Home > ประเทศสหราชอาณาจักร

ผลกระทบจาก Brexit ต่อผู้หญิงในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ประเทศสหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) เป็นเวลา 11 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้สหราชอาณาจักรจะยังอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐสภายุโรป (European Parliament) อีกต่อไป สมาชิกรัฐสภาของยุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองประเทศสมาชิก โดยผู้มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้ง ในรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 751 คน และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา สมาชิกรัฐสภาจะปรับลดจำนวนลงเหลือเพียง 705 คน หลังจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบเรื่อง Brexit เพราะจำนวนประชากรภายใต้สหภาพยุโรปลดลงจากการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกของสหราชอาณาจักร แน่นอนว่าหลังจากสหราชอาณาจักรออกสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ นักวิชาการจำนวนมากทำนายทิศทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไปในทิศทางเดียวกันว่า สหราชอาณาจักรจะมีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด และแน่นอนว่าคนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุดก็คือ ผู้หญิง เพราะผู้หญิงคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำงานและมีรายได้น้อย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผู้หญิงจะกลายเป็นคนกลุ่มแรกที่อาจต้องตกงาน หรือหางานได้ยากขึ้น ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิงหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ได้มีเพียงแค่อาจตกงานหรือหางานได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่กฎหมายของสหภาพยุโรปซึ่งปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงในการทำงาน

Read More

วิกฤตช่องว่างระหว่างรายได้ในประเทศสหราชอาณาจักร

Column: Women in Wonderland ปัญหาช่องว่างของรายได้ หรือ Gender Pay Gap เป็นปัญหาที่มีมานาน แต่รัฐบาลในเกือบทุกประเทศยังไม่สามารถลดช่องว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่ทำงานเหมือนกันได้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใน The Global Gender Gap Report 2018 ซึ่งทำการสำรวจเรื่องช่องว่างของรายได้ โดยการใช้แบบสอบถาม พบว่าประเทศที่มีช่องว่างรายได้น้อยที่สุดในโลกคือ ไอซ์แลนด์ จากทั้งหมด 149 ประเทศ ตามด้วยสิงคโปร์เป็นลำดับที่ 2 สหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับที่ 8 ฟิลิปปินส์ลำดับที่ 9 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 สหราชอาณาจักรอยู่ในลำดับที่ 64 และลำดับสุดท้ายคือ ปารากวัย ไม่น่าแปลกใจที่ไอซ์แลนด์จะเป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างรายได้น้อยที่สุดในโลก เพราะไอซ์แลนด์เพิ่งประกาศบังคับให้ทุกบริษัทต้องจ่ายเงินค่าจ้างทำงานระหว่างหญิงและชายที่ทำงานลักษณะเดียวกัน เท่ากัน โดยบริษัทใดก็ตามที่มีลูกจ้างมากกว่า 25 คน จะต้องแจ้งต่อรัฐบาลว่า ลูกจ้างผู้ชายและผู้หญิงในบริษัททำงานในตำแหน่งใด และได้รับค่าจ้างเท่าไร ถ้าหากบริษัทไม่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างที่ทำงานเหมือนกันจำนวนเงินที่เท่ากัน ทางบริษัทจะต้องชำระค่าปรับ กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

Read More