Home > On Globalization (Page 15)

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของผู้หญิงซาอุดีอาระเบียในการเลือกตั้งท้องถิ่น

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้หญิงในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ในสังคมเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าซาอุดีอาระเบียจะมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่กฎหมายในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นกฎหมายที่เข้มงวดมากๆ สำหรับสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ หรือจะกล่าวได้ว่าในสังคมของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในสังคม ในช่วงหลายปีมานี้เราจะได้ยินข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม อย่างเช่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่มีข่าวว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้ สาเหตุที่ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลกก็เพราะมีผู้หญิงซาอุดีอาระเบียกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการขับรถ และมีการรณรงค์ผ่านเฟซบุ๊ก ยูทูป และทวิตเตอร์ ให้ผู้หญิงออกมาขับรถพร้อมกันในโครงการ Women 2 Drive และจะมีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับความสนใจและมีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก  สำหรับเรื่องนี้ประเทศซาอุดีอาระเบียให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้เป็นเพราะกลัวผู้หญิงจะได้รับอันตรายจากการเดินทางไปไหนคนเดียว ก่อนอื่นคุณผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าที่ซาอุดีอาระเบียนั้นมีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้หญิงใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และห้ามเดินทางคนเดียวโดยที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นญาติเดินทางไปด้วย กฎเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียค่อนข้างลำบากเวลาที่ต้องการเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปซื้อของ เพราะพวกเธอต้องพึ่งพาญาติที่เป็นผู้ชายให้เดินทางไปด้วย หรือไม่ก็ต้องจ้างคนขับรถ และไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะสามารถจ้างคนขับรถได้ เพราะสำหรับบางครอบครัวที่มีรายได้น้อยนั้น การจ้างคนขับรถถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ในแต่ละปีประเทศซาอุดีอาระเบียต้องเสียเงินถึงปีละ 3,200 ร้อยล้านดอลลาร์ (ประมาณ 96,000 ล้านบาท) ในการจ้างคนต่างประเทศเข้ามาทำงานเป็นคนขับรถ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2557

Read More

MEGAPOLIS: 2030

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านเห็นหัวเรื่องคอลัมน์สัปดาห์นี้แล้ว อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นชื่อของงานเขียนอีกชิ้นหนึ่งของ Arthur C.Clarke นะคะ และนี่ก็คงมิได้เป็นเพียงโครงการในจินตนาการฝันเฟื่อง หากแต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้เป็นเข็มมุ่งในเชิงนโยบายและกรอบโครงแผนพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในศรีลังกานับจากนี้ โครงการพัฒนาเขตเมืองโคลัมโบและพื้นที่โดยรอบซึ่งรวมเรียกว่า Western Province ของศรีลังกาภายใต้ชื่อ Megapolis ที่ว่านี้เป็นโครงการสืบเนื่องที่มีการนำเสนอมาตั้งแต่เมื่อปี 2004 เมื่อครั้งที่พรรค United National Party (UNP) ครองอำนาจและมี Ranil Wickremesinghe ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ต้องถูกพับเก็บไว้หลังจากที่ Mahinda Rajapaksa จากพรรค United People’s Freedom Alliance (UPFA) ขึ้นมามีอำนาจแทนและครองการนำมานานกว่า 10 ปี นับจากนั้น แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2015 ที่ผ่านมา ซึ่ง UNP เป็นฝ่ายครอบครองชัยชนะ และ Ranil Wickremesinghe ได้กลับมาครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีศรีลังกาอีกครั้ง ทำให้โครงการ Megapolis กลายเป็นกรอบโครงนโยบายว่าด้วยการพัฒนาที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจและกำหนดวางอนาคตของศรีลังกาครั้งใหม่ที่โดดเด่นอย่างยิ่ง เพราะโครงการ

