Home > Cover Story (Page 59)

เศรษฐกิจจีนโตต่อเนื่อง พินิจแผนฟื้นฟูจีน-ไทยปรับประยุกต์ใช้

โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มาครบ 1 ปี การอุบัติของโรคระบาดส่งผลกระทบในหลายมิติ ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะการหดตัวอย่างรุนแรงในด้านเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่จีน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ทว่า ด้วยศักยภาพที่มีอิทธิพลมาจากรูปแบบการปกครอง เป็นผลสืบเนื่องให้รัฐบาลจีนสามารถสั่งการได้อย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ประการสำคัญคือ การให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการต่อสู้กับโรคร้ายครั้งนี้ แม้ว่าโลกจะยังไม่สามารถประกาศชัยชนะที่มีต่อโรคโควิด-19 ได้ ทว่า การฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันสั้นของจีน ดูจะเป็นการประกาศชัยชนะต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขที่น่าสนใจของเศรษฐกิจจีนเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงไตรมาส 3/2563 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน นี่นับเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้เป็นอย่างดี กระทั่งตัวเลขเศรษฐกิจจีนไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เปิดเผย เศรษฐกิจจีนไตรมาส 4/2563 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2563 เติบโตเกินคาดที่ร้อยละ 2.3 เป็นผลจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังอย่างทันท่วงทีและเห็นผล เห็นได้จากอัตราการขยายตัวของตัวเลขค้าปลีกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกรอบร้อยละ 4.3-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในไตรมาสสุดท้าย และสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมในหลายหมวดหมู่อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเริ่มเห็นการฟื้นฟูได้ดีของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กลับมาได้ดีกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ชี้ให้เห็นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ ที่ขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงไตรมาส 4/2563 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2563 (ก่อนเริ่มกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งในเดือนธันวาคม

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

ศึกพิพาทปิดตลาดสด ห้างยักษ์ทุ่มงบสกัดโควิด

การสั่งปิดตลาดสดในหลายจังหวัดเพื่อสกัดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 หลังเจอต้นตอใหญ่มาจากตลาดกลางกุ้ง และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถูกหลายฝ่ายจุดประเด็นเปรียบเทียบกับกลุ่มร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ กลายเป็นข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลเสียหายต่อประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการขาดรายได้ จนยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 12 ปี เฉลี่ยมากกว่า 480,000 บาทต่อครัวเรือน ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการแพร่เชื้อโควิด-19 เป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อกลุ่มทุนหรือไม่ ใน 3 กรณี คือ กรณีการปิดตลาดนัด กรณีบริษัทเอกชนรายใหญ่ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย และกรณีการนำวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้คนไทยอย่างล่าช้า มีการจัดหาวัคซีนจากจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเจ้าสัว ในกรณีปิดตลาดนัดนั้น นายศรีสุวรรณระบุว่า รัฐเริ่มต้นด้วยการเลือกปิดตลาดนัด ปิดร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อนไม่มีแหล่งขายสินค้า เพื่อหารายได้ แต่รัฐไม่ปิดห้างสรรพสินค้าที่มีระบบแอร์ตลอดเวลาและเป็นสถานที่ปิด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า รวมถึงการปิดบังไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ไม่เปิดเผยชื่อร้านและไม่มีการสั่งปิด ทั้งนี้ ข้อพิพาทระหว่างการปิดตลาดสดกับกลุ่มโมเดิร์นเทรดเกิดการถกเถียงอย่างหนัก เมื่อนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทาง ด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย

Read More

โควิดระบาดยืดเยื้อ ทุนยักษ์แห่เจาะธุรกิจเฮลท์แคร์

ธุรกิจทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพกลับมาร้อนแรง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เคยคาดการณ์จำนวนประชากรราว 1 ใน 10 จากทั่วโลก หรือประมาณ 760 ล้านคน จะติดเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้ ส่วนในประเทศไทย ล่าสุดยอดผู้ป่วยยืนยันทะลุหลักหมื่นคน และกระจายไปมากกว่า 50 จังหวัดแล้ว ขณะเดียวกัน ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เคยประเมินการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยไว้ 3 ฉากทัศน์ ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใดๆ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2564 และจะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน และฉากทัศน์ที่ 3 ใช้มาตรการเข้มข้น เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน นั่นทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสการเติบโตสวนทางธุรกิจอื่นๆ

Read More

ปตท. ดัน OR ลุยตลาดหุ้นวัวดุ ระดม 7 หมื่นล้าน รุกนอนออยล์

ปตท. เดินหน้าดันแผนเสนอขายหุ้นไอพีโอ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ และคาดจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ท่ามกลางปัจจัยลบพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่โผล่ขึ้นทุกวัน ว่ากันว่า ตามแผน OR จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,000 ล้านหุ้น โดยมีกูรูประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท คำนวณราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น และน่าจะสามารถเข้าคำนวณในดัชนี SET50 ได้หลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องยอมรับว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทแม่และ OR พยายามดึงเวลา เพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายตลอดปี 2563 หลังจากยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

