Home > โบราณสถาน

กองทุน ววน. สานพลังกรมศิลปากรเสริมความเข้มแข็งของโบราณสถาน

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผนึกกำลังกรมศิลปากร หารือแนวทางอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วย ววน. มุ่งเป้า ‘รวมกันเพื่อเข้มแข็ง’ และใช้งบประมาณวิจัยอย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงาน ประเทศชาติ และประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของโบราณสถานอย่างแท้จริง รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย น.ส.สตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำคณะนักวิจัยเข้าพบ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อร่วมประชุมหารือการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างทุนทางปัญญาแก่คนไทยในด้านการอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งนี้ สกสว.เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระบบวิจัยของประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมถึงภัยพิบัติและแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อโบราณสถาน ตลอดจนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยในพื้นที่มีบทบาทในการบริการวิชาการ โดยกองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยเชิงกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ชาติผ่าน วช. ขณะที่กรมศิลปากรสามารถขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนฯ ได้โดยตรงเพื่อทำงานตามพันธกิจ ประเด็นที่อยากหารือร่วมกันในครั้งนี้คือ แนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หน่วยงานเจ้าภาพในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการสืบค้นและบูรณะโบราณสถานให้ยั่งยืนต่อไป โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ รวมทั้งการจัดทำระบบเตือนภัยโบราณสถานในด้านต่าง ๆ เพื่อวางแผนเสริมกำลังโครงสร้างโบราณสถานได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนการถ่ายโอนความรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นโครงการนำร่องระหว่างนักวิจัยและกรมศิลปากร

Read More

ทีมมจธ.ต่อยอดข้อมูลดิจิทัลทางวิศวกรรม ติดตามสภาพอุโบสถวัดราชประดิษฐฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร “วันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. 2563” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดแวสดงผลงานทางวิชาการร่วมกับสถาบันภายนอก ในโอกาสนี้คณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้ร่วมถวายรายงานพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราช โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย โครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ขยายผลต่อยอดจากโครงการ “การใช้ฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนในการอนุรักษ์โบราณสถานหรืออาคารโบราณในชุมชน” ภายใต้ชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยคณะวิจัยมุ่งพัฒนากระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดิจิทัล 3 มิติทางวิศวกรรม เพื่อการตรวจสอบสภาพโครงสร้างพื้นฐาน สภาพภูมิประเทศ และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติสำหรับการประเมินโครงสร้างอาคารและโบราณสถาน วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และกระบวนการใช้ข้อมูลดังกล่าวแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกิจกรรมสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติควบคู่กับองค์ความรู้ทางวิศวกรรมสำหรับการประเมินและรักษามรดกทางวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิประเทศเพื่อประเมินผลกระทบทางธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ สำหรับโครงการวิจัยการสำรวจด้วยกล้องสแกนวัตถุสามมิติ

Read More

นักวิจัยจับมือกรมศิลป์-สผ.ใช้เทคโนโลยีสำรวจโบราณสถาน วางแผนอนุรักษ์และสนับสนุนข้อมูลขอขึ้นบัญชีมรดกโลก

นักวิจัยเผยผลสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับกรมศิลปากร และรวบรวมข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการด้านวิศวกรรมทั้งในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพและพนมรุ้ง ร่วมกับ สผ. เพื่อเตรียมเอกสารการขอขึ้นบัญชีมรดกโลก พร้อมขยายเครือข่ายวิจัยสู่ภูมิภาคหวังกระตุ้นการอนุรักษ์โบราณสถานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ระยะที่สอง ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานระยะแรกในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา คณะวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นผนวกกับการวิจัยเชิงลึกอันต่อเนื่องมาดำเนินการวิจัยต่อยอดในโครงการระยะที่สอง ทั้งในพื้นที่โบราณสถานอันเป็นมรดกโลก เพื่อได้ผลการศึกษาเชิงวิศวกรรมที่จำเป็นต่อการวางแผนการอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถาน รวมถึงเพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการขอขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกของประเทศไทย และเป็นแนวทางการศึกษาสำหรับแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ คณะวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานมรดกโลกที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรม รวมถึงการวางแผนร่วมกับอธิบดีกรมศิลปากรและทีมงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาที่มีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะกับพื้นที่ศึกษามรดกโลก พร้อมทั้งวางแผนที่จะทำงานร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรวบรวมข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการด้านวิศวกรรมของแหล่งมรดกโลกที่ต้องจัดเตรียมเอกสารการขอขึ้นทะเบียน เพื่อยื่นต่อองค์การยูเนสโก ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขณะที่คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนำโดย รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลด้านวิศวกรรมของโบราณสถานในรูปแบบดิจิทัล ประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานโดยใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ และรวบรวมวัสดุตัวอย่างจากพื้นที่โบราณสถานต้นแบบภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

Read More

สกสว. หนุนสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ‘วิศวกรรมโบราณสถาน’