Read More

Sri Lankan Airlines: นกยูงแห่งเอเชียใต้

Column: AYUBOWAN ได้ยินได้ฟังเรื่องราวความเป็นไปของการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาครบรอบ 55 ปี ในปี 2015 เมื่อช่วงเดือนเศษที่ผ่านมาแล้ว ก็ให้รู้สึกเห็นใจผู้คนที่อยู่แวดล้อมองค์กรแห่งนี้ ทั้งในส่วนพนักงานที่ยังไม่สามารถกำหนดอนาคตได้แน่ชัด หรือผู้โดยสารที่รอให้กำลังใจด้วยการใช้บริการ และที่สำคัญคือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีที่รัฐอาจต้องนำเงินไปอุดหนุนวิสาหกิจแห่งนี้อีกครั้ง แต่กรณีของการบินไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อย่างใดนะคะ เพราะอย่างที่เราท่านคงทราบดีว่า “When State Owns, Nobody Owns. When Nobody Owns, Nobody Cares.” ซึ่งดูเหมือนความเป็นไปของสายการบินแห่งชาติหลายแห่งก็จะดำเนินไปในพิกัดระนาบเช่นที่ว่านี้ จนต้องล้มหมอนนอนเสื่อป่วยไข้ไปด้วยพิษการบริหารที่ล้มเหลวจนถึงกับต้องล้มละลายจากหายไปในที่สุด เรื่องราวของ Sri Lankan Airlines เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา ก็คงไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะได้รับการยกเว้นจากกรณีที่ว่านี้เช่นกันนะคะ เพราะกว่าที่จะมาเป็น Sri Lankan Airlines สายการบินแห่งชาติของศรีลังกาในวันนี้ ต้องเผชิญกับมรสุมและกระแสลมแปรปรวนอยู่หนักหน่วงเช่นกัน จุดเริ่มต้นของสายการบินแห่งชาติศรีลังกา เริ่มขึ้นจากการจัดตั้ง Air Ceylon ในปี 1947 หรือก่อนที่ศรีลังกาจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในปี 1948 เสียอีก โดย Air Ceylon มีสถานะเป็นวิสาหกิจของรัฐ

Read More

ไอร์แลนด์เหนือที่สุดของกฎหมายการทำแท้ง

 Column: Women in Wonderland ประเทศไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศนั้นประกอบไปด้วย อังกฤษ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) และเวลส์ (Wales) เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือคือ เมืองเบลฟัสต์ (Belfast) และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ การปกครองในไอร์แลนด์เหนือนั้นได้รับการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองและการบริหารในกิจการภายในของประเทศให้อยู่ในความรับผิดชอบของสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือจะได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากรัฐบาลส่วนกลาง แต่รัฐบาลส่วนกลางก็ยังคงมีอำนาจเหนือสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในการออกและผ่านกฎหมายต่างๆ สำหรับการปกครองภายในประเทศนั้น สภาแห่งไอร์แลนด์เหนือมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดและผลักดันนโยบายต่างๆ ในการบริหารประเทศไอร์แลนด์เหนือ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กฎหมายที่บังคับใช้ใน 4 ประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรมีความแตกต่างกัน กฎหมายที่จะพูดถึงในวันนี้คือ กฎหมายการทำแท้งในไอร์แลนด์เหนือ ในปัจจุบันไอร์แลนด์เหนือยังคงเป็นประเทศเดียวในสหราชอาณาจักรที่ไม่อนุญาตให้มีการทำแท้งได้ นอกจากการตั้งครรภ์นั้นอาจจะทำให้ผู้ตั้งครรภ์เสียชีวิตลงได้ หรือในกรณีที่การตั้งครรภ์นี้จะส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่ตั้งครรภ์ในระยะยาวหรือตลอดไป ซึ่งในกรณีนี้ไม่รวมถึงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน ในขณะที่อีกสามประเทศภายใต้สหราชอาณาจักรได้ผ่านกฎหมายให้มีการทำแท้งอย่างเสรีได้ The Abortion Act 1967 หรือกฎหมายการทำแท้งอย่างเสรี ได้มีการประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2511 แต่กฎหมายนี้ยกเว้นการบังคับใช้ในไอร์แลนด์เหนือ  The Abortion Act 1967

Read More

ไปดูขบวนแห่กันไหม?

