Home > Cover Story (Page 130)

กาแฟ-สังคม-ชุมชน กรีนเนท เอสอี สู่ “มีวนากาแฟอนุรักษ์ป่า”

  ท่ามกลางเสียงเครื่องบดกาแฟแบบมือหมุน และกลิ่นกรุ่นของกาแฟในกระดาษกรองที่ผ่านน้ำร้อนแบบควบคุมอุณหภูมิ ที่บริษัท กรีนเนท เอสอี จำกัด กำลังส่งต่อให้เหล่านักดื่มกาแฟได้สัมผัสรสชาติกาแฟที่ถูกบ่มเพาะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ในป่าต้นน้ำในจังหวัดเชียงราย เรื่องราวของเมล็ดกาแฟที่นอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารตามธรรมชาติที่สามารถปลุกให้ตื่นจากภวังค์ได้แล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเหล่าเกษตรกรชาวเขาจากผืนป่าต้นน้ำแม่ลาว แม่สรวย แม่กรณ์ บนพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งบริษัทกรีนเนท เอสอี จำกัด นับเป็นกิจการเพื่อสังคมผู้ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า “มีวนา” โครงการเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั้งสามแห่ง ร่วมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรแบบแผ้วถางป่า มาเป็นการปลูกกาแฟออร์แกนิคใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ โดยมีหมุดหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับป่าและชุมชน ด้วยความมุ่งหวังให้กาแฟมีวนาเป็นกลไกหนึ่งในการรักษาป่าพื้นที่ป่าต้นน้ำ และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ในประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน จากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในไทยไปกว่า 70 ล้านไร่นับตั้งแต่มีการสำรวจครั้งแรกในปี 2504 ที่พบว่าไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 171 ล้านไร่ และหลงเหลืออยู่เพียง 102 ล้านไร่ในปี 2557 ส่งผลเสียนานัปการ นอกจากความไม่สมดุลของสภาพดินฟ้าอากาศแล้ว ยังส่งผลต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนาจึงเริ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ในผืนป่า เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร และเสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง นับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรและชาวบ้านในชุมชนหวงแหนรักป่า และช่วยกันฟื้นฟูให้ป่าไม้กลับมาสมบูรณ์  กลุ่มบริษัทพรีเมียร์เล็งเห็นประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ จึงเข้ามาสนับสนุน โดยวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทพรีเมียร์กล่าวว่า  “ผมอยากเห็นภาคธุรกิจและสังคมโดยรวมมีความเชื่อร่วมกันว่า การประกอบธุรกิจที่สร้างคุณค่าสู่สังคมเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริง อีกทั้งผู้บริโภคยังสามารถมีส่วนร่วมในการนำส่งคุณค่านั้นผ่านการสนับสนุนสินค้าหรือบริการ โครงการนี้ได้รับการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โครงการมีวนามีรายได้จากการจำหน่ายกาแฟออร์แกนิค ในขณะที่กระบวนการทั้งหมดของมีวนาได้คำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของทุกภาคส่วน

