Home > มีวนา

กาแฟ-สังคม-ชุมชน กรีนเนท เอสอี สู่ “มีวนากาแฟอนุรักษ์ป่า”

  ท่ามกลางเสียงเครื่องบดกาแฟแบบมือหมุน และกลิ่นกรุ่นของกาแฟในกระดาษกรองที่ผ่านน้ำร้อนแบบควบคุมอุณหภูมิ ที่บริษัท กรีนเนท เอสอี จำกัด กำลังส่งต่อให้เหล่านักดื่มกาแฟได้สัมผัสรสชาติกาแฟที่ถูกบ่มเพาะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ในป่าต้นน้ำในจังหวัดเชียงราย เรื่องราวของเมล็ดกาแฟที่นอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารตามธรรมชาติที่สามารถปลุกให้ตื่นจากภวังค์ได้แล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเหล่าเกษตรกรชาวเขาจากผืนป่าต้นน้ำแม่ลาว แม่สรวย แม่กรณ์ บนพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งบริษัทกรีนเนท เอสอี จำกัด นับเป็นกิจการเพื่อสังคมผู้ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า “มีวนา” โครงการเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั้งสามแห่ง ร่วมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรแบบแผ้วถางป่า มาเป็นการปลูกกาแฟออร์แกนิคใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ โดยมีหมุดหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับป่าและชุมชน ด้วยความมุ่งหวังให้กาแฟมีวนาเป็นกลไกหนึ่งในการรักษาป่าพื้นที่ป่าต้นน้ำ และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ในประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนสู่ชุมชน จากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในไทยไปกว่า 70 ล้านไร่นับตั้งแต่มีการสำรวจครั้งแรกในปี 2504 ที่พบว่าไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 171 ล้านไร่ และหลงเหลืออยู่เพียง 102 ล้านไร่ในปี 2557 ส่งผลเสียนานัปการ นอกจากความไม่สมดุลของสภาพดินฟ้าอากาศแล้ว ยังส่งผลต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนาจึงเริ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ในผืนป่า เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร และเสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง นับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรและชาวบ้านในชุมชนหวงแหนรักป่า และช่วยกันฟื้นฟูให้ป่าไม้กลับมาสมบูรณ์  กลุ่มบริษัทพรีเมียร์เล็งเห็นประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ จึงเข้ามาสนับสนุน โดยวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทพรีเมียร์กล่าวว่า  “ผมอยากเห็นภาคธุรกิจและสังคมโดยรวมมีความเชื่อร่วมกันว่า การประกอบธุรกิจที่สร้างคุณค่าสู่สังคมเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริง อีกทั้งผู้บริโภคยังสามารถมีส่วนร่วมในการนำส่งคุณค่านั้นผ่านการสนับสนุนสินค้าหรือบริการ โครงการนี้ได้รับการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โครงการมีวนามีรายได้จากการจำหน่ายกาแฟออร์แกนิค ในขณะที่กระบวนการทั้งหมดของมีวนาได้คำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของทุกภาคส่วน

Read More