Home > On Globalization (Page 25)

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่

ตอนแรก เขาเปียกมะล่อกมะแล่ก เพราะฝนที่ตกกระหน่ำ ลงมาอย่างหนัก ขณะนั่งรถเปิดประทุนไปตามถนน Champs-Elysee เพื่อเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง จากนั้นเครื่องบินประจำตำแหน่งของเขาถูกฟ้าผ่า หลังจากเพิ่งบินออกจากฝรั่งเศส เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงเบอร์ลิน ทำให้ต้องบินกลับไปยังปารีสอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินลำใหม่ แม้ว่า Francois Hollande ซึ่งสาบาน ตนเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในพิธีสาบานตนที่จัดขึ้นอย่างสมถะที่พระราชวัง Elysee Palace ประกาศว่า เขาจะเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ “ปกติธรรมดา” แต่เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกที่เขาได้เป็นประธานา ธิบดีฝรั่งเศสก็ไม่ปกติธรรมดาเสียแล้ว อย่างไรก็ตาม Hollande มิได้แสดงอาการสะทกสะท้านและยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นประธานา ธิบดีที่ “สง่างามแต่เรียบง่าย” ตามที่เขาตั้งใจ Hollande เคร่งขรึมสุขุมคล้ายกับประธานาธิบดีที่มาจากพรรค Socialist เพียงคนเดียวของฝรั่งเศส นั่นคือ Francois Mitterrand ก่อนที่ Hollande จะเป็นผู้มาทำลายสถิตินี้ ด้วยการ ก้าวขึ้นบันไดพระราชวัง Elysee Palace ในฐานะประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมคนที่ 2 เขาโบกมืออำลา

Read More

Arab Spring สิ้นมนต์ขลัง

การลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับผ่านไป 1 ปีแล้ว แต่ประชาธิปไตยกลับยังคงไม่อาจลงหลักปักฐานในโลกอาหรับได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น   1 ปีผ่านไปแล้ว สำหรับการลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศในโลกอาหรับ ที่เรียกกันว่า Arab Spring ซึ่งเคยทำให้โลกต้องจับตามองภูมิภาคนี้อย่างตื่นเต้น และจินตนาการบรรเจิดว่า จะต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในโลกอาหรับ แต่มาบัดนี้ ดูเหมือนว่า Arab Spring จะไม่ได้ให้ความหวังที่งดงามเท่าที่คิด ความหวังที่จะเห็นการเกิดใหม่ของเสรีภาพในภูมิภาคตะวันออก กลาง ดูหม่นหมองลงไปมาก เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นซึ่งมีแต่ความยุ่งยากลำบาก โดยเฉพาะในอียิปต์ ซึ่งมีทั้งการทำร้าย ชาวคริสต์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติจากตะวันตก และทำร้ายผู้หญิง ยิ่งเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอียิปต์กำลัง ใกล้เข้ามาทุกที เราได้เห็นผู้สมัคร 2 คนที่ล้วนแต่มาจากพรรคการ เมืองมุสลิม คือ Khairat al-Shater และ Hazem Salah Abu Ismail โดยคนแรกเป็นพวกสายกลาง ส่วนคนหลังเป็นพวกหัวรุนแรง แม้ว่าสิ่งที่เราเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นในโลกอาหรับในขณะนี้ อาจเป็นเพียงความสับสนอลหม่านเพียงชั่วคราว ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ หลังจาก การสิ้นสุดยุคเผด็จการที่ครองอำนาจมานานหลายทศวรรษ และการที่เพิ่งผงาดขึ้นมาของพลังที่ถูกกดขี่ไว้มานาน แต่คำถามมีอยู่ว่า ทำไมจึงดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากนักที่ประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐานลงในโลกอาหรับ   ศาสตราจารย์ Eric Chaney ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐ-ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ทำการศึกษาที่อาจช่วยตอบ คำถามข้างต้นได้ Chaney ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเกิด “ประชา ธิปไตยขาดดุล” (democracy deficit) ขึ้นในโลกอาหรับ และได้หักล้างทฤษฎีหลายอย่างที่ไม่ใช่คำตอบของคำถามข้างต้น

Read More