Home > การศึกษา (Page 2)

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยสู่สตาร์ทอัพ

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หวังต่อยอดสู่สตาร์ทอัพ ทุ่มงบวิจัยต่อยอดรวม 10 ทุน ด้านผู้บริหาร มช. ย้ำนักวิจัยมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมและยกระดับมหาวิทยาลัยเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมงานสัมมนากระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “การแปลงงานวิจัยและยกระดับสู่การใช้ประโยชน์” และการศึกษาการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. และเยี่ยมชมการดำเนินงานของอุทยานฯ และโรงงานต้นแบบ-บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การผลักดันของอุทยานฯ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวระหว่างการบรรยายโครงสร้างและระบบวิจัยใหม่ ว่าอยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้บริหารและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่วยกันจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยแลลำนวัตกรรมของประเทศ โดยใช้กลไกสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และการติดตามประเมินผล เป็นตัวขับเคลื่อนงานวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ดีแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนในระดับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นน่าจะทำการวิจัยด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่น่าลงทุน ขณะที่ รศ. ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนฐานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 บทบาทของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการสอนและทำวิจัยแล้วยังต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมด้วย มิฉะนั้นจะถูกดิสรัป ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยวิจัยก็จะไปไม่รอด เราจึงต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย คุณภาพ มาตรฐาน และความเหลื่อมล้ำ!

การศึกษาไทยมีประเด็นที่น่าสนใจรับศักราชใหม่ จากแนวความคิดอันสร้างสรรค์ของ ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยที่ให้นักเรียนเริ่มทดลองแต่งชุดไปรเวตมาเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นัยสำคัญของการทดลองนี้อยู่ตรงที่เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน ว่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของนักเรียนในเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ และในวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ภาพนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยการแต่งชุดไปรเวต มุมหนึ่งต้องยอมรับว่า การแสดงออกของนักเรียนกลุ่มนี้สร้างสีสันและอุดมไปด้วยไอเดีย ทว่า อีกแง่มุมหนึ่งกลายเป็นประเด็นให้สังคมได้ถกแถลง เมื่อหลายฝ่ายมองว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกด้วยการใส่ชุดไปรเวตไม่ใช่เรื่องผิดแปลก อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กเหล่านี้ได้มีอิสระทางความคิด รู้จักแสดงออกในทางที่เหมาะสม ขณะที่อีกฟากฝั่งกลับร้องหาความถูกต้องเหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขอันว่าด้วยกฎระเบียบมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นในยุคสมัยหนึ่ง แม้ว่าโลกจะหมุนไปทุกวินาที และปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การทำงานเชิงรุกของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ส่งหนังสือแจ้งไปยังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อขอให้โรงเรียนทบทวนเรื่องดังกล่าว ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด แม้โรงเรียนจะชี้แจงไปก่อนหน้าแล้วว่า “นี่เป็นการทดลองทำวิจัยเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียนเท่านั้น” ซึ่ง สช. แสดงความกังวลว่า แนวทางดังกล่าวของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องระเบียบวินัยและค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง บริบทของสังคมไทย และปัญหาสังคม แน่นอน หากเปิดใจให้กว้าง ความกังวลของ สช. ดูจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ขณะที่การศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤต มีหลายปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะต้องหันมาระดมความคิดเข้าแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องการขาดแคลนทรัพยากร บุคลากรที่มีศักยภาพ การศึกษาที่เด็กนักเรียนสามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการอนุญาตให้นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สามารถแต่งชุดไปรเวตได้ 1 วันใน 1

Read More

“เด็กไทย” เมื่อมูลค่ามาก่อนคุณค่า กวดวิชา ตลาดชอปปิ้งทางการเรียน

  จากการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทยที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีจุดอ่อนและเป็นปัญหาสะสมมานาน แม้ว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญในการศึกษา โดยการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เรียกว่าแทบชนเพดาน ให้กับงานด้านการศึกษา แต่เหมือนว่าไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ที่จะพัฒนาเรื่องการเรียนของเด็กไทยได้ ในขณะที่การเติมความฝันที่จะเข้าเรียนไม่ว่าจะเริ่มจากระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา ยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในสถาบันที่ตนเองต้องการ โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อน ขาลงการศึกษา แต่กลับเป็นขาขึ้นโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชารวม 1,983 แห่ง แบ่งเป็นเขตกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัดอีก 1,496 แห่ง ซึ่งการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชานั้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเงินค่าเรียน จนทำให้โรงเรียนกวดวิชากลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรมหาศาล สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมีอุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น เดอะติวเตอร์ เดอะเบรน เรื่องจริงที่น่าเศร้าและสะเทือนใจ ก็คือในช่วงเปิดเทอม เด็กต้องเรียนเนื้อหาคู่ขนานกับการเรียนในโรงเรียน เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า

Read More