 Column: AYUBOWAN หลังจากพ้นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในเดือนกรกฎาคม ทั้งวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พร้อมกับขบวนแห่เทียนพรรษาที่ผ่านไป เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยอาจถือโอกาสนี้ตั้งจิตอธิษฐานหวังมุ่งก่อการบุญกุศลด้วยการหลีกหน้าห่างหายจากอบายมุข สร้างเสริมความสุขด้วยกุศลจิต โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งดูเหมือนจะอ่อนไหวและเปราะบางกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงขนาดรณรงค์ให้มีการงดเหล้าเข้าพรรษาเป็นเวลาสามเดือน หรือหากจะละเลิกไปได้เลยก็นับว่าประเสริฐยิ่ง ซึ่งก็ดูจะเป็นกิจกรรมที่รณรงค์ติดต่อกันมาหลายปี แต่ไม่แน่ใจว่าได้ผลบวกลบอย่างไร ในขณะที่เมืองไทยมีประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมทางสังคมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ก่อนหน้าวันสำคัญที่ว่านี้ ในศรีลังกา โดยเฉพาะที่เมือง Kandy ก็มีประเพณีสำคัญที่ถือเอาวันเพ็ญแห่งเดือน Esala เป็นหลักหมาย โดยนับจากหลังวันเพ็ญนี้ไปอีก 15 ราตรีกาล เป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลใหญ่ในนาม Esala Perahera ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องไปอีก 15 วันเลยทีเดียว Esala Perahera แห่งเมือง Kandy นี้ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนาและอารามหลวง Sri Dalada Maligawa ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระเขี้ยวแก้วที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกาด้วย ประเพณีการเฉลิมฉลอง Esala Perahera มีประวัติการณ์สืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ในอาณาจักรอนุราธปุระ โดยสันนิษฐานว่าเริ่มต้นจากพิธีกรรมขอฝนในห้วงเวลาแห่งวันเพ็ญเดือน Esala ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ผนวกกับ Dalada Perahera ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว (Dalada)

Read More

มาเลือกตั้งกันเถอะ

 Column: AYUBOWAN ขณะที่ความเป็นไปในแวดวงการเมืองไทยยังมีสภาพประหนึ่งติดบ่วงให้ต้องละล้าละลังและชะงักงันไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างตั้งใจ ภายใต้คำถามว่าจำเป็นต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ และจะปฏิรูปสิ่งใด อย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งดูเหมือนว่ากำหนดการเลือกตั้งที่ผู้คนในสังคมจำนวนหนึ่งรอคอยจะไม่ได้ถูกบรรจุในปฏิทินไปอีกนานทีเดียว แต่สำหรับสังคมศรีลังกา ซึ่งเพิ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้นำในตำแหน่งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตยครั้งใหญ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พวกเขากำลังเดินหน้าเข้าสู่คูหาเลือกตั้งอีกครั้งเพื่อลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 225 ที่นั่งมาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติ ไม่ได้หมายความว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาศรีลังกา เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไม่ได้มีสภานิติบัญญัตินะคะ หากแต่ไมตรีพละ สิริเสนา (Maithripala Sirisena) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบวาระ โดยจะเลือกตั้งกันในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 นี้ มูลเหตุที่ทำให้ศรีลังกามีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เร็วขึ้นกว่ากำหนดถึงกว่า 10 เดือน โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดคือเมื่อเมษายน 2010 และมีวาระ 6 ปีก็คือ คำมั่นสัญญาว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมืองของไมตรีพละ สิริเสนา เมื่อต้นปี 2015 หลังจากครองชัยชนะในการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งสามารถโค่น Mahinda Rajapaksa ให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไปท่ามกลางความแปลกใจของผู้สังเกตการณ์แต่ละกลุ่ม การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของไมตรีพละ สิริเสนา หลังการเลือกตั้งประชาธิปไตยเมื่อเดือนมกราคม 2015 ติดตามมาด้วยคำมั่นสัญญาและแผนปฏิรูป 100 วัน เพื่อแก้ไขข้อกำหนดบางประการในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะวาระและอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ที่ก่อนหน้านี้

Read More

TRINCOMALEE: Profiles of the FUTURE?

