Home > BREXIT

ผลกระทบจาก Brexit ต่อผู้หญิงในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ประเทศสหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) เป็นเวลา 11 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้สหราชอาณาจักรจะยังอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐสภายุโรป (European Parliament) อีกต่อไป สมาชิกรัฐสภาของยุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองประเทศสมาชิก โดยผู้มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้ง ในรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 751 คน และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา สมาชิกรัฐสภาจะปรับลดจำนวนลงเหลือเพียง 705 คน หลังจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบเรื่อง Brexit เพราะจำนวนประชากรภายใต้สหภาพยุโรปลดลงจากการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกของสหราชอาณาจักร แน่นอนว่าหลังจากสหราชอาณาจักรออกสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ นักวิชาการจำนวนมากทำนายทิศทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไปในทิศทางเดียวกันว่า สหราชอาณาจักรจะมีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด และแน่นอนว่าคนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุดก็คือ ผู้หญิง เพราะผู้หญิงคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำงานและมีรายได้น้อย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผู้หญิงจะกลายเป็นคนกลุ่มแรกที่อาจต้องตกงาน หรือหางานได้ยากขึ้น ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิงหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ได้มีเพียงแค่อาจตกงานหรือหางานได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่กฎหมายของสหภาพยุโรปซึ่งปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงในการทำงาน

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

ผลกระทบต่อผู้หญิงอังกฤษจาก Brexit

Column: Women in wonderland Brexit มาจากคำว่า Britain คือประเทศสหราชอาณาจักร รวมกับคำว่า exit ซึ่งหมายถึง ออกหรือจากไป ดังนั้น คำว่า Brexit หมายถึง ประเทศสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) โดยเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 คนอังกฤษลงประชามติว่าสหราชอาณาจักรควรจะเป็นสมาชิกของ EU ต่อหรือควรออกจากการเป็นสมาชิก EU ผลปรากฏว่า คนอังกฤษตัดสินใจให้รัฐบาลนำสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิก EU ด้วยผลโหวต 51.9% หรือประมาณ 17.4 ล้านคน ในขณะที่ผลโหวตให้สหราชอาณาจักรอยู่เป็นสมาชิก EU ต่อไป 48.1% หรือประมาณ 16.1 ล้านคน การที่คนอังกฤษตัดสินใจที่จะออกจาก EU หลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เนื่องจากคนอังกฤษถกเถียงเรื่องนี้มานาน เพราะคนอังกฤษมีความเป็นชาตินิยมสูง มองประเทศตัวเองว่าเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนกับเยอรมนีและฝรั่งเศส แต่การที่สหราชอาณาจักรเข้าเป็นสมาชิกของ EU ทำให้บทบาทของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรปลดน้อยลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับ EU

Read More

เทสโก้งัดแผนดึงคู่ค้าไทย ลุยตลาดอังกฤษสู้เบร็กซิท

“เทสโก้โลตัส” งัดแผนดึงเครือข่ายผู้ประกอบการไทยเข้าไปเจาะตลาดอังกฤษ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ “วิน-วิน” รอบด้าน เพราะไม่ใช่แค่การเสริมศักยภาพสร้างเครือข่ายคู่ค้า เร่งยอดส่งออกและขยายพอร์ตสินค้า แต่มากไปกว่านั้น บริษัทแม่ในอังกฤษกำลังดิ้นรนเสริมจุดแข็งทุกด้าน เพื่อต่อสู้กับผลพวงจากกรณี “เบร็กซิท” (Brexit) โดยเฉพาะสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกในสหราชอาณาจักรที่พลิกโฉมครั้งใหญ่ จอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส และประธานผู้นำนักธุรกิจฝ่ายสหราชอาณาจักร สภาผู้นำนักธุรกิจไทย-อังกฤษ เปิดเผยว่า เทสโก้ โลตัส ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีสาขากว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ มีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทย โดยเป็นช่องทางการขายและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศผ่านกลุ่มเทสโก้มานานกว่า 10 ปี ทั้งสินค้าประเภทอาหารสด เช่น ผลไม้ เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องเขียน ของเล่นเด็ก ไปยังตลาดยุโรปกลางและเอเชียผ่านกลุ่มเครือข่ายธุรกิจเทสโก้ใน 10 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ประเทศไทย มาเลเซีย ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ สโลวะเกีย อินเดีย และจีน แต่สำหรับปี 2561

Read More

จาก BREXIT สู่ ABENOMICS 2.0 สัญญาณเตือนเศรษฐกิจฟุบยาว?

  ข่าวการลงคะแนนเสียงประชามติของสหราชอาณาจักร เพื่อขอถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หรือ BREXIT เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งในบริบทการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสหราชอาณาจักรแล้ว กรณีดังกล่าวยังสั่นคลอนความเป็นไปของยุโรปในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย ผลกระทบต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมจากกรณีของ BREXIT ในระยะยาว แม้จะยังไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะสั้นทำให้หลายคนต่างหวั่นวิตก แม้จะพยายามประเมินสถานการณ์ในเชิงบวกว่ากรณี BREXIT อาจไม่กระทบเศรษฐกิจไทยในวงกว้างเท่าใดนักก็ตาม กระนั้นก็ดี นักวิเคราะห์และศูนย์วิจัยหลายแห่ง ต่างประเมินผลกระทบและความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยไว้ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจาก BREXIT จะกระทบ GDP ของไทยในอัตราร้อยละ 0.07 หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปี 2559 และอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 0.2 ในปี 2560  โดยในกรณีที่ไม่ร้ายแรงอาจลดทอน GDP ไทยในปี 2559 เพียง 0.04% แต่ในกรณีที่เลวร้าย ด้วยการส่งผลกระทบลามไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ใน EU ด้วย ก็อาจฉุด GDP ของไทยให้หายไปร้อยละ 0.2 ในปี 2559

Read More