Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 8)

แรงกระเพื่อมว่ายข้ามโขง กระตุ้นค้าชายแดน ท่องเที่ยว นครพนม-คำม่วน

แม้ว่าภารกิจการระดมทุนจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนมและโรงพยาบาลแขวงคำม่วน จากกิจกรรม “ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” จะจบลงไปแล้ว และมียอดบริจาคล่าสุด 68,143,636 บาท (วันที่ 25 ตุลาคม 2565) ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสดราม่านับตั้งแต่เริ่มต้น กระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า กิจกรรมดังกล่าวเต็มไปด้วยความเสี่ยง สร้างภาระให้ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมากกว่าจะเป็นการทำเพื่อช่วยเหลือ ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนมองว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้น่าจะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง รวมไปถึงประชาชนผู้ใช้บริการในอนาคต แม้ว่าภาครัฐทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม หรือแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะยืนยันว่าโรงพยาบาลไม่ได้ขาดแคลน และไม่ได้ร้องขอให้ผู้จัดกิจกรรมช่วยเหลือเพื่อระดมทุน แต่ก็ไม่ขัดศรัทธา หากพิจารณาจากยอดบริจาคในขณะนี้น่าจะทำให้หลายคนได้ประจักษ์แล้วว่า การกระทำของบุคคลกลุ่มหนึ่งได้สร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างมากมาย ทั้งการมองมุมต่างที่ว่า การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง และไม่ใช่หน้าที่หลักของพลเมือง หากแต่ควรเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบ้านเมือง แน่นอนว่าประเด็นนี้คงสร้างกระแสให้เกิดการขบคิดและแก้ปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ แรงกระเพื่อมจากการว่ายข้ามโขงในครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดนครพนมไม่มากก็น้อย รวมไปถึงการค้าชายแดนที่น่าจะมีความคึกคักขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สปป.ลาว และประชาชนริมสองฝั่งโขงให้แน่นแฟ้นขึ้น จากภาพการต้อนรับอย่างอบอุ่นเมื่อ โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ว่ายไปขึ้นฝั่งที่ สปป.ลาว ในแง่ของการค้าชายแดน

Read More

มหกรรมหนังสือระดับชาติ ’27 มหานครนักอ่าน ณ บ้านเก่าหลังใหม่

หากเอ่ยถึงงานสัปดาห์หนังสือ หรืองานมหกรรมหนังสือระดับชาติ สถานที่ที่หลายคนคุ้นเคยคือศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เนื่องจากอยู่ใจกลางเมืองที่นักอ่านสามารถเดินทางไปได้สะดวกเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดิน แต่ถูกปิดปรับปรุงในปี 2562 หลังจากเปิดให้บริการรองรับการจัดงานประชุม งานอีเวนต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 หลังจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปิดปรับปรุงไปนานถึง 3 ปี ปัจจุบันด้วยรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดีไซน์ร่วมสมัยที่มาพร้อมฟังก์ชันและสามารถรองรับงานอีเวนต์จากทั่วโลก โดยเฉพาะงานหนังสือ ซึ่งหลายคนให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ศูนย์ฯ สิริกิติ์เหมาะสมที่สุด เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวว่า “ขอปวารณาตัวว่า กรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองแห่งการอ่านหนังสือ และผมเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ อ่านเยอะขึ้นไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เรารักการอ่านมากขึ้นในเวลาต่อมา ช่วยจุดประกายสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งความรู้ เป็นเมืองแห่งการอ่าน และกระจายให้ทุกคนสามารถเข้าถึงหนังสือได้ กทม. จะทำหน้าที่เตรียมหนังสือให้หลากหลาย ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้อย่างสะดวก” นางสาวทิพย์สุดา สินชวาลวัฒน์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยหรือ PUBAT กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ร้านหนังสือปิดตัว สำนักพิมพ์ปิด พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาซื้อหนังสือผ่าน Market Place

