Home > สหราชอาณาจักร

หัวเว่ย ออกแถลงการณ์ กรณีสหราชอาณาจักรแบนเครือข่าย 5G ของหัวเว่ย

จากกรณีที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศเมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลมีมติห้ามมิให้บริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของสหราชอาณาจักรซื้ออุปกรณ์ 5G จากหัวเว่ยหลังสิ้นสุดปี 2020 เป็นต้นไป และต้องถอดชุดอุปกรณ์ 5G ของหัวเว่ยออกจากเครือข่ายทั้งหมดของผู้ให้บริการภายในปี 2027 นายเอ็ดเวิร์ด บรูว์สเตอร์ (Edward Brewster) โฆษกหัวเว่ยแห่งสหราชอาณาจักรชี้แจงว่า “การตัดสินใจอันน่าผิดหวังของรัฐบาลสหราชอาณาจักรครั้งนี้ถือเป็นข่าวร้ายของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนในสหราชอาณาจักร นอกจากจะเสี่ยงต่อความล่าช้าในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย การแบนครั้งนี้เป็นการเดินถอยหลังแทนที่จะก้าวไปข้างหน้า เราจึงขอให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรพิจารณาการตัดสินใจนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นว่ามาตรการกีดกันครั้งใหม่จากสหรัฐฯ นี้จะไม่กระทบกับด้านความยืดหยุ่นและด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของเราที่มีการใช้งานในสหราชอาณาจักร น่าเสียดายที่อนาคตของหัวเว่ยในสหราชอาณาจักรได้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยมิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์แต่อย่างใด ในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นในสหราชอาณาจักร และในฐานะองค์กรที่ยึดมั่นในการแสดงความรับผิดชอบ เราจะยังคงมุ่งให้บริการและช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างที่ปฏิบัติมาโดยตลอด ทั้งนี้ เราจะทำการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งว่าการประกาศในวันนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราในด้านใด และเราจะทำงานร่วมกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรเพื่อชี้แจงว่าหัวเว่ยจะสามารถช่วยยกระดับการเชื่อมต่อในสหราชอาณาจักรให้ดียิ่งขึ้น”

Read More

ผลกระทบต่อผู้หญิงอังกฤษจาก Brexit

Column: Women in wonderland Brexit มาจากคำว่า Britain คือประเทศสหราชอาณาจักร รวมกับคำว่า exit ซึ่งหมายถึง ออกหรือจากไป ดังนั้น คำว่า Brexit หมายถึง ประเทศสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) โดยเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 คนอังกฤษลงประชามติว่าสหราชอาณาจักรควรจะเป็นสมาชิกของ EU ต่อหรือควรออกจากการเป็นสมาชิก EU ผลปรากฏว่า คนอังกฤษตัดสินใจให้รัฐบาลนำสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิก EU ด้วยผลโหวต 51.9% หรือประมาณ 17.4 ล้านคน ในขณะที่ผลโหวตให้สหราชอาณาจักรอยู่เป็นสมาชิก EU ต่อไป 48.1% หรือประมาณ 16.1 ล้านคน การที่คนอังกฤษตัดสินใจที่จะออกจาก EU หลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เนื่องจากคนอังกฤษถกเถียงเรื่องนี้มานาน เพราะคนอังกฤษมีความเป็นชาตินิยมสูง มองประเทศตัวเองว่าเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนกับเยอรมนีและฝรั่งเศส แต่การที่สหราชอาณาจักรเข้าเป็นสมาชิกของ EU ทำให้บทบาทของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรปลดน้อยลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับ EU

