Home > Cover Story (Page 127)

อาหารประจำชาติ

   กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วย พริกแกง ดูจะเป็นไปอย่างคึกคักหนักหน่วงอย่างยิ่งไม่เฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย หากแต่ดูเหมือนบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยต่างก็แสดงทัศนะด้านลบต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อนไปตามชื่อเรื่อง ความเป็นไปของวัฒนธรรมอาหารในด้านหนึ่งคือความลื่นไหลของทั้งประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนสัมพันธ์ที่สามารถไล่เรียงตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน กระทั่งก่อรูปเป็นกระแสสำนึกในระดับประเทศชาติ ให้เก็บรับกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารและการบริโภคไปโดยปริยาย ความพยายามที่จะผูกขาดยึดโยงแบบเหมารวมทั้งในมิติของวิธีการปรุงก็ดีหรือแม้กระทั่งเครื่องเคราวัตถุดิบในการปรุงอย่างกำหนดตายตัวในเมนูอาหารหลากหลายจึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อเท็จจริงของวัฒนธรรมอาหาร  ยิ่งเมื่อผูกสานผสมรวมเข้ากับวิถีคิดแบบชาตินิยมคับแคบยิ่งทำให้คำว่า อาหารประจำชาติ กลายเป็นเพียงเรื่องขบขันที่น่าเสียดาย ชนิดที่หัวเราะไม่ออกร้องไห้ก็ไม่ได้ และอาจทำให้เมนูอาหารประจำชาติที่ว่าถูกทิ้งร้างให้จมปลักอยู่ในเงามืดของมุมห้องครัว และปรากฏเหลือเพียงชื่อให้ได้กล่าวถึงแต่ไร้สรรพรสที่จะหยิบยื่นให้สัมผัส หากสำหรับครัวศรีลังกาซึ่งวิวัฒน์ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลากหลายทั้งจากการที่เป็นสถานีการค้าสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีต หรือแม้กระทั่งการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้อาหารพื้นถิ่นของศรีลังกาอุดมด้วยเรื่องราวและรากฐานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ที่ผสานเข้ากับภูมิปัญญาและวัตถุดิบประจำถิ่นที่กอปรส่วนเข้ามาเป็นอาหารของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ว่าอาหารจานหลักของศรีลังกาจะอยู่บนพื้นฐานที่มีข้าว มะพร้าวและเครื่องเทศหลากหลายเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับศรีลังกาทั้งในฐานะผู้ผลิตสำคัญและการเป็นสถานีการค้าที่มีเครื่องเทศจากทุกภูมิภาคของโลกเคลื่อนตัวผ่าน ทำให้อาหารของศรีลังกาเต็มไปด้วยสีสันและรสชาติที่หลากหลายตามแต่จะปรับเข้าหารสนิยมของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นถิ่นด้วย สำรับอาหารของศรีลังกานอกจากจะมีข้าวสวยที่ผ่านการหุงสุกประกอบส่วนด้วยเครื่องแกง ที่ถือเป็นสำรับอาหารที่มีต้นทางและเป็นประหนึ่งวัฒนธรรมร่วมอยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียใต้ หากมีความหลากหลายทั้งในมิติของรสชาติที่ไล่ระดับความเผ็ดร้อน หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์แหล่งโปรตีนที่จะเติมเต็มคุณค่าสารอาหาร ทั้งปลา ปู กุ้ง หมู ไก่ หรือแม้กระทั่งเนื้อแพะ วัฒนธรรมอาหารที่ลื่นไหลและอบอวลคละคลุ้งในลักษณะเช่นว่านี้ ทำให้ศรีลังกายากที่จะระบุให้อาหารสำรับใดหรือจานใดจานหนึ่งเป็นอาหารประจำชาติของศรีลังกาแต่โดยลำพัง หากเมื่อกล่าวถึงอาหารยอดนิยมของศรีลังกาแล้วล่ะก็ คงได้ลิสต์รายชื่อออกมาเป็นหางว่าวอย่างแน่นอน ยังไม่นับรวมการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกจากยุคอาณานิคมเช่น Lamprais หรือข้าวห่อใบตองซึ่งมีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอาหารของพวก Dutch Burgher ที่มีลักษณะเฉพาะด้วยการนำข้าวหุงสุกคลุกเคล้าเข้ากับเครื่องเทศและเครื่องแกงควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์ ก่อนจะห่อด้วยใบตองแล้วนำไปอบ ซึ่งก็คือการหุงปรุงรอบที่สอง มรดกของอาหารสำรับดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า Lamprais เป็นประหนึ่งต้นทางของการห่อข้าวให้เป็น Lunch Packett สำหรับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการย่อส่วนโดยตัดใบตองและการอบครั้งที่สองออกไปให้เหลือเพียงข้าวกับเครื่องแกงและเครื่องเคียงที่อุดมด้วยสารอาหารและความสะดวกในการพกพา ขณะเดียวกัน การนำข้าวมาแปรรูปเป็นแป้งข้าวเจ้าผสมเข้ากับกะทิมะพร้าวและเครื่องเทศ ก่อนจะนำไปหมักเพื่อให้เกิดเป็น Hoppers หรือแป้งทอดในกระทะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงคล้ายแพนเค้กที่มีขอบสูงก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกสำหรับการเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต หรือเพิ่มรสชาติด้วยการทำเป็น Egg

