Home > Life (Page 18)

Dirty Coffee ความเปรอะเปื้อนที่กลมกล่อม

“Dirty Coffee ต้องใช้เวลาสักครู่นะครับ” เสียงตอบกลับจากบาริสต้าประจำร้าน เมื่อได้รับออเดอร์เป็น Dirty coffee เมนูกาแฟชื่อแปลกหูแต่แฝงไว้ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กาแฟชื่อชวนสงสัยแก้วนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาคอกาแฟเป็นอย่างมาก ร้านกาแฟหลายร้าน โดยเฉพาะร้านกาแฟประเภท Specialty coffee หรือกาแฟพิเศษ ต่างบรรจุเมนูนี้ไว้ในลิสต์เพื่อดึงดูดลูกค้า จนกลายเป็นตัวชูโรงให้กับบางร้านไปเลยทีเดียว แต่หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นในใจว่า Dirty Coffee คืออะไร ทำไมใช้คำว่า dirty ที่แปลว่า สกปรก มาผสมกับเครื่องดื่มอย่างกาแฟ และทำไมถึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบอยู่ในชณะนี้ จริงๆ แล้ว Dirty Coffee คือกาแฟนมที่เสิร์ฟแยกชั้นกันอย่างชัดเจนและต้องเสิร์ฟมาในแก้วใสแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง ด้านล่างเป็นชั้นสีขาวของนมสดที่แช่มาจนเย็น ส่วนด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มของ espresso shot หรือ ristretto shot ที่ค่อยๆ ไหลแทรกซึมเข้ากับชั้นของนมด้านล่าง ก่อให้เกิดลวดลายเฉพาะตัว เขรอะนิดๆ อาร์ตหน่อยๆ อันเป็นที่มาของชื่อ Dirty Coffee เมนูกาแฟที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และรสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ ต้นกำเนิดของกาแฟแก้วพิเศษนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยมาจากการสร้างสรรค์ของ “คัตซึยูกิ ทานากะ”

Read More

ขบถ : สิทธัตถะ โคตมะ (563–483 BCE )

“จงอย่าเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้แต่คำพูดของเรา จนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยปัญญาและเหตุผลแล้ว” สิทธัตถะ น่าจะถูกเรียกได้ว่าเป็นนักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงหัวก้าวหน้าคนแรกๆ ของโลก เพราะไม่เพียงตั้งคำถามกับบรรทัดฐานความเชื่อเดิมของสังคม ระบบวรรณะที่แบ่งคนตามลำดับชั้นพร้อมกับสิทธิติดตัวแต่กำเนิด ความสมเหตุสมผลของการบูชายัญเทพเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์ของสถานภาพบุคคลบางจำพวกเท่านั้น แต่สิทธัตถะลงมือเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่ตามความเชื่อของตัวเอง เรียกว่า สังคมสังฆะ เน้นภราดรภาพ ความเท่าเทียมกันของทุกคน ไม่ให้ความสำคัญกับชาติกำเนิด แต่ประเมินคุณค่าของบุคคลจากการกระทำ สิทธัตถะย้ำในหลายโอกาสว่า แนวคิดของเขาเน้นการปฏิบัติ ศึกษาทดลองด้วยตนเอง จนเป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) เพราะแต่ละคนมีเหตุปัจจัยในชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ย่อมไม่มีความรู้ชุดมาตรฐานเดียวสำหรับทุกคน (One size fits all) หากกล่าวในมิติของสถานภาพ ตำแหน่ง เจ้าชาย (Prince) ของสิทธัตถะ ได้เปรียบบรรดานักคิดนักปรัชญาร่วมสมัย เพราะได้ร่ำเรียนวิชาวิทยาการครบทุกด้าน มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น อยู่อย่างสุขสบาย แต่นั่นกลับทำให้เขาตั้งคำถามกับชีวิตมากยิ่งขึ้น ชีวิตคืออะไร ชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร ทำไมหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างมีความทุกข์ตั้งแต่เกิดจนตาย เราจะหลุดพ้นจากวงจรเหล่านี้ได้อย่างไร สิทธัตถะปฏิวัติตัวเองครั้งแรกด้วยการทิ้งทรัพย์สมบัติ สถานภาพไว้เบื้องหลัง ออกเดินทางค้นหาความหมายของชีวิต ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์มีชื่อ จนสำเร็จวิชาสูงสุด เพียงเพื่อจะพบว่า มันยังไม่สามารถตอบคำถามในใจ เขาจึงต้องออกเดินทางค้นหาสิ่งที่อาจเรียกว่า สัจธรรม หรือความจริงแท้อีกครั้งโดยลำพัง เคี่ยวเข็ญเข้มงวดกับร่างกายและจิตใจ

