Home > Cover Story (Page 60)

ไขทางออกกรุงเทพธนาคม จ่อขอเงินรัฐจ่ายหนี้ BTS?

ความเป็นไปของกรณีการประกาศเลื่อนเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวของกรุงเทพมหานครในอัตรา 104 บาทตลอดสาย ซึ่งเดิมกำหนดที่จะเริ่มเก็บในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ก่อนที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะประกาศเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาให้เลื่อนการเก็บค่าโดยสารดังกล่าวนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ภายใต้เหตุผลว่าได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้พิจารณาทบทวนอัตราค่าโดยสาร โดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาระของ กทม. ให้เกิดความเหมาะสม ข้อน่าสังเกตจากการตัดสินใจของผู้ว่าราชการ กทม. ดังกล่าว ดูจะเป็นไปอย่างกะทันหันและออกประกาศในช่วงดึกของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 โดยที่ก่อนหน้านั้นผู้บริหารของ กทม. ยังยืนยันว่าจะจัดเก็บค่าโดยสารใหม่ตามกำหนดเดิม หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ส่งหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทวงถามให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ชำระหนี้ในการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายรวมเป็นเงิน 3 หมื่นล้านบาท หนี้ของกรุงเทพธนาคมที่มีต่อ BTS แยกเป็นการชำระหนี้ในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งค้างชำระมาเป็นเวลา 3 ปี 9

Read More

ตรุษจีนปีฉลูเงียบเหงา พิษ COVID ขวิดใช้จ่ายวูบ

บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ซึ่งหวังว่าจะช่วยพยุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นบ้าง หลังจากตกอยู่ในความเงียบเหงาและซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังเผชิญกับข้อเท็จจริงที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับความคาดหวังที่มี หลังจากที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงตรุษจีนปีนี้ได้ส่งผลให้กำลังการซื้อของประชาชนลดต่ำลง และทำให้การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าปรับตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือลดลงด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับเป็นการลดต่ำลงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 13 ปี ที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2552 การใช้จ่ายที่มีการปรับตัวลดลงดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าการใช้จ่ายที่ 5.75 หมื่นล้านบาทในปี 2563 หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 ซึ่งมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลงนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังทำให้ประชาชนไทยมีรายได้ลดลง เป็นหนี้เพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนไม่น้อยถูกเลิกจ้างและตกอยู่ในภาวะว่างงาน ส่งผลให้มีความระแวดระวังในการใช้จ่ายและทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจในกรณีของค่าใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้อยู่ที่เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการใช้จ่ายเมื่อปี 2563 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.3 จากปี 2562 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่ากังวล การลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มปรากฏสู่การรับรู้ของสาธารณะ หากแต่การปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในปี 2564 ซึ่งลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 จากปีก่อนหน้า นับเป็นภาพสะท้อนของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐ โดยเฉพาะในประเด็นว่าด้วยความเชื่อมั่นที่กำลังลดต่ำลงจากปัญหาหลากหลายที่รุมเร้าเข้ามา มูลค่าการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนที่ลดหายไปในปีนี้ ทำให้การคาดการณ์ของกลไกรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีไทย

Read More

สมรภูมิไก่ทอดเดือด รัวโปรสวนโควิดระลอก 2

ฟาสต์ฟู้ด “ไก่ทอด” กลายเป็นสมรภูมิแข่งขันดุเดือดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดระลอก 2 หลังวิกฤตไวรัสอันตรายรอบแรกสร้างสถิติที่สุดแห่งปี 2020 โดย LINE MAN รวบรวมพฤติกรรมการกินจากผู้ใช้บริการกว่า 3 ล้านคนต่อเดือน จากจำนวนออเดอร์ที่เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5 เท่า พบว่า เมนูไก่ทอดขายดีสุด สั่งเดลิเวอรี่ทั้งปีรวมกัน 5.3 ล้านชิ้น เรียงต่อกันเท่ากับดอยอินทนนท์ 19 ดอย และขายหมดเร็วสุดภายใน 7 วินาที ในช่วงโปรนาทีทอง Flash Deal ที่สำคัญ ในตลาดร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ตลาดไก่ทอดมีสัดส่วนมากกว่า 50% ชนิดที่ว่า ยืนหนึ่งเบอร์เกอร์อย่างบริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารเชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ ต้องหันกลับมารุกหนักเมนูไก่ทอดสูตรดั้งเดิมหรือสูตร Original แถมทุ่มหนัก ลดแลกแจกแถมตั้งแต่ต้นปี 2564 ถ้าว่ากันตามไทม์ไลน์ไก่ทอดแมคโดนัลด์ในประเทศไทย บริษัทประกาศเปิดตัวแมคไก่ทอดจัมโบ้ สูตรออริจินอล

