Home > การท่องเที่ยว (Page 5)

Thailand Tourism Festival เมื่อการท่องเที่ยวคือตัวช่วยสุดท้าย

 ข่าวการลงทุนในโครงการเพื่อสร้างสวนสนุกและศูนย์การเงินนานาชาติที่เขตเศรษฐกิจพิเศษท่าแขก แขวงคำม่วน สปป. ลาว ในนาม Thakhaek Ehsan International Financial Centre มูลค่านับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท Akane Farm Sole เมื่อไม่นานมานี้ ดูจะกระตุ้นความสนใจและการรับรู้ในความเป็นไปของประเทศเพื่อนบ้านรับศักราชใหม่แห่ง AEC ไม่น้อยเลย แม้ว่ารายละเอียดของรายงานข่าวดังกล่าว จะยังไม่สามารถให้รายละเอียดที่บ่งบอกกำหนดระยะเวลาและรูปธรรมที่ชัดเจนของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มากนัก หากแต่กรณีที่ว่านี้สามารถบ่งบอกทิศทางของการพัฒนาในอนาคตได้อย่างชัดเจน เพราะนอกเหนือจากการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระบบพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการเพิ่มผลผลิตแล้ว ดูเหมือนว่าการท่องเที่ยวได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สามารถดึงดูดเงินตราต่างประเทศอย่างสำคัญของทุกประเทศใน AEC ไปแล้ว การเปิดพื้นที่ของเพื่อนบ้านใน AEC ซึ่งต่างมีทรัพยากรธรรมชาติและรากฐานทางศิลปะ วัฒนธรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้ร่วมเก็บรับและเรียนรู้ประสบการณ์ความเป็นไปของชุมชนในภูมิภาคนี้ กำลังขยับใกล้เข้ามาท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างไม่อาจละสายตา เนื่องเพราะกรณีเช่นว่านี้ ไม่เพียงแต่จะช่วงชิงจำนวนนักท่องเที่ยวในตลาดระดับนานาชาติ หากยังพร้อมที่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นรองรับกับตลาดภายในของ AEC ที่กำลังขยายตัวจากการก้าวสู่การเป็นประชาคม AEC ที่มีความเข้มข้นขึ้นด้วย กรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้การแข่งขันในระดับสากลของธุรกิจการท่องเที่ยวมีสภาพไม่แตกต่างจากการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ เพียงแต่ “การซื้อ” ในมิติของการท่องเที่ยวอาศัยการไหลเข้าของผู้คนในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของรายได้เข้าสู่ประเทศเท่านั้นเอง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักท่องเที่ยว มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปแบบเท่านั้น หากในอีกด้านหนึ่งกรณีดังกล่าวกำลังส่งสัญญาณให้เกิดการปรับเปลี่ยนในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวในระยะยาวด้วย สถิติของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวเอเชียด้วยกัน ซึ่งสามารถครองส่วนแบ่งได้มากถึงกว่า 45-50% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทย โดยในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนมากถึงกว่า 20-30% เลยทีเดียว ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า ในปี 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสูงถึง 1.44

Read More

ททท. โหมโปรโมต ร่วม Visa อัดแคมเปญรับปีใหม่

 ห้วงเวลาสำคัญของฤดูการท่องเที่ยวส่งท้ายปี กำลังขยับใกล้เข้ามาท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองและสถานการณ์ภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ยังปราศจากสัญญาณเชิงบวก ทำให้หลายฝ่ายต่างต้องเร่งประชาสัมพันธ์และออกมาตรการส่งเสริมการตลาดในช่วงโค้งสุดท้ายของปีอย่างหนักหน่วง การเปิดตัว “ไทยแลนด์ ครอสบอร์เดอร์ พริวิเลจ” (Thailand Cross Border Privileges) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และวีซ่า ประเทศไทย เมื่อไม่นานมานี้ ดูจะเป็นตัวอย่างและรูปธรรมของความพยายามรอบล่าสุดที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ว่านี้ ความร่วมมือดังกล่าวในด้านหนึ่งถือเป็นการต่อยอดโปรแกรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังประเทศไทยภายใต้การประสานความร่วมมือระหว่าง ททท. และวีซ่า ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมายาวนานกว่า 17 ปี โดยในทุกๆ ปี วีซ่าและ ททท. จะร่วมกันจัดสามแคมเปญใหญ่ ที่ประกอบส่วนด้วย ไทยแลนด์ สเปคทาคูลาร์ เยียร์ เอนด์ (พฤศจิกายน-มกราคม) ไทยแลนด์ สแปลช แอนด์ สไปซ์ (มีนาคม-พฤษภาคม) และ ไทยแลนด์แกรนด์เซลส์ (มิถุนายน-สิงหาคม) สำหรับ “ไทยแลนด์ ครอสบอร์เดอร์ พริวิเลจ” (Thailand Cross Border Privileges) ซึ่งเปิดตัวมาเพิ่มใหม่นี้ถือเป็นแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและโปรโมชั่นที่มอบสิทธิประโยชน์สุดพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนการเดินทาง ตลอดจนการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบินไปจนถึงการชอปปิ้งของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฉลองต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ “จุดเด่นของการท่องเที่ยวในประเทศไทยคือมีแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย

Read More

สำรวจตลาดท่องเที่ยวเพื่อนบ้าน ASEAN ไทยยังเป็นอันดับหนึ่งจริงหรือ?