 Column: AYUBOWAN หาก Arthur C.Clarke ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ แห่งโลกวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ (science fiction) ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ภาพและแผนของโครงการลงทุนและพัฒนาที่ Trincomalee อาจบันดาลใจหรือกระตุ้นให้เกิดนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องใหม่ที่น่าติดตามไม่น้อยเลย เพราะพลันที่รัฐบาลของ Mahinda Rajapaksa ใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) อย่างรุนแรง จนได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดพร้อมกับประกาศสิ้นสุดสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ทศวรรษ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ก็พร้อมจะหลั่งไหลเข้าสู่ Trincomalee ยิ่งกว่ากระแสคลื่นลมเหนือเวิ้งอ่าวแห่งนี้เสียอีก ด้วยความได้เปรียบในทำเลที่ตั้งซึ่งทำให้ Trincomalee เป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต แต่ด้วยผลของสงครามและความขัดแย้งที่ทำให้แม้ท่าเรือ Trincomalee จะไม่ได้ถูกทิ้งร้าง แต่ก็ไม่ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มานานกว่า 4 ทศวรรษ ภายใต้เหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงภายใน ความพยายามที่จะพัฒนาหรือขยายฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศซึ่งเป็นมรดกจากยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่อังกฤษได้ส่งผ่านมาให้ และกระทรวงกลาโหมของศรีลังกายังคงใช้เป็นฐานทัพเรือหลักและฐานทัพอากาศอยู่ในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือน้ำลึกสำหรับการขนส่งสินค้าเพื่อมุ่งหน้าสู่อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากอินเดีย ที่กำลังรักษาบทบาทและสถานะการนำในภูมิภาค ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือท่าเรือที่ Trincomalee มีขนาดและอาณาบริเวณกว้างใหญ่ถึงกว่า 2,000 เฮกตาร์ ในขณะที่ท่าเรือ Colombo มีขนาดประมาณ 200

Read More

TRINCOMALEE: จากฉากหลังแห่งสงครามสู่อนาคตเบื้องหน้า

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจติดตามความเป็นไปของศรีลังกา คงพอจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ โคลัมโบ แคนดี้ รัตนปุระ รวมถึงอนุราธปุระ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของศรีลังกามาไม่น้อย ขณะที่เมืองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ อย่าง Trincomalee อาจให้ภาพที่แตกต่างออกไปพอสมควร ในด้านหนึ่งอาจเนื่องเพราะ Trincomalee เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของชาวทมิฬ ซึ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาถูกผลักให้จ่อมจมอยู่ท่ามกลางฉากหลังของสงครามกลางเมืองว่าด้วยชาติพันธุ์ และทำให้พัฒนาการของเมืองที่มีอดีตและศักยภาพในการเติบโตครั้งเก่าถูกฉุดให้ต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย ประวัติการณ์ของ Trincomalee สืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล และถือเป็นเขตบ้านย่านเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียอีกด้วย โดยเฉพาะความจำเริญในฐานะที่เป็นเมืองท่าและเขตการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงศรีลังกาเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาชาติอาเซียนในปัจจุบัน คณะธรรมทูตจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำพุทธศาสนากลับไปประดิษฐานในศรีลังกาอีกครั้ง ซึ่งนำโดยพระอุบาลีมหาเถระเมื่อปี 2295 ก็ได้อาศัยฝั่งฟากของเมืองท่า Trincomalee เป็นที่ขึ้นฝั่งแผ่นดินศรีลังกา ก่อนจะเดินเท้าข้ามผ่านระยะทางไกลเข้าสู่แคนดี้ เมืองหลวงของอาณาจักรศรีลังกาในขณะนั้นด้วย หากแต่ความสำคัญและเก่าแก่ของ Trincomalee ซึ่งเป็นชุมชนชาวทมิฬและผูกพันกับศาสนาฮินดูทำให้ Trincomalee ได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น “เขาไกรลาสแห่งดินแดนตอนใต้” ในขณะที่เจ้าอาณานิคมแต่ละรายที่ผลัดเปลี่ยนอิทธิพลกันเข้ามาต่างระบุถึง Trincomalee ว่าเป็นเขตอาณาที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องเพราะเมืองท่าแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่กว้างใหญ่ และสามารถรองรับเรือเดินทะเลได้ทุกรูปแบบและในทุกสภาพอากาศ ประจักษ์พยานแห่งความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของ Trincomalee ที่ว่านี้ ทำให้เมืองท่าที่อุดมด้วยศักยภาพต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นสมรภูมิการรบพุ่งระหว่างเจ้าอาณานิคมแต่ละรายอยู่ตลอดเวลา ด้วยต่างหวังจะช่วงชิงพื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการครอบครองความเป็นจ้าว เหนือน่านน้ำในมหาสมุทรอินเดีย และเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่อื่นด้วย เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และคาทอลิกซึ่งนำไปสู่สงคราม 30 ปีในยุโรป (The Thirty Years’

