Home > การท่องเที่ยว (Page 3)

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More

Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาโปรดักส์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างจุดขาย เสริมความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในสังคมยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนากลายมาเป็นพฤติกรรมและเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และนั่นย่อมรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยเช่นกันที่ต่างต้องปรับตัวและสร้างจุดขายใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกระแสดังกล่าว จนนำไปสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่อย่าง “Wellness Tourism” เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง และมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ มีการผนวกกิจกรรมด้านสุขภาพเข้ามารวมอยู่ในการท่องเที่ยวนั้นด้วย เช่น โยคะ สปา อาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ เป็นต้น กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่ธุรกิจนี้กลับเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2560 ตลาด wellness tourism ทั่วโลก มีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทย 9,000 เท่า มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.6% ซึ่งโตกว่าภาพรวมการท่องเที่ยวโลกถึง 2 เท่า และยังมีแนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบด้วยต้นทุนที่ดีทั้งในแง่ของการบริการด้านสุขภาพ

Read More

งดค่าวีซ่า-กระตุ้นเมืองรอง ทางรอดธุรกิจท่องเที่ยวไทย?

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผูกพันหนักหน่วงอยู่กับภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวดูเหมือนจะเข้าสู่เส้นทางที่ตีบตันลงมากขึ้น ทั้งจากผลของสภาพเศรษฐกิจระดับโลก ที่กำลังเผชิญกับการคุกคามจากสงครามการค้ารอบใหม่ ที่นำไปสู่การกีดกันทางการค้า และภาวะชะลอตัวอย่างกว้างขวาง ขณะที่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่เคยเป็นปัจจัยหนุนนำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงคร่ำครวญของผู้ประกอบการ ซึ่งแม้ในห้วงปัจจุบันจะนับเป็นฤดูการท่องเที่ยวแล้ว แต่จำนวนนักท่องเที่ยวในภาพรวมก็ยังไม่ได้กระเตื้องขึ้นมากนัก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวและยอดจองห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าไม่มีการจองการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนมากเหมือนเช่นที่ผ่านมาในอดีต ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ซึ่งเคยพลุกพล่านและหนาแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีน ตกอยู่ในภาวะซบเซา และสร้างความหวั่นวิตกให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเชียงใหม่อย่างมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวของเชียงใหม่ด้วยการประเมินจากยอดการจองทัวร์ การใช้บริการรถบัสโดยสาร ปริมาณการจองห้องพัก นับตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง หรือหายไปในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายนปริมาณการจองทัวร์ของนักท่องเที่ยวชาวจีนเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ก็ดำเนินไปอย่างเบาบาง ก่อนหน้านี้เชียงใหม่นับเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอีกแห่งของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้าสู่เชียงใหม่มากถึง 2 ล้านคน ซึ่งสามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งในมิติของผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม กิจการขนส่ง และการให้บริการทัวร์ แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่เชื่อมั่นในปัจจุบัน ดูเหมือนลมหายใจทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้กำลังดำเนินไปโดยความรวยริน ภาวะลดน้อยถอยลงของนักท่องเที่ยวจีนเข้าสู่ประเทศไทย เป็นกรณีที่มีผลสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งเกิดเหตุเรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยอย่างหนักหน่วง ในขณะที่คำชี้แจงจากภาครัฐจนถึงขณะปัจจุบันก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนทั้งในมิติของสาเหตุและในกรณีของผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์สลดในครั้งนั้น ส่วนเงินชดเชยที่รัฐจัดสรรให้กับเหยื่อผู้ประสบภัยก็เป็นเพียงมาตรการเยียวยาที่ไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นในเรื่องสวัสดิภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้ประกอบการ ตัวแทน และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เลย ยังไม่รวมภาพลักษณ์ด้านลบที่มีผลต่อการท่องเที่ยวไทยโดยตรง ทั้งกรณีการทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยวโดยเจ้าหน้าที่ของไทยที่ท่าอากาศยาน หรือการฉวยโอกาสเอาเปรียบนักท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ และข่าวเชิงลบอื่นๆ ที่แพร่สะพัดออกไปยังสื่อนานาชาติอย่างกว้างขวาง ที่ทำให้ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยตกต่ำไปโดยปริยาย ภายใต้กลไกรัฐที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานโยบายว่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ในด้านหนึ่งด้วยหวังว่า ความเป็นไปของเมืองรองเหล่านี้จะช่วยหนุนเสริมให้ระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นพัฒนาและฟื้นตัวขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายส่งเสริมเมืองรองยังดำเนินไปท่ามกลางความเชื่อและคาดหวังว่าอาจเป็นส่วนเติมเต็มให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ และเป็นเหตุให้รัฐบาล คสช. เห็นชอบที่จะกำหนดให้บุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเมืองรอง 55

