Home > วิจัย

กสว. ย้ำสร้างทีมไทยแลนด์เข็นวิจัยเสริมแกร่งเอกชน พร้อมหนุนการทำงานร่วมกับนาซ่าและธนาคารโลก

กสว. หนุนตั้ง ‘ทีมไทยแลนด์’ เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมสร้างกำลังคนเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต รวมถึงการสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกับนาซ่าและธนาคารโลกเพื่อขับเคลื่อน ววน. สู่การพัฒนาประเทศ ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวาระสำคัญ เช่น การติดตามประเมินผลว่าตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และอาจตั้ง “ทีมไทยแลนด์” เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนต่าง ๆ ต้องเห็นภาพเชิงระบบของประเด็นที่ขับเคลื่อนเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและระบบราง ทั้งการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน ความก้าวหน้าและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ความต้องการลงทุนร่วมของภาคเอกชน นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาอนุมัติการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญของแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากลแข่งขันได้ และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน ในแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งทำงานเพื่อปิดช่องว่างในการสร้างคนและเครือข่าย รวมถึงการนำความรู้เทคโนโลยีต่างประเทศมาใช้หรือการถ่ายทอดและต่อยอดเทคโนโลยีที่จะต้องทำงานแบบทีมไทยแลนด์เช่นกัน พร้อมทั้งอาจต้องพิจารณาการสร้างกำลังคนในภาคอุดมศึกษาที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) อาจต้องพิจารณาสนับสนุนการสร้างนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกควบคู่กันไปกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ที่รับผิดชอบด้านการผลิตกำลังคนในระดับอุดมศึกษา โดยอาจปรับเปลี่ยนหลักสูตรในระบบวิศวกรรมให้ตอบโจทย์เชิงประเด็นมากขึ้น เช่น วิศวกรรมไฟฟ้าระบบราง ฟิสิกส์ระบบราง และสาขาที่ขาดแคลนอื่น

Read More

นักวิจัยแนะระบบการจัดการน้ำท่วมของรัฐ ควบคู่กับการวิจัยตามหลักวิศวกรรมศาสตร์

รศ. ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนักวิจัยสังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์ฝนในปีนี้ของประเทศไทยว่ามีฝนตกเร็วในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นสภาพฝนลดลงและฝนมาตกมากอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำภายใต้ดีเปรสชั่นโกเชิน ตามด้วยดีเปรสชั่นเตี้ยนหมูในช่วงปลายเดือนกันยายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรวดเร็วเฉพาะพื้นที่ เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อ่างทอง สระบุรี อยุธยา และขึ้นเหนือด้วยอิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้ไปยังพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ทำให้เกิดฝนตกหนักและภาวะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ต่ำ ริมน้ำและนอกคัน โดยภาวะน้ำท่วมยังดำรงอยู่อีกระยะหนึ่ง จากน้ำท่าที่ตกด้านเหนือน้ำที่จะไหลลงมาสมทบอีก สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ตามโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำปรกติ ประกอบด้วย โครงสร้าง กฎกติกาการจัดการ รวมถึงการเตือนภัย การเผชิญภัยเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและลดความเสียหาย และการพัฒนาความสามารถในการรับมือ ซึ่งที่ผ่านมามักเน้นพัฒนาโครงสร้างเพื่อบรรเทาภาวะน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลายาวนานกว่าโครงการก่อสร้างจะสามารดำเนินการสร้างได้เสร็จ ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำของไทยในช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงขึ้นมาก โดยก่อนมหาอุทกภัย 2554 มีการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่และเฉพาะหน้าจากประสบการณ์ที่มีอยู่

Read More

สกสว. จับมือ 7 พีเอ็มยู หน่วยงาน ววน. ชูผลงานเด่น รมว.อว. ชูนโยบายไทยพ้นกับดักความยากจนได้ด้วยวิจัย

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ที่ผ่านมา สกสว.สนับสนุนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยทำหน้าที่ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนจัดสรรทุนงบประมาณการวิจัยกระจายไปสู่หน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคมไทย ในวันนี้ สกสว. จึงจัดงาน “แถลงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เพื่อแถลงผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยคัดเลือกโครงการที่มีผลกระทบต่อประเทศมาหน่วยงานละ 1 ผลงาน รวม 7 ผลงาน ภายใต้แนวคิด “การขจัดปัญหาความยากจน บีซีจีโมเดล และโควิด 19” โดยซึ่งในปี 2563 - 2564 กองทุน ววน.