Read More

วรวรรณ ไชยกำเนิด ชูนวัตกรรมสร้างแบรนด์ Rojukiss จากความงามสู่ความสำเร็จ

สินค้ากลุ่มความงามนับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แทบทุกแบรนด์มียอดขายและรายได้ลดลง สาเหตุหลักๆ มาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลาการ Work From Home ทำให้ผู้บริโภคมองว่าเครื่องสำอางเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและไม่มีความจำเป็นในช่วงเวลาดังกล่าว “ตลาดความงามได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องสำอาง คนไม่ได้ออกนอกบ้านในช่วงโควิด ดังนั้นสินค้าของบริษัทเราได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในไตรมาสสองเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีของตลาด เป็นทิศทางที่ดีขึ้นของ Rojukiss ที่จะกลับมาคุยเรื่องการเติบโต หลังไตรมาสสี่น่าจะได้เห็นการฟื้นตัวของตลาดซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับแบรนด์” วรวรรณ ไชยกำเนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS ชื่อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว “Rojukiss” น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เมื่อเครื่องหมายการค้านี้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ของผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิว โดย บ. โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2550 ภายใต้ชื่อ บริษัท เอฌ็องซ์ จำกัด ดำเนินธุรกิจนำเข้าและทำการตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิว “Rojukiss” จากเจ้าของเครื่องหมายการค้าในประเทศเกาหลีใต้ เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์

Read More

นักวิจัยไทยโชว์เก๋า พัฒนาสเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีหยุดเชื้อโควิด-19

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น ในห้วงเวลาที่โลกตกอยู่ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่ เหล่านักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ต่างระดมสรรพกำลัง ระดมสมองคิดค้นวิจัย พัฒนาวัคซีน ยา เพื่อมาช่วยป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นักวิจัยไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ซุ่มพัฒนานวัตกรรมที่จะมาสู้กับเชื้อไวรัสโควิดเช่นเดียวกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา 5 ภาคีรัฐ-เอกชน แถลงข่าวเพื่อประกาศความสำเร็จให้ทั่วโลกได้รับรู้ โดย 5 ภาคีเครือข่ายประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ. โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล) ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ “สเปรย์พ่นจมูกที่เป็นเกราะป้องกันทางกายภาพที่ช่วยดักจับและยับยั้งอย่างจำเพาะต่อเชื้อโควิด-19 ที่บริเวณโพรงจมูก ภายใต้แบรนด์

Read More

ธุรกิจครอบครัว การสานต่อความมั่งคั่งของตระกูลใหญ่

เบื้องหลังความสำเร็จของหลายธุรกิจมักมี “ครอบครัว” เป็นส่วนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังคอยผลักดันและเป็นแรงสนับสนุนที่ดี ธุรกิจจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยเป็นธุรกิจครอบครัว ที่ต้นตระกูลบุกเบิกและวางรากฐานทางธุรกิจไว้ และส่งต่อธุรกิจในมือเมื่อถึงเวลาเหมาะสมให้คนรุ่นต่อๆ ไป ผู้คนจำนวนไม่น้อยมักมีทัศนคติต่อการสานต่อธุรกิจของครอบครัวว่า เป็นเรื่องยากที่จะพาธุรกิจไปได้ตลอดรอดฝั่ง เหล่าทายาทจึงปฏิเสธที่จะสานต่อธุรกิจ เพราะกังวลต่อปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของคนรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูก ที่แตกต่างกันในแง่ประสบการณ์ชีวิต แนวคิดการดำเนินธุรกิจ ยุคสมัย เราจึงได้เห็นข้อข้ดแย้งภายใต้การดำเนินธุรกิจแบบกงสีอยู่บ้าง เป้าหมายสำคัญของการสืบทอดธุรกิจครอบครัวคือการรักษาความมั่นคง มั่งคั่ง ชื่อเสียงที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นนับตั้งแต่ก่อตั้งกิจการให้แก่รุ่นต่อๆ ไป เป้าหมายข้างต้นเป็นปัจจัยให้เกิดการผลักดันให้เหล่าทายาทก้าวขึ้นมารับตำแหน่งสืบทอดกิจการ อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทอาจเลือกวิธีการใช้มืออาชีพด้านการบริหารเข้ามาดูแลกิจการต่อ หรือท้ายที่สุดคือการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจแบบครอบครัวในสังคมไทยมีให้เห็นไม่น้อย ทั้งที่ประสบความสำเร็จรุ่นลูกรุ่นหลานเข้ารับช่วงต่อกิจการ และต่อยอดไปยังธุรกิจแขนงอื่น จนส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวขยายตัวกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่บริหารงานโดยตระกูลเจียรวนนท์ กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ ทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี กลุ่มเซ็นทรัลเจ้าของห้างค้าปลีกรายใหญ่ ภายใต้การดูแลของตระกูลจิราธิวัฒน์ เครือสหพัฒน์ จากตระกูลโชควัฒนาที่มีประวัติอันยาวนาน หรือซีคอน กรุ๊ป ตำนานธุรกิจครอบครัวตระกูลซอโสตถิกุล ข้อมูลจาก The Family Firm Institute เกี่ยวกับอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก พบว่า - รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวคือ 100 เปอร์เซ็นต์ -