Read More

ชีวิตระหว่างและหลังสงครามที่ฉนวนกาซา

 Column: Women in wonderland เป็นเวลาหนึ่งปีแล้วหลังจากเกิดความขัดแย้งขึ้นที่ฉนวนกาซา หลายคนน่าจะยังจดจำความรุนแรงในครั้งนั้นได้ เมื่ออิสราเอลและกลุ่มฮามาสได้ยิงถล่มกันอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็มีการเจรจาหยุดยิง และความรุนแรงในครั้งนั้นก็ยุติลง แต่สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในบริเวณนั้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่มีความรุนแรงจนกระทั่งเหตุการณ์ยุติ ก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่ควร  ความรุนแรงที่ฉนวนกาซาในปี 2557 เริ่มต้นในเดือนมิถุนายนเมื่อมีการลักพาตัวและฆาตกรรมวัยรุ่นชาวอิสราเอล 3 คน ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้ออกมากล่าวโทษกลุ่มฮามาส แต่กลุ่มฮามาสออกมาปฏิเสธว่า พวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการลักพาตัวและฆาตกรรมวัยรุ่นชาวอิสราเอล  ความขัดแย้งแย่ลงไปอีก เมื่อวัยรุ่นชาวปาเลสไตน์ถูกลักพาตัวและถูกเผาทั้งเป็น เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากไม่พอใจ และออกมาประท้วงบนถนน เพราะพวกเขาเชื่อว่าวัยรุ่นชาวปาเลสไตน์คนนี้น่าจะถูกคนอิสราเอลฆ่าเพื่อแก้แค้นแทนวัยรุ่นชาวอิสราเอลที่ถูกฆ่าตายก่อนหน้านี้ วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 กลุ่มฮามาสออกมายอมรับว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการยิงจรวดเข้าสู่พื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอล นี่ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือนที่ผ่านมาที่มีการยิงจรวดระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล แล้วกลุ่มฮามาสออกมายอมรับว่าเป็นฝีมือของกลุ่มตัวเอง  หลังจากกลุ่มฮามาสออกมายอมรับ วันถัดมาอิสราเอลก็ประกาศ “ปฏิบัติการปกป้องชายแดน” โดยอิสราเอลให้เหตุผลการโจมตีกลุ่มฮามาสว่า อิสราเอลมีเป้าหมายเพื่อต้องการหยุดการยิงจรวดและทำลายความสามารถของกลุ่มฮามาสไม่ให้สามารถโจมตีอิสราเอลกลับได้ ดังนั้นอิสราเอลจึงโจมตีทางอากาศใส่กลุ่มฮามาสซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกาซามากกว่าหนึ่งพันจุด และกลุ่มฮามาสเองก็มีการโจมตีกลับด้วยจรวดมากกว่าหนึ่งพันลูกเช่นกัน จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ทำให้ประเทศต่างๆ ออกมาเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งด้วยการดำเนินการทางการทูต เพื่อทำข้อตกลงหยุดยิง การเจรจาเพื่อทำการหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากกลุ่มฮามาสมีความคิดว่าการหยุดยิงคือการยอมแพ้ จนในที่สุดกลุ่มฮามาสก็ยินยอมที่จะทำข้อตกลงหยุดยิงกับอิสราเอล หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้

