Home > การท่องเที่ยว (Page 4)

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

จากบทเรียนภูทับเบิก สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเขาค้อ

  ลมหนาวที่พัดผ่านในยามรุ่งอรุณ มวลอากาศเย็นที่เข้าปกคลุมประเทศไทย อาทิตย์กำลังฉายแสงและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า แสงที่สาดส่องมานอกจากจะเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเช้าวันใหม่แล้วยังฉายให้เห็นสายหมอกอ่อนๆ ที่ลอยอวลอ้อยอิ่งอยู่ตามทิวเขา ฤดูหนาวของไทยกำลังมาเยือน แม้ว่าช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวของไทยมีสีสันมากกว่าทุกช่วงเวลา หากแต่คงไม่ใช่เวลานี้ ในยามที่คนไทยอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความเศร้าโศกจากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ม่านหมอกของความอาดูรยังไม่จางลง หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ตื่นรู้และตระหนักถึงพระราชกรณียกิจที่ผ่านมาของพระองค์ท่าน อีกทั้งยังประกาศความตั้งมั่นที่จะเดินรอยตามพระปณิธานของพระองค์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่”  ชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยหลายสิบปี และได้รับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น จนกลายเป็นอาชีพหลักหาเลี้ยงครอบครัว  จังหวัดเพชรบูรณ์นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ชาวเขาอพยพมาอาศัยอยู่ บางส่วนมีอาชีพเกษตรกร เพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี ผักสลัด เบบี้แครอท ซึ่งบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณภูทับเบิก นอกจากนี้ยังมีชาวเขาอีกส่วนที่อาศัยพื้นที่ทำกินบริเวณเขาค้อ เพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รี่ทดแทนการปลูกฝิ่น และแม้ว่าเพชรบูรณ์อากาศจะไม่หนาวเย็นเหมือนจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน อย่าง เชียงราย เชียงใหม่ หรือแม่ฮ่องสอน หากแต่ด้วยทัศนียภาพและสภาพอากาศที่ใกล้เคียง ประกอบกับระยะทางการเดินทางที่ใช้เวลาไม่นานมาก ทำให้เพชรบูรณ์เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเลือกเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งนำรายได้เข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนมาก ภูทับเบิกนับเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจนเกิดเป็นกระแสสังคม และแน่นอนว่าเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะตอบสนองแรงบริโภคของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเรื่องที่พักอาศัย รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ ที่เริ่มทอดตัวอยู่ตามแนวไหล่เขาจนบดบังทัศนียภาพอันสวยงามของธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น กระทั่งเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนของภูทับเบิก หรือการดำเนินการบนที่ดินโดยปราศจากเอกสารสิทธิ์  ในระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้พื้นที่ทำกินของเกษตรกรบนภูทับเบิกถูกเปลี่ยนมือ และแม้ว่าปัจจุบันภูทับเบิกจะยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอยู่ กระนั้นความนิยมเหล่านั้นก็ตามมาด้วยปัญหา

Read More

จากทัวร์ศูนย์เหรียญถึง อีสติน ตัน ความเป็นไปของการท่องเที่ยวไทย

  ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยนอกเหนือจากความวูบไหวของตลาดหุ้นไทยจากเหตุปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่มั่นใจจากเงื่อนไขภายในหลากหลายประการที่รุมเร้าแล้ว ปรากฏการณ์ว่าด้วยการสกัดการท่องเที่ยวแบบทัวร์ศูนย์บาทหรือทัวร์ศูนย์เหรียญของนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงข่าวการบุกเข้าตรวจสอบโรงแรมอีสติน ตัน เชียงใหม่ (Eastin Tan Hotel Chiang Mai) ของ ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจชื่อดัง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้เหตุผลว่าด้วยอาคารดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตประกอบการโรงแรมที่พัก ดูจะเป็นกรณีที่สั่นสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อยเลย เพราะในขณะที่รัฐบาลพยายามหนุนนำกลไกทางเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเอิกเกริก แต่การปราบปรามทัวร์ศูนย์บาทกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการยกเลิกการท่องเที่ยวของคณะทัวร์จีน และส่งผลกระทบต่อผู้คนในแวดวงการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งของมาตรการการสกัดทัวร์ศูนย์เหรียญดังกล่าวอยู่ที่ความพยายามปรับยกสถานะและภาพลักษณ์ของการเป็นจุดหมายปลายทางราคาถูก หรือ cheap destination มาสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่มีคุณภาพ (quality destination) ที่เป็นประหนึ่งเป้าประสงค์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่ในอีกมิติหนึ่ง การผนึกประสานความพยายามของหน่วยงานรัฐทั้งตำรวจท่องเที่ยว กองบัญชาการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวนี้ กลับสั่นคลอนความเป็นไปของธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากรายงานและสถิติของทางราชการที่ระบุว่านักท่องเที่ยวชาวจีนมีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวจากทุกชาติ โดยในปี 2558 มีนักท่องเที่ยวจีนในเมืองไทยเกือบ 8 ล้านคน สร้างรายได้ให้คนไทยราว 371,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2566 รายได้ส่วนนี้จะเพิ่มสูงถึงประมาณ 830,000 ล้านบาทเลยทีเดียว มาตรวัดว่าด้วยการเป็นจุดหมายปลายทางราคาถูก และการเป็นจุดหมายปลายทางที่มีคุณภาพ บนฐานของข้อมูลเช่นว่านี้ในด้านหนึ่งจึงดูจะเป็นทางเลือกที่ท้าทายต่อการกำหนดนโยบายของภาครัฐและพัฒนาการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยที่น่าสนใจติดตามไม่น้อยว่าจะดำเนินไปในทิศทางและในรูปแบบใดนับจากนี้ ขณะที่กรณีการปรากฏข่าวหน่วยงานราชการไทยปราบปรามจับทัวร์จีนในเมืองไทย ได้สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างมาก