Read More

ร้านค้า-อาหารระส่ำหนัก หลัง COVID-19 ระบาดใหม่

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะทวีความหนักหน่วงเพิ่มขึ้น หลังจากที่พบว่ากลไกรัฐมีความบกพร่องในการป้องปรามและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ซึ่งนอกจากจะมีต้นทางมาจากการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของทั้งแรงงานไทยที่เดินทางกลับเข้าประเทศหลังไปทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานต่างชาติที่กลับเข้ามาหนุนนำกลไกเศรษฐกิจแล้ว ล่าสุดยังพบว่าการแพร่ระบาดในลักษณะของการติดเชื้ออย่างเป็นกลุ่มก้อนระลอกใหม่เกิดขึ้นจากการลักลอบเล่นการพนันในบ่อนการพนันผิดกฎหมายในหลายพื้นที่อีกด้วย ข้อน่าสังเกตว่าด้วยความฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ที่มีสังกัดอยู่ในกลไกรัฐ กลายเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบต่อสาธารณชน และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใสและความจริงจังในการนำพาประเทศออกจากวิกฤตโรคระบาดที่กำลังกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางในห้วงเวลาปัจจุบัน เทศกาลแห่งความสุขในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมากลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประหวั่นวิตกของคนไทย ที่ติดตามมาด้วยการชะลอการท่องเที่ยวเดินทางและชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหลากหลาย ที่ส่งผลลบต่อภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เคยคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้หดตัวลดลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ควบคู่กับการติดตามมาตรการของของรัฐว่าจะดำเนินไปในทิศทางแบบใด นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ยังได้รับการประเมินว่าจะทำให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ได้รับความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท และความสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล อาจมีมูลค่ารวมกัน 13,000 ล้านบาท จากการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น โดย สมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยปริมาณสัตว์น้ำสดที่ใช้ในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ ไม่รวมวัตถุดิบนำเข้า การปิดเมืองตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 จึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการผลิตหมวดนี้ไม่น้อย ความพยายามของกลไกรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ศบค. ที่จะเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายของโรคด้วยการจำแนกพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดการ ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ามาตรการ lockdown ที่เชื่อมโยงกับมาตรการเยียวยา

Read More

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More

ลุ้นส่งออกอาหารปี’64 ขยายตัวดี เพิ่มแรงบวกเศรษฐกิจไทย

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย สร้างความหวั่นวิตกให้แก่คนไทยไม่น้อย แม้ภาระหนักในการพยายามควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศคือ เจ้าหน้าที่การแพทย์ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวประชาชนเองที่ยังต้องยกการ์ดสูง ขณะความหวังที่เปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์คือ วัคซีน ที่ขณะนี้หลายประเทศเริ่มฉีดให้ประชาชนที่เป็นด่านหน้าในประเทศของตัวเองแล้ว แน่นอนว่าทั้งปริมาณที่สามารถผลิตออกมาบริการประชาชนได้นั้นจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งวัคซีนจากบางบริษัทยังประสบปัญหาด้านความพร้อมของประสิทธิภาพด้านการรักษา และยังมีผลข้างเคียงตามมาในบางรายที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว การต่อสู้ป้องกันตัวเองของผู้คนต่อโรคร้ายยังคงดำเนินไป ทว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกประเทศพยายามที่จะขับเคลื่อนด้วยกำลังจากเครื่องจักรที่ยังพอจะทำงานได้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยพึ่งพาเม็ดเงินจากต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ไทยในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า “ล้านล้านบาท” การลงทุนของภาคเอกชน แม้ปีที่ผ่านมาจะยังมีการลงทุนเพิ่ม ทว่าเป็นไปในลักษณะการปรับปรุง ซ่อมแซม ตามแผนประจำปี การส่งออก เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แม้ว่าปี 2562 การส่งออกจะติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แต่นั่นเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อมสำคัญอย่างสงครามการค้า และภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลโดยตรง ภาวะโรคระบาดที่ยังคงอยู่ ทำให้ไทยไม่สามารถเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ และการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยเองในห้วงยามนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ นั่นเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลให้กำลังในการจับจ่ายของประชาชนลดลง แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการสนับสนุนด้วยโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แล้วก็ตาม ด้านการลงทุน ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะประสบกับปัญหานี้ไม่ต่างกัน นอกจากเหตุผลด้านโรคระบาดแล้ว ยังมีปัจจัยความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจทำให้เกิดชะลอการลงทุนออกไปก่อน ท้ายที่สุดเราจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก ที่ดูจากสภาวการณ์ปัจจุบันแล้วมีภาษีดีที่สุดที่พอจะมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารแปรรูปเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยตัวเลขการส่งออกอาหารของไทยในปี 2562 อยู่ที่ 1,016,932

Read More