Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 7)

BonChon เรือธงของไมเนอร์เปิดเกมรุก MINT พร้อมกวาดแบรนด์ใหม่เข้าพอร์ต

เมื่อเอ่ยถึง “ไก่ทอดพันล้าน” ชื่อแบรนด์ “BonChon” คงอยู่ในอันดับแรกที่หลายคนจะนึกถึง นับตั้งแต่การเข้ามาเปิดกิจการในไทยเมื่อปี 2553 โดย บริษัท มาชิสโสะ จำกัด ก่อตั้งโดย ธัญญา ศรีพัฒนาสกุล และ พรพิมล วงศ์ศิริกุล และเปิดสาขาแรกบนพื้นที่ทองหล่อในปี 2554 ต่อมาในปี 2561 บริษัท มาชิสโสะ จำกัด เลิกกิจการ บริษัท ชิกเก้น ไทม์ จำกัด จึงเป็นเจ้าของ BonChon รายต่อมา กระทั่งปี 2562 บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ได้จัดตั้งบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด และเข้าซื้อกิจการ BonChon ในสัดส่วน 100% มูลค่าลงทุนสูงถึง 2,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการ “มองขาด”

Read More

ทัวร์จีนเข้าไทยเศรษฐกิจฟื้น นักท่องเที่ยวอินเดียยกเลิกตั๋ว

นับจากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาลจีนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา กฎระเบียบการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ รวมถึงการจำกัดจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทำให้ชาวจีนจำนวนไม่น้อยเริ่มดำเนินการต่ออายุหนังสือเดินทางและติดต่อทำหนังสือเดินทางอีกครั้ง แต่นอนว่ามาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มักจะเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่ไทยเองใช้มาตรการต้อนรับชาวจีนไม่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวจากยุโรปหรือชาติอื่นๆ นั่นเพราะเล็งเห็นสัมพันธภาพที่ดีที่ไทยและจีนมีต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการตอบกลับจากจีนที่จะไม่ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวไทย หากไทยเพิ่มมาตรการเพื่อเฝ้าระวังมากขึ้นหรือเข้มข้นกว่านักท่องเที่ยวชาติอื่น การค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวจีนในช่วงเวลาที่จีนประกาศใช้มาตรการ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเอกชนต่างขานรับนโยบายของภาครัฐ และเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวจีน ที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากนี้ ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยในปี 2566 นี้ จะปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และน่าจะก้าวกระโดดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะแปรผันตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินระหว่างจีนกับไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ศาลท้าวมหาพรหม วัดพระแก้ว นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้จะยังไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม แต่ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวจีนเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวทันทีหลังจีนประกาศใช้มาตรการใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาประมาณ 4.65 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2562 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวรวมอยู่ที่ 25.5 ล้านคน ขณะที่การใช้จ่ายของชาวต่างชาติเที่ยวไทยสร้างรายได้สู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตนี้ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขึ้นมาอยู่ที่ 3.7% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.2% นอกจากนี้ การเปิดประเทศของจีนน่าจะส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเช่นกัน เมื่อชาวจีนสามารถเดินทางและออกมาจับจ่ายได้เป็นปกติ น่าจะเป็นผลให้ความต้องการสินค้าไทยสูงขึ้น

Read More

เศรษฐกิจไทยสัญญาณบวก ภาคอสังหาฯ ปีกระต่ายตื่นตูม

สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยมีทิศทางเป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2565 และต่อเนื่องมายังไตรมาส 4 โดยปัจจัยบวกหลักมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยเพิ่มมากขึ้น และดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนประมาณ 11.8 ล้านคน อันดับหนึ่งคือนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 1.95 ล้านคน 2. อินเดีย 9.65 แสนคน 3. สปป.ลาว 8.44 แสนคน 4. กัมพูชา 5.91 แสนคน และ 5. สิงคโปร์ 5.89 แสนคน คาดว่าจะมีรายได้รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และยังตั้งเป้าหมายรายได้การท่องเที่ยวรวมไว้ที่ 2.38 ล้านล้านบาท โดยเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น่าจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภคในหลายแง่มุม มิติหนึ่งสะท้อนไปยังภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่เคยซบเซานับตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด อันมาจากหลายเหตุปัจจัย ทั้งจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ล้นตลาด มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อของภาครัฐ และการชะลอการใช้จ่ายของภาคประชาชน แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณบวกในตลาดที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทั้งการทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ แม้จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม ล่าสุด ดร. ประศาสน์

