Home > รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม

นักวิจัยจับมือกรมศิลป์-สผ.ใช้เทคโนโลยีสำรวจโบราณสถาน วางแผนอนุรักษ์และสนับสนุนข้อมูลขอขึ้นบัญชีมรดกโลก

นักวิจัยเผยผลสำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับกรมศิลปากร และรวบรวมข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการด้านวิศวกรรมทั้งในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพและพนมรุ้ง ร่วมกับ สผ. เพื่อเตรียมเอกสารการขอขึ้นบัญชีมรดกโลก พร้อมขยายเครือข่ายวิจัยสู่ภูมิภาคหวังกระตุ้นการอนุรักษ์โบราณสถานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ระยะที่สอง ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานระยะแรกในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา คณะวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นผนวกกับการวิจัยเชิงลึกอันต่อเนื่องมาดำเนินการวิจัยต่อยอดในโครงการระยะที่สอง ทั้งในพื้นที่โบราณสถานอันเป็นมรดกโลก เพื่อได้ผลการศึกษาเชิงวิศวกรรมที่จำเป็นต่อการวางแผนการอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถาน รวมถึงเพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการขอขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกของประเทศไทย และเป็นแนวทางการศึกษาสำหรับแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ คณะวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานมรดกโลกที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรม รวมถึงการวางแผนร่วมกับอธิบดีกรมศิลปากรและทีมงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาที่มีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะกับพื้นที่ศึกษามรดกโลก พร้อมทั้งวางแผนที่จะทำงานร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรวบรวมข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการด้านวิศวกรรมของแหล่งมรดกโลกที่ต้องจัดเตรียมเอกสารการขอขึ้นทะเบียน เพื่อยื่นต่อองค์การยูเนสโก ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขณะที่คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนำโดย รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลด้านวิศวกรรมของโบราณสถานในรูปแบบดิจิทัล ประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานโดยใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ และรวบรวมวัสดุตัวอย่างจากพื้นที่โบราณสถานต้นแบบภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

Read More

สกสว. หนุนสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ‘วิศวกรรมโบราณสถาน’

นักวิจัยม.ธรรมศาสตร์ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เก็บภาพถ่ายโบราณสถานทางอากาศเพื่อตรวจสอบความเสียหาย พร้อมตรวจวัดหาค่าความถี่ธรรมชาติของตัวโครงสร้างโบราณสถานและริเริ่มกระบวนการสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาคแก่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่การวิจัยเชิงวิศวกรรมโบราณสถาน คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2 ) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม พร้อมด้วยทีมงานจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเชิงวิศวกรรมของโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเข้าสำรวจโบราณที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาข้อมูลและบูรณะซ่อมแซมในอนาคต อันเป็นผลสืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกรมศิลปากร เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานในเขตอุทยานที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการศึกษาวิจัยให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรมต่อไป รศ. ดร.นครระบุว่าการลงพื้นที่วิจัยที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการดำเนินงานหลัก 2 ส่วน คือ การสำรวจเก็บภาพถ่ายโบราณสถานโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และนำภาพถ่ายมาขึ้นแบบจำลองสามมิติ เพื่อตรวจสอบ รายงานผลความเสียหาย และวิเคราะห์โครงสร้าง โดยแปลงเป็นแบบจำลองทางเรขาคณิตหรือเรียกอีกอย่างคือการการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำนายพฤติกรรมของโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การนำโดรนมาใช้กับการตรวจสอบนั้นนอกจากสะดวกต่อการเข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดแล้ว ยังช่วยในด้านการรักษาโบราณสถานที่อาจได้รับความเสียหายระหว่างทำการสำรวจโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ได้ข้อมูลพื้นผิวโครงสร้างที่ครบถ้วน มีองค์ประกอบของสีที่หลากหลาย แก้ไขความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วระหว่างการสำรวจ ช่วยลดต้นทุน