Read More

จากชุมชนสู่การท่องเที่ยว วิถีคนลุ่มน้ำและเมืองชายแดนไทย-มาเลย์

  เพราะการท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายภายในและดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ การให้ความสำคัญในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้กับการท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญ ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต คือทรัพยากรสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ดำเนินการผ่านสำนักประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์และวิถีท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบ” และ “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย (กลันตัน เปรัค เคดาห์ เปอร์ลิส) ภายใต้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่อาเซียน” เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเชื่อมต่อไปยังเมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย พร้อมผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ครอบคลุมจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิถีโหนด-นา-เล” วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ผูกพันกับการทำตาลโตนด การทำนา และการประมง ซึ่งถือเป็น 3 อาชีพหลักของคนในพื้นที่  ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา นับเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกตาลโตนดมากที่สุดในประเทศไทย

Read More

ท่องเที่ยว 4.0 ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ

  ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งต้องยอมรับว่ารายได้ของประเทศส่วนใหญ่มาจากส่วนนี้ เมื่อสถานการณ์การส่งออกของไทยยังคงโคลงเคลงที่ยังต้องการจุดจับยึดเพื่อสร้างความมั่นคงมากกว่าที่เป็น  ส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงปรวนแปร ทั้งสถานการณ์ Brexit ที่ส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่น นับตั้งแต่ประเทศโซนยุโรป กระทั่งประเทศโซนเอเชีย และการที่ไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาในกรณีการค้ามนุษย์ได้ แม้ว่าปัจจุบันไทยจะถูกจัดอันดับขึ้นมาอยู่เทียร์ 2 ซึ่งถือว่ายังต้องเฝ้าระวัง  นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมข้างต้นที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไข ยังมีปัญหาที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยว ต้องหาทางออกเพื่อหยุดผลกระทบที่กำลังจะลุกลาม ซึ่งอาจจะส่งผลถึงรายได้การท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่จะสูญไป  นั่นคือกรณีของผู้ประกอบการเชียงใหม่บางกลุ่มที่ไม่ต้องการนักท่องเที่ยวจีน จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางประการ และการเผยแพร่เรื่องราวบนสื่อโซเชียล ในเชิงดูถูก จนเกิดกระแสการต่อต้านในวงกว้าง  นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ทางการไทยออกมาตรการควบคุมรถนักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางบนเส้นทาง R3a เข้าสู่ไทยทางภาคเหนือ กระทั่งในวันนี้ที่สื่อจีนชวนคนจีนบอยคอตงดเที่ยวเชียงใหม่ นับเป็นการตอบโต้คนเชียงใหม่ที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต ผู้ให้บริการรถเช่า ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญคือภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพราะเมื่อดูจากตัวเลขสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2559 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมกราคมยอดนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 814,593 คน เดือนกุมภาพันธ์ 958,204 คน เดือนมีนาคม 856,676 คน เดือนเมษายน 816,028 คน เดือนพฤษภาคม 738,570 คน และเดือนมิถุนายน 715,413

