Home > Suporn Sae-tang (Page 15)

ย้อนยุค Food Truck จากคาวบอย กรรมกร สู่รถพุ่มพวงไทย

เมื่อสืบค้นต้นกำเนิดของ Food Truck เริ่มต้นตั้งแต่ยุคหลังสงครามกลางเมืองอเมริกาที่เกิดการขยายตัวสู่เขตพื้นที่ฝั่งตะวันตกอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นตลาดการค้าขายเนื้อสัตว์ต่างๆ ขนาดใหญ่ โดยเป็นที่นิยมอย่างมากในรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา บางข้อมูลระบุว่า Food Truck ฉบับดั้งเดิมเกิดขึ้นโดย Charles Goodnight (ชาร์ลส์ กู๊ดไนท์) ในปี 1866 โดยชาร์ลส์ต้อนฝูงสัตว์และเจอความยากลำบากในการทำอาหารแต่ละมื้อในช่วงเวลาต้อนวัว เขาเห็นรถของกองทัพสหรัฐฯ มีความแข็งแรงน่าจะนำมาประยุกต์ใช้งานได้ เขาจึงจัดการตกแต่งภายในรถด้วยชั้นวางของและลิ้นชัก เติมภาชนะและเครื่องหุงต้ม เครื่องเทศ เครื่องเคียงปรุงรส อาหารที่เลือกบรรทุกไปตอนนั้น ได้แก่ ถั่ว กาแฟ ข้าวโพด และวัตถุดิบอื่นที่ปรุงได้ง่าย ไม่มีอาหารจำพวกผักผลไม้สด หรือว่าเนื้อสัตว์ ซึ่งเน่าเสียง่าย ต่อมาช่วงปี 1980 เริ่มมีรถบรรทุกอาหารออกเดินทางเพื่อจำหน่ายในช่วงเวลากลางคืน สำหรับแรงงานกะดึกในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก ซึ่ง The Owl (เดอะ อาวล์) เป็นแบรนด์ผู้นำแรกๆ ที่ทำให้ธุรกิจ Food Truck เริ่มเป็นที่นิยมและกลายเป็นต้นแบบของร้านอาหารรูปแบบ Food Truck ในปัจจุบัน   อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สืบค้นประวัติย้อนไปถึงยุคคาวบอยที่มีการอพยพย้ายถิ่นของคนอเมริกันแรกๆ ยุคที่ต้องเดินทางไปเป็นหมู่คณะกับกองเกวียนคาราวานค้าขายจากแดนเหนือไปแดนใต้เพื่อป้องกันการโจมตีจากโจรผู้ร้ายและอินเดียนแดง

Read More

ลุ้นยอดมอเตอร์เอ็กซ์โป อัดแรงส่งตลาดรถปีหน้า

ค่ายรถยนต์ต่างลุ้นยอดจองโค้งสุดท้าย โดยเฉพาะแรงส่งจากงานใหญ่ มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 (Motor Expo 2022) ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม จะเข้าเป้าอย่างน้อย 37,000 คัน และรถจักรยานยนต์ 5,000 คัน หรือเติบโต 15-20% เทียบปีก่อนหน้า เม็ดเงินสะพัดมากกว่า 50,000 ล้านบาทได้หรือไม่ ล่าสุด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุว่า ทิศทางยอดขายรถยนต์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวกลับเข้ามาสู่ระดับปกติอีกครั้ง ภายหลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ยอดขายหดตัวติดลบ 21.4% และติดลบ 4.0% ตามลำดับ โดยสัญญาณกระเตื้องชัดเจนในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2565 มียอดขายรถยนต์สะสม 698,305 แสนคัน หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.0% ปัจจัยบวกหลักๆ มาจากการบริโภคภายในประเทศที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว การเปิดประเทศทำให้ภาคท่องเที่ยวกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่ง ttb