Read More

ธุรกิจโกดังญี่ปุ่นมือสองขยายตัว และโอกาสทำเงินของนักชอป

ย้อนหลังไปเกือบ 10 ปีก่อน ธุรกิจนำเข้าสินค้ามือสองจากญี่ปุ่นเริ่มทำตลาดในไทย ด้วยความนิยมสินค้า Made in Japan ของคนไทยที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้ามือสองญี่ปุ่นค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และนั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดกระแสดราม่าว่า ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของขยะกองมหึมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้ามือสองเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเจ้าของคนเก่าเป็นบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่ หลายคนอาจสงสัยว่าสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่ไทยนั้นมีที่มาจากไหน เป็นของที่เจ้าของเดิมบริจาคมา หรืออย่างไร แท้จริงแล้วสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่เดินทางมาถึงไทยส่วนใหญ่จะถูกรวบรวมโดยบริษัทที่มีหน้าที่ “เคลียร์ของ” ที่เจ้าของบ้าน เจ้าของสถานที่ อาจจ้างมาทำความสะอาด และช่วยกำจัดข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ออกไป  อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศญี่ปุ่นจะมีข้อกำหนดเข้มงวดเรื่องการทิ้งขยะ โดยจะกำหนดวันทิ้งขยะไว้อย่างชัดเจน วันไหนทิ้งขยะรีไซเคิล วันไหนทิ้งขยะทั่วไป หรือวันไหนทิ้งขยะอันตราย หรือขยะชิ้นใหญ่ ซึ่งขยะบางประเภทจำเป็นจะต้องมีการชำระเงินเพื่อกำจัดหรือทำลาย ทั้งนี้หากมีของใช้ที่ต้องการเคลียร์ในปริมาณมาก และใช้เวลานาน คนญี่ปุ่นจะเลือกใช้บริการจากบริษัทเคลียร์ของเพื่อความสะดวก แม้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง  จากนั้นของใช้พวกนี้จะถูกขายในราคาส่งให้แก่พ่อค้าแม่ค้าชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะถูกนำไปขายต่ออีกทอดยังตลาดนัดมือสองในประเทศญี่ปุ่นเอง ดังเช่นที่เคยเห็นภาพจากสื่อออนไลน์ และส่วนที่เหลือจะถูกรวบรวมและส่งต่อมายังประเทศปลายทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มักจะซื้อสินค้ามือสองญี่ปุ่นเหล่านี้มาขายทำกำไรต่ออีกทอดหนึ่ง สินค้ามือสองจากญี่ปุ่นที่เราเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้า ของเล่น ตุ๊กตา ของสะสม เครื่องใช้ไฟฟ้า จักรยาน หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์  ธนาคารกรุงเทพเคยอธิบายสถานการณ์ตลาดสินค้ามือสองทั่วโลกและในไทยไว้อย่างน่าสนใจเมื่อช่วงปี 2020 ว่า

Read More

ดิไอคอน กรุ๊ป ปั้นยอดขาย 4 พันล้านใน 4 ปี พอล วรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้ปฏิวัติค้าออนไลน์

อย่างที่ทราบกันดีว่าตลาดอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ข้อมูลจาก WebsiteBuilderExpert พบว่า ยอดการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซทั่วโลกในปี 2021 รวมกว่า 4.921 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยปี 2565 มีมูลค่า 900,900 ล้านบาท เติบโต 30% จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 693,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% จากปี 2563 และหนึ่งในการเติบโตของตลาดนี้คือ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด (THE iCON Group) ที่เปิดบริษัทมาเพียงไม่กี่ปี แต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้ปฏิวัติการขายออนไลน์” ด้วยการสร้างยอดขายมากกว่า 4 พันล้านภายใน 4 ปี แม้ว่า ดิไอคอน กรุ๊ป จะไม่เป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก หากแต่จะเอ่ยถึงภาพนักแสดงหนุ่ม 5 คน

