Home > Life (Page 19)

น้ำยาบ้วนปากฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม?

Column: Well – Being   นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่พากันยกระดับอนามัยส่วนบุคคลกันยกใหญ่ ตั้งแต่หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นผิวต่างๆ ราวกับเป็นมืออาชีพ และมีเจลแอลกอฮอล์ใกล้มือตลอดเวลาเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา กับคำถามที่ว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม? ดูจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด ซึ่งนิตยสาร Shape ได้ให้ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้อย่างน่าสนใจทีเดียว ได้ความคิดน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากไหน? บทวิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Function วิเคราะห์ว่า น้ำยาบ้วนปากมีศักยภาพสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 ในระยะแรกของการติดเชื้อได้หรือไม่ สิ่งที่นักวิจัยอธิบายคือ เชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม หมายความว่ามันมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ชั้นนอกซึ่งมีลักษณะเป็นไขมัน และจนกระทั่งบัดนี้วงการยังไม่ได้ถกกันว่า คุณจะมีศักยภาพในการเพียงแค่ “บ้วนปาก” (ด้วยน้ำยาบ้วนปาก) แล้วจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกนี้ และทำให้ไวรัสอ่อนแรงลงขณะที่มันอยู่ในปากและลำคอของผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ นักวิจัยให้ความสนใจผลการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่เสนอแนะว่า ส่วนผสมร่วมที่พบในน้ำยาบ้วนปากทั่วไป คือ เอทานอล (แอลกอฮอล์), โพวิโดน-ไอโอดีน (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังก่อนและหลังการผ่าตัด) และเซทิลพิริดิเนียม คลอไรด์ (ส่วนประกอบของเกลือที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย) ที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสที่มีเปลือกหุ้มชนิดอื่นอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม แต่คราวนี้เราไม่รู้ว่าองค์ประกอบที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปากเหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไวรัส SARS- CoV- 2 หรือไม่ ถึงจุดนี้ต้องบอกว่าทุกอย่างยังเป็นทฤษฎี

Read More

จับตามะเร็งลำไส้ใหญ่คุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น

Column: Well – Being การเสียชีวิตของแชดวิค โบสแมน “แบล็คแพนเธอร์” ดาราจอเงินขวัญใจคอหนังทั่วโลกขณะอายุเพียง 43 ปี ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะแฟนคลับผู้ชื่นชอบฝีมือการแสดงของเขาทั้งช็อกทั้งเสียใจและเสียดายไปตามๆ กัน โบสแมนพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 เมื่อปี 2016 และพัฒนาจนเป็นระยะสุดท้ายหรือระยะ 4 กระทั่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของปี 2020 นี้ กรณีของโบสแมนทำให้สมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (เอซีเอส) เปิดเผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยพบมากที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐฯ เอซีเอสประเมินว่าปีนี้จะมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 104,610 รายและอีกกว่า 43,000 รายในกรณีของมะเร็งลำไส้ตรง (rectal cancer) นิตยสาร Prevention กล่าวว่า การเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโบสแมนขณะอายุยังน้อยไม่ถือเป็นเรื่องน่าแปลก เพราะขณะที่อัตราการถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในสหรัฐฯ มีตัวเลขลดลงในหมู่ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่น่าจับตามองคือ อัตราการป่วยในคนหนุ่มสาวกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เอซีเอสประเมินว่า มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักราวร้อยละ 12 (ประมาณ 18,000 ราย) มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ทำไมมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงคุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น? เอซีเอสเปิดเผยว่า ผลการวิจัยระบุว่า