Read More

ตามรอยพระอุบาลี

 Column: AYUBOWAN ท้องฟ้าที่ฉ่ำด้วยเมฆฝนและสายลมแรงทั่วทั้งแดนดินถิ่นเมืองไทยในห้วงยามนี้ คงทำให้หลายคนรู้สึก “อึดอัด” ระคน “หดหู่” กับความเป็นไปของบ้านเมืองอยู่ไม่น้อย ขณะที่อีกฝั่งฟากของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนแห่งศรีลังกาซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุมเช่นกัน ปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านี้แม้จะเป็นเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นเพียงวิถีธรรมชาติที่ต้องประสบพบเจอท่ามกลางความฉ่ำเย็นที่มาประโลมชีวิตจิตวิญญาณ สำหรับพุทธศาสนิกผู้สนใจในธรรมและความเป็นไปแห่งพุทธศาสนา เชื่อว่าหลายท่านคงได้ผ่านการรับรู้ หรือได้ยินได้ฟังเรื่องราวแห่งสยามวงศ์ที่ได้มาลงหลักปักฐานในแดนดินศรีลังกาอยู่บ้างนะคะ และก็คงมีโอกาสได้จาริกตามรอยพระอุบาลี พระธรรมทูตจากประเทศไทยที่มาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกาเมื่อปีพุทธศักราช 2295 หรือเมื่อกว่า 263 ปีล่วงมาแล้ว ในความเป็นจริง ความจำเริญรุ่งเรืองแห่งพุทธศาสนาในดินแดนศรีลังกานั้น มีมานานก่อนที่พุทธศาสนาจะขจรจายไปยังสุวรรณภูมิเสียอีก โดยเฉพาะหากพิจารณาในบริบทของสังคมไทยซึ่งมีการจารึกไว้ว่าได้รับพุทธศาสนามาจากศรีลังกาจนเกิดเป็นพุทธศาสนาสาย “ลังกาวงศ์” ซึ่งเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นแผ่นดินสุโขทัย และฝังรากลึกลงไปทุกขณะ แม้ว่าบางครั้งบางหน ดอกผลแห่งพุทธศาสนาจะร่วงหล่นลงสู่พื้นล่าง และเสื่อมถอยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง แต่แกนหลักแห่งลำต้นก็ยังให้ร่มเงาพักพิงแก่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาอยู่เสมอ ความจำเริญและเสื่อมถอย ย่อมเป็นปฏิภาคของด้านตรงข้ามอย่างยากจะปฏิเสธ เป็นอนิจลักษณะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เป็นหลักธรรมให้ผู้คนได้เจริญสติอยู่มิได้ขาดมานานกว่า 2 สหัสวรรษ และความเป็นไปของพุทธศาสนาในดินแดนลังกาก็ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นไปจากความเป็นจริงของโลกที่ว่านี้ ความพยายามที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาให้งอกเงยขึ้นมาใหม่จากซากที่ผุพังของศรีลังกาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้ากีรติสิริราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกา ซึ่งมีความศรัทธาแรงกล้าที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนสู่ศรีลังกาอีกครั้ง และส่งราชทูตมายังกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2293 เพื่อให้กรุงศรีอยุธยาส่งคณะธรรมทูตไปรื้อฟื้นพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ คณะราชทูตจากศรีลังกาออกเดินทางจากเมืองท่าตรินโคมาลี (Trincomalee) เมืองท่าสำคัญทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกาด้วยเรือของฮอลันดา ข้ามผ่านมหาสมุทรอินเดียมาเมืองอะเจะ สุมาตรา และต้องหลบเลี่ยงมรสุมอยู่ที่มะละกาเป็นเวลานานกว่า 5 เดือน  เมื่อมาถึงอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาโปรดให้คัดเลือกพระสงฆ์ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยประกอบด้วยพระสงฆ์ 24

Read More