Read More

ไทยเทเนี่ยม เบฟเวอเรจ พร้อมเปิดเกมรบ ส่งน้องใหม่ลุยตลาด Premium Energy Drink

ตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานในประเทศไทยถือว่ามีผู้เล่นจำนวนไม่น้อย และมีการแข่งขันในตลาดที่ค่อนข้างสูง มูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท แต่ฉากทัศน์ของตลาดนี้มีเป้าหมายหลักอยู่ที่ผู้ใช้แรงงาน และนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรก็ตาม กระนั้นการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานยังอยู่ในอัตราที่ไม่ค่อยน่าพอใจ เมื่อเทียบกับการขยายตัวของตลาดสินค้าอื่นๆ จากผลดังกล่าวทำให้แบรนด์ต่างๆ พยายามอย่างสุดกำลังที่จะปรับรูปโฉมของตัวเองเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีกำลังซื้อมากขึ้น เราจึงได้เห็นการแข่งขันที่ค่อยๆ ดุเดือดขึ้น ในขณะที่ตลาดนี้ค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย และการมาถึงของน้องใหม่ที่เร่งเครื่องในช่วงท้ายปี พร้อมกับแนวคิดที่แตกต่าง มีเป้าหมายชัดเจน รวมไปถึงพาร์ตเนอร์ที่น่าจะส่งผลต่อแรงกระเพื่อมให้ตลาดมีสีสันมากขึ้น เมื่อบริษัท ไทยเทเนี่ยม เบฟเวอเรจ จำกัด ร่วมมือกับศิลปินชื่อดังอย่างวง Thaitanium ปล่อยของในช่วงไตรมาสสุดท้าย ปล่อยเครื่องดื่มให้พลังงานผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์ THAITANIUM POWER จุดเริ่มต้นของ THAITANIUM POWER เริ่มจากวงไทยเทเนี่ยม โดยมีสมาชิกในวงอย่าง ขันเงิน เนื้อนวล (ขัน), ปริญญา อินทชัย (เวย์) และ เนเมียว ธาน (เดย์) มองหาเครื่องดื่มที่เหมาะกับตัวเอง ให้พลังงานและมีประโยชน์กับร่างกายเมื่อต้องเล่นคอนเสิร์ต ทุกครั้งที่วงไปออนทัวร์ยังประเทศต่างๆ มักจะได้ทดลองเครื่องดื่มหลายยี่ห้อจากต่างประเทศ และนำกลับมาพัฒนาต่อ โดยหวังว่าจะให้เป็นเครื่องดื่มประจำตัวในแบบที่ตัวเองชอบ เดิมทีภาพลักษณ์ของตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานจะอยู่ที่ตลาดผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก แต่น้องใหม่รายนี้ตั้งใจที่จะสร้างความต่างให้ทั้งตลาดและตัวเอง

Read More

วิยะดา ศรีนาคนันทน์ ผู้นำหญิงแห่ง 3เอ็ม จากนักกฎหมายสู่ผู้บริหาร

“พลังของ 3เอ็มเริ่มมาจากเราเป็นบริษัทที่ดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย” หนึ่งในแนวคิดการทำงานของ วิยะดา ศรีนาคนันทน์ ประธานบริหาร บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ปัจจุบันความแตกต่างทางเพศคงไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรอย่าง 3เอ็ม ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นเครื่องหนุนนำการทำงานในทุกระนาบ ทั้งการยอมรับในความหลากหลาย ความแตกต่าง ที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า วิยะดา ศรีนาคนันทน์ จะไม่ใช่ผู้นำหญิงคนแรกของ 3เอ็ม ประเทศไทย เพราะผู้ดำรงตำแหน่งคนแรกคือ นภาพร รัตนแสงหิรัญ กรรมการผู้จัดการบริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย แต่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการถูกยกเลิกไปตามโครงสร้างใหม่ที่ 3เอ็มทั่วโลกจัดทำขึ้นเมื่อปี 2563 และปรับเปลี่ยนเป็น ประธานบริหาร หรือ Country Leaders วิยะดา ศรีนาคนันทน์ ร่วมงานกับ 3เอ็ม ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2559 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการบริหาร นอกจากภาระหน้าที่หลักเกี่ยวกับกฎหมายในบริษัทแล้ว วิยะดายังมีโอกาสได้ทำงานด้านอื่นในบริษัท 3เอ็ม ด้วย เช่น ประธานผู้นำสตรี ประธานเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร กระทั่งก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนายหญิงของ

Read More

55 ปี 3M ไทย จากวิทยาศาสตร์ สู่นวัตกรรม

หากเอ่ยถึงบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในไทยอย่างมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีหน้าสัมผัสที่คนไทยคุ้นชินผ่านสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ใช้ภายในครัวเรือน อย่าง สก๊อตช์ไบร์ท แผ่นใยทำความสะอาด หรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น กระดาษโน้ต เทปกาว หลายคนคงนึกถึงแบรนด์ 3เอ็ม (3M) เป็นอันดับต้นๆ สินค้าทั้งหมดของ 3เอ็ม นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่า 3เอ็มเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการนำเอาวิทยาศาสตร์มาคิดค้นและพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นนวัตกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น ช่วยให้ทุกคนใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยมากขึ้น พร้อมกับการมุ่งมั่นหล่อหลอมให้ 3เอ็มเป็นองค์กรที่มีความหลากหลาย ความเท่าเทียม และทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จุดแข็งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการปลดล็อกพลังและศักยภาพของพนักงาน เพื่อนำความคิดและวิทยาศาสตร์ไปสร้างนิยามใหม่ของความเป็นไปได้ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและช่วยแก้ปัญหาความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญอยู่ นับแต่บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เป็นเวลา 55 ปีที่ 3เอ็มเติบโตและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ปัจจุบัน 3เอ็มได้นำวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนตั้งแต่ครัวเรือนไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม “ธุรกิจของ 3เอ็มมีด้วยกัน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจความปลอดภัยและอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ และกลุ่มธุรกิจผู้บริโภค