Read More

กาแฟ “มีวนา” บนความยั่งยืนของป่าต้นน้ำ

  ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากสองปัจจัย คือ หนึ่งปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การหมุนรอบตัวเองของโลกและรอบดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์ การระเบิดของภูเขาไฟ และสอง ปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า เมื่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปีตามอัตราการเติบโตของจำนวนประชากร อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่เข้ามาทำลายสมดุลทางธรรมชาติ อันเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนและยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนขึ้น แม้ว่าหลายประเทศจะตระหนักรู้ถึงต้นเหตุของปัญหาและกำลังระดมสรรพกำลังเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน หรืออย่างน้อยที่สุดคือการบรรเทาเพื่อชะลอวิกฤตที่อาจเกิดตามมาในอนาคต ทั้งการปลุกและปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับประชากรทุกช่วงวัยให้รับรู้และใส่ใจต่อเรื่องดังกล่าว กระนั้นหากเปรียบเทียบแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะโลกร้อนจากทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงไม่สามารถสร้างสมดุลในแนวบวกได้มากนัก เมื่อภาพสะท้อนจากนโยบายภาครัฐที่ฉายให้เห็นถึงความคาดหวังให้เกิดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายต่างๆ ที่ยังคงปรากฏและดำเนินไปนั้น โดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความชัดเจนในเรื่องหวังผลให้เกิดการเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขจีดีพีที่เป็นบวกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บรรดานักลงทุนที่ตัดสินใจตอบรับแรงหนุนนำจากภาครัฐและพร้อมที่จะหว่านเมล็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอให้ผลงอกเงยนั้น แม้จะเป็นความจริงที่การกระทำดังกล่าวช่วยให้เกิดการจ้างงาน รวมไปถึงกระตุ้นการจับจ่ายได้ส่วนหนึ่ง กระนั้นก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการไปในทิศทางที่หวังผลกำไรที่สามารถแบ่งเป็นเงินปันผลต่อหุ้นส่วนทางธุรกิจ มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนส่วนรวม นอกเหนือไปจากปัญหาความแปรปรวนในเรื่องสภาพอากาศที่ไทยจะต้องเผชิญแล้ว ปัญหาภัยแล้งที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ในขณะนี้ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ คือพืชผลทางการเกษตร  การขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก ส่งผลให้ชาวนาบางส่วนต้องชะลอการทำนา รวมไปถึงสินค้าเกษตรที่ต้องปรับราคาสูงขึ้นเมื่อผลผลิตไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทำให้เกิดสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีนี้แทบจะไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงของโลกได้เลย ซึ่งการส่งออกนับเป็นอีกฟันเฟืองที่สำคัญยิ่งของเศรษฐกิจไทย สภาวะภัยแล้งที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้นั้น สาเหตุหนึ่งมาจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และอาจส่งผลให้ปี 2559 ไทยต้องเจอกับวิกฤตการณ์ภัยแล้งรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการผันแปรของมวลน้ำจากมหาสมุทรอินเดียอาจจะบรรเทาภัยแล้งไปได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่พอจะช่วยได้ เพราะสถานการณ์น้ำฝนตามฤดูกาลในปี 2558 มีจำนวนน้อยมาก  นอกเหนือไปจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่ส่งให้ไทยต้องพบกับวิกฤตภัยแล้งแล้ว การลดจำนวนลงของป่าไม้ในประเทศไทยน่าจะเป็นอีกปัญหาที่ถูกสั่งสมมาอย่างยาวนาน  จากข้อมูลสถิติการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของไทยนับจากปี

Read More

เอสเอฟ “ช้าแต่ชัวร์” ชะลอแผนต่างประเทศ

  ขณะที่ค่าย “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” เร่งปูพรมสาขาตามแผนก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าปี 2020 หรือปี พ.ศ. 2563 จะขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ครบ 1,000 โรง โดยมีทั้งยักษ์ใหญ่ “อิออนมอลล์” ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มทุนท้องถิ่นเป็นพันธมิตรเสริมความแข็งแกร่ง ฟากฝั่ง “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” กลับยังขอเวลาศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะแผนรุกตลาดอาเซียน ซึ่งเริ่มต้นดูทำเลตั้งแต่ 2 ปีก่อน และล่าสุดยืดเวลาออกไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี แม้มีการเจรจากับผู้ร่วมลงทุนหลายรายแล้ว ทั้งลาว เมียนมา เวียดนาม รวมถึงการต่อยอดธุรกิจศูนย์การค้า หลังจากผุดโครงการ “เมญ่า” (MAYA) ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ บนถนนนิมมานเหมินท์ ใจกลางเมืองเชียงใหม่เมื่อต้นปี 2557  ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ มีทั้งหมด 47 สาขา

Read More

เซเว่นฯ พลิกกลยุทธ์สู้ “ศึกนอก-ศึกใน” รุมถล่ม

  แม้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัดสินใจพลิกกลยุทธ์ส่งสารแจงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมประกาศจัดตั้งบอร์ดบรรษัทภิบาล ยกระดับมาตรฐานเพื่อเรียกความเชื่อมั่น หลังเกิดเหตุสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ 4 ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารติดรวมอยู่ด้วย ข้อหาใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) ซื้อขายหุ้น “แม็คโคร” แต่ปัญหายังไม่จบ ล่าสุดสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศผลการจัดอันดับบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 100 อันดับ ประจำปี 2559 หรือ “อีเอสจี 100 (ESG 100)” ซึ่งปรากฏว่าซีพีออลล์หลุดเกณฑ์อีเอสจี 100  ขณะเดียวกันการที่บอร์ดซีพีออลล์ไม่มีคำสั่งให้ผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่ากระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นบางคน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และนักลงทุนสถาบันเรียกร้องให้ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง พร้อมโต้กลับด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนและทยอยขายหุ้นซีพีออลล์ ต้องถือว่าช่วงปี 2558 คาบเกี่ยวถึงปี 2559 ซีพีออลล์เจอศึกหนักหน่วงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กรและต้องฝ่าสมรภูมิค้าปลีกที่มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วงชิงตลาดรอบด้าน เพราะทุกค่ายต่างประกาศรุกสงคราม

