่าสนใจติดตาม เพราะพลันที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 เขาก็ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า “Mahinda Chintana: Vision for the Future” พร้อมกับปูทางเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2010  ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งอนาคต หรือ “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน และศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม (Maritime, Aviation, Knowledge, Energy and Commerce) กลายเป็นต้นทางของกรอบโครงแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์ศูนย์กลาง “5 Hub Concept” ของศรีลังกา ไม่ได้เป็นเพียงกรอบโครงที่ว่างเปล่าเลื่อนลอย หากแต่มีรายละเอียดและแผนปฏิบัติการค่อนข้างชัดเจนในแต่ละหมวด เฉพาะในมิติของการเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร

Read More

อนาคตที่เก่าแก่ และประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

 Column: AYUBOWAN หลังผ่านการเฉลิมฉลองเถลิงศกใหม่แบบไทยๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สังคมไทยยังมีโอกาสได้ย้อนรำลึกความหลัง ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี 233 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ให้ได้ชื่นชมชื่นใจในยามที่หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่าสภาพเศรษฐกิจ สังคมกำลังเดินทางมาถึงจุดที่ได้แต่ก้มหน้าฝืนทนและหวังจะให้ผ่านพ้นไปเสียที ประวัติศาสตร์ความเป็นไปของบ้านเมืองและผู้คน ในด้านหนึ่งจะเป็นเพียงเรื่องราวที่มีไว้บอกกล่าว ปลอบประโลม หรือแม้กระทั่งปลุกกระแสสำนึก ให้ได้ร่วมเรียนรู้บทเรียนครั้งเก่า คงต้องขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ในการนำเสนอและบุคลิกว่าด้วยทัศนะวิพากษ์ที่แต่ละสังคมพึงจะมี สำหรับโคลัมโบ ซึ่งกำลังจะมีการฉลองวาระครบรอบ 150 ปี ของการจัดตั้งสภาเทศบาลแห่งกรุงโคลัมโบ หรือ Colombo Municipal Council ซึ่งได้รับการจัดตั้งตามธรรมนูญเมื่อปี 1865 ในช่วงที่ศรีลังกาตกอยู่ในอาณัติการปกครองของอังกฤษอาจให้ภาพที่แปลกแตกต่างออกไป เพราะในความเป็นจริงความเป็นไปของโคลัมโบมีประวัติศาสตร์สืบเนื่องยาวนานและเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง ที่สัญจรผ่านร้อนหนาวข้ามแผ่นผืนทวีปและห้วงมหาสมุทรมาอย่างยาวนาน และเป็นที่รู้จักคุ้นเคยอยู่ในบันทึกของเหล่าพ่อค้าวานิชมามากกว่า 2,000 ปี ชื่อของ Colombo อย่างที่คุ้นเคยและเรียกขานในปัจจุบันนี้ เป็นชื่อเรียกขานที่ได้รับเป็นมรดกมาจากชาวโปรตุเกสซึ่งถือเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรกๆ ที่นำพาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ให้เกิดขึ้นในดินแดนแห่งนี้ แต่นั่นก็เมื่อประมาณ ค.ศ. 1500 หรือ 500 กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้น Colombo ได้รับการบันทึกถึงด้วยภาษาท้องถิ่นสิงหลในชื่อ Kolon thota ซึ่งสามารถถอดความได้ว่า เมืองท่าที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำ Kelani ควบคู่กับชื่อ Kola-amba-thota

Read More

Egg Freezing Party

 Column: Women in Wonderland การแช่แข็งไข่เป็นวิธีเก็บรักษาไข่ของผู้หญิงเพื่อไว้ใช้ในอนาคต โดยใช้วิธีแช่แข็ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บรักษาไข่ไว้ได้เป็นระยะเวลานาน เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องออกมาทำงานนอกบ้านที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เวลาส่วนใหญ่ของผู้หญิงเหล่านี้หมดไปกับการทุ่มเทให้กับการทำงาน และอาจทำให้บางครั้งลืมคิดถึงเรื่องการมีครอบครัว เรื่องนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในสังคมไทยที่ปัจจุบันผู้หญิงจะแต่งงานและมีลูกค่อนข้างช้า ซึ่งการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากจะส่งผลต่อความแข็งแรงของลูกในครรภ์ด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผู้หญิงไทยเท่านั้นที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงาน แต่ผู้หญิงในอีกหลายๆ ประเทศก็เช่นกันที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้  ปัจจุบันที่ประเทศอเมริกา เรื่องการแช่แข็งไข่กลายเป็นหัวข้อยอดนิยมที่กลุ่มผู้หญิงมักจะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนกลายเป็นกระแส Freezing Eggs Party ในประเทศอเมริกาไปเลย ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การที่ผู้หญิงอเมริกันส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะใช้บริการแช่แข็งไข่นั้นก็เพราะ พวกเธอต้องทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงาน ทำให้ยังไม่แน่ใจว่าจะได้แต่งงานเมื่ออายุเท่าไหร่ และไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์เมื่อตอนอายุเท่าไร การแช่แข็งไข่จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเก็บรักษาไข่ของพวกเธอไว้ในขณะที่ยังอายุน้อยอยู่ เพราะไข่ที่ถูกเก็บไว้เมื่ออายุยังน้อยย่อมมีคุณภาพมากกว่าไข่ในอนาคตที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็แย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และต้องการตั้งครรภ์ เพราะคุณภาพของไข่และอายุของผู้หญิงเป็นตัวแปรสำคัญต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การแช่แข็งไข่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการต้องการมีลูกแต่ยังไม่พร้อมด้วยสาเหตุต่างๆ แต่วิธีนี้ยังช่วยผู้หญิงที่เป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อยให้สามารถมีลูกได้อีกด้วย เพราะผู้หญิงที่เป็นมะเร็งนั้นอาจจะต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการคีโมบำบัด ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดอาการข้างเคียง อย่างทำให้หมดประจำเดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้าพวกเธอเลือกที่จะแช่แข็งไข่ไว้ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ก็จะทำให้พวกเธอยังมีโอกาสที่จะมีลูกได้ในอนาคต วิธีการแช่แข็งไข่นั้น เริ่มจากแพทย์จะฉีดกระตุ้นไข่ในรังไข่ของผู้หญิงให้ตกไข่มากขึ้นกว่าปกติ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการเก็บไข่ได้เป็นจำนวนมากต่อการเก็บหนึ่งครั้ง เมื่อไข่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว แพทย์ก็จะทำการเก็บไข่ออกมาทางช่องคลอด แล้วนำไข่เหล่านี้ไปแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลว และต้องแช่ไว้ภายในถังเก็บที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ -196 องศา ซึ่งจะทำให้เกิดการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและหยุดปฏิกิริยาทุกอย่างของเซลล์ไข่ไว้  วิธีนี้จะทำให้สามารถเก็บรักษาไข่ของผู้หญิงเอาไว้ได้เป็นเวลาหลายปี ค่าใช้จ่ายในการเก็บไข่หนึ่งครั้งอยู่ที่ประมาณ

Read More