Read More

40 ปี ดอยคำ ผลิตภัณฑ์แห่งคุณค่า

  เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาภาพยนตร์โฆษณาชุด “ดอยคำขอโทษ” ที่ถูกเผยแพร่อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น Viral Clip ที่ใครต่อใครต้องแชร์ ส่งต่อ และกล่าวถึง เพราะเนื้อหาสาระที่ดอยคำสื่อสารออกมาเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ ในเรื่องรสชาติของสดของแท้จากผลไม้ชนิดนั้นจริงๆ ที่ดีต่อผู้บริโภค ราคา สินค้าไม่เท่ากัน บางผลิตภัณฑ์มีราคาสูง แตกต่างกันออกไปตามวัตถุดิบ และความหลากหลายของรสชาติ ดอยคำไม่มีให้เลือกมาก เนื่องจากผลไม้ส่วนใหญ่ปลูกในเมืองไทย นอกจากจุดประสงค์ของโฆษณาที่ต้องการแสดงความจริงใจ จริงจัง และความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคแล้ว ยังแฝงไปด้วยความนอบน้อมซึ่งมักไม่ค่อยปรากฏในสินค้าแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาด พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้ที่ให้คำจำกัดความของตำแหน่งตัวเองใน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ว่า “ถูกอุปโลกน์ขึ้นให้มานั่งตำแหน่งนี้” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมว่า 40 ปี ดอยคำมีการเติบโตมาแบบช้าๆ เป็นการค่อยๆ โต ด้วยพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของราษฎร ทั้งการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอย ส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการส่งเสริมอยู่ห่างไกลตัวเมืองและแหล่งรับซื้อ จึงเกิดปัญหาการถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ประกอบกับในบางช่วงฤดูจะมีผลผลิตที่ล้นตลาด หรือบางครั้งอาจไม่ได้ขนาดที่เหมาะสำหรับจำหน่ายผลสด  ในปี 2515