Read More

Staycation หย่อนใจ ใกล้บ้าน

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมในการพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การเดินทางมีข้อจำกัด อีกทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้เราต้องหันมารัดเข็มขัดและคุมเข้มกับการจับจ่ายใช้จ่ายกันมากขึ้น รูปแบบการท่องเที่ยวจึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เที่ยวใกล้บ้าน เดินทางง่าย สบายกระเป๋า ตามสไตล์ “Staycation” จึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่กำลังมาแรงในหมู่คนชอบเที่ยวอยู่ในขณะนี้ Stay + Vacation = Staycation “Staycation” มาจากคำว่า “Stay” บวกกับ “Vacation” คำ 2 คำที่มีความหมายที่ดูขัดกัน แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่มีเสน่ห์ในตัวเอง Staycation เป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนในละแวกท้องถิ่นที่เราอยู่ เดิมทีหมายถึงการพักร้อนอยู่กับบ้าน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในระยะหลังยังหมายรวมถึงการท่องเที่ยวในเมืองและในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราได้หันมาทำความรู้จักกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยมุมมองใหม่ เหมือนเราเป็นนักท่องเที่ยวในบ้านของตัวเอง ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation เริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันชนในช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis ซึ่งเกิดในช่วงปี 2007-2010 วิกฤตครั้งนั้นทำให้คนอเมริกันต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน เลยหันมาเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทนเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง เช่นเดียวกับทางฟากเกาะอังกฤษ ซึ่งความนิยมในการพักผ่อนแบบนี้เกิดขึ้นในราวๆ ปี 2009 เป็นช่วงที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ทำให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะ Staycation แทนการเดินทางไป Vacation ในที่ไกลๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

Read More

ไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล 2020 ที่คุณต้องรู้

Column: Well – Being ไข้หวัดใหญ่เป็นภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกหรือปาก โดยเฉลี่ยแล้วชาวอเมริกันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 8 ต่อปี และทุกคนมีความเสี่ยงต่อไวรัสนี้ นิตยสาร Prevention รายงานการเปิดเผยของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (ซีดีซี) ว่า นับจากเดือนตุลาคม 2019 ถึงต้นเดือนเมษายน 2020 มีผู้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนเพราะไข้หวัดใหญ่ราว 62,000 ราย และต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 740,000 ราย เทียบกับฤดูกาล 2018-2019 มีผู้เข้าโรงพยาบาลราว 490,000 ราย และผู้เสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 34,200 ราย อาการของไข้หวัดใหญ่มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ที่อาจรวมถึงไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ไอ และปวดศีรษะ บ่อยครั้งที่ไข้หวัดใหญ่มักสับสนกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดใหญ่จะพัฒนาอาการอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่ามาก ที่สำคัญอาการยังสามารถซ้ำซ้อนกับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ เมื่อผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไอหรือจาม ทำให้ละอองฝอยจากสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสล่องลอยในอากาศ คุณสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ถ้าสูดกายใจเอาละอองฝอยเหล่านี้เข้าทางจมูกหรือปาก หรือถ้าคุณสัมผัสกับพื้นผิววัตถุต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู หรือแป้นคีย์บอร์ดปนเปื้อนเชื้อไวรัส จากนั้นก็ใช้มือนั้นสัมผัสจมูก ตา หรือปาก

Read More

ช่วยกันลดกินเนื้อวัวเพื่อคุณ … เพื่อโลก

Column: Well – Being ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เนื้อวัวเป็นวัตถุดิบสำคัญในอาหารของชาวอเมริกัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติที่กินเนื้อวัวมากที่สุดในโลกประมาณ 58 ปอนด์ต่อคนต่อปี (ขณะที่คนทั่วโลกกินเนื้อวัวเฉลี่ยเพียง 14 ปอนด์ต่อคนต่อปี) แม้ว่าบางคนจะยังคงสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเนื้อวัวชนิดขาดไม่ได้ แต่ก็มีหลักฐานแจ้งชัดที่ชี้แนะว่า การลดกินเนื้อวัวจะเป็นคุณกับตัวคุณเองและโลกของเรา นิตยสาร Prevention จึงประกาศโครงการรณรงค์ลดการกินเนื้อวัวว่า นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 เป็นต้นไป ครัวของนิตยสารเล่มนี้จะไม่สร้างสรรค์สูตรอาหารใหม่ที่มีเนื้อวัวเป็นส่วนประกอบอีกต่อไป และจะหันไปเน้นโปรตีนชนิดอื่นแทนโดยให้เหตุผลว่า ... เนื้อวัวสร้างปัญหาให้โลก ผลการศึกษาปี 2018 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฟันธงว่า การเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ การผลิตปศุสัตว์ต้องใช้พื้นที่การทำฟาร์มของโลกถึงร้อยละ 83 แต่สามารถผลิตแคลอรีรวมได้เพียงร้อยละ 18 และผลิตโปรตีนรวมเพียงร้อยละ 37 ซ้ำร้ายกว่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ฟาร์มทั้งหมดดังกล่าวจะสร้างความยั่งยืนให้โลกได้ ผลการศึกษาปี 2016 กล่าวว่า อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวทำให้เกิดการทำลายป่าในลุ่มน้ำแอมะซอนถึงร้อยละ 80 โดยทั่วไปแล้ว โลกต้องรับภาระหนักหน่วงกว่าการผลิตแหล่งโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่นๆ มาก ได้แก่ เนื้อหมู และสัตว์ปีก ที่สำคัญมีธุรกิจน้อยรายมากที่ใช้แนวทางยั่งยืน เช่น การเลี้ยงสัตว์ที่มีการจัดการ ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต้องดำเนินควบคู่กันไป เนื้อแดงซึ่งในสหรัฐอเมริกามักหมายถึงเนื้อวัว สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