Read More

“เซ็นทรัล” เฉือน “ทีซีซี” ฮุบ “บิ๊กซีเวียดนาม”

  ในที่สุด กลุ่มเซ็นทรัลสามารถเข้าวินฮุบกิจการ "บิ๊กซีเวียดนาม" เข้ามาอยู่ในพอร์ตรีเทลของเครือ แม้ก่อนหน้านี้ “ทีซีซีกรุ๊ป” ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ชนะศึกยกแรกคว้าชัยชนะฮุบกิจการบิ๊กซี ประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.23 แสนล้านบาทไปได้ ทั้งนี้ เมื่อค่ำวันที่ 29 เมษายน นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด  ร่วมกับ กลุ่มเหงียนคิม ประกาศซื้อกิจการบิ๊กซี เวียดนามจาก "คาสิโนกรุ๊ป" อย่างเป็นทางการแล้ว มูลค่า 920 ล้านยูโร เสริมทัพความยิ่งใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัลในการลงทุนในประเทศแถบเอเชีย สำหรับบิ๊กซี เวียดนามดำเนินการมาแล้วยาวนานกว่า 18 ปี  มีทั้งสิ้น 43 สาขา ในประเทศเวียดนาม ซึ่งแบ่งเป็นดังต่อไปนี้ คือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต 33 สาขา , คอนวีเนี่ยนสโตร์ 10 สาขา และเป็นศูนย์การค้า 30

Read More

“อิออน” เปิดยุทธการ 2020 เร่งเครื่องยึด “อาเซียน-เอเชีย”

  หลังจากค้าปลีกยักษ์ใหญ่ “อิออนมอลล์” ในเครืออิออนกรุ๊ป ประเทศญี่ปุ่น เปิดฉากบุกตลาดอาเซียนเมื่อ 3 ปีก่อน โดยปักหมุดแรกผุด “อิออนมอลล์” กลางกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม พร้อมๆ กับตั้งทีมเดินสายดูการลงทุนและหาพันธมิตรคู่ค้าในทุกๆ ประเทศ  ล่าสุด ปี 2559 “อิออนมอลล์” ยกทัพผู้บริหารชุดใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรไทยที่มี “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” เป็นหัวเรือหลัก เป้าหมายไม่ใช่แค่เดินหน้าโครงการ “อิออนมอลล์” สาขา 2 ในประเทศกัมพูชา แต่ต้องการเปิดเกมรุกยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจครั้งใหญ่ตาม Vision 2020 ของบริษัทแม่ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย (Asia’s No.1 Super-Regional Retailer) ตามแผน อิออนมอลล์ต้องการปักธงยึด 3 ตลาดหลัก ประกอบด้วยตลาดญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นตลาดหลักอันดับ 1 โดยกลุ่มอิออนเริ่มเปิดสาขาค้าปลีกแห่งแรกเมื่อปี 2514 จนปัจจุบันสร้างค้าปลีกแบรนด์ในเครือและขยายสาขาทั้งสิ้น 144 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมมากกว่า 1,000 ล้านคนต่อปี และตั้งเป้าขยายต่อเนื่อง

Read More

กระตุ้นใช้จ่ายผ่านการท่องเที่ยว ความหวังเดียวกลางวิกฤตเศรษฐกิจไทย?

  ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านการเดินทางท่องเที่ยวและการรับประทานอาหาร ภายใต้มาตรการลดหย่อนภาษีในช่วงระหว่างวันที่ 9-17 เมษายนที่ผ่านมา แม้จะดำเนินไปท่ามกลางความชุ่มฉ่ำของเทศกาลสงกรานต์  แต่ดูเหมือนว่าเจตจำนงของรัฐดังกล่าวนี้จะไม่ประสบผลสัมฤทธิในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้ตื่นตัวคึกคักได้อย่างที่ตั้งใจ ไม่นับรวมภาวะภัยแล้งที่ทำให้ความรื่นเริงช่วงสงกรานต์ในหลายพื้นที่หดสั้นลง ขณะที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจก็ยังไม่มีปัจจัยบวกมากพอให้ประชาชนมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากนัก ความถดถอยทางเศรษฐกิจและภาวะชะลอตัวในการจับจ่ายที่ปรากฏขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ กลายเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัยครั้งใหม่ ที่กำลังทวีความน่ากังวลใจไม่น้อยเลย ขณะที่กลไกภาครัฐต่างพยายามเร่งระดมมาตรการกระตุ้นเสริมพร้อมกับคำปลอบโยนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังผงกหัวขึ้น ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะสวนทางกับถ้อยแถลงเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานผลสำรวจภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยล่าสุด ในเดือนมีนาคม 2559 ระบุว่า ภาระค่าครองชีพยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและชั่งน้ำหนักก่อนที่จะตัดสินใจใช้จ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายในส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนมีนาคม 2559 ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ 43.6 เช่นเดียวกับดัชนีสะท้อนการคาดการณ์ของครัวเรือนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ปรับตัวลดลงมาที่ 45.0 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 8 เดือน “บรรยากาศการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของครัวเรือนทุกภาคส่วนนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2559 เป็นต้นมา เป็นภาพสะท้อนข้อเท็จจริงหนึ่งที่ว่า ตราบใดที่สัญญาณด้านรายได้ของครัวเรือนยังคงไม่กระเตื้องขึ้นอย่างเด่นชัด และ/หรือมีปัจจัยพิเศษมากระตุ้นการตัดสินใจใช้จ่ายแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าที่การบริโภคจะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ” ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ และคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2559 อาจขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งต่ำลงกว่าตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.1 ขณะเดียวกันกลไกที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยดูจะมีแนวโน้มยอมรับในข้อเท็จจริงที่กำลังคืบคลานมาเผชิญหน้าเหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณชีพ รัฐเร่งระดมมาตรการกระตุ้นซ้ำ

  สัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยหลังผ่านพ้นไตรมาสที่ 1 ดูเหมือนจะยังไม่มีวี่แววการฟื้นตัวให้ได้เห็นหรือจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ภาวะภัยแล้งกลายเป็นปัจจัยลบที่ท่วมทับเศรษฐกิจฐานรากให้เผชิญกับวิกฤตหนักหน่วงขึ้นอีก ไม่นับรวมเทศกาลเปิดเทอมที่ขยับใกล้เข้ามาเพิ่มเติมภาระค่าใช้จ่ายแต่ละครัวเรือนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของปรากฏการณ์โดยรอบที่กล่าวมานี้ ในด้านหนึ่งคงไม่สามารถปล่อยให้ดำเนินไปอย่างไร้การใส่ใจดูแลเพราะนอกจากจะเป็นประเด็นแหลมคมที่พร้อมจะขยายผลลุกลามกลายเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่แล้ว ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐก็ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหาดังกล่าวไม่น้อยเลย ความพยายามส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าครั้งล่าสุด ปรากฏให้เห็นเมื่อสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน ร่วมการประชุมธนาคารเฉพาะกิจ 3 แห่ง ที่ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา “ปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ดูแลปัญหานี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยสั่งการให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินสำรวจประชาชนว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเกิดจากสาเหตุใด ถ้ามาจากเรื่องธุรกิจการค้า และบ้านที่อยู่อาศัยก็ไม่น่าห่วง แต่ถ้าเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยก็ต้องรีบดูแลโดยด่วน” ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน โดยให้จำแนกว่าเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือเพื่อการประกอบอาชีพสัดส่วนเท่าใด เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภคสัดส่วนเท่าใด หากเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือประกอบอาชีพที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ภายในอนาคตก็ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นและป้องกันการก่อหนี้เกินตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือฐานรายได้ของประชากรในห้วงเวลาปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของค่าครองชีพ ขณะเดียวกันความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มประชากรนี้เป็นไปอย่างจำกัด และทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนนอกระบบ ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์หนี้และทับถมให้พอกพูนอย่างที่ยากจะแก้ไขหรือขจัดให้หนี้สินหมดไปได้จริงๆ มาตรการที่กำลังจะได้รับการนำเสนอในอนาคตจึงอยู่ที่การสั่งการให้ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารออมสินคิดหาและกำหนดรูปแบบการให้สินเชื่อที่สะดวกขึ้น เพื่อให้สินเชื่อรูปแบบใหม่นี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกู้เงินของประชาชน โดยกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดให้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ ส่วนจะอยู่ที่ระดับใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลัง และธนาคารเฉพาะกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ขณะที่ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ระบุว่าการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบใหม่ที่ได้รับการสั่งการนั้นต้องรอรูปแบบและวิธีการปล่อยสินเชื่อจากกระทรวงการคลังก่อน เพราะ รมว.