Read More

ท่องเที่ยวหลวงพระบาง กับทิศทางแห่งการพัฒนา

  ข่าวการมาเยือนไทยครั้งแรกของ ดร.ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเข้ารับตำแหน่ง ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ สปป.ลาว แล้ว ยังมีการหารือทวิภาคีของผู้นำทั้งสองประเทศ ในโอกาสที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงนาม MOU ในเรื่องแรงงาน ซึ่งทางการไทยเน้นย้ำชัดเจนในเรื่องการดูแลแรงงานจากทุกประเทศเพราะแรงงานเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  นอกจากนี้ ดร.ทองลุนยังได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สปป.ลาว สู่อนาคตการพัฒนา” ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการปาฐกถาครั้งนี้มีนัยสำคัญที่น่าสนใจมากมาย เสมือนเป็นการประกาศแนวทางนโยบายในการบริหารประเทศให้สาธารณชนได้รับรู้และเข้าใจ  “ลาวและไทยมีความสัมพันธ์อันดีอย่างยาวนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธี กระทั่งปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 7 เพื่อขยายการผลิตและส่งออกประคับประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวกลับได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคที่ถูกคุกคามจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันกำลังสร้างแผนเศรษฐกิจที่ 8 โดยมีเป้าหมายให้ลาวก้าวออกจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้แล้วเสร็จในปีคริสต์ศักราช 2020 ภายใต้วิสัยทัศน์ในการทำให้ชีวิตประชาชนลาวดีขึ้น โดยรายได้มวลรวมประชาชน หรือ GDP (Gross National Income) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะต้องสอดคล้องหรือไม่ส่งผลกระทบแง่ลบต่อดัชนีความสงบสุขของคนในประเทศ (Global Peace Index, GPI) นั่นหมายความว่า ลาวจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ความสุขของประชาชน” เมื่อพิจารณาจากนโยบายที่ ดร.ทองลุน

Read More

น่านนครเสน่ห์ที่ควรอนุรักษ์ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  น่านจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่อาจไม่ใช่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก และมักมีคำกล่าวที่ขยายความให้เข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้นว่า “ถ้าไม่ตั้งใจไป ก็ไปไม่ถึง”  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 2-3 ปีก่อนหน้าการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านดูจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกแคมเปญเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยว โดยประกาศให้น่าน เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาดในปี 2558 ซึ่งนี่เองที่ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยมนต์เสน่ห์ของน่านนครที่อุดมไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สถานที่ท่องเที่ยว วัดวาอารมที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบง่าย จึงเป็นตัวดึงดูดผู้คนให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป การขยายตัวธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน เพื่อรองรับอัตราการเติบโต และการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องของขอบเขตการพัฒนาทั้งในเชิงศักยภาพของการบริการ และการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว บทเรียนที่เห็นเด่นชัดคือความล่มสลายของเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักท่องเที่ยว และถูกดูดกลืนวัฒนธรรมจนไม่หลงเหลือเสน่ห์ให้ค้นหามากนัก คนในเมืองน่านมีลักษณะเป็น Soft Culture หากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของน่านต้องการให้จังหวัดพัฒนาด้านศักยภาพเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ จะส่งผลให้คนนอกที่เข้ามาในพื้นที่มาพร้อมกับ Hard Culture ซึ่งจะทำให้คนน่านกลายเป็นผลเมืองชั้นสองในทันที เมื่อมองจากภาพรวมของเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน การเข้ามาของกลุ่มทุนทั้งจากจีน เวียดนาม หรือกระทั่งคนไทยจากเมืองหลวง มักส่งผลต่อความเป็นธรรมชาติของเมืองนั้นๆ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งรายได้ของเมือง รายได้ของประชากรที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นก็ตาม กระนั้นสิ่งที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องพึงกระทำ คือการพัฒนาจังหวัดน่านแบบยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป

Read More

กระตุ้นใช้จ่ายผ่านการท่องเที่ยว ความหวังเดียวกลางวิกฤตเศรษฐกิจไทย?

  ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านการเดินทางท่องเที่ยวและการรับประทานอาหาร ภายใต้มาตรการลดหย่อนภาษีในช่วงระหว่างวันที่ 9-17 เมษายนที่ผ่านมา แม้จะดำเนินไปท่ามกลางความชุ่มฉ่ำของเทศกาลสงกรานต์  แต่ดูเหมือนว่าเจตจำนงของรัฐดังกล่าวนี้จะไม่ประสบผลสัมฤทธิในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้ตื่นตัวคึกคักได้อย่างที่ตั้งใจ ไม่นับรวมภาวะภัยแล้งที่ทำให้ความรื่นเริงช่วงสงกรานต์ในหลายพื้นที่หดสั้นลง ขณะที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจก็ยังไม่มีปัจจัยบวกมากพอให้ประชาชนมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากนัก ความถดถอยทางเศรษฐกิจและภาวะชะลอตัวในการจับจ่ายที่ปรากฏขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ กลายเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัยครั้งใหม่ ที่กำลังทวีความน่ากังวลใจไม่น้อยเลย ขณะที่กลไกภาครัฐต่างพยายามเร่งระดมมาตรการกระตุ้นเสริมพร้อมกับคำปลอบโยนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังผงกหัวขึ้น ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะสวนทางกับถ้อยแถลงเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานผลสำรวจภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยล่าสุด ในเดือนมีนาคม 2559 ระบุว่า ภาระค่าครองชีพยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและชั่งน้ำหนักก่อนที่จะตัดสินใจใช้จ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายในส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนมีนาคม 2559 ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ 43.6 เช่นเดียวกับดัชนีสะท้อนการคาดการณ์ของครัวเรือนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ปรับตัวลดลงมาที่ 45.0 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 8 เดือน “บรรยากาศการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของครัวเรือนทุกภาคส่วนนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2559 เป็นต้นมา เป็นภาพสะท้อนข้อเท็จจริงหนึ่งที่ว่า ตราบใดที่สัญญาณด้านรายได้ของครัวเรือนยังคงไม่กระเตื้องขึ้นอย่างเด่นชัด และ/หรือมีปัจจัยพิเศษมากระตุ้นการตัดสินใจใช้จ่ายแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าที่การบริโภคจะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ” ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ และคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2559 อาจขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งต่ำลงกว่าตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.1 ขณะเดียวกันกลไกที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยดูจะมีแนวโน้มยอมรับในข้อเท็จจริงที่กำลังคืบคลานมาเผชิญหน้าเหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

Read More

Thailand Tourism Festival เมื่อการท่องเที่ยวคือตัวช่วยสุดท้าย

 ข่าวการลงทุนในโครงการเพื่อสร้างสวนสนุกและศูนย์การเงินนานาชาติที่เขตเศรษฐกิจพิเศษท่าแขก แขวงคำม่วน สปป. ลาว ในนาม Thakhaek Ehsan International Financial Centre มูลค่านับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท Akane Farm Sole เมื่อไม่นานมานี้ ดูจะกระตุ้นความสนใจและการรับรู้ในความเป็นไปของประเทศเพื่อนบ้านรับศักราชใหม่แห่ง AEC ไม่น้อยเลย แม้ว่ารายละเอียดของรายงานข่าวดังกล่าว จะยังไม่สามารถให้รายละเอียดที่บ่งบอกกำหนดระยะเวลาและรูปธรรมที่ชัดเจนของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มากนัก หากแต่กรณีที่ว่านี้สามารถบ่งบอกทิศทางของการพัฒนาในอนาคตได้อย่างชัดเจน เพราะนอกเหนือจากการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระบบพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการเพิ่มผลผลิตแล้ว ดูเหมือนว่าการท่องเที่ยวได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สามารถดึงดูดเงินตราต่างประเทศอย่างสำคัญของทุกประเทศใน AEC ไปแล้ว การเปิดพื้นที่ของเพื่อนบ้านใน AEC ซึ่งต่างมีทรัพยากรธรรมชาติและรากฐานทางศิลปะ วัฒนธรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้ร่วมเก็บรับและเรียนรู้ประสบการณ์ความเป็นไปของชุมชนในภูมิภาคนี้ กำลังขยับใกล้เข้ามาท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างไม่อาจละสายตา เนื่องเพราะกรณีเช่นว่านี้ ไม่เพียงแต่จะช่วงชิงจำนวนนักท่องเที่ยวในตลาดระดับนานาชาติ หากยังพร้อมที่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นรองรับกับตลาดภายในของ AEC ที่กำลังขยายตัวจากการก้าวสู่การเป็นประชาคม AEC ที่มีความเข้มข้นขึ้นด้วย กรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้การแข่งขันในระดับสากลของธุรกิจการท่องเที่ยวมีสภาพไม่แตกต่างจากการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ เพียงแต่ “การซื้อ” ในมิติของการท่องเที่ยวอาศัยการไหลเข้าของผู้คนในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของรายได้เข้าสู่ประเทศเท่านั้นเอง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักท่องเที่ยว มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปแบบเท่านั้น หากในอีกด้านหนึ่งกรณีดังกล่าวกำลังส่งสัญญาณให้เกิดการปรับเปลี่ยนในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวในระยะยาวด้วย สถิติของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวเอเชียด้วยกัน ซึ่งสามารถครองส่วนแบ่งได้มากถึงกว่า 45-50% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทย โดยในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนมากถึงกว่า 20-30% เลยทีเดียว ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า ในปี 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสูงถึง 1.44

Read More