Read More

Bosch ก้าวข้ามขีดจำกัดในอุตสาหกรรมไทย เจาะตลาดใหม่พร้อมกลยุทธ์รอบด้าน

ภายหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย สภาพเศรษฐกิจโดยรวมส่งสัญญาณดีขึ้น เห็นได้จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มประกาศเปิดตัวโครงการใหม่ รวมไปถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ ความก้าวหน้าในธุรกิจก่อสร้างเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดเครื่องมือช่างปีนี้มีมูลค่าสูงขึ้น โดยตลาดเครื่องมือช่างมีมูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดรวมวัสดุก่อสร้างทั้งหมด 500,000 ล้านบาท และยังถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่างานนี้ เจ้าตลาดอย่าง Bosch ย่อมต้องแสดงศักยภาพ เมื่อล่าสุดมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ด้วยมุ่งมั่นที่จะทำให้บริษัทตัวเองเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมไทย อีกทั้งยังเจาะตลาดเครื่องมือไร้สาย ที่ปัจจุบันกำลังเป็นกระแส เพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป คนว่างงาน การทำงานที่บ้าน ทำให้ผู้คนเริ่มมองหาเครื่องมือที่สามารถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ ภายในที่อยู่อาศัยด้วยตัวเอง พึ่งพาช่างฝีมือน้อยลง หรือแม้แต่ช่างมืออาชีพที่เริ่มมองหาตัวช่วยที่ตอบโจทย์ได้อย่างครบครัน บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด ตอกย้ำกลยุทธ์การตลาดและนโยบายการเติบโตของธุรกิจภายใต้แนวคิด Bosch We Go Beyond : ก้าวข้ามขีดจำกัดไปกับบ๊อช โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันสินค้าออกไปสู่กลุ่มผู้ใช้ในตลาดอย่างทั่วถึง ด้วยเครื่องมือไฟฟ้าและอุปกรณ์เสริมของบ๊อชมาพร้อมกับนวัตกรรม BITURBO รวมไปถึงแอปพลิเคชัน BeConnected ที่สามารถตอบโจทย์ครบทุกเรื่องเครื่องมือช่าง ธีรทัศน์ ประเสริฐเมธากุล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายเครื่องมือไฟฟ้า บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช

Read More

T3 Technology ลุยธุรกิจ IoT & Cloud รุกตลาดหลัก 5 ประเทศ

เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วโลก ยิ่งอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีมีมากขึ้นเท่าไร ส่งผลให้ธุรกิจ Cloud Service ได้รับอานิสงส์เต็มๆ นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นโอกาสจากการขยายตัวนี้ และเบนเข็มธุรกิจมาเปิดให้บริการ Cloud ซึ่งทำให้ตลาดนี้เริ่มมีสีสันมากขึ้น นั่นเพราะ Cloud Service กำลังกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่างอะไรกับไฟฟ้า น้ำประปา หรือระบบขนส่งสาธารณะ บริการ Cloud ทำให้ชีวิตผู้คนง่ายขึ้น จากเดิมที่เคยจัดเก็บข้อมูลผ่านอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่าง Flash Drive หรือ แผ่น CD/DVD ปัจจุบันธุรกิจ Cloud ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากการให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแล้ว Cloud ยังครอบคลุมไปถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดบริการใหม่ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบเศรษฐกิจ เช่น การสร้าง Website, Application, Social Media ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างแอปพลิเคชันสั่งอาหาร การซื้อขายสินค้าออนไลน์ จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากธุรกิจในกลุ่ม Cloud Service จะมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2008-2020 มูลค่าธุรกิจบริการ Cloud ที่ใหญ่ที่สุดอันดับแรกสามารถเติบโตได้สูงถึง 44 เท่า ขณะที่มูลค่าตลาดของธุรกิจนี้มีมูลค่ามากกว่า 1

