Home > mask

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง บริจาคหน้ากากอนามัย 10 ล้านชิ้นให้สถาบันการแพทย์ ในญี่ปุ่น ต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโควิด-19

เพื่อสนับสนุนความพยายามเพื่อต่อสู้กับการระบาดโควิด-19 บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด ได้ขอความร่วมมือจากพันธมิตรผู้ผลิตในประเทศจีนในการจัดหาหน้ากากอนามัยจำนวน 10 ล้านชิ้น เพื่อนำมาบริจาคให้กับสถาบันการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยบริษัทฯ ได้บริจาคหน้ากากอนามัยจำนวน 500,000 ชิ้นให้กับประเทศไทย ที่ยังคงมีความต้องการอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงหน้ากากอนามัย การบริจาคครั้งนี้เป็นไปตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์เป็นอย่างสูง ซึ่งรวมถึงประเทศที่บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง ดำเนินกิจการอยู่ รวมทั้งในประเทศไทยที่มีจำนวนผู้ป่วยสะสมประมาณ 3,000 ราย ซึ่งฟาสต์ รีเทลลิ่ง จะบริจาคหน้ากากอนามัยจำนวน 500,000 ชิ้น ผ่านทางบริษัท ยูนิโคล่ ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 11 โรงพยาบาล “ยูนิโคล่ ประเทศไทย ต้องการที่จะขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ที่นับได้ว่าเป็นผู้อยู่แถวหน้าในการเผชิญกับการสถานการณ์ในครั้งนี้ ด้วยการบริจาคหน้ากากอนามัยจำนวน 500,000 ชิ้นให้กับโรงพยาบาล 11 แห่ง ทั่วประเทศ โดยหน้ากากเหล่านี้จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่นับว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มึความเสี่ยงสูง

Read More

บีเอ็มดับเบิลยู ร่วมต้านโควิด-19 บริจาคหน้ากากอนามัยให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ร่วมต้านโควิด-19 บริจาคหน้ากากอนามัยให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ 5 แห่งในไทย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย บริจาคหน้ากากอนามัยจำนวน 5,000 ชิ้นให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ 5 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระราม 9 โรงพยาบาลสงขลา และสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ร่วมส่งต่อความห่วงใยให้แก่สังคมไทยในสถานการณ์วิกฤติ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดสำหรับพนักงานและลูกค้าอย่างเคร่งครัด มร. อเล็กซานเดอร์ บารากา ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่ยากลำบากในทุกภาคส่วนเช่นนี้ นอกจากเราจะต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรและครอบครัวทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเสมอมา เรายังได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่บีเอ็มดับเบิลยูมีต่อสังคมในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อต่อสู้และสนับสนุนการรับมือกับภาวะวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งเราได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด และเล็งเห็นความสำคัญในการส่งความช่วยเหลือให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัดต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ เรายังได้ประกาศมาตรการแนวทางต่าง ๆ เพือป้องกันการแพร่ระบาดในสำนักงานและเครือข่ายผู้จำหน่ายทั่วประเทศไทย เพื่อร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการบรรเทาการแพร่ระบาดและช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเคียงข้างกับคนไทยต่อไป” เมื่อเร็ว ๆ นี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป

Read More

AMBALANGODA: เมืองหน้ากาก

 Column: AYUBOWAN สังคมทุกวันนี้ ดูจะอยู่ยากขึ้นเป็นลำดับนะคะ แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีถ้อยความเปรียบเทียบประหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโรงละครโรงใหญ่ที่ทุกสรรพชีวิตต่างมีบทบาทซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ในสมัยปัจจุบัน นอกจากจะยอกย้อนอย่างยิ่งแล้ว สังคมมนุษย์ยังยั่วแยง ย้อนแย้งหนักหนาขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ยังไม่นับรวมถึงหน้ากากคุณธรรมและความดี ที่หลายท่านพยายามใส่ทับหัวโขนให้ต้องลำบากตรากตรำทั้งศีรษะและใบหน้าอย่างน่าฉงน จนบางครั้งแอบนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อส่องกระจกเห็นเงาตัวเองแล้ว แต่ละท่านจะตะลึงในภาพเบื้องหน้าเหล่านั้นบ้างไหมและอย่างไร เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก ทำให้นึกถึงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของศรีลังกา ซึ่งขึ้นชื่อเรืองนามว่าเป็นถิ่นฐานที่ผลิตหน้ากากไม้และหุ่นกระบอก หนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนฐานคติและแนวความคิด ความเป็นไปของสังคมศรีลังกาในยุคที่ตกอยู่ใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคมได้เป็นอย่างดี Ambalangoda เมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา ห่างจากโคลัมโบลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร คือเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้งพิพิธภัณฑ์หน้ากาก และสำนัก Maha Ambalangoda School of Kolam และ Nambimulla School of Kolam ซึ่งต่างเป็นสำนักที่ช่วยสืบทอดประเพณีการเต้นรำหน้ากากให้ยืนยาวมาจนปัจจุบัน จากพื้นฐานที่ผูกพันอยู่กับวิถีความเชื่อว่าด้วยเรื่องภูตผี เหล่ามารร้าย โรคภัยไข้เจ็บและเทพผู้พิทักษ์แล้ว หน้ากากเหล่านี้ยังแนบแน่นกับการร้องเล่นเต้นรำ ที่เป็นไปเพื่อประกอบส่วนในพิธีสำคัญของราชสำนักและมีประวัติการณ์สืบย้อนไปในอดีตได้นานกว่า 4 ศตวรรษ หลังจากที่คณะนาฏศิลป์จากอินเดียใต้เดินทางเข้ามาในศรีลังกาในช่วงที่โปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และดูเหมือนว่า หน้ากากจะถูกสงวนไว้ให้กับราชสำนัก มากกว่าที่จะเป็นไปเพื่อประชาชนทั่วไป แต่เมื่อสังคมอาณานิคมซึ่งทอดยาวต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนมือระหว่างชาติตะวันตก ทั้งโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ควบคู่กับความเสื่อมถอยลงของราชสำนักศรีลังกา การเต้นรำหน้ากาก (mask

Read More