Read More

ลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

Column: Well – Being เมื่อหมอวินิจฉัยว่าคุณมีอาการความดันโลหิตสูง อาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า ความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมอย่างไรบ้าง ที่สำคัญเมื่อคุณเกิดอาการดังกล่าวขึ้นแล้วจะไม่แสดงอาการให้คุณทราบได้ในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงที่ต้องเน้นย้ำคือ ความดันโลหิตสูงเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะนำไปสู่โรคที่เป็นเพชฌฆาตเงียบหลายโรค เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ภาวะสมองเสื่อม และไตวาย ซ้ำร้ายกว่านั้น ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ยังยืนยันว่า ปี 2018 ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการเสียชีวิตในประชากรร่วม 500,000 คน ซีดีซียังให้ข้อมูลต่อไปว่า ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ หนึ่งในห้าของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ไม่รู้ตัวว่ามีอาการความดันโลหิตสูง หมอจึงเตือนว่า ถ้าในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ คุณไม่เคยวัดความดันโลหิตเลย หมอแนะนำให้ไปวัด โดยค่าความดันที่สูงกว่า 130/80 มม. ปรอทถือว่าเข้าข่ายความดันโลหิตสูง (ค่าตัวบนคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าตัวล่างคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว) แม้ว่ายาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ตะคริวที่ขา เวียนศีรษะ และนอนไม่หลับ ข่าวดีคือ คนส่วนใหญ่สามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติโดยไม่ต้องกินยา “การเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการป้องกันและบำบัดความดันโลหิตสูง” ดร. แบรนดี

Read More

จริงไหม … เป็นโควิด-19 ทำให้ปวดหลัง?

Column: Well – Being ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่า ปวดหลังเป็นอาการของโรคโควิด-19 แต่ได้รวมเอาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดตัวเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง ดังนั้น คุณควรวิตกกังวลหรือไม่ถ้ามีอาการปวดหลัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่จำเป็น นิตยสาร Prevention แจกแจงข้อมูลที่คุณควรรู้ดังนี้ ปวดหลังเป็นอาการร่วมของโควิด-19? ผลสำรวจโดย Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้รอดชีวิตจากโรคโควิด-19 และ ดร. นาตาลี แลมเบิร์ต แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา พบว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าหายจากโรคโควิด-19ในทางเทคนิคแล้วยังต้องเผชิญกับอาการระยะยาวหรืออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง ส่วนบน และส่วนกลาง เป็นไปได้ไหมที่ป่วยโควิด-19 แล้วไม่มีไข้? อาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากโควิด-19 ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกับการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งซีดีซีระบุว่าเป็น “อาการที่เป็นทางการ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกประจำเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า จากคนไข้โควิด-19 ร่วม 56,000 รายในจีน มีเกือบร้อยละ 15 เผชิญกับอาการปวดและเจ็บกล้ามเนื้อ “โควิด-19 ก็เหมือนโรคจากไวรัสตัวอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการเชิงระบบ” ดร. มาร์คัส ดูดา ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

Read More

สมองล้า … อย่านิ่งนอนใจ

Column: Well – Being “เราทุกคนล้วนทำในสิ่งที่ทำให้สมองเหนื่อยล้า จากนั้นก็สงสัยว่าทำไมสมองของเราจึงไม่แจ่มใสเหมือนที่เคยเป็น” ดร.แซนดรา บอนด์ แชปแมน ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพสมองแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส เมืองดัลลัส ตั้งข้อสังเกต “เมื่อร่างกายของเราอ่อนล้า เรายังตระหนักได้ว่า เราจำเป็นต้องพักผ่อน แต่เมื่อสมองเหนื่อยล้าบ้าง เรามีแนวโน้มจะตะบี้ตะบันใช้งานต่อไป” ดร. เจสสิกา คัลด์เวลล์ นักประสาทวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในสตรีแห่งคลีฟแลนด์ คลินิก ก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกันว่า “คนส่วนใหญ่มักคิดว่าอาการสมองล้าจะไม่เกิดขึ้นกับคุณจนกว่าคุณจะแก่ตัวมากกว่านี้ แต่ฉันกลับได้เห็นในคนไข้ทุกช่วงอายุ และมีความเครียดเป็นตัวการสำคัญ” ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญของความรู้สึกอ่อนล้า โดยความรู้สึกเครียดนิดๆ ก่อให้เกิดสารพิษที่สามารถสะสมในสมองของคุณ และส่งผลกระทบถึงความสามารถในการโฟกัส การมีสมาธิจดจ่อ และการจดจำสิ่งต่างๆ สมองล้าคืออะไร ดร. กายาตรี เทวี ศาสตราจารย์คลินิกด้านประสาทวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์ดาวน์สเตท ซูนี อธิบายว่า สมองของเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านล้านเซลล์ แต่มีเพียง 10,000 – 20,000 เซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาท “โอเร็กซิน” ซึ่งผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เป็นหนึ่งในบรรดาวงจรไฟฟ้าหลายตัวที่ควบคุมให้เราอยู่ในภาวะตื่นและตื่นตัว “เพราะภาวะตื่นและตื่นตัวของเราถูกควบคุมโดยเซลล์ประสาทจำนวนเล็กน้อยนี่เอง ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ระบบสมองส่วนนี้ได้รับผลกระทบง่ายดายเพียงใด” นิตยสาร Prevention กล่าวว่าสาเหตุของสมองล้ามาจากสิ่งที่เรากำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แก่ ความเครียด ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเมื่อเผชิญกับความเครียดได้อย่างน่าทึ่ง