Read More

เทสโก้งัดแผนดึงคู่ค้าไทย ลุยตลาดอังกฤษสู้เบร็กซิท

“เทสโก้โลตัส” งัดแผนดึงเครือข่ายผู้ประกอบการไทยเข้าไปเจาะตลาดอังกฤษ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ “วิน-วิน” รอบด้าน เพราะไม่ใช่แค่การเสริมศักยภาพสร้างเครือข่ายคู่ค้า เร่งยอดส่งออกและขยายพอร์ตสินค้า แต่มากไปกว่านั้น บริษัทแม่ในอังกฤษกำลังดิ้นรนเสริมจุดแข็งทุกด้าน เพื่อต่อสู้กับผลพวงจากกรณี “เบร็กซิท” (Brexit) โดยเฉพาะสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกในสหราชอาณาจักรที่พลิกโฉมครั้งใหญ่ จอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส และประธานผู้นำนักธุรกิจฝ่ายสหราชอาณาจักร สภาผู้นำนักธุรกิจไทย-อังกฤษ เปิดเผยว่า เทสโก้ โลตัส ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีสาขากว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ มีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทย โดยเป็นช่องทางการขายและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศผ่านกลุ่มเทสโก้มานานกว่า 10 ปี ทั้งสินค้าประเภทอาหารสด เช่น ผลไม้ เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องเขียน ของเล่นเด็ก ไปยังตลาดยุโรปกลางและเอเชียผ่านกลุ่มเครือข่ายธุรกิจเทสโก้ใน 10 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ประเทศไทย มาเลเซีย ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ สโลวะเกีย อินเดีย และจีน แต่สำหรับปี 2561

Read More

จาก BREXIT สู่ ABENOMICS 2.0 สัญญาณเตือนเศรษฐกิจฟุบยาว?

  ข่าวการลงคะแนนเสียงประชามติของสหราชอาณาจักร เพื่อขอถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หรือ BREXIT เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งในบริบทการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสหราชอาณาจักรแล้ว กรณีดังกล่าวยังสั่นคลอนความเป็นไปของยุโรปในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย ผลกระทบต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมจากกรณีของ BREXIT ในระยะยาว แม้จะยังไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะสั้นทำให้หลายคนต่างหวั่นวิตก แม้จะพยายามประเมินสถานการณ์ในเชิงบวกว่ากรณี BREXIT อาจไม่กระทบเศรษฐกิจไทยในวงกว้างเท่าใดนักก็ตาม กระนั้นก็ดี นักวิเคราะห์และศูนย์วิจัยหลายแห่ง ต่างประเมินผลกระทบและความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยไว้ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจาก BREXIT จะกระทบ GDP ของไทยในอัตราร้อยละ 0.07 หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปี 2559 และอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 0.2 ในปี 2560  โดยในกรณีที่ไม่ร้ายแรงอาจลดทอน GDP ไทยในปี 2559 เพียง 0.04% แต่ในกรณีที่เลวร้าย ด้วยการส่งผลกระทบลามไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ใน EU ด้วย ก็อาจฉุด GDP ของไทยให้หายไปร้อยละ 0.2 ในปี 2559

Read More

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Gentlemen’s Clubs ในสหราชอาณาจักร

  คำว่า Gentlemen’s Clubs ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่เที่ยวพักผ่อนสำหรับผู้ชายในเวลากลางคืนเหมือนที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน แต่คำว่า Gentlemen’s Clubs หมายถึงสถานที่ที่เป็นที่ส่วนตัว มีลักษณะคล้ายบ้าน ที่ผู้ชายจะมารวมตัวกันเพื่อทำความรู้จักและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันในเรื่องต่างๆ  ซึ่งใน Gentlemen’s Clubs นี้ก็จะมีทั้งอาหาร เครื่องดื่มไว้บริการ มีห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องอาหาร ห้องสมุด ห้องเล่มเกมส์ ห้องอาบน้ำ และสถานที่สำหรับเล่นกีฬา เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการให้รู้สึกเหมือนกับว่าอยู่บ้านของตัวเอง และยังได้ใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย Gentlemen’s Clubs ในสหราชอาณาจักร เริ่มมีการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ซึ่งในช่วงนั้นจะอนุญาตให้คนอังกฤษชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าไปใช้บริการได้ ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เริ่มอนุญาตให้คนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะและทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสามารถเข้าเป็นสมาชิกและใช้บริการได้ และแน่นอนว่าตั้งแต่ที่ Gentlemen’s Clubs เริ่มเปิดให้บริการในศตวรรษที่ 18 นั้น มีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ ผู้หญิงไม่สามารถสมัครสมาชิกได้ แต่สามารถเป็นผู้ติดตามได้ อย่างเช่นว่าถ้า Gentlemen’s Clubs มีการจัดงานเลี้ยง ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถพาภรรยาหรือลูกสาวเข้ามาร่วมงานได้ในฐานะของผู้ติดตามเท่านั้น Gentlemen’s Clubs

Read More