Read More

ทีมวิจัย สกสว. เข้าสำรวจ ‘มรดกโลกสุโขทัย’ เตรียมวางแผนอนุรักษ์พื้นที่เร่งด่วน

สกสว.หนุนทีมวิจัยลงพื้นที่สำรวจเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อวางแผนอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถานที่มีผลกระทบตามความสำคัญเร่งด่วน ทั้งเจดีย์เอียงฐานทรุด และปัญหาการระบายน้ำทำให้น้ำท่วมขัง พร้อมทดสอบวัสดุเดิมและวัสดุทดแทนสำหรับการบูรณะ คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นมรดกโลกสำคัญของประเทศไทย และประชุมร่วมกับนางธาดา สังข์ทอง ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถึงปัญหาสำคัญและพื้นที่วิจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้คณะวิจัยเข้าไปสำรวจและวางแผนอนุรักษ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ นางธาดาระบุว่าจะต้องติดตามสำรวจโบราณสถานอันเป็นมรดกโลกและจัดทำแผนป้องกันการเสื่อมสภาพ เพื่อรายงานต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ทุก ๆ 4 ปี ในเบื้องต้นทางอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีปัญหาเรื่องระบบน้ำและการระบายน้ำ รวมถึงการป้องกันตลิ่งและตระพังต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการออกแบบและขุดในระดับที่ลึกเกินไปทำให้เกิดการพังทลายในช่วงฤดูฝน โดยการระบายน้ำในเขตโบราณสถานที่มีชาวบ้านครอบครองอยู่อาศัยได้มีการถมดินทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้และเกิดการท่วมขัง ซึ่งปัจจุบันพบว่าฐานของโบราณสถานอยู่ต่ำกว่าชั้นดิน ทั้งนี้โบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการบูรณะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยใช้ปูนซีเมนต์เป็นหลักและส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในเวลาต่อมาจึงมีความพยายามที่จะสกัดปูนออกและแทนที่ด้วยปูนหมักเพื่อลดการใช้ซีเมนต์ “งานบูรณะส่วนใหญ่ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเน้นที่การเสริมความมั่นคงเป็นหลัก มากกว่าการขุดค้นเพื่อเก็บข้อมูลทางวิชาการ แต่ปัญหาโครงสร้างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้มีความจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยเหลือ รวมถึงการสำรวจใต้ดินว่ามีวัตถุโบราณล้ำค่าอีกหรือไม่ ซึ่งทางอุทยานฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับนักวิจัยอย่างเต็มที่เพราะมีประโยชน์ใหญ่หลวงกับอุทยานฯ” สำหรับพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนคือ วัดมหาธาตุ ซึ่งเจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมเริ่มเอียง แม้ที่ผ่านมาจะมีหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาเก็บข้อมูลการเอียงของเจดีย์ แต่ก็ไม่ได้ส่งข้อมูลกลับมาให้ทางอุทยานฯ

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More

วสท.ยกระดับมาตรฐานอาคารต้านแผ่นดินไหว ลดภัยพิบัติ-สังคมปลอดภัยจากงานวิจัยสกสว.

วสท.โดยคณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม จัดสัมมนารับกฎกระทรวง และ มยผ.ที่ปรับปรุงใหม่จากข้อมูลงานวิจัย สกสว. หวังสร้างเสริมนวัตกรรมในการออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยมั่นใจ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในภาวะฉุกเฉิน หลังจากมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302-52) ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2552 และได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ หลายครั้ง ส่งผลต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบกับมีข้อมูลแผ่นดินไหวและผลการศึกษาทางธรณีวิทยาเพิ่มเติม กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้มอบหมายให้คณะผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวทำการศึกษาเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และข้อมูลในปัจจุบัน โดยมาตรฐานฉบับใหม่ล่าสุด คือ มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61 ล่าสุด วสท.ได้จัดการอบรม “กฎกระทรวงและมาตรฐาน มยผ. การออกแบบบบบบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่” นำทีมโดย ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. ซึ่งกล่าวว่าการปรับปรุงครั้งนี้มุ่งเน้นวิธีการวิเคราะห์การออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวให้สมบูรณ์มากขึ้นโดยเน้นประเด็นหลักที่สำคัญคือ ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมทั่วประเทศ ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พิจารณาแอ่งดินลึก ข้อกำหนดในการใช้โครงสร้างแบบความเหนียวจำกัด ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผนังอิฐก่อ การออกแบบฐานราก การให้รายละเอียดเหล็กเสริม วิธีการออกแบบโครงสร้างด้วยวิธีสเปกตรัม ผลตอบสนองและการปรับปรุงด้านอื่น ๆ “มาตรฐานวิชาชีพจะต้องปรับปรุงเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ซึ่งคณะวิจัยได้นำประสบการณ์มาทบทวนใหม่ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีมากขึ้น การสำรวจทำให้เราสามารถประเมินการสั่นสะเทือนได้ดีขึ้น และนำมาปรับข้อกำหนดการออกแบบใหม่ นอกจากนี้ผลการวิจัยก็ชี้ว่ามาตรฐานของต่างประเทศไม่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย” ด้าน รศ.

