Home > มูลนิธิเพื่อคนไทย

Good Society Summit “Hope in Crisis” ภารกิจสร้างสังคมให้น่าอยู่ผ่านมูลนิธิเพื่อคนไทย

ปัจจุบันสังคมไทยยังคงเผชิญหน้ากับปัญหาในหลากหลายมิติ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา ความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม และการคอร์รัปชัน ซึ่งล้วนแต่เป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องทั้งสิ้น และแน่นอนว่าการแก้ปัญหาสังคมที่ซับซ้อนนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่ผ่านมามีความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากภาครัฐและเอกชนออกมาให้เราได้เห็นกันไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มูลนิธิเพื่อคนไทย” ที่พยายามแก้ปัญหาสังคมโดยสร้างกลไกอันเกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มูลนิธิเพื่อคนไทยเป็นอีกหนึ่งองค์กรสาธารณประโยชน์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน โดยเชื่อว่าการแก้ปัญหาสังคมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงได้สร้างเครือข่ายจากองค์กรและหน่วยงานที่ทำงานในประเด็นต่างๆ ทางสังคมโดยตรง ผนวกกับความร่วมมือของประชาชนที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญ โดยมี “วิเชียร พงศธร” แชร์แมนกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ และผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานของมูลนิธิและกิจการเพื่อสังคมต่างๆ มากว่า 30 ปี เป็นหัวเรือใหญ่ จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการผลักดันเรื่องการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม วิเชียรจึงได้จัดตั้งมูลนิธิยุวพัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยใช้กลไกต่างๆ ทั้งการระดมทุนผ่านร้านขายของมือสองอย่าง “ร้านปันกัน”, โครงการร้อยพลังการศึกษา, โครงการฟู้ด ฟอร์ กู้ด (Food for Good) เพื่อขจัดปัญหาเด็กทุพโภชนาการ รวมไปถึงการให้ทุนการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาของไทย ก่อนที่จะขยายกิจการเพื่อสังคมในประเด็นอื่นๆ ต่อไปให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงมูลนิธิเพื่อคนไทยซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกลไกพัฒนาสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วม มูลนิธิเพื่อคนไทยมีการดำเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นที่คุ้นตาของหลายๆ คนมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมแหล่งทุนและความต้องการของสังคม

Read More

Limited Education แก้ปัญหาผ่านแบรนด์ เปลี่ยนการศึกษาไทยให้เป็นของ (ไม่) ลิมิเต็ด

เสื้อยืดสีขาวที่มีตัวอักษรโย้เย้สะกดชื่อแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่บนตัวเสื้อ หรือ ป้าย “ขนมปังเนยโสด” ที่อยู่บนกล่องขนมปังเนยสดของร้านขนมหวานชื่อดังอย่าง After You คงเคยผ่านตาของใครหลายคน แม้มุมหนึ่งอาจจะดูน่ารัก ดึงดูดความสนใจ ประหนึ่งการตลาดรูปแบบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายใต้ตัวอักษรเหล่านั้นกำลังสะท้อนความจริงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่โดยส่วนมากมักนึกถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นหลัก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นปัญหาที่เห็นภาพเด่นชัดในสังคมไทย ทว่าช่องว่างของรายได้และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื้อรังที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตัวอักษรโย้เย้และคำสะกดผิดที่อยู่บนเสื้อยืดสีขาวและกล่องขนมข้างต้น คือหนึ่งในความพยายามที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านโครงการ “Limited Education” ที่เป็นดั่งพื้นที่รวบรวมสินค้า Limited Edition จากแบรนด์ดังต่างๆ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยเชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยจะลดลงได้ เมื่อเกิดพื้นที่แห่งความร่วมมือจากทุกคน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ อุดหนุน และส่งต่อประเด็นปัญหา ผ่านสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษโดยใช้คำที่สะกดผิดจากลายมือจริงของเด็ก ที่ดูผ่านๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นลายมือของเด็กประถม แต่แท้ที่จริงแล้วทุกตัวอักษรและทุกข้อความที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เป็นฝีมือของเด็กระดับมัธยมต้น ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น “จากสถิติปี 2563 เราพบว่า

Read More