Read More

ระวังผมร่วงหลังหายป่วยโควิด-19

Column: Well – Being ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักหน่วงของโรคโควิด-19 เรามักได้รับรายงานข่าวว่า มีคนจำนวนไม่น้อยทุกข์ทรมานจากภาวะแทรกซ้อนหลังจากถูกแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เช่น บางคนไอเรื้อรัง ขณะที่อีกหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ บางคนโชคดีที่รู้สึกสบายดี แต่มีผู้หายป่วยจากโควิด-19 แล้วกำลังปวดหัวกับปัญหาผมร่วงเช่นกัน นิตยสาร Prevention รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาชิกของ Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้ป่วยเป็นโควิด-19 ได้เปิดเวทีให้สมาชิกผู้มีประสบการณ์ผมร่วงเป็นเวลาหลายเดือน หลังหายป่วยจากโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ “ฉันป่วยหนักเป็นโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันหายป่วยได้ แต่ตอนนี้ฉันกำลังวิตกเกี่ยวกับผลที่ตามมา” สมาชิกคนหนึ่งเขียนเล่า “ผมของฉันร่วงมากเหลือเกิน และฉันก็กลัวเกินกว่าที่จะแปรงผมด้วย” สมาชิกอีกคนหนึ่งเล่าว่า “ตอนนี้ผมร่วงมาก ฉันป่วยเมื่อปลายเดือนมีนาคม อาการผมร่วงค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ” อีกคนหนึ่งเสริมขึ้นว่า “ปกติฉันเป็นคนผมหนา แต่ตอนนี้เวลารวบผมแล้วผูกเป็นหางม้า ความหนาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยหนา” จดหมายข่าวเพื่อการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน JAMA ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม วิเคราะห์ข้อมูลจากคนไข้ 143 รายผู้ป่วยเป็นโควิด-19 และพบว่าร้อยละ 44 กล่าวว่า พวกเขามี “คุณภาพชีวิตที่แย่ลง” มีรายงานว่าพวกเขาทุกข์ทรมานจากอาการเรื้อรังรูปแบบต่างๆ เช่น อ่อนล้า หายใจขัด

