Home > Cover Story (Page 128)

ศึกรอยัลตี้โปรแกรม เซ็นทรัลปูพรมชิงฐานลูกค้า

  ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวบวกกับเทรนด์การจับจ่ายผ่านออนไลน์ของผู้บริโภคกลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของบรรดาห้างค้าปลีก ทำให้ทุกค่ายเปิดศึก “รอยัลตี้โปรแกรม” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานลูกค้าสมาชิกและกระตุ้นการซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดฉลองการดำเนินธุรกิจ “เดอะวันการ์ด” ครบ 10 ปี พร้อมประกาศทุ่มงบก้อนโต เร่งขยายฐานสมาชิกและเชื่อมเครือข่ายสิทธิประโยชน์ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือที่มากกว่า 5,000 ร้านค้า  ปัจจุบันเดอะวันการ์ดมียอดสมาชิกรวม 12 ล้านคน เรียกว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศและถ้าแยกสัดส่วนสมาชิกหลัก มีกลุ่มลูกค้าอายุ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 45-64 ปี มากสุด กลุ่มละ 30% ตามด้วยกลุ่มอายุ 25-34 ปี อยู่ที่ 25% กลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยกว่า 24 ปี ประมาณ 10% และมากกว่า 65 ปี อีก 5%  ระวี พัวพรพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ผู้ดูแลธุรกิจบัตรเดอะวันการ์ด กล่าวว่า

Read More

เซ็นทรัลชนทีซีซีกรุ๊ป ดัน “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” ไล่บี้บิ๊กซี

  “ทีซีซีกรุ๊ป” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี สามารถเอาชนะคว้าดีลฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทย ด้านหนึ่งสามารถเติมเต็มเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักรธุรกิจ แต่อีกด้านหมายถึงอภิมหาสงครามระดับแสนล้าน เพราะหากเทียบความเชี่ยวชาญและประสบการณ์แล้ว ถือว่า “บิ๊กซี” เป็นสมรภูมิใหม่ของเหล่าทายาทในตระกูล เมื่อต้องชนกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล  ที่สำคัญ “บิ๊กซี” ไม่ได้เจอเพียงแค่ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่มั่นใจของกลุ่มผู้บริโภคและกำลังซื้อหดหนัก แต่ยังต้องฝ่าแนวต้านการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดเปิดศึกดัน “ท็อปส์” รุกตลาดเต็มรูปแบบ ทุ่มเงินทุน 6,500 ล้านบาท ปูพรมขยายสาขาภายใน 5 ปี ครบ 600 สาขา เจาะทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย พร้อมๆ กับยกเครื่องเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ หรือคอนวีเนียนสโตร์ในเครืออย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” ด้วย จากเดิม “ท็อปส์” เคยเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง บิ๊กซีเน้นจุดขายความเป็น “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ในฐานะพันธมิตรผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้งบิ๊กซี แต่ ณ วันนี้ ท็อปส์กระโดดเข้ามาเล่นตลาดซูเปอร์เซ็นเตอร์มากขึ้น แตกไลน์รูปแบบสาขาหลากหลายครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่แตกต่างจากกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต  ขณะเดียวกันตามแผนยุทธศาสตร์ของทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท

Read More

ท็อปส์-บิ๊กซี จาก “พันธมิตร” สู่ “คู่แข่งทางธุรกิจ”

  การประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ของ “ท็อปส์” ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 6,500 ล้านบาท เร่งปูพรมสาขาทั่วประเทศครบ 600 สาขาภายในปี 2564 เป็นทั้งการเปิดกลยุทธ์สู้ศึกระลอกใหม่และเตรียมพร้อมรับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ใน “บิ๊กซี” ทั้งหมด 25% ผ่านกระบวนการรับซื้อหุ้นในขั้นตอนการเทกโอเวอร์ของ “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” ในเครือทีซีซีกรุ๊ป เปลี่ยนสถานะ “บิ๊กซี” จาก “Big Central” ของกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์  เป็น “Big Charoen” พลิกเกมธุรกิจจาก “พันธมิตร” เป็น “ศัตรูคู่แข่ง” โดยถือฤกษ์การฉลองครบรอบ 20 ปีของ “ท็อปส์” ลุยสงครามฟู้ดรีเทลกับ “บิ๊กซี” และจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลกับทีซีซีกรุ๊ปด้วย  หากย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน กลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และรวมกิจการในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งเซ็นทรัลกับโรบินสันเมื่อปี 2537   หลังจากนั้นอีก 2

Read More

ออง ซาน ซูจี เยือนไทย และจังหวะก้าวที่กว้างไกลของอาเซียน?

  ข่าวการเยือนประเทศไทยของออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ต้องถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญของทั้งไทยและเมียนมา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะในด้านหนึ่งนี่คือการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของออง ซาน ซูจี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนและที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา หลังจากต่อสู้จนสามารถนำพาประเทศกลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง ความน่าสนใจของการเยือน นอกจากจะอยู่ที่พิธีการเข้าพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐไทยและปาฐกถาพิศษที่กระทรวงการต่างประเทศในหัวข้อ “Myanmar, ASEAN and the World: The Way Forward” แล้ว ฉากแห่งการเดินทางเยี่ยมเยือนและพบปะแรงงานพม่าที่ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร ยังเป็นประหนึ่งการกระตุ้นเตือนถึงความสำคัญและเปราะบางในประเด็นว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาข้อเสนอเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานชาวเมียนมา ผ่านทางออง ซาน ซูจี ที่ปรากฏในเวลาต่อมา ข้อเสนอเรียกร้องดังกล่าวประกอบด้วย 1. ขอให้เปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามรอบใหม่ ภายใต้เหตุผลว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและลักลอบทำงานในไทย ประมาณ 1-2 ล้านคน โดยให้รัฐบาลเมียนมาจัดส่งทีมเจ้าหน้าที่และจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าร่วมกับทางการไทย เพื่อให้สามารถออกเอกสารรับรองสถานะและสัญชาติเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในลักษณะของหนังสือแสดงตัวบุคคล ซึ่งไม่ใช่หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ก่อน และออกเป็นพาสปอร์ตภายหลัง ทั้งกลุ่มแรงงานเมียนมา ที่จดทะเบียนใหม่ และกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ 2. ขอให้ไทยบังคับใช้กฎหมาย ให้นายจ้างไทยจ่ายค่าจ้างตามข้อกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300

Read More

ราชา ในเงาสลัว บนอาณาจักรแห่งเล่ห์กล

  ในห้วงยามที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ยังปราศจากข่าวดีมาสนับสนุนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนทิศทางและแนวโน้มการเติบโตในอนาคต ดูเหมือนว่าความเคลื่อนไหวและเป็นไปของอาณาจักรธุรกิจในนาม “คิง พาวเวอร์” ที่มี วิชัย ศรีวัฒนประภา คอยกำกับเป็นหัวเรือใหญ่ กลับสามารถรังสรรค์สีสันและความน่าตื่นตาตื่นใจให้ปรากฏเป็นข่าวได้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 เลยก็ว่าได้ เป็นการปรากฏเป็นข่าวในทางสาธารณะของเจ้าของอาณาจักรธุรกิจ ที่ดำเนินไปท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยของผู้คนในสังคมไทย ถึงที่มาที่ไปและจังหวะก้าวในการสั่งสมโอกาสทางธุรกิจที่เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวพันหลายระนาบและระดับชั้น ข่าวการขึ้นเถลิงแชมป์พรีเมียร์ลีกของทีมเลสเตอร์ซิตี้ ที่ได้รับสมญานามว่า “จิ้งจอกสยาม” ทีมขนาดเล็กๆ ในสังเวียนลีกฟุตบอลสูงสุดของอังกฤษกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างประวัติศาสตร์ไม่เฉพาะกับสโมสรแห่งนี้เท่านั้น หากยังสั่นคลอนสถานะของทีมฟุตบอลชั้นนำแห่งอื่นๆ ของอังกฤษ และกำลังจะกลายเป็นประเด็นให้ต้องกล่าวถึงในระดับยุโรปในอนาคตอันใกล้ เพราะการได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลแข่งขันที่ผ่านมา หมายถึงสิทธิการได้เข้าร่วมชิงชัยในสังเวียน Uefa Champion League ซึ่งเป็นแหล่งรวมทีมสโมสรชั้นนำของยุโรปในฤดูการแข่งขันปี 2016-2017 โดยอัตโนมัติ และเป็นความท้าทายใหม่ที่เพิ่มระดับความเข้มข้น เพื่อพิสูจน์ความสามารถขอ เลสเตอร์ซิตี้ ในห้วงเวลานับจากนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ วิชัย เข้าซื้อหุ้นและกุมอำนาจบริหารในสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ตั้งแต่เมื่อปี 2010 และเริ่มปรับแต่งให้ทีมฟุตบอลที่มีอันดับอยู่กลางตารางในลีก Championship ลีกการแข่งขันระดับรองของอังกฤษ สั่งสมความสำเร็จทีละเล็กละน้อย ก่อนที่จะก้าวกลับขึ้นมาโลดแล่นใน Premier League ซึ่งเป็นลีกสูงสุดอีกครั้งในปี 2014-2015 ในฐานะที่เป็นแชมป์ Championship League ในฤดูกาลก่อนหน้า หากแต่บันไดสู่ความสำเร็จและการอยู่รอดในสังเวียนพรีเมียร์ลีกไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