  ความเป็นไปว่าด้วยการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนในห้วงยามที่กำลังคืบใกล้เข้าสู่การเปิดประชาคม AEC ดูเหมือนว่าประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่ามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อาจทำให้ต้องสูญเสียทั้งตลาดและความน่าสนใจในระยะยาวอย่างยากที่จะสร้างให้กลับมาได้เปรียบดังเดิมได้อีก การเติบโตขึ้นของตลาดการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศที่อยู่รายล้อมประเทศไทยมีความหลากหลายและอุดมมั่งคั่งอย่างยิ่ง หากแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมอย่างเป็นระบบเท่าที่ควรเท่านั้น การเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกทำให้โอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของทั้งกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือประเทศ CLMV บนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงดำเนินไปด้วยอัตราเร่ง ที่พร้อมจะดึงดูดความสนใจจากทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้าชื่นชมความงามของธรรมชาติ และเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของผู้คนท้องถิ่นนี้ด้วย กัมพูชาเปิดตัวออกสู่ตลาดการท่องเที่ยวระดับนานาชาติภายใต้คำขวัญ “Kingdom of Wonder” พร้อมด้วยจุดขายว่าด้วยศิลปวัฒนธรรมที่มีรากฐานยาวนานนับพันปี และปรากฏเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลก ควบคู่กับแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากัมพูชามีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 400% จากระดับ 1 ล้านคนในปี 2004 มาสู่ระดับ 4.5 ล้านคนในปี 2014 และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกในอนาคต ที่สำคัญก็คือมีนักเดินทางเพื่อธุรกิจเพิ่มขึ้น เข้าสู่กัมพูชามากขึ้นถึงกว่าร้อยละ47 ซึ่งสะท้อนภาพการเป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ของกัมพูชา ที่อาจนำไปสู่กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้มีจุดเน้นเรื่องการท่องเที่ยวโดยลำพังในระยะยาวนับจากนี้อีกด้วย ขณะที่เวียดนามกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและการเติบโตสูงมากอีกแห่งหนึ่งของอาเซียนหลังจากที่ผ่อนปรนข้อบังคับและเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ ได้อย่างเสรียิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่เวียดนามมากขึ้นเป็นลำดับจาก 1.7 ล้านคนในปี 1997 มาสู่ 3.5 ล้านคนในปี 2006 และเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 100%

Read More

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More

ถอดรหัสท่องเที่ยวอินเดีย “Incredible” อย่างเป็นระบบ

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทและส่งผลให้เกิดความสูญเสียแก่ทั้งชีวิตผู้คนและทรัพย์สิน โดยรอบย่านราชประสงค์เมื่อ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวซึ่งผูกพันกับประเด็นว่าด้วยสวัสดิภาพความปลอดภัยจะได้รับการหยิบยกและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ระยะเวลาเพียงสามสัปดาห์หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ว่านี้ การประเมินความเสียหายหรือทิศทางแนวโน้มในอนาคตอาจไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีตอบสนองในเชิงลบว่าด้วยการยกเลิกการเดินทางหรือการจองบ้างก็ตาม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุปกติท่ามกลางกลุ่มควันที่เพิ่งปกคลุมและยังไม่ทันได้จาง ความพยายามที่จะกระตุ้นและอาศัยการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหารายได้เข้าสู่ประเทศมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของประเทศไทยเท่านั้น หากในความเป็นจริงดูเหมือนว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับดีกรีความเข้มข้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในรายละเอียดของการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นจะดำเนินไปท่ามกลางมิติและจุดขายที่มุ่งเน้นเพื่อหนุนส่งสถานภาพของแต่ละประเทศในสังคมโลกอย่างไรเท่านั้น หากประเมินในมิติที่ว่านี้ กรณีของ Incredible India ซึ่งเป็นการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อปี 2002 ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างและขยายตลาดการท่องเที่ยว ที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์ที่มีบทบาทอิทธิพลในตลาดการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียในช่วงก่อนหน้าปี 2002 ก็คงไม่แตกต่างจากความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่พยายามออกโบรชัวร์หรือแผ่นพับแนะนำประเทศและจุดท่องเที่ยวสำคัญหลากหลาย ควบคู่กับการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละคราวแต่ละวาระ ตามแต่ที่โอกาสและความสามารถในการบริหารจัดการจะเอื้ออำนวย ซึ่งย่อมไม่สามารถลงหลักปักหมุดให้เกิดความรู้สึกตระหนักรู้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่นับรวมการบริหารจัดการด้านงบประมาณจำนวนมากที่เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนในรูปของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าสู่ประเทศ ที่อาจไม่เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะขาดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องอีกด้วย แต่พลันที่รัฐบาลอินเดียริเริ่มแผนการรณรงค์ภายใต้ Incredible India ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่อินเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจ โดยข้อมูลจาก Visa Asia Pacific เมื่อปี 2006 หรือหลังจากที่ Incredible India ได้รับการนำเสนอสู่สาธารณะเพียง 4 ปีระบุว่า อินเดียกลายเป็นจุดหมายปลายทางและตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ซึ่งตัวเลขในรายงานระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 (ตุลาคม-ธันวาคม) มีนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินตราในการท่องเที่ยวอินเดียมากถึง 372 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

Read More