Home > ภาวะเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More