Read More

น่านนครเสน่ห์ที่ควรอนุรักษ์ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  น่านจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่อาจไม่ใช่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก และมักมีคำกล่าวที่ขยายความให้เข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้นว่า “ถ้าไม่ตั้งใจไป ก็ไปไม่ถึง”  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 2-3 ปีก่อนหน้าการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านดูจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกแคมเปญเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยว โดยประกาศให้น่าน เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาดในปี 2558 ซึ่งนี่เองที่ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยมนต์เสน่ห์ของน่านนครที่อุดมไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สถานที่ท่องเที่ยว วัดวาอารมที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบง่าย จึงเป็นตัวดึงดูดผู้คนให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป การขยายตัวธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน เพื่อรองรับอัตราการเติบโต และการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องของขอบเขตการพัฒนาทั้งในเชิงศักยภาพของการบริการ และการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว บทเรียนที่เห็นเด่นชัดคือความล่มสลายของเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักท่องเที่ยว และถูกดูดกลืนวัฒนธรรมจนไม่หลงเหลือเสน่ห์ให้ค้นหามากนัก คนในเมืองน่านมีลักษณะเป็น Soft Culture หากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของน่านต้องการให้จังหวัดพัฒนาด้านศักยภาพเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ จะส่งผลให้คนนอกที่เข้ามาในพื้นที่มาพร้อมกับ Hard Culture ซึ่งจะทำให้คนน่านกลายเป็นผลเมืองชั้นสองในทันที เมื่อมองจากภาพรวมของเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน การเข้ามาของกลุ่มทุนทั้งจากจีน เวียดนาม หรือกระทั่งคนไทยจากเมืองหลวง มักส่งผลต่อความเป็นธรรมชาติของเมืองนั้นๆ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งรายได้ของเมือง รายได้ของประชากรที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นก็ตาม กระนั้นสิ่งที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องพึงกระทำ คือการพัฒนาจังหวัดน่านแบบยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป

Read More

ปลูกที่ดิน ปลูกที่ใจ น่านนคร ความหวังป่าต้นน้ำท่ามกลางระบบทุนนิยมเสรี

  ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมากระแสข่าวเรื่องเขาหัวโล้นในจังหวัดน่าน ถูกเผยแพร่และส่งต่ออย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดน แน่นอนว่าภาพที่ถูกแชร์ออกไปนำมาซึ่งความคิดเห็นในเชิงลบ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคณะผู้บริหารของจังหวัด ทั้งในแง่มุมของการละเลยหรือไม่ใส่ใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการวิจารณ์ถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดน่านที่นิยมเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเสียเป็นส่วนใหญ่  อย่างไรก็ดี กระแสวิจารณ์ส่งถึงพ่อเมืองอย่างสุวัฒน์ พรมสุวรรณ อย่างรวดเร็ว  สุวัฒน์ พรมสุวรรณ เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เห็นได้ชัดว่าปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้ในจังหวัดนั้นยืดเยื้อและกินเวลามานานกว่า 10 ปี กระนั้นในฐานะผู้นำของจังหวัดทำให้ผู้ว่าฯ น่านตัดสินใจตอบโต้และโพสต์ท้าทายบรรดานักเลงคีย์บอร์ด ทั้งยังเชิญชวนให้มาร่วมกันปลูกป่าซึ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์มากกว่าจะนั่งเคาะแป้นคีย์บอร์ดเพื่อวิจารณ์กันเพียงสนุก ผลของการท้าทายจากผู้ว่าฯ และการตระหนักถึงปัญหาป่าไม้ส่งผลให้เกิดกระแสตอบรับอย่างทันท่วงที เมื่อบุคคลจากหลากหลายแวดวงร่วมแสดงออกถึงเจตจำนง อุดมการณ์ ความตั้งใจที่จะปลูกป่า กระทั่งเกิดการรวมตัวกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน จนเกิดเป็นกิจกรรมขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 นับเป็นวันดีเดย์ของการแสดงออกถึงพลังแห่งการอนุรักษ์ ซึ่งมีหมุดหมายอยู่ที่การพลิกฟื้นผืนป่าที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด ให้เขียวชอุ่มสมกับที่เป็นป่าต้นน้ำสำคัญของไทย ที่ไม่เพียงแต่ช่วยหล่อเลี้ยงประชาชน เกษตรกรในจังหวัดน่านและจังหวัดที่แม่น้ำน่านไหลผ่านเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลต่อแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นเลือดสำคัญของไทย ที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำน่านมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์  ปัญหาเขาหัวโล้นในจังหวัดน่านทำให้เกษตรกรที่ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัวด้วยการปลูกข้าวโพดถูกตีตราเป็นจำเลยของสังคมไปโดยปริยาย ซึ่งเดิมทีเกษตรกรในจังหวัดนิยมทำไร่เลื่อนลอย โดยจะหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปตามฤดูกาล กระทั่งการมาถึงของกลุ่มนายทุนที่มาพร้อมข้อเสนอ เชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเพื่อแลกกับผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้มาง่ายและรวดเร็ว แน่นอนว่าความง่ายสำหรับการดำเนินธุรกิจนี้อยู่ที่ กลุ่มนายทุนไม่ต้องลงแรงหว่านล้อมมากมายนักเพียงสร้างเคสตัวอย่างให้เห็นขึ้นมาเป็นรูปธรรม ความแพร่หลายของไร่ข้าวโพดที่สามารถสร้างรายได้ได้เร็วกว่าการปลูกพืชอื่นๆ จะกระจายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเหล่าเกษตรกรยังขาดความเข้าใจต่อปัญหาที่ตามมาอย่างแท้จริง และหลงเข้าไปอยู่ในวังวนของระบบทุนนิยมเสรีอย่างง่ายดาย  แม้จะมีบางมุมที่มองว่าปัญหาการปลูกไร่ข้าวโพดที่แพร่หลายนั้น

Read More

เปิด “เอฟวายไอเซ็นเตอร์” ปั่นทำเล พระราม 4

 “โกลเด้นแลนด์” เริ่มนับถอยหลังโครงการ “เอฟวายไอเซ็นเตอร์” ซึ่งจะเผยโฉมเต็มรูปแบบอย่างน่าตื่นเต้นในเดือนกรกฎาคมนี้ เพราะนอกจากเป็นการเปิดจุดยุทธศาสตร์สำคัญเชื่อมโครงข่ายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ในเครือทีซีซีกรุ๊ปของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี แล้ว ยังสร้าง Node ธุรกิจที่คาดว่าจะปั่นมูลค่าทำเลทองย่านพระราม 4 เติบโตขึ้นอีกหลายเท่าและปลุกกระแสต่อเนื่องไปถึงทำเล ถ.วิทยุและสามย่าน รวมทั้งเชื่อมต่อไปยังฝั่งรัชดาภิเษก ซึ่งทุก Node มีโครงการของบริษัทลูกทีซีซีกรุ๊ปปักหมุดไว้ทั้งหมดแล้ว จากเดิมบริษัท แผ่นดินทอง พร๊อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ เจ้าของโครงการเอฟวายไอ ประเมินอัตราค่าเช่าออฟฟิศ ณ วันแรกของการแนะนำโครงการ อยู่ที่ประมาณ 700 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เปรียบเทียบกับอัตราค่าเช่าสำนักงานในย่านใกล้เคียงเฉลี่ย 600 บาทต่อ ตร.ม. ต่อเดือนหรือประมาณระดับ B นอกเขตย่านธุรกิจใจกลางเมือง  แต่ทั้งความแปลกใหม่ของโครงการ ทำเลที่ตั้งติดแนวรถไฟฟ้าใต้ดินและนักธุรกิจสามารถเชื่อมโยงสู่บิ๊กโปรเจกต์ที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลให้อัตราค่าเช่าขยับขึ้นต่อเนื่องจาก 700 เป็น 780 จาก 780 เป็น 800 บาทต่อ ตร.ม. จนล่าสุดอยู่ที่ 820 บาทต่อ