Read More

ชนินทร์ วัฒนพฤกษา ได้เวลาฟู้ดทรัคไทย ตะลุยอเมริกา

ชนินทร์ วัฒนพฤกษา ใช้เวลากว่า 7 ปี พัฒนาเครือข่าย Food Truck Club (Thailand) ล่าสุดมีสมาชิกมากกว่า 1,000 แบรนด์ และเตรียมแผนการใหญ่ส่งออกฟู้ดทรัคแบรนด์ไทยบุกตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดร้านอาหารติดล้อแห่งแรกในโลก “เราไปเปิดตัว Food Truck Club (Thailand) ที่อเมริกา มีบริษัทเครือข่ายและเตรียมส่งไลเซนส์แบรนด์ฟู้ดทรัคไทยไปอเมริกา เป็นแผนที่เราต้องการไป Global ซึ่งจริงๆ เริ่มวางแผนก่อนหน้าแต่เจอสถานการณ์โควิดทำให้ต้องเบรกก่อน แต่มีความพร้อมทั้งหมด มีบริษัทสาขา มีพาร์ตเนอร์ และแบรนด์ต่างๆ เตรียมขยายงานรองรับแล้ว” ชนินทร์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธาน Food Truck Club (Thailand) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360” และยืนยันว่า ร้านอาหารสไตล์ฟู้ดทรัคมีแนวโน้มเติบโตได้อีกหลายเท่า ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหลังโควิดคลี่คลาย สถานการณ์เปลี่ยนและดีขึ้นอย่างมากมาย สำหรับในประเทศไทยนั้นจำนวนรถไม่เพียงพอกับความต้องการ แม้ช่วงโควิดฟู้ดทรัคโดนผลกระทบเหมือนธุรกิจอื่นๆ เพราะหลักๆ ออกร้านขายของตามห้างสรรพสินค้า งานอีเวนต์ต่างๆ พอเกิดโควิด ห้างร้านปิดหมด ฟู้ดทรัคลำบาก

Read More

45 ปี ไทยยูเนี่ยน ได้เวลาแจ้งเกิดตลาดใหม่

16 พฤศจิกายน 2565 ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น หรือ ITC เปิดแถลงข่าวใหญ่กับนักลงทุนและสื่อ โชว์ศักยภาพและข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ประกาศสงครามรุกตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงครบวงจรอย่างเต็มตัว โดยมีกลุ่มไทยยูเนี่ยนกรุ๊ปเป็นแบ็กอัปแข็งแกร่ง หากย้อนที่มาธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยยูเนี่ยนเริ่มต้นเมื่อปี 2520 โดยเริ่มผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม (TUM) ต่อมา ปี 2524 ก่อตั้งบริษัท สงขลาแคนนิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปและแตกไลน์การผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในปี 2532 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น แต่ในเวลานั้นยังพุ่งเป้าสร้างฐานธุรกิจผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องเป็นหลัก ปี 2537 บริษัท ไทยยูเนี่ยนเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF และเร่งขยายอาณาจักรทั่วโลก โดยเฉพาะกลยุทธ์ซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง บริษัทประเดิมรุกลงทุนในต่างประเทศครั้งแรกเมื่อปี 2540 ซื้อกิจการของชิกเก้นออฟเดอะซี ซึ่งเป็นแบรนด์ปลาทูน่ากระป๋องอันดับ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2546 ซื้อกิจการบริษัท เอ็มเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

Read More

ไอ-เทล โรดโชว์ดันหุ้น ITC เจาะทาสหมา-แมว ขยายทั่วโลก

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ใช้เวลาเกือบ 3 ปี ปลุกปั้นให้ “ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น” เป็นบริษัทแกนนำ หรือ Flagship รุกธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง หลังซุ่มลุยตลาดในฐานะผู้รับจ้างผลิต (OEM) ให้แบรนด์ดังๆ ทั่วโลกมานานหลายสิบปี และล่าสุดจัดงานโรดโชว์เสนอขายหุ้นไอพีโอ หวังระดมเม็ดเงินเต็มหน้าตักมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท แน่นอนว่า เป้าหมายของไอ-เทล ไม่ใช่ตลาดในประเทศไทย แต่ต้องการเร่งฐานตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก โดยอ้างอิงข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอเมริกัน วิจัยและวิเคราะห์ตลาด Frost & Sullivan ระบุภาพรวมตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงโลกเมื่อปี 2564 มียอดขายปลีกประมาณ 131,000-135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 4.8 ล้านล้านบาท และเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เฉลี่ย 5.5-5.8% ชนิดไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นพิษโควิดหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันหลังจากนี้ถึงปี 2569 ภาพรวมตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงโลกจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี 7.1% จากกระแส Humanization

Read More

“วัวแดง” แตกนมผง เกมการเมือง ปมผลประโยชน์?