Read More

หนทางเยียวยาจิตใจตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกแย่

ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายสับสน ระคนไปด้วยปัญหาสารพันอย่าง และดูจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วที่มนุษย์เรามักจะมีปัญหาติดตัวอยู่เสมอ แม้ว่าปัญหาแรกจะถูกคลี่คลายไปได้ในเวลาไม่นาน แต่ปัญหาอื่นๆ มักจะทยอยเดินทางมาถึงไม่วันใดก็วันหนึ่ง แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีจิตใจเข้มแข็งพร้อมรับมือกับทุกสภาพปัญหา หรือทุกอุปสรรคที่ต้องเผชิญ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความรู้สึกอุ่นใจ มีคนคอยซัปพอร์ต ให้กำลังใจ หรือเป็นมือที่คอยมาฉุดให้ลุกขึ้นในทุกยามที่ล้มลง หลายคนเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาและความกดดันรอบตัว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่รู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ สิ้นหวัง ความรู้สึกเหงา เคว้งคว้าง เมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมาเกาะกินหัวใจของเรามากเกินไป ส่งผลให้ความรู้สึกแย่ลง บางครั้งเสียงร้องเรียกขอความช่วยเหลืออาจดังไม่พอที่ใครจะได้ยิน ทว่า การปลอบประโลมจิตใจตัวเองเพื่อให้มีแรงฮึดที่จะฝ่าฟันกับอุปสรรคที่กำลังดาหน้าเข้ามา น่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก การเยียวยาจิตใจตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้จัดการ 360 องศา คัดสรรวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและอาจช่วยให้คุณเข้มแข็งจนผ่านช่วงเวลาแย่ๆ นี้ไปให้ได้ ฟังเสียงดนตรีธรรมชาติ เริ่มจากให้ธรรมชาติบำบัด หากคุณมีเวลา การปลีกวิเวกหาสถานที่เงียบๆ ที่ทำให้เราได้ฟังเสียงหัวใจและความต้องการของตนเองได้ก็คงช่วยให้จิตใจได้สงบลงบ้าง แต่หากไม่สามารถจัดสรรเวลาที่เหมาะสมและลงตัวได้ การเปิดฟังธรรมชาติจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีทั้งเสียงน้ำไหลในลำธาร เสียงน้ำตก เสียงฝนตก เสียงนกร้องก็ช่วยให้อารมณ์เย็นลง สงบ ผ่อนคลายความตึงเครียดได้มากทีเดียว หนังสือ เพื่อนที่ดีที่สุดเสมอ ลงทุนสักหน่อยกับหนังสือดีๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจ เพียงเล่มละร้อยกว่าบาท ก็ช่วยพาคุณออกจากโลกที่หม่นหมองอยู่ได้มากเดียว และไม่แน่ว่า คุณอาจมีแรงใจเพิ่มขึ้นมากพอที่จะลุกขึ้นก้าวต่อไปข้างหน้าได้เลย เพื่อนรักสัตว์เลี้ยง มีข้อมูลมากมายที่แนะนำให้บุคคลที่มีภาวะจิตใจอ่อนแอ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หาสัตว์มาเลี้ยงสักตัว เพราะการเลี้ยงสัตว์สักตัวแม้จะไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายนัก เมื่อคุณต้องศึกษาเรื่องพื้นฐานของสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิด

Read More

ขนคุด …น่ารำคาญ ต้องกำจัดทิ้ง?

Column: Well – Being ขนคุดเป็นลักษณะของเส้นขนที่บิดตัวม้วนกลับลงไปใต้ผิวหนังหลังจากที่คุณโกน ถอน หรือแวกซ์ขน ทำให้เกิดเป็นตุ่มนิ่มๆ ที่คุณรู้สึกรำคาญเมื่อไปสัมผัสเข้า “ขนคุดเกิดขึ้นเมื่อปลายเส้นขนไม่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมา แต่กลับมุดหัวกลับลงไปใต้ผิวหนังแทน” ดร.โจชัว ซีชเนอร์ แห่งโรงพยาบาลเมาต์ไซนาย นิวยอร์กซิตี อธิบาย “ภาวะนี้สามารถนำไปสู่อาการตุ่มแดงซึ่งมักติดเชื้อได้” “ที่เป็นอย่างนี้เพราะในบางกรณี ผิวหนังระบุว่าเส้นขนนั้นเป็น สิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้าน” ดร.ไอฟ์ เจ. ร็อดนีย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติม ในกรณีที่เกิดการอักเสบ ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของอาการไม่พึงประสงค์มากมาย เช่น ผิวหนังแดงและระคายเคือง เกิดเป็นตุ่มเล็กๆ ที่มองเห็นเส้นขนหรือหัวหนองอยู่ตรงกลาง ทำให้คุณรู้สึกเจ็บและตุ่มนั้นมีลักษณะนุ่มนิ่มแถมยังคันอีกต่างหาก นิตยสาร Prevention ให้ความกระจ่างดังนี้ ทำไมจึงเป็นขนคุด? ดร.ซีชเนอร์อธิบายต่อไปว่า ขนคุดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนอาจมีความโน้มเอียงที่จะเป็นมากกว่าคนอื่น เช่น คนที่มีเส้นขนหยิกหรือหนา เสี่ยงจะเป็นขนคุดมากกว่า เพราะรูปร่างตามธรรมชาติของเส้นขนของพวกเขา “บางครั้งสภาพขนหยิกนั้นไม่เคยงอกโผล่พ้นรูขุมขนขึ้นมาบนผิวหนังด้วยซ้ำ” ดร.ร็อดนีย์กล่าวเพิ่มเติม “มันกลับม้วนตัวมุดกลับลงไปเป็นตุ่มกลมอยู่ภายใต้ผิวหนัง” นอกจากนี้ นิสัยการดูแลตนเองโดยทั่วไป ซึ่งรวมทั้งการโกนหนวด การถอน หรือการแวกซ์ขน ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดขนคุดด้วย โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ใบมีดโกนอันเก่า หรือดึงผิวหนังจนเรียบตึงเพื่อให้โกนขนให้ใกล้โคนขนมากขึ้น หรือโกนย้อนแนวที่ขนขึ้นตามธรรมชาติ ขนคุดชอบขึ้นที่ไหนบ้าง? ดร.ซีชเนอร์เปิดเผยว่า ขนคุดเกิดบนผิวหนังส่วนไหนก็ได้ที่ถูกถอน โกน