Read More

โละของไม่ใช้ เปลี่ยนบ้านรกเป็นบ้านน่าอยู่

คำว่า “เสียดาย” หรือ “เก็บไว้ก่อนเผื่อต้องได้ใช้” มักเป็นคำพูดที่เราได้ยินอยู่เสมอ ทั้งจากผู้อาศัยร่วมบ้าน โดยเฉพาะบรรดาแม่บ้านทั้งหลาย หรือแม้แต่ตัวเราเอง ที่มักจะสวมวิญญาณนักสะสมอยู่ไม่น้อย นานวันเข้าการเก็บสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยความเสียดายและยังไม่อยากทิ้ง ทำให้เราสูญเสียพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านไป และสิ่งของที่เราสะสมเหล่านั้นบ้านเรารกในที่สุด การเริ่มต้นศักราชใหม่ นอกจากการทำจิตใจให้แจ่มใสสดชื่น การทำบุญเพื่อเป็นมงคลแก่ตัวเองแล้ว การจัดบ้านใหม่ก็ช่วยให้สุขภาพกายและใจดีขึ้นด้วย เริ่มต้นด้วยการเคลียร์ข้าวของที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย เช่น กล่องพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก ฯลฯ ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยเริ่มหันมาใช้กล่องพลาสติกบรรจุอาหารทั้งคาวและหวานมากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้ถุงพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ยากกว่า ทว่า กล่องพลาสติกเหล่านี้ หลังจากที่เราได้รับมา อาจคิดว่าเมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถล้างและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น ใส่ของกระจุกกระจิกเพื่อความเป็นระเบียบ แต่พอมีปริมาณมากขึ้น เรากลายเป็นนักสะสมแบบไม่รู้ตัว การกำจัดทิ้ง เราเลือกกล่องพลาสติกที่ยังอยู่ในสภาพดี แข็งแรงเพียงไม่กี่ใบ หรือเฉพาะที่ต้องใช้จริงๆ ก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่เหลือใส่ถุงแยกทิ้ง เพื่อสะดวกแก่เจ้าหน้าที่คัดแยกขยะ ตะกร้า กระเช้า แทบทุกบ้านที่จะได้รับตะกร้าผัก กระเช้าผลไม้ ที่มักจะมอบให้กันในช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญเพื่อแสดงความยินดี แสดงน้ำใจต่อกัน และตะกร้า กระเช้าดีไซน์เก๋ เราอาจจะอยากเก็บไว้ใส่สิ่งของเพื่อจัดระเบียบ นำกลับมาใช้ใหม่ จากที่เคยซื้อตะกร้า กระเช้าที่จัดชุดสำเร็จรูปเพื่อมอบให้กันในช่วงเทศกาล ก็เพียงแค่ซื้อของมาจัดเองตามที่ชอบ หรือเหมาะกับผู้รับ และจัดลงกระเช้าใบเดิม เพียงเท่านี้ของเก่าก็เกิดประโยชน์แล้ว เสื้อผ้าเก่า รองเท้าคู่เดิม เชื่อว่าหลายคนมักประสบปัญหานี้แน่นอน เพราะเรามักจะหาซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายใหม่ๆ