ปมปัญหาแบรนด์ “วัวแดง” กลายเป็นประเด็นร้อนแรงเมื่อสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) รวมตัวยื่นคัดค้านการอนุญาตนำเครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” ให้เอกชนใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารก ถูกขยายกลายเป็นเกมการเมืองที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและฐานตลาดมูลค่าหลายหมื่นล้าน การเปิดฉากฟ้องสังคมเริ่มต้นเมื่อ น.ส.ณัฐภร แก้วประทุม ประธาน สร.อ.ส.ค. ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร คัดค้านการเปิดทางเอกชนใช้แบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 สาระสำคัญระบุถึงองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมผงตามคำสั่ง อ.ส.ค. ลงวันที่ 15 มิ.ย. 2565 เพื่อพิจารณาการอนุญาตให้บริษัทเอกชนต่างชาติใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” และ อ.ส.ค. ได้เสนอบอร์ดรับทราบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2565 ซึ่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจฯ ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่สอดรับกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อ.ส.ค. เหตุผลสำคัญ คือ เครื่องหมายการค้าตรา “ไทย-เดนมาร์ค” เป็นสินทรัพย์ของ อ.ส ค.

Read More

Deeden Petmart รุกศึกครบวงจรสู้แบรนด์เจ้าสัว

ประเมินกันว่า ประชากรแมวเฉพาะในกรุงเทพฯ มีมากกว่า 4 แสนตัว และหากรวมทั้งประเทศไทยน่าจะทะลุเกินกว่า 3 ล้านตัว ยังไม่นับเพื่อนรักน้องหมาที่มีจำนวนไม่แตกต่างกัน นั่นทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงสี่ขามีศักยภาพเติบโตได้อีกหลายเท่าในยุคสังคม Pet Friendly ที่เหล่า “มนุด” ยอมเป็น “ทาส” ปรนเปรอ “นาย” เหมือนสมาชิกในครอบครัว ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง ยังรวมถึงบริการอาบน้ำ ตัดขน โรงพยาบาล และโดยเฉพาะโรงแรมแมว กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจดาวรุ่งยุคหลังโควิดที่ผู้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตปกติและเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ แต่ที่พักหรือรีสอร์ตที่สามารถรองรับทั้งเจ้าของและแมวยังมีจำนวนไม่มาก ภรภัทร หมอยา กรรมการผู้จัดการธุรกิจ เพ็ทมาร์ท ร้านดีเด่น อาหารสัตว์ กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า ช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทเริ่มขยายบริการในร้านดีเด่นสาขาใหม่ๆ ทั้งบริการอาบน้ำ ตัดขน (Grooming) บริการปรึกษาสัตวแพทย์ MOYA Pet Care และล่าสุด ทดลองเปิดให้บริการโรงแรมแมว Marry Cat’s Hotel

