Home > ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่

“เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” แจกฟรีแก๊สหุงต้ม ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ด

ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ สานต่อโครงการ “เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” ผนึกไทยแก๊ส และแพลน บี มีเดีย แจกฟรีแก๊สหุงต้ม พร้อมช่วยโปรโมทร้าน ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ดไทยในแคมเปญ “ร้านยิ้มได้..เราก็ยิ้มด้วย x ฝากร้านผ่านจอ” ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมาอย่างยาวนาน หนึ่งในภาคส่วนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมากที่สุดก็คือธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องเสียสละในการปิดให้บริการแบบนั่งทานที่ร้านชั่วคราวตามมาตรการของภาครัฐมาแล้วหลายต่อหลายครั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจร้านอาหารโดยตรง ถึงแม้จะยังสามารถให้บริการแบบดิลิเวอรี่ และสั่งกลับบ้านได้ แต่ก็ไม่สามารถชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการเทียบเท่ากับในสถานการณ์ปกติ คุณชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทผู้จัดจำหน่ายแก๊สหุงต้มแบรนด์เวิลด์แก๊ส มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็ก สตรีทฟู้ด และแผงลอยต่างๆ ในภาวะวิกฤติครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งล่าสุดหลังจากมีการประกาศมาตรการควบคุมสถานการณ์โควิด ห้ามรับประทานอาหารภายในร้าน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด บริษัทจึงได้สานต่อพันธกิจ “We Promise” ย้ำภาพลักษณ์เพื่อนแท้ด้านพลังงาน ที่ยืนหยัดเคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนานถึง 42 ปี

Read More

เวิลด์แก๊สแตกไลน์ ดัน “วันเดอร์ฟู้ด” เข้าตลาดหุ้น

“เวิลด์แก๊ส” เปิดยุทธศาสตร์แตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดระดับพรีเมียม โดยประเดิมโปรเจกต์แรกจับมือกับบริษัท วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ของเชฟมิชลินสตาร์ “แอนดี้ ยังเอกสกุล” และมองข้ามช็อตต่อยอดขยายเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ ธุรกิจเครื่องปรุงรสและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงการขยายฐานรายได้ใหม่ และยังเป็นการเพิ่มลูกค้าก๊าซกลุ่มร้านอาหารแบบดับเบิ้ลด้วย ทั้งนี้ หากดูโครงสร้างรายได้ของบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส เมื่อปี 2562 อันดับ 1 มาจากโรงบรรจุก๊าซ 6,376 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.83% ตามด้วยสถานีบริการก๊าซ 3,337 ล้านบาท สัดส่วน 24.29% กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 1,378 ล้านบาท สัดส่วน 9.39% กลุ่มลูกค้าพาณิชย์ 842 ล้านบาท สัดส่วน 5.32% ร้านค้าก๊าซ 609 ล้านบาท สัดส่วน 4.15% ที่เหลือเป็นซัปพลายเซลและอื่นๆ

Read More