Read More

วัดพระมหาธาตุ จากมรดกไทยสู่มรดกโลก

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวคราวความเคลื่อนไหวในแวดวงมรดกโลกเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่ยูเนสโกประกาศรายชื่อสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกประจำปี 2562 ซึ่งประเทศไทยได้เสนอชื่อกลุ่มป่าแก่งกระจานในการคัดเลือกครั้งนี้ด้วย คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดการประชุมเพื่อคัดเลือกแหล่งมรดกโลกครั้งที่ 43 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน-10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการได้ประกาศรายชื่อมรดกโลกแห่งใหม่ประจำปีทั้งแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติออกสู่สากลรวม 29 แห่ง โดยมี 3 แห่งอยู่ในอาเซียน คือ พุกาม (Bagan) ประเทศเมียนมา, ทุ่งไหหิน สปป. ลาว และเหมืองถ่านหินอมบีลินแห่งซาวะฮ์ลุนโต ประเทศอินโดนีเซีย (Ombilin Coal Mining Heritage of Sawahlunto) รวมถึงอุทยานแห่งชาติวัตนาเยอคูลล์ ประเทศไอซ์แลนด์ (Vatnajökull National Park),

Read More

สกว.-มจธ.โชว์ฐานข้อมูลวิศวกรรมโบราณสถาน หวังไทยเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม

สกว.จับมือ มจธ. จัดกิจกรรมสื่อสัญจรโชว์การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานให้ใกล้เคียงของเดิม และคำนวณได้อย่างแม่นยำ พร้อมจัดทำต้นแบบฐานข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ด้านรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหวังสร้างองค์ความรู้และบุคลากรเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำภูมิภาคในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ‘การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย’ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแถลงถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการใช้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อไปว่ามูลค่าของมรดกวัฒนธรรม ไม่มีระบบการจัดเก็บที่คนสามารถเข้าไปสืบค้นและนำมากล่าวอ้างทางวิชาการได้ สกว. นอกจากช่วยเก็บฐานข้อมูลวิศวกรรมของประเทศแล้วจะช่วยให้กรมศิลปากรและคนทั่วไปสามารถเข้าไปดูข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และจะขยายผลได้อีกต่อไป “แม้ว่าปัจจุบันบิ๊กดาต้าจะมีข้อมูลโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วไปที่สามารถเข้าไปดูได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ช่วยในการบูรณะอย่างถูกต้อง เรามองไปไกลกว่านั้นว่าจะมีบทบาทในกลุ่มภูมิอินโดจีนซึ่งมีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงอยากให้ไทยมีบทบาทนำและใช้ศักยภาพของประเทศในการสร้างเกียรติภูมิ ทั้งนี้สิ่งที่จะทำให้เรามีบทบาทในการเป็นผู้นำหรือจุดศูนย์กลางของภูมิภาคได้นอกจากการมีฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วยังต้องมีคนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำงานกับกรมศิลปากร เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีองค์ความรู้และบุคลากรที่ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพราะการสำรวจ รังวัด ปักหมุดอาจไม่ทันต่อความเจริญของบ้านเมือง จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการประกาศเขตเมืองเก่าและเข้าไปควบคุมดูแลหรืออนุรักษ์ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้นกรมศิลปากรจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นและพยายายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ขณะที่ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่างานวิจัยนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ของการวิจัยและงานด้านโบราณสถานที่ถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเข้ามาศึกษาในหลายมิติ และเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้นำเทคโนโลยีจากงานวิจัยเข้ามาศึกษางานที่มีมานานหลายร้อยปี นอกจากนี้ยังได้ชิ้นงานซึ่งเป็นนวัตกรรมหลายอย่าง

Read More