Home > research (Page 3)

ค่าเช่าออฟฟิศในกรุงเทพฯ ทำสถิติสูงสุด

จากการสำรวจตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครโดยแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก พบว่า ในไตรมาส 1 ปี 2561 ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานระดับเกรดเอในย่านใจกลางธุรกิจหรือซีบีดีของกรุงเทพฯ ปรับตัวสูงขึ้น 3.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน สร้างสถิติค่าเช่าที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาประวัติศาสตร์และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเช่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานระดับเกรดเอในย่านซีบีดีอยู่ในระดับต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตารางเมตรเล็กน้อย และจากรายงานฉบับล่าสุดเรื่องตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ของแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า เกษร ทาวเวอร์ สร้างสถิติค่าเช่าสูงที่สุดคือ 1,500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ด้านปริมาณการใช้พื้นที่สำนักงานในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 65,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นถึง 15.1% ต่อปี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอาคารสำนักงานที่เจ้าของใช้พื้นที่เองได้สร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ กรุงศรี เพลินจิต ทาวเวอร์ บนถนนเพลินจิต และอาคารแห่งใหม่ของไทยรัฐ บนถนนวิภาวดี ขณะที่อัตราพื้นที่ว่างโดยรวมทั้งตลาดลดลงเหลือเพียง 7.3% และเป็นที่คาดว่าจะคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องไปอีก 3 - 4 ปี สำหรับพื้นที่สำนักงานใหม่ ปัจจุบันมีพื้นที่ราว 750,000 ตารางเมตรที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

Read More

ก้าวใหม่ของนักวิจัยไทย ปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เป็นยา

  สตรอว์เบอร์รี่ นับเป็นผลไม้เมืองหนาวที่คนไทยนิยมบริโภค แม้ว่าในปัจจุบันจะมีสตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ต่างๆ มากมายให้เลือก แต่พันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดน่าจะเป็น “สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80”  แม้จะมีกลิ่นหอม รสชาติหวาน สีและรูปทรงที่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของไทย แต่ข้อด้อยบางประการของสตรอว์เบอร์รี่ของไทยนั้น คือ มีสารแอนโทไซยานินน้อย ผิวบาง ช้ำเสียง่าย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่ง ครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญยิ่งของนักวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีโครงการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไซยานิน และการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ซึ่งหากงานวิจัยครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ จะทำให้ได้สตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงขึ้น เป็นประโยชน์ทางโภชนาการต่อผู้บริโภค  กระนั้นนักวิจัยกลุ่มนี้ ซึ่งนำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เคยประสบความสำเร็จจากงานวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80 แบบไร้ไวรัสสำเร็จเป็นแห่งแรกของไทย เมื่อปี พ.ศ.2558 ซึ่งในครั้งนั้นใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมานานกว่า 2 ปี และผลงานวิจัยในครั้งนั้น ทำให้คณะวิจัยได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตในปริมาณมากอีกทั้งยังปราศจากการเข้าทำลายของโรค ซึ่งการประสบความสำเร็จเพียงเรื่องเดียวก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าดีพอ เมื่อหมุดหมายใหม่ของนักวิจัยคณะนี้ นับเป็นย่างก้าวที่สำคัญ และทวีความยากในงานวิจัยมากขึ้นหลายเท่าตัว  กับโจทย์ใหม่ที่ว่า ทำอย่างไรให้สตรอว์เบอร์รี่มีคุณประโยชน์สูง รับประทานเป็นยามากกว่าแค่กินเป็นผลไม้  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) จึงได้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไซยานินและการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Read More