Read More

อุตสาหกรรมการบินในไทยรายได้เพิ่ม แต่ขาดทุนยับ อะไรเป็นปัจจัย

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เคยออกมาคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะขาดทุนเกือบ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2565 โดยขาดทุนลดลง 78% จากยอดขาดทุนของปีนี้ ขณะที่สายการบินยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ระบาด นายวิลลี วอล์ช ผู้อำนวยการ IATA กล่าวว่า “เราได้ผ่านจุดวิกฤตที่รุนแรงที่สุดมาแล้ว แม้ว่าสถานการณ์ร้ายแรงยังไม่หมดไป แต่อุตสาหกรรมสายการบินยังคงมีโอกาสที่จะฟื้นตัว” และคาดการณ์เพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมสายการบินจะสามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งในปี 2566 และคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 3.4 พันล้านคนในปีนี้ คำทำนายของ IATA ดูจะเป็นจริงตามนั้นเมื่อสายการบินแห่งชาติของไทยอย่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2565 ว่า ขาดทุน 6,467 ล้านบาท โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 21,526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 282% จากระดับ 5,635 ล้านบาทในปี 2564

Read More

สองทายาทพรประภา “ฝันใหญ่” ส่งเรเว่ ชิงเบอร์ 1 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า

ขึ้นชื่อว่า “ความฝัน” เป็นเหมือนการยืนอยู่กึ่งกลางระหว่างจินตนาการหรือความจริง คนเรามีสิทธิ์ที่จะฝัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปล่อยให้ความฝันนั้นเป็นเพียงจินตนาการ หรือคว้าไว้และทำให้เป็นความจริง หนุ่มสาวทายาทตระกูล “พรประภา” ชื่อสกุลที่บ่งบอกต้นทางของสาแหรกตระกูล ที่เกือบทุกก้าวย่างของบรรพบุรุษผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายทศวรรษ และถือเป็นผู้บุกเบิกและฝ่าฟันมรสุมในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมาอย่างยาวนานกระทั่งก้าวขึ้นมายืนบนแถวหน้าของวงการ เมื่อเอ่ยนาม “สยามกลการ” น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามและความรุ่งเรืองของบริษัทใหญ่ แม้ว่าในปัจจุบันจะลดบทบาทของตัวเองลงจากดิสทริบิวชัน เหลือเพียงแค่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันก็ตาม การเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวของนักธุรกิจ เสมือนชีวิตถูกปลูกฝังให้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจเรื่อยมา ภาพลักษณ์ที่ถูกมองจากคนภายนอกคือ การรับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัวไปโดยปริยาย แต่นั่นดูเหมือนจะไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ใช้สกุลพรประภา เมื่อประธานวงศ์และประธานพร พรประภา สองพี่น้อง ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตและบุตรสาวของนายพรพินิจ พรประภา จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายสำหรับกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมเสนอ BYD แบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่อันดับต้นของโลก “Rêver ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าความฝัน แต่บริษัทนี้ไม่ใช่แค่ความฝันของเราสองคน แต่เราอยากจะหา Dream Product ให้ลูกค้าด้วย และอาจจะเป็น Dream Product ให้ประเทศไทยและสิ่งแวดล้อม” ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฉายภาพความฝันของตัวเองในวันแถลงข่าวเปิดตัวบริษัทเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ประธานวงศ์ พรประภา

Read More

70 ปี สยามกลการ จุดเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น

การแถลงข่าวของบริษัท Rever Automotive จำกัด ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันนี้ ภายใต้การกุมบังเหียนของผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง นายประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อประกาศว่าบริษัทได้เป็นผู้จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยอย่างเป็นทางการให้แก่บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 156 ล้านบาท นั่นทำให้ชื่อของกลุ่มพรประภากลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง นั่นเพราะ ประธานวงศ์ พรประภา ถือเป็นทายาทรุ่นที่สามของกลุ่มพรประภา ผู้ให้กำเนิดบริษัทสยามกลการ จำกัด แม้ ประธานวงศ์ พรประภา จะมีธุรกิจอีกหลายอย่างที่เจ้าตัวดูแลและกำกับด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจนำเข้าสินค้าจากประเทศฝรั่งเศส แต่การวนเวียนอยู่ในธุรกิจยานยนต์อาจเกิดจากการบ่มเพาะจากรุ่นสู่รุ่น หากย้อนดูประวัติความเป็นมาของบริษัท สยามกลการ จำกัด และการปูทางของคนรุ่นก่อนนับว่าน่าสนใจไม่น้อย 4 กันยายน 2495 ที่ ดร. ถาวร พรประภา ตัดสินใจแยกตัวจากธุรกิจของพ่อที่ร้าน “ตั้งท่งฮวด” ซึ่งทำธุรกิจค้าขายเครื่องจักรอะไหล่เก่าในย่านเชียงกง ออกมาตั้งบริษัท สยามกลการ จำกัด โดยเริ่มจากอาคาร 5 ชั้น และมีพนักงานเพียง 20 คนในเวลานั้น โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการค้าของเก่า

Read More