Home > ก่อการร้าย

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More