Read More

ระบายสี ละลายความเครียดสะสม

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่กำลังซื้ออ่อนแรงลงเป็นทุนเดิม และยังถูกกระหน่ำซ้ำเติมจากระลอกคลื่นแห่งความโชคร้ายที่พัดพาเอาเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามาสร้างรอยแผลให้ลึกลงไปจากจุดเดิม นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอื่นๆ ที่รายล้อมเข้ามาดั่งพายุลูกแล้วลูกเล่า ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ ปัญหาความอยุติธรรมในสังคม การประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในกลุ่มต่างๆ ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนนำมาซึ่งความเครียดที่ค่อยๆ แทรกซึมและหยั่งรากลึกลงไปในระบบความนึกคิด ความรู้สึก และแปรสภาพเป็นอาการที่แสดงออกมาทางกายภาพ ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ เราได้ถ่ายทอดความตึงเครียดไปสู่ผู้คนในครอบครัวโดยที่เราไม่อาจรู้ตัว อาการที่บ่งชี้ว่า เราอยู่ในภาวะความเครียด ได้แก่ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ยังมีอาการที่แสดงออกทางด้านจิตใจ เช่น สมาธิสั้น ความจำไม่ดี การตัดสินใจช้าลง วิตกกังวล อาการที่แสดงออกทางด้านอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่ายขึ้น ร้องไห้ มองโลกในแง่ร้าย ซึมเศร้า อาการที่แสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารจุบจิบ หรือรับประทานอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ เมื่อเรามีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นหวัด หรือมีไข้ เราสามารถดูแลรักษาสุขภาพให้หายจากไข้หวัดได้ ด้วยการใช้ยาบรรเทาอาการ ออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ความเครียดที่เกิดขึ้น

Read More

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ “ต้อกระจก”

Column: Well – Being เมื่อถามคนส่วนใหญ่ว่า พวกเขารู้อะไรเกี่ยวกับโรค “ต้อกระจก” บ้าง คุณอาจได้ยินคำตอบที่ผสมผสานกันของคำว่า “ปัญหาทางสายตา” “มองเห็นเบลอ ๆ” และ “โรคคนแก่” ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันผู้มีอายุ 80 ปีล้วนรู้จักต้อกระจกกันดี จริงๆ แล้ว “ต้อกระจก” คืออะไร? คลินิกเมโยให้คำจำกัดความว่า ภาวะ “ต้อกระจก” เป็นอาการขุ่นมัวที่เกิดขึ้นกับเลนส์แก้วตาของคุณ ซึ่งปกติแล้วจะใส เฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยต้อกระจกรายใหม่ราว 2 แสนรายในแต่ละปี และก่อให้เกิดปัญหาการอ่านหนังสือ การขับรถ (โดยเฉพาะเวลากลางคืน) และแม้แต่การจดจำการแสดงออกทางสีหน้า อาการของโรคต้อกระจกมีทั้งสภาวะการมองเห็นขุ่นมัว เบลอ หรือมีความไวต่อแสง และมองเห็น “รัศมี” โดยรอบดวงไฟ ความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจก ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รวมทั้งผู้เป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นไปได้ที่คุณอาจเกิดภาวะต้อกระจกที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น โดยจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40 ปี แต่อาจไม่เป็นปัญหาต่อการมองเห็นจนกระทั่งคุณมีอายุ 60

Read More