Read More

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสร้างนวัตกรรมสีเขียว วิเคราะห์ทางเคมีจากภูมิปัญญาบรรพชนฝาง

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ม.เชียงใหม่ พัฒนาภูมิปัญญามากกว่า 100 ปีของบรรพชนชาวฝางสู่ “นวัตกรรมสีเขียว” ในการวิเคราะห์ทางเคมี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดตัวอย่างการใช้จริง รวมถึงใช้ในการศึกษาแนวใหม่-ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ ศ.ดร. เกตุ กรุดพันธ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตนได้ริเริ่มพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ ซึ่งบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย “Local issues- Global impact- Sustainable world” มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 100 ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี ดร.กนกวรรณ คิวฝอ เข้าร่วมพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ และขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

Read More

มช. มุ่งพัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล

สกสว.หนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์จากพืชหอมประจำถิ่น ว่านเสน่ห์จันทร์หอมและตะไคร้ภูเขา หวังยกระดับมาตรฐานสากล ตามแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตของโลกและของประเทศ มีมูลค่าการตลาดสูงเป็นอันดับ 4 รองจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 15.6 จากรายได้การท่องเที่ยวทั้งหมด คณะวิจัยจึงได้ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำให้ได้ชุดความรู้ใหม่และข้อมูลการวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย และร่างแนวทางการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่สามารถนำไปบริหารจัดการโครงการวิจัยให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมาย พร้อมกับผลักดันสู่กระบวนการกำหนดนโยบายที่มีความเหมาะสม เช่น การส่งเสริมด้านกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือ การผลักดันระบบสาธารณะที่เกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น หรือระดับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเข้าสู่กระบวนการวิจัยในชุมชนและพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ขยายผลต่อผู้ประกอบการกีฬาและสปาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืน ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น หัวหน้าโครงการการพัฒนาสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระบุว่าการให้บริการสปาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More

งานต้นแบบวิจัยสู่นโยบายพาณิชย์ ใช้นวัตกรรมเคลือบผ้าไหมให้คงรูป-ลดขุย

ผู้ประกอบการสุดปลื้มหลัง ส.ส.และเจ้าหน้าที่รัฐสภาชื่นชมผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหน้ากากผ้าไหมแท้ร่วมโชว์ที่รัฐสภา โดย สกสว. ได้เชื่อมโยงพลังการพัฒนานวัตกรรมจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำกับหน่วยงานนโยบายด้านพาณิชย์ พร้อมนำ ‘คีแตม’ สารสกัดจากเมล็ดมะขามเหลือทิ้งและไคโตซานจากเปลือกกุ้งมาเคลือบผ้าไหมให้คงรูป แข็งแรงทนทานและไม่เป็นขุย หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแสดงผลงานหัตถศิลป์ชุมชนภายใต้แบรนด์ “ไผท” ในงานนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ซึ่งจัดโดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย น.ส.ชลีทิพย์ ทิพเนตร กรรมการผู้จัดการบริษัท บรรจงศิลป์ไทย จำกัด และบริษัทเกรซ ออฟฟีเชี่ยล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าไหมแท้ทอมือสีธรรมชาติและกระเป๋าถือดีไซน์ต่าง ๆ ได้รับความสนใจและชื่นชมจากสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐสภาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสีสันและการออกแบบที่สวยงามทันสมัย โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามถึงการช่วยเหลือชุมชนและการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข ชื่นชมที่มีการผลักดันและช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน รวมถึง ส.ส.นครศรีธรรมราชที่จะร่วมสนับสนุนด้านการพัฒนาชุมชน ทั้งนี้ น.ส.ชลีทิพย์เป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการเชื่อมโยงงานวิจัยภับภาคนโยบายพาณิชย์ ของสำนักประสานงานโครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคนโยบาย

Read More

กสว. ยินดีเปิดรับโจทย์วิจัยแก้ปัญหาประเทศ ไก่โคราช-เกษตรแม่นยำลุยขยายเครือขาย

ประธานบอร์ด กสว. พร้อมเปิดรับโจทย์วิจัยจากสภานิติบัญญัติและทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศ มั่นใจมีผลงานคุ้มค่าการลงทุน ไม่ขึ้นหิ้ง ด้าน มทส.จับมือเบทาโกรขยายตลาดทั้งในห้างและส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในส.ป.ป.ลาวและกัมพูชา ขณะที่รมว.สธ.-ส.ส.ลำพูนแนะทีมเกษตรแม่นยำขยายเครือข่ายและประยุกต์ใช้งานระบบเซ็นเซอร์ทางเคมีในพื้นที่เพิ่มเติม ศ. นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดงานนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย นับเป็นการตอบโจทย์ภาคประชาชนและภาคนโยบายผ่านงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของประเทศและงานวิจัยที่สามารถนำไปกำหนดนโยบาย โดยมีหน่วยบริหารจัดการทุนเป็นหน่วยผลิตผลงานวิจัย เพื่อลดคำวิจารณ์ ‘งานวิจัยขึ้นหิ้ง’ และลดความซ้ำซ้อนของการสนับสนุนทุนวิจัย โดยพยายามที่จะตอบโจทย์ของทุกภาคส่วน เช่น ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) การต่อยอดและย่อยงานวิจัยให้เข้าใจง่าย เช่น คู่มือเทคนิคการปลูกลำไยนอกฤดู และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ “สกสว.เป็นแหล่งรับโจทย์วิจัยจากฝ่ายต่าง ๆ กระจายสู่หน่วยบริหารจัดการทุน และนำงานวิจัยพร้อมใช้มาขยายผลต่อยอดผ่าน ส.ส. ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนและรู้ถึงปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี ดังนั้นหากมีปัญหาใดทางเราพร้อมที่จะนำมาเป็นโจทย์วิจัย