Read More

คุณค่าแห่งโอกาสการเรียนรู้เพื่อผู้พิการ

  “ดีใจค่ะ ดีใจมาก” คำตอบจากน้องพลอย เด็กหญิงผู้พิการทางสายตาที่มาร่วมกิจกรรมในงาน “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-16 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยกรมธนารักษ์จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559  นับเป็นครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์เหรียญที่จัดนิทรรศการพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางหู ได้เข้าชมและเรียนรู้วิวัฒนาการเงินตราของไทย และแน่นอนว่าเป็นครั้งแรกของน้องพลอยเช่นกัน  รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ดังขึ้นในงาน ไม่ได้แค่สร้างความสุขให้อวลอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น หากแต่ยังสร้างความอิ่มเอมให้กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังของพิพิธภัณฑ์เหรียญอย่างไร้ท์แมนอีกด้วย  โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่จัดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับผู้พิการ ทั้งการสร้างเหรียญในจินตนาการด้วยการวาดภาพจากอุปกรณ์พิเศษ การปั้นเหรียญจากดินปั้น การฝนลวดลายภาพนูนต่ำ การวาดรูปร่างสิ่งของแลกเปลี่ยนจากการคลำของจริง และการปั๊มลวดลายของเหรียญในอดีตลงบนแผ่นพับ  และแม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้นที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้พิการจึงสั้นนัก ทั้งนี้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึงและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้สะดวกแล้ว แต่ลักษณะของการจัดแสดงเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีไว้รองรับผู้พิการด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงประเด็นการให้โอกาส ที่คนส่วนใหญ่มักจะหยิบยื่นให้แก่ผู้พิการแล้ว รูปแบบที่มักถูกเลือกใช้คือการแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การเลี้ยงอาหารและกิจกรรมสันทนาการตามมูลนิธิ หรือในรูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหากวิเคราะห์ในด้านของมูลค่าแล้ว คุณค่าของสิ่งเหล่านี้มักจะค่อยๆ ลดลงไปตามกาลเวลา แต่คงไม่ใช่กับการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ผู้บริหารบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด อย่างอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ มองว่า “การสร้างโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์ แม้จะไม่สามารถตีค่าออกมาในรูปแบบของเงินได้ แต่เป็นคุณค่าของการเรียนรู้สำหรับผู้พิการและเป็นคุณค่าของความพยายามในการสร้างสรรค์”  แม้ในกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเพียงนิทรรศการชั่วคราว แต่ในอนาคตอุปถัมป์เล่าว่า

Read More

สพร. ทลายกำแพงพิพิธภัณฑ์ เปิดมิติใหม่การเรียนรู้

  ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติ การละเล่น ประเพณีและวัฒนธรรม วิวัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา ท่ามกลางกระแสโลกที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การบันทึกเรื่องราวบนหน้าประวัติศาสตร์ทั้งเพื่อการศึกษาเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ หรือบอกเล่าประสบการณ์ ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 1,439 แห่ง จากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่รวบรวมไว้ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 แต่หากจะนับรวมแหล่งเรียนรู้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้ไทยมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้มากกว่า 5,000 แห่ง กระนั้นรูปแบบของการนำเสนอองค์ความรู้ต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการอธิบายข้อมูลสาระสำคัญด้วยตัวอักษรเป็นหลัก ภาพถ่าย และการจำลองวัตถุให้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด  ล่าสุดสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือศูนย์สปาฟา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติ (Museum Forum 2016) ภายใต้แนวคิด “Museum without Walls” โดยดึงผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และกระบวนการทำงาน ส่งเสริมบุคลากรในวงการพิพิธภัณฑ์ไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปิดโลกทัศน์แห่งการสร้างสรรค์

Read More

B2S พลิกโมเดล ธิงค์สเปซ Book+Lifestyle สู้ออนไลน์

   สมชัย ถาวรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีทูเอส จำกัด ใช้เวลากว่า 3 ปี คิดโมเดลธุรกิจร้านหนังสือที่จะแข่งขันเท่าทันสื่อออนไลน์ ท่ามกลางวิกฤตการปิดตัวของนิตยสารหลายเล่มส่งสัญญาณต่อเนื่อง จนกระทั่งสรุปผลลัพธ์จากโจทย์ทางธุรกิจข้อสำคัญกลายเป็นร้านรูปแบบล่าสุด “ธิงค์สเปซ (Think Space)” โดยเพิ่มส่วนผสมสำคัญที่สุด คือ ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็น “ทางรอด” ของร้านหนังสือและสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กับสื่อออนไลน์ด้วย  “ร้านหนังสือกำลังแข่งกับออนไลน์ หลายประเทศศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าญี่ปุ่น อังกฤษ หรือนิวยอร์ก คำตอบอยู่ที่การใส่ไลฟ์สไตล์เข้าไปในทุกส่วน ทำให้ร้านหนังสือไม่ได้เป็นแค่ร้านขายหนังสือ แต่เป็นไลฟ์สไตล์ของคน เราสามารถดึงผู้คน แค่เขาหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ก็ถือว่านักเขียนและธุรกิจชนะแล้ว” นายสมชัยกล่าว  แน่นอนว่า บีทูเอส ธิงค์สเปซ ยังเป็นกลยุทธ์การทดลองตลาดที่ต้องรอผลตอบรับอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา บีทูเอสพยายามงัดโมเดลร้านค้าหลากหลายรูปแบบ ทั้งร้านขนาดเล็กเหมาะกับชุมชน พื้นที่น้อยกว่า 800 ตารางเมตร เน้นการจำหน่ายหนังสือ ร้านขนาดกลาง พื้นที่มากกว่า 800 ตร.ม. เหมาะกับคอมมูนิตี้มอลล์