Read More

ส่องแบรนด์ในตำนาน สามแม่ครัว-ปุ้มปุ้ย

นีกอลา อาแปร์ (Nicolas Appert) ชาวฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งอาหารกระป๋อง เขาเป็นพ่อครัวและคนทำลูกกวาดในกรุงปารีส โดยปี ค.ศ. 1795 เขาเริ่มทดสอบและคิดค้นวิธีถนอมอาหาร ทั้งซุป พืชผัก น้ำผลไม้ เยลลี่ แยม น้ำเชื่อม ผลิตภัณฑ์จากนม และปลา นำอาหารเหล่านี้ใส่ในขวดโหลแก้ว ปิดปากด้วยจุกไม้ก๊อกและป้ายด้วยขี้ผึ้ง จากนั้นจุ่มในน้ำเดือด ปี ค.ศ. 1800 จักรพรรดินโปเลียนเสนอเงินรางวัล 12,000 ฟรังก์ ให้ใครก็ตามที่คิดค้นวิธีถนอมอาหารแบบใหม่ได้ เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารให้แก่ทหารในช่วงสงคราม ปี ค.ศ. 1806 อาแปร์นำขวดแก้วบรรจุอาหารต่าง ๆ ที่เขาถนอมไว้ออกมาแสดงในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฝรั่งเศส (Exposition des produits de l'industrie française) แต่ไม่ชนะและไม่ได้รับเงินรางวัลใดๆ ปี ค.ศ. 1810 กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสเสนอเงิน 12,000 ฟรังก์ให้อาแปร์ โดยมีเงื่อนไขว่าเขาต้องเผยแพร่กรรมวิธีถนอมอาหารนี้แก่สาธารณชน อาแปร์ยอมรับและตีพิมพ์หนังสืออธิบายกรรมวิธีต่างๆ ชื่อว่า ศิลปะการถนอมเนื้อสัตว์และพืชผัก

Read More

พลิกปมอาณาจักร “โตทับเที่ยง” รอหุ้น POMPUI คัมแบ็ก

อาณาจักร “ปุ้มปุ้ย” โลดแล่นในสมรภูมิมากกว่า 40 ปี ฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจและเรื่องราวความขัดแย้ง ซึ่งหากย้อนเส้นทางความยิ่งใหญ่ของตระกูล “โตทับเที่ยง” เริ่มต้นเมื่อนายโต๋ว ง่วน เตียง และนางยิ่ง แซ่โต๋ว สามีภรรยาชาวจีนที่อพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่มาทำมาหากินในเมืองไทย นายโต๋วมีลูกๆ รวม 10 คน ลูกชายคนโต คือ นายสุธรรม โตทับเที่ยง และน้องๆ 9 คน ได้แก่ นางสุภัทรา สินสุข (โตทับเที่ยง) เสียชีวิตแล้ว นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง นางจุรี สัมพันธวรบุตร (โตทับเที่ยง) นายสวัสดิ์ โตทับเที่ยง เสียชีวิตแล้ว นางจุฬา หวังศิริเลิศ (โตทับเที่ยง) นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์ (โตทับเที่ยง) นายสลิล โตทับเที่ยง น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ น.ส.ศิริพร โตทับเที่ยง ปี

Read More

มาม่า ปลากระป๋อง เมนูบ้านๆ สะท้อนยุคของแพง

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและปลากระป๋องกลายเป็นอีกดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทย ในฐานะเมนูยามยากช่วงปลายเดือนของคนรายได้น้อยและอยู่ในครัวคนไทยมานานหลายสิบปี นั่นทำให้การขึ้นราคาสินค้าทั้งสองตัว สะท้อนยุค “ข้าวยากหมากแพง” และวิกฤตเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูง ท่ามกลางผลกระทบหลายด้าน ทั้งพิษน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวด หากย้อนกลับไปช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคแห่ขึ้นราคาขายส่งตามต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มปลากระป๋องปรับเพิ่มถึง 4 บาทต่อกระป๋อง ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทั้งมาม่า ไวไว ยำยำ และอีกหลายยี่ห้อ ประกาศขึ้นราคาซองละ 1 บาท หลังได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นราคาครั้งแรกในรอบ 14 ปี ทุกวันนี้ เมนูบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ปลากระป๋องที่หลายคนมักทำกินช่วงปลายเดือนไม่ใช่อาหารราคาถูกเหมือนอดีต บะหมี่ซองละ 8-15 บาท ปลากระป๋อง กระป๋องละ 15-20 บาท หรือ 1 มื้อ 1 คน ไม่ต่ำกว่า 30-35 บาท หากสั่งเมนูต้มยำปลากระป๋องตามร้านอาหาร ขั้นต่ำ

Read More