Read More

สัญญาณมะเร็งเต้านมที่ไม่ใช่คลำพบก้อนเนื้อ

Column: Well – Being บ่อยครั้งที่การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมักมีรูปแบบนี้ : คุณผู้หญิงรู้สึกมีก้อนเนื้อบริเวณเต้านม และนัดพบแพทย์ แพทย์ก็ดำเนินการทดสอบบางอย่าง ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจเต้านม การทำแมมโมแกรม การทำอัลตราซาวด์ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการทดสอบหลายอย่างผสมกัน และผลการวินิจฉัยระบุว่า ก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมผู้หญิงจึงถูกกระตุ้นให้ตรวจสอบตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และให้ทำความคุ้นเคยกับเต้านมของตนจนสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้น แต่ก้อนเนื้อไม่ใช่อาการมะเร็งเต้านมเพียงอย่างเดียวที่คุณผู้หญิงต้องเฝ้าจับตาดู จริงๆ แล้วผลการศึกษาปี 2017 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cancer Epidemiology พบว่า 1 ใน 6 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม มีอาการอื่นอีกหลายอย่างที่นอกเหนือจากก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ดร. โจเซฟ เวเบอร์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านมแห่งออโรรา เฮลท์ แคร์ รัฐมิลวอคกี อธิบายว่า เพราะการไม่ค่อยตระหนักถึงอาการมะเร็งเต้านมที่ไม่ค่อยเป็นอาการร่วม ซึ่งนักวิจัยระบุว่าเป็น “อาการที่ไม่ตรงไปตรงมา” (atypical presentations) ที่สามารถทำให้การวินิจฉัยในคนไข้บางคนล่าช้าออกไป แน่นอนว่า การวินิจฉัยพบโรคเร็วขึ้นจะทำให้มีโอกาสได้รับการบำบัดรักษาเร็วขึ้น ซึ่งนับว่าดีที่สุดทีเดียว แต่นั่นไม่ได้แนะนำว่า คุณควรหยุดการตรวจดูเต้านมของคุณ ผลการศึกษาของ

Read More

เปิดทำเนียบ 10 อันดับผักโปรตีนสูง

Column: Well – Being ถ้าคุณคิดว่าอยากเป็นมังสวิรัติดูบ้าง คุณอาจต้องปวดหัวกับคำถามข้อนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ... “จะกินโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้อย่างไร?” แน่นอน เราไม่เถียงว่าผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์มักอุดมด้วยโปรตีน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ผักไม่สามารถทาบรัศมีเนื้อสัตว์ได้เลย โปรตีนมีความสำคัญในอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะกับนักกีฬาและผู้ที่พยายามลดน้ำหนัก โปรตีนสำคัญต่อการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ ทำให้คุณรู้สึกอิ่มในระหว่างว่างเว้นจากมื้ออาหาร และให้หลักประกันว่า ทุกเซลล์ในร่างกายของคุณทำงานอย่างถูกต้อง การปรับเปลี่ยนไปหาอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์น้อยลง ถือว่าดีต่อสุขอนามัยอย่างยิ่งก็จริง แต่ต้องให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้ขาดสารอาหารตัวที่สำคัญต่อร่างกายไปด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐฯ แนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรบริโภคโปรตีนอย่างน้อยวันละ 50 กรัมต่อปริมาณอาหาร 2,000 แคลอรีหรือประมาณ 15-20 กรัมต่อมื้อ (การวิจัยบางชิ้นแนะนำด้วยซ้ำว่าต้องเป็นมื้อละ 30 กรัม โดยเฉพาะมื้อเช้าเพื่อให้สามารถจัดการกับความหิวได้ดีที่สุด) ดังนั้น สำหรับผู้ที่ยังมีข้อข้องใจ ผักสามารถให้โปรตีนทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องได้รับ ร่างกายของคุณอาจต้องรู้สึกขอบคุณกับทำเนียบผักโปรตีนสูงที่ควรบริโภคตามที่นิตยสาร Prevention นำเสนอดังนี้ (1) ถั่วแระต้มสุกครึ่งถ้วย - ให้โปรตีน 9 กรัม ถั่วแระจัดเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยที่มีคุณประโยชน์สูงสุด ถั่วแระต้มสุกเพียงครึ่งถ้วย ทำให้คุณได้รับโปรตีนปริมาณมหาศาล จะกินเป็นอาหารว่าง หรือใส่ในซุปหรือผัดผักก็ได้ (2) ถั่วเลนทิลต้มสุกครึ่งถ้วย - ให้โปรตีน 8