Read More

แสนสิริ ลุยแผนสร้าง HUB ปั่นทำเลทอง ราคาพุ่งพรวด

   การเปิดตัวอาณาจักร ที77  สุขุมวิท 77 ทั้งโครงการเต็มเนื้อที่ 50 ไร่ของยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ “แสนสิริ” นอกจากประกาศรุกธุรกิจรีเทลมอลล์ “ฮาบิโตะ” สาขาแรกแล้ว ยังแจ้งเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ที่รอต่อยอดสู่ทำเลอื่นๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้าง “HUB” พลิกที่ดินแหล่งชุมชน กลายเป็นทำเลทองระดับพรีเมียม หลังจากนำร่องเปิดขายโครงการแรกเมื่อ 8 ปีก่อน  ณ วันนี้ สำรวจราคาขายคอนโดมิเนียมใน ที77 พุ่งพรวดมากกว่า 25% แตะ ตร.ม. ละ 100,000-110,000 บาท และขายเกลี้ยงหมดทุกโครงการ โดยล่าสุดเปิดขายโครงการสุดท้าย คอนโดมิเนียม “โมริ เฮาส์” จำนวน 262 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 4 ล้านบาท สามารถทำยอดขายเกินเป้าหมายและมียอดขายจากลูกค้าในญี่ปุ่น ฮ่องกง รวมถึงสิงคโปร์เข้ามาแล้วกว่า 700

Read More

“ฮาบิโตะ” รุกเซกเมนต์ใหม่ สตาร์ทอัพคอมมูนิตี้มอลล์

  หลังจากใช้เวลาเกือบ 10 ปี ยึดที่ดินย่านถนนสุขุมวิท 77 ก่อร่างสร้างอาณาจักร T77 ล่าสุด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ  “ฮาบิโตะ รีเทลมอลล์” เติมเต็มเมืองแห่งใหม่ และมากกว่านั้น ยังหมายถึงการทดสอบโมเดลธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังต้องรอการเลือกตั้งและรัฐบาลในอนาคต   ขณะเดียวกัน การประกาศตัวรุกเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีก เจาะเซกเมนต์ตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ถือเป็นเกมธุรกิจต่างจากเดิม แม้รีเทลมอลล์ขนาดกลางมีความง่ายในแง่พื้นที่และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมามีบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายแห่เข้ามาลงทุนผุดโครงการ แต่สุดท้ายเจอปัญหาขาดทุนอย่างหนัก  อุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนา โครงการคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คอมมูนิตี้มอลล์หลายแห่งไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญเกิดจากการไม่มีชุมชนของตัวเอง หรือไม่มีกลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ โดยเฉพาะกรณีฮาบิโตะ คือมีพื้นที่และทำเลที่เหมาะสม ใจกลางเมือง มีจำนวนประชากร ในพื้นที่ประมาณ 5,000 ครอบครัว หรือเป็นที่ดินติดถนนใหญ่ เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า

Read More

เมื่อยักษ์ไทยบุกกรุงลงกา

  แวดวงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในศรีลังกาในห้วงยามนับจากนี้ดูจะอุดมด้วยรสชาติหลากหลายเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปรากฏข่าวยักษ์ใหญ่และผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารจากเมืองไทยในนาม เจริญโภคภัณฑ์ ตัดสินใจเคลื่อนทัพเข้าเติมเต็มสีสันด้วยการครอบกิจการของ Norfolk Foods เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดศรีลังกาในครั้งนี้ดำเนินการโดยผ่านกลไกของ CPF Investment ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในโครงสร้างของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) ด้วยการซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของบริษัท Norfolk Foods  โดยเป็นการซื้อหุ้นจากทั้งที่ถือครองโดย Expolanka Holdings ร้อยละ 50 และส่วนที่เหลือจาก Mohamed Ziauddin ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 140 ล้านบาท การรุกคืบของ CPF ในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดแนวรุกใหม่ครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารของศรีลังกา เพราะแม้ว่า Norfolk Foods ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1994 โดยมี “Crescent” เป็นแบรนด์สำคัญจะอยู่ในฐานะผู้ประกอบการลำดับที่ 3-4 ในอุตสาหกรรมนี้  แต่หากพิจารณาจากความชำนาญการและช่องทางการจัดจำหน่ายของ Norfolk โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจ HoReCa ที่กำลังขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วควบคู่กับธุรกิจท่องเที่ยวของศรีลังกาแล้ว  นี่อาจเป็นข้อต่อทางธุรกิจที่สำคัญมากสำหรับ CPF ในอนาคตและสอดรับกับยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการผลิตเพื่อค้าปลีก หากแต่ยังให้ความสำคัญกับธุรกิจค้าส่งในกลุ่ม