Read More

ปัจจัยทัวร์จีน ดัชนีชี้วัด GDP ไทย

ภาพนักท่องเที่ยวจีนที่เดินกันขวักไขว่ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของไทย เช่น พระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ และภูเก็ต ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง กลายเป็นภาพจำไปแล้วสำหรับคนไทย เมื่อช่วงเวลาหนึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมืองไทยได้รับความสนใจและกลายเป็น destination ของนักท่องเที่ยวจีน อาจจะมาจากภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand ที่ฉายในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2556 นับเป็นการจุดพลุการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ทั้งค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไทยที่ราคาไม่แพง ภาคการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือที่นักท่องเที่ยวจีนเคยให้เหตุผลน่าฟังว่า “คนไทยใจดี” ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่นักท่องเที่ยวจีนค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นนั้น ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านอกจากจะเป็นการกระพือชื่อเสียงการเป็นเมืองท่องเที่ยวและสร้างความนิยมให้กับเมืองไทยแล้ว สิ่งที่ตามมาคือเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และแน่นอนว่านั่นคือรายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน หากดูจากสถิติเมื่อปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 9,805,753 คน และสร้างรายได้มากถึง 524,451.03 ล้านบาท นับว่าทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นอันดับหนึ่งของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากที่สุด และนั่นทำให้ในปี 2561 ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงถึง 10.5 ล้านคน กระทั่งโศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ลดทอนความเชื่อมั่นในสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเมืองไทยลง จำนวนนักท่องเที่ยวจีนจึงค่อยๆ ลดจำนวนลง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเปลี่ยนเส้นทางไปยังประเทศอื่นในเอเชีย เช่น เรื่องโรคไข้เลือดออกระบาด พฤติกรรมไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสนามบิน

Read More

การท่องเที่ยวทรุด ฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฟันเฟืองที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว และหลายครั้งที่สถานการณ์ทำให้เราประจักษ์ชัดว่าการท่องเที่ยวของไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อรากฐานทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ทุกๆ ภาครัฐและเอกชนของไทยจะตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่าในแต่ละปีจะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและบทสรุปทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ในแต่ละปีที่ออกมามักสูงกว่าเป้าหมายที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทว่า ในปีนี้โดยเฉพาะห้วงเวลานี้กลับแตกต่างออกไปทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวลดจำนวนลงแม้จะยังไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่กลับสร้างความตระหนกให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ธุรกิจรถทัวร์ เรือนำเที่ยว หรือธุรกิจอื่นที่ล้วนแต่อยู่ในห่วงโซ่ย่อมได้รับผลกระทบแห่งระลอกคลื่นนี้เช่นกัน เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนกันยายน 2561 ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 2,655,562 คน โดยจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุด 1,948,414 คน รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย และแอฟริกา ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว 2.13 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นอัตราการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมีทั้งเรื่องของฤดูกาล ที่เป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่หลายคนกำลังจับตาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว โศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต ดูจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตมากถึง 47 ราย

Read More

สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยผนึกพันธมิตรหนุนบูม Traveltech

สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยผนึกทำเอ็มโอยู 5 สมาคมท่องเที่ยว พร้อมผนึกกำลังสมาคมไทยไอโอที และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ Traveltech Startup 20 บริษัท เดินหน้านวัตกรรมดิจิตอลทั้งด้านการบริหาร การบริการและการตลาด และช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการ Traveltech ของไทยให้มีให้มีศักยภาพในระดับโลกและปั้น Unicorn ตัวแรกของไทยให้เกิดขึ้น นายกิตติ พรศิวะกิจ นายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยหรือ ATTM เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561 ได้มีการเซ็น MOU ของสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยกับภาคีเครือข่ายสมาคมท่องเที่ยว 4 สมาคม คือ สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ตลอดจนการเชิญนายกสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมไทยไอโอที (TIOT) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และผู้บริหารของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) รวมถึงซีอีโอจาก Traveltech Startup 20

Read More

9 หน่วยงานขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 ชายแดนภาคใต้

9 หน่วยงานสานพลังขานรับนโยบายบูรณาการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความอยู่ดีมีสุข ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขของชุมชน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคใต้และภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน) เป็นประธานและมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พร้อมมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ และชมนิทรรศการ ในโอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ระหว่าง 6 หน่วยงาน และ 3 จังหวัด ประกอบด้วย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ศูนย์อำนวยการบริหารส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้

Read More

สิมิลัน: เหยื่อการท่องเที่ยวที่ไร้การจัดการ?

ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกำลังดำเนินความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการโหมประโคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้คำขวัญที่หวังสร้างกระแสทั้ง “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างลึกซึ้ง” และ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หากแต่ข่าวความเป็นไปของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะสร้างมิติที่แตกต่างออกไปจากอย่างสิ้นเชิง ปรากฏการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังหมู่เกาะสิมิลันอย่างหนาแน่น จนเกิดภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกาะ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การดูแลและอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติของหมู่เกาะสิมิลัน จะมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายให้เสียหายมากน้อยเพียงใด จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งอาจจะทำให้หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระบุถึงผลความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ทำให้สิมิลันกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีนที่มีสัดส่วนมากถึงกว่าร้อยละ 90 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ขณะที่ในปีที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา กลายเป็นสถานที่ที่สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 201 ล้านบาท จากการเปิดฤดูท่องเที่ยวประจำปี 2560 (1 พฤศจิกายน 2559-30 เมษายน 2560) รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับการบันทึกว่าเป็นสถิติใหม่ในการจัดเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 35 ปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อปี 2525 และนับเป็นสถานที่ที่จัดเก็บรายได้จากนักท่องเที่ยวได้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย กระนั้นก็ดี ตัวเลขของรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมไม่สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยว ที่มุ่งหมายทั้งในมิติของความลึกซึ้งและยั่งยืน ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามนำเสนอได้ ในทางตรงข้ามกลับสะท้อนภาพความบกพร่องในการบริหารจัดการและการเตรียมการที่จะรองรับผลสืบเนื่องที่สามารถคาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเดือนมกราคม 2560 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันรายงานว่าสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 57 ล้านบาท

Read More

หอการค้าเปิดแผนหนุนภาครัฐ ท่องเที่ยวคือกุญแจสำคัญ

ดูเหมือนว่า “ไตรมาสสุดท้ายของปี” จะเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายต้องระดมสรรพสมองเพื่อขบคิดและสรรหานโยบายรังสรรค์แผนการสำหรับการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นเครื่องจักรตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อมีการคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวปี 2560 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ ตัวเลขรายได้ของการท่องเที่ยว ที่แม้จะเป็นเพียงประมาณการรายได้ทั้งปี หากแต่ด้วยตัวเลขที่สูงเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายภาคส่วนยังมุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์แคมเปญที่มีความเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ประเดิมแคมเปญใหม่ในช่วงสิ้นปีภายใต้กรอบโครงความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เมื่อการมุ่งเน้นที่จะขายวัฒนธรรมท้องถิ่นดูจะเป็นจุดขายหลักที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการเปิดปีท่องเที่ยววิถีไทยอย่างเป็นทางการในชื่องาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 นอกจากนี้ฟากฝั่งของหอการค้าไทยเอง ที่มีการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในช่วงวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 นั้น ประเด็นสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ดูจะมุ่งเน้นไปให้ถึงผลลัพธ์ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพีโดยรวมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Executing Trade & Service 4.0: เติบโตทั่วถึง แบบไทยเท่”

Read More

วัฒนธรรมท้องถิ่น จุดขายท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

“Thailand 4.0” นโยบายหลักของรัฐบาลไทยกลายเป็นวาทกรรมหลักที่แทบทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ต้องนำไปปฏิบัติและใช้ห้อยท้ายในทุกแคมเปญเพื่อเป็นการยืนยันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ ความต้องการที่จะให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศรายได้สูง หัวใจสำคัญของเป้าหมายนี้ทำให้ทุกฟันเฟืองที่อยู่ในระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต้องปรับตัว บุคลากรจากหลายภาคส่วนต้องระดมสรรพกำลัง ระดมสมองรังสรรค์แผนการ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ แน่นอนว่าไม่เว้นแม้แต่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องสร้างสรรค์แคมเปญหลากหลายในแต่ละปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่มีกิมมิกที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แม้ว่าฟันเฟืองตัวนี้จะเป็นเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไปแล้วก็ตาม โดยสถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท เท่ากับว่ารายได้ครึ่งปีแรกขยายตัว 6.05 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวโลก หากแต่เมื่อมองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ประเทศเดียว จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมีจำนวน 6.88 แสนคน เติบโตร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในไทยมูลค่า 50,953.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2560 กำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อีกครั้ง

Read More