Read More

อุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ จากนักย่อยสาร สู่ Creative-Content-Provider

  ในห้วงเวลานี้สังคมไทยบางส่วนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักบุคคลหรือองค์กรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ซึ่งผลงานโดดเด่นที่ปรากฏให้เห็นอยู่บนแหล่งประวัติศาสตร์อย่างถนนราชดำเนิน คือนิทรรศน์รัตนโกสินทร์และพิพิธบางลำพู คงจะอธิบายความหมายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ TK Park ที่นับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกเสมือนการจุดพลุที่ทำให้ใครหลายคนได้รู้จักกับบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และผู้บริหารนักคิดอย่าง “อุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ” ครั้งหนึ่ง “ผู้จัดการ 360  ํ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับอุปถัมภ์ถึงแนวความคิดในฐานะของนักย่อยสาร ที่ต้องทำการบ้านเมื่อได้รับโจทย์จากเจ้าของโครงการต่างๆ ที่มีเพียง Conceptual หรือ Content ซึ่งทั้งผู้บริหารและทีมงานไร้ท์แมนจะต้องทำความเข้าใจโจทย์ที่ได้รับ และ Creative รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา และเลือกใช้เครื่องมือที่จะช่วยในการสื่อสาร  ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ไร้ท์แมนเลือกใช้คือ Interactive รวมไปถึง Multimedia อื่นๆ ที่จะสะท้อนเรื่องราวไปสู่ผู้เข้าชมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของศูนย์การเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งขั้นตอนการทำงานเริ่มตั้งแต่การจัดการที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งแต่ตีความเนื้อหา นำเสนอ และบริการหลังการขาย ที่ไร้ท์แมนมักจะเสนอตัวเข้ามาดูแลบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ การอบรมเจ้าหน้าที่รวมไปถึงการการันตีรายได้ ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ อาจกลายเป็นภาพจำของไร้ท์แมน ในฐานะนักคิด นักแปลสาร หากแต่ในเวลานี้คงไม่ใช่เช่นนั้นอีกต่อไปเมื่ออุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ ผุดไอเดียใหม่อย่างการสร้าง Theme Park โดยเล่าเรื่องราวที่มีความคลาสสิกอย่างไดโนเสาร์

Read More

ไร้ท์แมน-เฟรชแอร์-เวิร์คพอยท์ ผุดธีมพาร์คเปิดโลกบรรพกาล

  ในห้วงยามที่สังคมไทยอุดมไปด้วยการแข่งขันในมิติที่แตกต่างกันของแต่ละแวดวง แม้ว่าบางแวดวงธุรกิจจะสามารถคาดเดารูปแบบหรือกลยุทธ์ที่มักถูกใช้ในการแข่งขันได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้บนเวทีประลองสรรพกำลัง แต่ละองค์กรมักต่อสู้กันด้วยชั้นเชิงทางธุรกิจเพื่อหวังผลเฉกเช่นเดียวกันนั่นคือ “ความสำเร็จ” ทั้งนี้ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นยิ่งต่อทุกๆ การแข่งขัน และหรืออาจเป็นคีย์หลักสำคัญที่จะทำให้องค์กรต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งธงเอาไว้ ไม่ว่าจะเรื่องของงบประมาณ แนวความคิด รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพเหมาะสมกับงาน  แม้ว่าในบางครั้งโปรเจกต์ที่โดดเด่นไปด้วยแนวความคิด มีบุคลากรที่มากไปด้วยประสิทธิภาพแต่อาจไม่ประสบความสำเร็จ หากขาดงบประมาณที่จะช่วยขจัดอุปสรรคที่จะช่วยลดระยะทางที่จะทำให้ก้าวเดินสู่ความสำเร็จได้เร็วขึ้น หากแต่สิ่งเหล่านั้นคงไม่ใช่กับบริษัท เอฟดับเบิ้ลยูอาร์ จำกัด ที่แม้ว่าจะเป็นบริษัทน้องใหม่ที่มีโปรเจ็กต์ใหญ่อย่าง Dinosaur Planet ธีมพาร์คซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนถนนสุขุมวิท ย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองก็ตาม โดย “เอฟดับเบิ้ลยูอาร์” เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างบริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด 3 ประสานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นการรวมตัวกันครั้งสำคัญแห่งวงการบันเทิงไทย ซึ่งแต่ละบริษัทต่างมีดีกรีและความถนัดในแต่ละด้าน โดยบริษัท เฟรชแอร์นั้นเคยผ่านงานระดับใหญ่อย่างการแสดงพระมหาชนก เดอะฟีโนมีนอน ไลฟ์ โชว์ ที่สร้างความประทับใจต่อผู้ชมอย่างมากในปี 2557  บริษัท เวิร์คพอยท์เป็นที่รู้จักกันดีและเรียกได้ว่าเป็นผู้นำของวงการทีวีไทย โดยเฉพาะรายการทีวีเกมโชว์ที่มักจะกวาดรางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และบริษัท ไร้ท์แมน ผู้ที่สร้างลายเซ็นไว้ในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้อีกหลายแห่ง

Read More