Read More

ประธานรัฐสภาสนใจนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ในงานนิทรรศการใช้ประโยชน์ที่รัฐสภา

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อม ส.ส. และเจ้าหน้าที่รัฐสภา ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ประธานรัฐสภาให้ความสนใจการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ โดยสอบถามถึงจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมและประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ ซึ่งนายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ในฐานะหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัย “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร” รายงานว่าเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้าใจภาพรวมของระบบน้ำในชุมชนตนเอง โดยศึกษารูปแบบและกลไกสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ผลผลิตและผลกระทบตามที่ตั้งไว้ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกับพื้นที่นำร่อง 10 ตำบล 4 อำเภอ ซึ่งคณะวิจัยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินกิจกรรมในชุมชนโดยเริ่มจากการพัฒนาผู้นำในพื้นที่ให้มีความเข้าใจ ร่วมจัดทำประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบน้ำในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจพื้นที่แหล่งน้ำที่มี การจัดทำตารางการเพาะปลูกพืชในรอบปี บนทางเลือกพืชที่เพาะปลูกต่าง ๆ ตามปริมาณน้ำแต่ละปี จัดทำแผนผังชุมชนซึ่งแสดงผังเกษตร ผังน้ำ

Read More

ลอรีอัล เปิดรับสมัครชิงทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 18 ส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์สตรีไทยต่อเนื่อง

ลอรีอัล เปิดรับสมัครชิงทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 18 ส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์สตรีไทยต่อเนื่อง แม้ในสถานการณ์โควิด-19 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าโครงการ “ทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 18 ประจำปี 2563 โดยการสนับสนุนของยูเนสโก กรุงเทพฯ ประกาศเปิดรับสมัครนักวิจัยสตรีเพื่อชิงทุนวิจัยประจำปี 2563 “ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” มอบทุนวิจัยละ 250,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ผู้สมัครต้องเป็นสตรี อายุไม่เกิน 40 ปี เป็นเจ้าของงานวิจัยอิสระใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยมอบทุนสูงสุดจำนวน 5 ทุน นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย กล่าวว่า “วิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคย โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19

Read More

สกสว.อุ้มชาวสวนฝ่าวิกฤตโควิต-19 ส่งมะม่วงทางเรือไปญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

สกสว.หนุนนักวิจัยจากม.นเรศวรช่วยชาวสวนที่เดือดร้อนประสบปัญหาขาดทุน มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองราคาตกและส่งออกทางเครื่องบินไม่ได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วยการส่งออกทางเรือไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นตลาดพรีเมี่ยม พร้อมจัดอบรมออนไลน์และประสานงานผู้ส่งออกให้ฟรี ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้มีผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองออกมาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อต้องเผชิญวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถส่งออกมะม่วงไปประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นตลาดพรีเมียมที่สำคัญ และทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยอย่างมากทุกปี เนื่องจากมีสายการบินพาณิชย์ให้บริการจำนวนน้อย แต่มีค่าระวางเครื่องบินราคาแพง โดยขณะนี้ผลผลิตมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน ส่วนราคาขายภายในประเทศต่ำกว่ากิโลกรัมละ 20 บาท จากราคาปกติกิโลกรัมละ 50-60 บาท ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนประสบปัญหาขาดทุนอย่างมาก จากผลงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกตลาดประเทศญี่ปุ่นโดยการขนส่งทางเรือเชิงพาณิชย์” ภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้าจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผศ. ดร.พีระศักดิ์และคณะวิจัยพบว่าเทคนิคการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในสภาพดัดแปลงบรรยากาศ โดยการบรรจุถุงพลาสติก WEB (White ethylene absorbing bag) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้เป็นระยะเวลา 33 วัน จากเดิมที่เก็บรักษามะม่วงได้เพียง 15 วัน โดยถุงพลาสติก

Read More