Read More

ทีซีซีปักหมุดสามย่าน ดัน “นิวยอร์ก” เมืองไทย

  แผนขยายอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี เกมกินรวบพื้นที่ทำเลทองตลอดเส้นถนนพระราม 4 เดินหน้าต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดปักหมุดโครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” บนที่ดินผืนใหญ่ 13 ไร่ หัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 โดยมีบริษัทในเครือ “โกลเด้นแลนด์” เป็นผู้พัฒนาโครงการและหมายมั่นจะปลุกทำเลย่านนี้ไม่ต่างจาก “มหานครนิวยอร์ก” ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญของโลก รายละเอียดของโครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” กำหนดคอนเซ็ปต์ “สมาร์ทมิกซ์ยูส” มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 22,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Artificial Intelligence Building) สูง 35 ชั้น พื้นที่รวม 65,000 ตร.ม. โดยพัฒนาเป็นอาคารอัจฉริยะที่สามารถคิดและประมวลผลการบริหารอาคารจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฟนผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายประเทศในโลกเริ่มใช้งาน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและสิงคโปร์  ส่วนที่ 2 อาคารพักอาศัย สูง 35 ชั้น พื้นที่รวม 36,000 ตร.ม.

Read More

แสตมป์ในยุคดิจิตอล ความโรแมนติกที่เลือนราง

  “การไปรษณีย์ของเรา ซึ่งได้ใช้อยู่เฉพาะแต่ที่กรุงเทพฯ นั้น บัดนี้ได้ขยายออกไปตามหัวเมืองทั้งปวงตลอดลำน้ำเจ้าพระยาฝ่ายเหนือจนถึงเมืองเชียงใหม่ บัดนี้ เราได้เตรียมการที่จะเข้าสัญญา ชื่อว่า สากลไปรษณีย์ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าโลกทั้งปวงจะมีประโยชน์ทั่วกัน แลเมืองเรานี้จะได้ประโยชน์วิเศษด้วย” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และกงสุลต่างประเทศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2426 ถูกจัดแสดงอยู่ในนิทรรศการ “แสตมป์นิทรรศน์ 100 ปี สถานีรถไฟกรุงเทพฯ” ที่พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสานเสนใน  ในยุคสมัยที่การติดต่อสื่อสารกันทางจดหมายยังคงมีความสำคัญและเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยในการเชื่อมโยงผู้คนที่อยู่คนละซีกโลกหรือคนละจังหวัด ให้สามารถส่งข่าวคราวถึงกันได้  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในห้วงเวลานั้นการรอคอยการมาถึงของบุรุษไปรษณีย์เพื่อนำส่งจดหมาย จึงเป็นช่วงเวลาที่มีค่า เมื่อเนื้อความในจดหมายอัดแน่นไปด้วยข้อความสำคัญที่อาจจะมาจากการเขียนด้วยความรู้สึกอันหลากหลาย ทั้งการแสดงความห่วงใย ความคำนึงถึง หรือการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปในชีวิตของแต่ละฝ่าย เมื่อไม่ได้พบปะกันเป็นเวลานาน  นอกเหนือจากจดหมายที่เป็นสื่อกลางในการส่งข่าวระหว่างผู้รับและผู้ส่งแล้ว ไปรษณียบัตรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ชื่นชอบการเขียน ซึ่งกระดาษเปลือยเปล่าที่ผู้ส่งมักเขียนถ่ายทอดความรู้สึกหรือความประทับใจจากสถานที่ท่องเที่ยวและส่งต่อไปยังผู้รับหรือแม้กระทั่งตัวเอง  นอกจากเนื้อความในจดหมายที่เฝ้ารออ่านอย่างใจจดใจจ่อ แสตมป์เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423-2426 ที่มีการทดลองและเริ่มต้นกิจการไปรษณีย์ครั้งแรกในสยาม โดยแสตมป์ชุดแรกของไทยถูกจัดพิมพ์ขึ้นในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2426 ชื่อชุด “โสฬศ” โดยเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 ราคา คือ 1 โสฬส 1

Read More