Read More

แฟรนไชส์ส่งด่วนร้อนจี๋ “ปณท-เคอรี่” เร่งโกยส่วนแบ่ง

ธุรกิจแฟรนไชส์ไปรษณีย์เอกชนเปิดศึกแข่งขันร้อนแรง เร่งปูพรมสาขาไม่ต่างกับสงครามร้านสะดวกซื้อจนขึ้นแท่นติดชาร์ตกิจการที่มีผู้คนแห่ซื้อลงทุนมากสุด โดยเฉพาะกลุ่มท็อปทรีที่เข้ามาผสมโรงรุกตลาด ทั้งไปรษณีย์ไทย เคอรี่ เอ็กซ์เพรส และน้องใหม่มาแรง “แฟลชเอ็กซ์เพรส” ที่มีทุนใหญ่กลุ่ม ปตท. ร่วมถือหุ้น และประกาศจะรุกตลาดระลอกใหญ่หลังระดมเม็ดเงินก้อนโตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยิ่งไปกว่านั้น ภาพรวมตลาดขนส่งพัสดุยังมีผู้เล่นอีกหลายราย ไม่ว่าจะเป็น J&T Express (เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส) Best Express (เบสท์ เอ็กซ์เพรส) Lex Express (Lazada LeL Express) Ninja Van (นินจาแวน) DHL (ดีเอชแอล) SCG Express (เอสซีจี ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส) FedEx Bee Express (บี เอ็กซ์เพรส) UPS (UPS Parcel Delivery Service) Nim Express (นิ่ม

Read More

อสังหาฯ ควบกิจการหนีตาย โจทย์ใหญ่ ลดดอกเบี้ย-เลิก LTV

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังหนีไม่พ้นวิกฤต หลังเจอผลกระทบโควิด-19 บวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และยอดขายจากตลาดต่างชาติดิ่งเป็นศูนย์ แม้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นหลายแพ็กเกจ แต่ผู้ประกอบการต่างฟันธงเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ตรงจุด” โดยเฉพาะโจทย์การแก้ปัญหากำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวยืดเยื้ออีก 1-2 ปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมกราคม 2564 ลดลงจากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.2 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 53.3 มาอยู่ที่ 48.0 ตามความกังวลของผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยผู้ประกอบการที่เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมากและกลับมาอยู่ต่ำกว่า 50 เมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกมากล่าวย้ำถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด The Year of Hope โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายเล็กที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเหนื่อยแน่ ทั้งในแง่แบรนด์

Read More

ธุรกิจโรงแรมปรับตัว ก่อนการฟื้นตัวของท่องเที่ยวไทย

นับเป็นฝันร้ายครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดที่กระทบต่อการเติบโตและรายได้การท่องเที่ยวในระดับล้านล้านบาท ตั้งแต่เชื้อไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และส่งผลกระทบถึงไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม ช่วงกลางปีที่ผ่านมาสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มลดลงจนกระทั่งเป็นศูนย์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว รวมไปถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เริ่มหารือถึงมาตรการและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยใช้นโยบาย Travel Bubble ทว่า ก่อนจะได้คำตอบหรือการอนุมัติจากภาครัฐ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ระลอกสอง และหลายประเทศสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าการระบาดในครั้งแรก การยึดโยงอยู่กับตลาดต่างชาติจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี การพึ่งพาตนเองจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ รัฐบาลไทยเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายรูปแบบ เพื่อให้เม็ดเงินกระจายลึกลงไปถึงเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 6.59 ล้านคน โดยมีผู้ใช้สิทธิ์โรงแรม 3,508,008 สิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จองทั้งสิ้น 9,543.4 ล้านบาท ขณะที่มีผู้ที่ได้รับคูปองอาหาร 782,568 ราย ยอดใช้จ่ายทั้งหมด 3,002.6 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายประชาชน 1,849.4 ล้านบาท รัฐสนับสนุน 1,153.2 ล้านบาท หลังจากการประกาศใช้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยพอจะมองเห็นทิศทางที่ดีขึ้นแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดรุนแรงระลอกสองในไทยว่า

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More

เศรษฐกิจจีนโตต่อเนื่อง พินิจแผนฟื้นฟูจีน-ไทยปรับประยุกต์ใช้

โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มาครบ 1 ปี การอุบัติของโรคระบาดส่งผลกระทบในหลายมิติ ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะการหดตัวอย่างรุนแรงในด้านเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่จีน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ทว่า ด้วยศักยภาพที่มีอิทธิพลมาจากรูปแบบการปกครอง เป็นผลสืบเนื่องให้รัฐบาลจีนสามารถสั่งการได้อย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ประการสำคัญคือ การให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการต่อสู้กับโรคร้ายครั้งนี้ แม้ว่าโลกจะยังไม่สามารถประกาศชัยชนะที่มีต่อโรคโควิด-19 ได้ ทว่า การฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันสั้นของจีน ดูจะเป็นการประกาศชัยชนะต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขที่น่าสนใจของเศรษฐกิจจีนเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงไตรมาส 3/2563 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน นี่นับเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้เป็นอย่างดี กระทั่งตัวเลขเศรษฐกิจจีนไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เปิดเผย เศรษฐกิจจีนไตรมาส 4/2563 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2563 เติบโตเกินคาดที่ร้อยละ 2.3 เป็นผลจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังอย่างทันท่วงทีและเห็นผล เห็นได้จากอัตราการขยายตัวของตัวเลขค้าปลีกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกรอบร้อยละ 4.3-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในไตรมาสสุดท้าย และสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมในหลายหมวดหมู่อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเริ่มเห็นการฟื้นฟูได้ดีของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กลับมาได้ดีกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ชี้ให้เห็นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ ที่ขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงไตรมาส 4/2563 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2563 (ก่อนเริ่มกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งในเดือนธันวาคม

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More