Read More

RCD เสริมจุดแข็งจับมือ Cleanup รุกตลาดชุดครัวระดับพรีเมียม

ห้องครัว เป็นอีกห้องในบ้านที่ผู้อยู่อาศัยให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเคาน์เตอร์ครัวที่ต้องดีไซน์ให้ถูกใจผู้ใช้งาน ปัจจุบันเคาน์เตอร์ครัวมีหลากหลายรูปแบบ ที่นิยมกันมากที่สุดคือชุดครัวแบบบิวต์อิน ที่มีราคาตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสน หรือแบบที่หลายๆ บ้านนิยมคือ เคาน์เตอร์ครัวปูน เนื่องจากเจ้าของบ้านสามารถเลือกวัสดุและรูปแบบเองได้ทุกส่วน นอกจากครัวทั้งสองแบบที่กล่าวไปข้างต้น ชุดครัวหรือเคาน์เตอร์ครัวนำเข้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน บริษัท อาร์ซีดี ดีไซน์ เซ็นเตอร์ จำกัด ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวพรีเมียม ที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 50 ปี ซึ่งในช่วงแรกที่บริษัทเริ่มก่อตั้ง อาร์ซีดีจะเน้นหนักไปในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบครบวงจร กระทั่งทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง กิตติ เริ่มเจริญดี เข้ามารับช่วงต่อ จึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเมื่อมองเห็นช่องทางของเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวที่น่าจะทำรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะเริ่มเป็นที่นิยมในตลาดไทย ล่าสุด อาร์ซีดี ดีไซน์เซ็นเตอร์ เดินหน้ารุกตลาดระดับบนมากขึ้น และจับมือกับ Cleanup บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ผู้พัฒนาชุดเครื่องครัวสเตนเลสสตีลอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 75 ปี พร้อมเปิดตลาดในไทยภายใต้ชื่อ RCD x Cleanup ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานบ้านและสวนแฟร์ 2022 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา “ครั้งแรกที่เราเจอ

Read More

ศุภาลัย รับบท “พี่เลี้ยง” หนุนผู้ประกอบการอสังหาฯ รายเล็ก

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยนับว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงมาก แม้ว่าปีนี้ที่ภาพรวมเศรษฐกิจดูจะไม่ค่อยสดใสนัก ทว่ามีการคาดการณ์มูลค่าตลาดเปิดตัวใหม่อาจจะมากกว่า 380,857 ล้านบาท หากเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่าตลาดเปิดตัวใหม่อยู่ที่ 277,626 ล้านบาท หากดูในภาพรวมโครงการเปิดใหม่ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปีนี้ มีจำนวน 210 โครงการ เมื่อเทียบกับสถิติ 7 เดือนแรกของปี 2564 มีการเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 152 โครงการ การแข่งขันของตลาดอสังหาฯ ยังคงน่าจับตามองเสมอ เมื่อเจ้าตลาดรายใหญ่ต่างพากันระดมสรรพกำลังสร้างแรงขับเคลื่อนในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง ความคึกคักของตลาดไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในเมืองใหญ่เท่านั้น หากแต่ค่ายใหญ่เริ่มสยายปีกไกลออกไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดที่พอจะมองเห็นศักยภาพของตลาด ที่มีปัจจัยมาจากการขยายตัวของเมืองในจังหวัดนั้นๆ อันนำมาซึ่งความต้องการที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัดที่เพิ่มมากขึ้น แต่เดิมตลาดอสังหาฯ ในต่างจังหวัดอาจจะเป็นการตลาดหลักของผู้ประกอบการอสังหาฯ รายย่อย ปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว เมื่อมองในมิติการแข่งขันหากในพื้นที่นั้นมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ เราคงได้เห็นการประชันกันด้วยโครงการใหญ่ๆ และการแข่งขันที่ดูสมน้ำสมเนื้อ ทว่า หากในพื้นที่นั้นผู้ประกอบการรายเล็กเป็นเจ้าตลาด และมีผู้เล่นรายใหญ่กระโดดเข้าร่วมวงด้วย อาจดูไม่ค่อยยุติธรรมนัก ปัจจัยหลักเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยอันเป็นที่มาของโครงการ Big Brother ที่หอการค้าไทยจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ดูจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในทุกแวดวงให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้ดีขึ้นท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

Read More