นักวิจัยม.ธรรมศาสตร์ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เก็บภาพถ่ายโบราณสถานทางอากาศเพื่อตรวจสอบความเสียหาย พร้อมตรวจวัดหาค่าความถี่ธรรมชาติของตัวโครงสร้างโบราณสถานและริเริ่มกระบวนการสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาคแก่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่การวิจัยเชิงวิศวกรรมโบราณสถาน คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2 ) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม พร้อมด้วยทีมงานจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเชิงวิศวกรรมของโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเข้าสำรวจโบราณที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาข้อมูลและบูรณะซ่อมแซมในอนาคต อันเป็นผลสืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกรมศิลปากร เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานในเขตอุทยานที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการศึกษาวิจัยให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรมต่อไป รศ. ดร.นครระบุว่าการลงพื้นที่วิจัยที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการดำเนินงานหลัก 2 ส่วน คือ การสำรวจเก็บภาพถ่ายโบราณสถานโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และนำภาพถ่ายมาขึ้นแบบจำลองสามมิติ เพื่อตรวจสอบ รายงานผลความเสียหาย และวิเคราะห์โครงสร้าง โดยแปลงเป็นแบบจำลองทางเรขาคณิตหรือเรียกอีกอย่างคือการการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำนายพฤติกรรมของโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การนำโดรนมาใช้กับการตรวจสอบนั้นนอกจากสะดวกต่อการเข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดแล้ว ยังช่วยในด้านการรักษาโบราณสถานที่อาจได้รับความเสียหายระหว่างทำการสำรวจโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ได้ข้อมูลพื้นผิวโครงสร้างที่ครบถ้วน มีองค์ประกอบของสีที่หลากหลาย แก้ไขความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วระหว่างการสำรวจ ช่วยลดต้นทุน

Read More

ทีมวิจัย สกสว. เข้าสำรวจ ‘มรดกโลกสุโขทัย’ เตรียมวางแผนอนุรักษ์พื้นที่เร่งด่วน

สกสว.หนุนทีมวิจัยลงพื้นที่สำรวจเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อวางแผนอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถานที่มีผลกระทบตามความสำคัญเร่งด่วน ทั้งเจดีย์เอียงฐานทรุด และปัญหาการระบายน้ำทำให้น้ำท่วมขัง พร้อมทดสอบวัสดุเดิมและวัสดุทดแทนสำหรับการบูรณะ คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นมรดกโลกสำคัญของประเทศไทย และประชุมร่วมกับนางธาดา สังข์ทอง ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถึงปัญหาสำคัญและพื้นที่วิจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้คณะวิจัยเข้าไปสำรวจและวางแผนอนุรักษ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ นางธาดาระบุว่าจะต้องติดตามสำรวจโบราณสถานอันเป็นมรดกโลกและจัดทำแผนป้องกันการเสื่อมสภาพ เพื่อรายงานต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ทุก ๆ 4 ปี ในเบื้องต้นทางอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีปัญหาเรื่องระบบน้ำและการระบายน้ำ รวมถึงการป้องกันตลิ่งและตระพังต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการออกแบบและขุดในระดับที่ลึกเกินไปทำให้เกิดการพังทลายในช่วงฤดูฝน โดยการระบายน้ำในเขตโบราณสถานที่มีชาวบ้านครอบครองอยู่อาศัยได้มีการถมดินทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้และเกิดการท่วมขัง ซึ่งปัจจุบันพบว่าฐานของโบราณสถานอยู่ต่ำกว่าชั้นดิน ทั้งนี้โบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการบูรณะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยใช้ปูนซีเมนต์เป็นหลักและส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในเวลาต่อมาจึงมีความพยายามที่จะสกัดปูนออกและแทนที่ด้วยปูนหมักเพื่อลดการใช้ซีเมนต์ “งานบูรณะส่วนใหญ่ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเน้นที่การเสริมความมั่นคงเป็นหลัก มากกว่าการขุดค้นเพื่อเก็บข้อมูลทางวิชาการ แต่ปัญหาโครงสร้างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้มีความจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยเหลือ รวมถึงการสำรวจใต้ดินว่ามีวัตถุโบราณล้ำค่าอีกหรือไม่ ซึ่งทางอุทยานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับนักวิจัยอย่างเต็มที่เพราะมีประโยชน์ใหญ่หลวงกับอุทยานฯ” สำหรับพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนคือ วัดมหาธาตุ ซึ่งเจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมเริ่มเอียง แม้ที่ผ่านมาจะมีหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาเก็บข้อมูลการเอียงของเจดีย์ แต่ก็ไม่ได้ส่งข้อมูลกลับมาให้ทางอุทยานฯ

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More

พิบัติภัยธรรมชาติ กับงานวิศวกรรมบูรณะโบราณสถาน

 เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เกิดขึ้น ณ ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงของเนปาลที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม สร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นทำให้อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษ แหล่งโบราณสถานและมรดกโลกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย  โบราณสถานเหล่านี้ทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเยือนเนปาล สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนไม่น้อย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจประเมินค่าได้ ขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็อดกังวลไม่ได้ว่า เหตุการณ์เดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานในประเทศไทยหรือไม่  อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุทกภัย วาตภัย และธรณีพิบัติ สร้างความเสียหายให้กับถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม คณะวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ได้ลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับผู้แทนกรมศิลปากร เพื่อศึกษาร่องรอยการเคลื่อนตัวของโบราณสถาน สาเหตุ และแนวทางการบูรณะซ่อมแซมตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพบร่องรอยความเสียหายของโบราณสถานสำคัญดังนี้ องค์เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จากการสำรวจพบว่า องค์เจดีย์เกิดการทรุดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3.49 เมตร

Read More