Read More

เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำได้…ไม่ยาก

Column: Well – Being ระบบภูมิคุ้มกัน คือ แนวรับสำคัญของการป้องกันความเจ็บป่วยของคุณ ดังนั้น มันจะเป็นเหตุเป็นผลเท่านั้นที่คุณต้องการรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งจริงแท้เป็นพิเศษในช่วงที่ฤดูกาลไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด โดยเฉพาะการระบาดอย่างรุนแรงในทั่วโลกของโรคโควิด-19 ดร. จูเลีย แบลงค์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำศูนย์สุขภาพของโพรวิเดนซ์ เซนต์ จอห์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ตามธรรมชาติแล้วคุณเกิดมาพร้อมระบบภูมิคุ้มกันติดตัวมาด้วย และแต่ละคนก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่ที่แน่นอนคือ คุณสามารถลงมือทำเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ “การจะรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งอยู่ได้ คุณจำเป็นต้องดูแลร่างกายเป็นอย่างดีด้วย” ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร? ดร. แบลงค์ กล่าวกับนิตยสาร Prevention ว่า จริงๆ แล้วระบบภูมิคุ้มกันของคุณประกอบด้วย “การป้องกันหลายระดับชั้น” ซึ่งรวมถึงด่านทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง และซิเลีย (เซลล์ขน) ที่เรียงรายอยู่ในทางเดินหายใจของคุณ เป็นเซลล์ที่เชี่ยวชาญการจดจำและโจมตีสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส และแบคทีเรีย ดร.แบลงค์อธิบายต่อไปว่า “เซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านี้บางตัวไม่ได้เจาะจงทำลายทุกอย่างที่ดูเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่วนเซลล์อื่นๆ จะผลิตแอนติบอดี (โปรตีนต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย) ที่สามารถจดจำและเล็งเป้าหมายไปที่แอนติเจน (สารก่อภูมิคุ้มกัน) บนพื้นผิวของเชื้อโรค” ระบบภูมิคุ้มกันของคุณยังมีความสามารถในการจดจำเชื้อโรคที่คุณเคยสัมผัสมาก่อน และสร้างการตอบสนองอย่างรวดเร็ว “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงไม่ล้มป่วยหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคที่คุณเคยเผชิญหน้ามาก่อน และเคยต่อสู้ด้วยในอดีต”

Read More

ทำอย่างไรให้หายไอเรื้อรัง?

Column: Well – Being เมื่อคุณหายจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้ว แต่มีอีกอาการหนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่ยอมหาย แถมยังมีทีท่าจะอยู่กับคุณตลอดไปซะอีก ... เฮ้อ ... ทำไงดี? ดร. นิโคล เอ็ม ไทเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ประจำซีดาร์ ไซนาย เมดิคอล กรุ๊ป ในลอสแองเจลิส อธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้วอาการไข้หวัดจะหายไปใน 7-10 วัน แต่ผลการวิจัยระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยไข้หวัดจะยังมีอาการไอต่อไปอีกจนถึงวันที่สิบแปด “อาการไอสามารถเป็นเรื้อรังยาวนานกว่าอาการอื่นๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพยายามต่อสู้เพื่อให้ทางเดินหายใจกลับมาเป็นปกติ” ขณะที่อาการบวมคั่งของเลือดค่อยๆ ดีขึ้น เสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอยังสามารถกระตุ้นไอได้เช่นกัน อาการนี้ดูเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป แต่อาการน่าเบื่อนี้จะหายไปได้ในท้ายที่สุด ถ้ายังไอเรื้อรังนานกว่าสองเดือน ให้พบแพทย์ เพราะมันอาจส่งสัญญาณว่าคุณอาจมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด หรือกรดไหลย้อน (คุณควรบอกแพทย์ด้วยว่านอกเหนือจากอาการไอ คุณมีอาการใดอาการหนึ่งของโรคโควิด-19 ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย) อย่างไรก็ตาม นิตยสาร Prevention นำเสนอวิธีป้องกันและควบคุมอาการไอเรื้อรังให้อยู่หมัดเสียแต่เนิ่นๆ หรือวิธีทำให้บรรเทาลงในทันทีที่มันเริ่มคุกคามคุณดังนี้ ปกป้องตัวเอง วิธีง่ายที่สุดที่จะปลอดภัยจากอาการไอเรื้อรังคือ หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยให้ได้เป็นลำดับแรก ตั้งแต่ตื่นตัวเกี่ยวกับการล้างมือทุกครั้งหลังออกไปในที่สาธารณะ สัมผัสพื้นผิวที่ใช้ร่วมกัน หรืออยู่ท่ามกลางผู้ป่วย ถ้าคุณรู้สึกมีอาการที่ค่อยๆ

Read More