Read More

SCG วางอนาคตไว้ที่ HVA เคมีภัณฑ์ทำกำไรพุ่ง

  การแถลงผลประกอบการครึ่งปีแรก 2559 ของ เอสซีจี ซึ่งมี รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี นั่งเป็นประธานในการแถลงข่าวเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะดำเนินไปในทิศทางที่ต่อเนื่องจากภาพรวมธุรกิจของเอสซีจี แต่ในด้านหนึ่งกลับเป็นภาพสะท้อนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรอายุ 103 ปีแห่งนี้ที่เด่นชัดยิ่งขึ้น เพราะในขณะที่เอสซีจีแถลงผลประกอบการครึ่งปีแรกของ ปี 2559 ว่ามีรายได้จากการขายรวม 218,872 ล้านบาท และมีผลกำไรรวม 29,515 ล้านบาท แต่ข้อเท็จจริงหลักของผลประกอบการที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้และสัดส่วนผลกำไรจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ภายใต้โครงสร้างของเอสซีจีในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าอนาคตของธุรกิจในกลุ่มซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ที่แม้จะมีสัดส่วนยอดขายรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ระดับร้อยละ40 ของรายได้จากการขายทั้งหมดของกลุ่ม  กลุ่มธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างกลับสร้างผลกำไรให้กับภาพรวมขององค์กรเอสซีจีแห่งนี้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น โดยผลประกอบการของเอสซีจี ซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 2 ในปี 2559 มีรายได้จากการขาย 42,984 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 6 จากไตรมาสก่อน ความถดถอยลงดังกล่าวนี้ เป็นผลจากทั้งปริมาณและราคาขายที่ลดลงตามการชะลอตัวของตลาดภายในประเทศ มีกำไรสำหรับงวด 2,476 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

Read More

ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการเพื่อพัฒนา-เพื่อใคร?

  “ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเมืองทั่วโลกมุ่งเสริมสร้างเมืองให้น่าอยู่และยั่งยืนสำหรับประชาชน ที่ผ่านมาประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างจำกัด ขณะที่นับวันแม่น้ำเจ้าพระยาจะเสื่อมโทรมเป็นที่ทิ้งขยะ น้ำเสียจากโรงงานและชุมชน มีการบุกรุกแม่น้ำคูคลอง คุณภาพชีวิตของชุมชน  โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหรือทางเดิน-ปั่นเลียบแม่น้ำ มาจากหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทรัพยากรและพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมฝั่งแม่น้ำสำหรับประชาชนทุกคนทุกระดับ สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิต เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการก้าวสู่สังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้ด้วย” นั่นคือเนื้อหาที่เป็นใจความที่มาของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือในชื่อใหม่ที่มีความสวยงามฉาบหน้าว่า “Chao Phraya For All” หรือ “เจ้าพระยาเพื่อทุกคน”  และหากพินิจจากชื่อของโครงการนี้ด้วยความรวดเร็ว อาจเข้าใจได้ว่าภาครัฐกำลังเข้ามาพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งในเชิงการสร้างศักยภาพความแข็งแกร่ง และความสวยงามปลอดภัยของพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีสำหรับการรองรับการท่องเที่ยวเชิงลึกเข้าถึงวิถีชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนแม่บทพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางรวม 57 กิโลเมตร จากสะพานพระราม 7 ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีโครงการนำร่อง 14 กิโลเมตร จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างในการพัฒนาเจ้าพระยาในพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นที่ปรึกษาการสำรวจออกแบบ และจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน หากแต่เมื่อมีการพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงทิศทางความเป็นไปของโครงการที่กำลังจะปักเสาเข็มลงแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงต้นปีหน้า (พ.ศ. 2560)

Read More