Home > ธุรกิจครอบครัว

ยูโอบีจับกลุ่มธุรกิจครอบครัว ส่งต่อแบบไม่สะดุด สร้างเครือข่ายระดับอาเซียน

ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เป็นธุรกิจครอบครัวจำนวนถึง 451 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 57% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมกันประมาณ 8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด โดยอายุเฉลี่ยของบรรดาบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 34 ปี อีกทั้งยังเกิดการจ้างงานราวๆ 920,000 คน คิดเป็น 53% แม้ธุรกิจครอบครัวจะมีสัดส่วนเกินครึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งยังมีแต้มต่อในเรื่องความเป็นเจ้าของและรากฐานทางธุรกิจที่ถูกวางไว้อย่างแข็งแกร่งจากรุ่นแรก แต่ถึงกระนั้นการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อเนื่องและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวจำนวนมากที่สามารถสร้างชื่อและเจริญรุ่งเรืองในยุคก่อตั้ง แต่กลับไม่สามารถส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างราบรื่น หรือแม้กระทั่งต้องยุติการทำธุรกิจก็มีไม่น้อยเช่นกัน จนมีคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นหูอย่าง “การสร้างธุรกิจเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้เป็นเรื่องที่ยากกว่า” โดยอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ตามข้อมูลจาก The Family Firm Institute ระบุว่า รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่ 100%, รุ่นที่ 2 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว 30%, รุ่นที่ 3 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว

Read More

ธุรกิจครอบครัว การสานต่อความมั่งคั่งของตระกูลใหญ่

เบื้องหลังความสำเร็จของหลายธุรกิจมักมี “ครอบครัว” เป็นส่วนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังคอยผลักดันและเป็นแรงสนับสนุนที่ดี ธุรกิจจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยเป็นธุรกิจครอบครัว ที่ต้นตระกูลบุกเบิกและวางรากฐานทางธุรกิจไว้ และส่งต่อธุรกิจในมือเมื่อถึงเวลาเหมาะสมให้คนรุ่นต่อๆ ไป ผู้คนจำนวนไม่น้อยมักมีทัศนคติต่อการสานต่อธุรกิจของครอบครัวว่า เป็นเรื่องยากที่จะพาธุรกิจไปได้ตลอดรอดฝั่ง เหล่าทายาทจึงปฏิเสธที่จะสานต่อธุรกิจ เพราะกังวลต่อปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของคนรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูก ที่แตกต่างกันในแง่ประสบการณ์ชีวิต แนวคิดการดำเนินธุรกิจ ยุคสมัย เราจึงได้เห็นข้อข้ดแย้งภายใต้การดำเนินธุรกิจแบบกงสีอยู่บ้าง เป้าหมายสำคัญของการสืบทอดธุรกิจครอบครัวคือการรักษาความมั่นคง มั่งคั่ง ชื่อเสียงที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นนับตั้งแต่ก่อตั้งกิจการให้แก่รุ่นต่อๆ ไป เป้าหมายข้างต้นเป็นปัจจัยให้เกิดการผลักดันให้เหล่าทายาทก้าวขึ้นมารับตำแหน่งสืบทอดกิจการ อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทอาจเลือกวิธีการใช้มืออาชีพด้านการบริหารเข้ามาดูแลกิจการต่อ หรือท้ายที่สุดคือการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจแบบครอบครัวในสังคมไทยมีให้เห็นไม่น้อย ทั้งที่ประสบความสำเร็จรุ่นลูกรุ่นหลานเข้ารับช่วงต่อกิจการ และต่อยอดไปยังธุรกิจแขนงอื่น จนส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวขยายตัวกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่บริหารงานโดยตระกูลเจียรวนนท์ กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ ทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี กลุ่มเซ็นทรัลเจ้าของห้างค้าปลีกรายใหญ่ ภายใต้การดูแลของตระกูลจิราธิวัฒน์ เครือสหพัฒน์ จากตระกูลโชควัฒนาที่มีประวัติอันยาวนาน หรือซีคอน กรุ๊ป ตำนานธุรกิจครอบครัวตระกูลซอโสตถิกุล ข้อมูลจาก The Family Firm Institute เกี่ยวกับอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก พบว่า - รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวคือ 100 เปอร์เซ็นต์ -

Read More