Home > ค้าออนไลน์

ดิไอคอน กรุ๊ป ปั้นยอดขาย 4 พันล้านใน 4 ปี พอล วรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้ปฏิวัติค้าออนไลน์

อย่างที่ทราบกันดีว่าตลาดอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ข้อมูลจาก WebsiteBuilderExpert พบว่า ยอดการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซทั่วโลกในปี 2021 รวมกว่า 4.921 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยปี 2565 มีมูลค่า 900,900 ล้านบาท เติบโต 30% จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 693,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% จากปี 2563 และหนึ่งในการเติบโตของตลาดนี้คือ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด (THE iCON Group) ที่เปิดบริษัทมาเพียงไม่กี่ปี แต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้ปฏิวัติการขายออนไลน์” ด้วยการสร้างยอดขายมากกว่า 4 พันล้านภายใน 4 ปี แม้ว่า ดิไอคอน กรุ๊ป จะไม่เป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก หากแต่จะเอ่ยถึงภาพนักแสดงหนุ่ม 5 คน

Read More

ช้อปปี้ ผนึกภาคีธนาคารพันธมิตร สานต่อโครงการ Shopee University: Financial Edition ปี 2

ช้อปปี้ ผนึกภาคีธนาคารพันธมิตร สานต่อโครงการ Shopee University: Financial Edition ติวเข้มธุรกิจ ติดปีกออนไลน์ ปี 2 เตรียมพร้อมธุรกิจรายย่อยโตแกร่งฝ่าสถานการณ์โควิด-19 รับมหกรรมอีคอมเมิร์ซครึ่งปีหลัง ผ่านคลาสออนไลน์ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและการจัดการบน Shopee Live เต็มรูปแบบครั้งแรก จากผลตอบรับที่ดีอย่างมากในปีที่ผ่านมา ช้อปปี้ (Shopee) ผู้นำอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เดินหน้าขยายความร่วมมือกับธนาคารชั้นนำทั้งธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์ จัดโครงการ Shopee University: Financial Edition ติวเข้มธุรกิจ ติดปีกออนไลน์ ปี 2 เปิดคลาสสอนออนไลน์ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและการบริหารจัดการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ครั้งแรกผ่านฟีเจอร์ Shopee Live สำหรับธุรกิจที่มองหาการเติบโตบนโลกอีคอมเมิร์ซในหลากมิติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการยุคปัจจุบันทั่วประเทศ ให้สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และเตรียมความพร้อมรับกำลังซื้อสูงในช่วงฤดูกาลอีคอมเมิร์ซครึ่งปีหลังได้อย่างเต็มศักยภาพ คุณสุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ต้องการจะใช้ความรู้และจุดแข็งในด้านต่าง ๆ ที่ช้อปปี้มีในฐานะอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มชั้นนำ ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเกิดเป็นโครงการ

Read More

‘Shopee Bootcamp’ ขยายช่องทางติดอาวุธด้านอีคอมเมิร์ซ บุก Thammasat Business School นำร่องส่งต่อความรู้

‘Shopee Bootcamp’ ขยายช่องทางติดอาวุธด้านอีคอมเมิร์ซให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ เปิดตัวโครงการพิเศษ “E-commerce 101 powered by Shopee Bootcamp” บุก Thammasat Business School นำร่องส่งต่อความรู้และทักษะด้านออนไลน์แก่นักศึกษา เพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับสังคมไทยให้เติบโตในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ร่วมกับ Thammasat Business School เปิดตัวโครงการ “E-commerce 101 powered by Shopee Bootcamp” บูรณาการหลักสูตรเฉพาะด้านอีคอมเมิร์ซแบบเข้มข้นให้นักศึกษาในหลักสูตรควบตรี-โท 5 ปีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ(บูรณาการ)(IBMP) ได้พัฒนาความรู้และทักษะในการทำธุรกิจออนไลน์เพื่อช่วยเหลือและยกระดับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยให้เติบโต ซึ่งเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จกว่า 2 ปีที่ผ่านมาจากโครงการ ‘Shopee Bootcamp’ จากการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มุ่งมั่นพัฒนาเสริมศักยภาพด้านอีคอมเมิร์ซให้แก่เหล่า ผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ทั่วประเทศ สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สำหรับโครงการ E-commerce 101

Read More

ถึงคราวผู้ค้าออนไลน์ไทยปรับตัว เมื่อทุนจีนเข้าชิงส่วนแบ่งเค้ก

ดูจะเป็นความท้าทายสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยไม่น้อยในห้วงยามนี้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานานัปการที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน ทั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก การล็อกดาวน์ประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในช่วงเวลาหนึ่ง สภาวะเศรษฐกิจที่คนไทยเริ่มพาตัวเองเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่รัดเข็มขัดมากขึ้น และการถูกรุกคืบจากทุนจีนในหลายตลาด สัปดาห์ก่อนมีประเด็นที่ถูกพูดถึงอยู่ในโลกออนไลน์ถึงกรณีที่ว่า ทุนจีนเข้ามารุกตลาดค้าออนไลน์ในไทยซึ่งน่าจะสร้างผลกระทบต่อผู้ค้าออนไลน์ไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าด้วยการเปิดพรีออเดอร์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในไทย การกินส่วนต่างกำไรจากค่าหิ้วหรือค่าดำเนินการ นับเป็นรายได้ที่ทำให้ผู้ค้าไทยยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้จะใช้เวลาในการรอสินค้านานร่วมเดือนหรือมากกว่านั้น ทว่า เมื่อทุนจีนมองเห็นช่องโหว่ดังกล่าว อันนำมาซึ่งการสร้างช่องทางการเข้ามาขยายฐานธุรกิจ เพื่อหารส่วนแบ่งเค้กก้อนใหญ่นี้ ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อวงการค้าออนไลน์ในไทย เป็นเพราะว่า ต่างชาติเข้ามาเปิดตลาดการค้าบนโลกออนไลน์ในไทยมากขึ้น ทั้ง Lazada, Shopee, JD Central และการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาชอปทางออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงข้อตกลง FTA ระหว่างไทยจีน ที่ทำให้การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หากมูลค่าของสินค้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขรายละเอียดในข้อตกลงเขตการค้าเสรี นอกจากนี้ ตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปี 2019 ที่มีมูลค่าสูงถึง 163,300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยหันมาชอปปิงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาไวรัสโควิด-19 จะเริ่มระบาดแล้วก็ตาม ขณะที่ Priceza ประเมินจากสถานการณ์ในปีนี้ว่า ตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท ยังมีอีกข้อมูลจากไพรซ์ซ่าที่น่าสนใจระบุว่า ตลาด E-Commerce

Read More