Home > โบราณคดี

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก-แหล่งโบราณคดีปางมะผ้า ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์แห่งแม่ฮ่องสอน

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ทีมนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา นำโดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ร่วมกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีตามถ้ำและเพิงผาต่างๆ ที่กระจายอยู่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนค้นพบหลักฐานสำคัญที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน “แม่ฮ่องสอน” เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำเกือบที่สุดของประเทศ และถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยาก การสัญจรไปมาลำบาก ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลับพบว่าแม่ฮ่องสอนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่เน้นให้การศึกษามีลักษณะของการสืบค้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นฐานความรู้ในการพึ่งตนเอง และเพื่อสร้างอำนาจให้กับท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ ทำให้ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ขึ้นอย่างมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีมากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความรุ่มรวยทั้งมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับจังหวัดได้ “โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” งานวิจัยเชิงพื้นที่ระยะยาวที่บูรณาการศาสตร์ของโบราณคดี มานุษยวิทยา สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน อันมี ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

นักวิจัยพบจิ๊กซอว์สำคัญของพุกามที่หายไปกว่า 120 ปี

นักวิจัยไทยค้นพบจิ๊กซอว์สำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีที่หายไปจากเมืองมรดกโลกพุกามกว่า 120 ปี ด้วยการวิจัยแบบบูรณาการผสานศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมจับมือกรมโบราณคดีเมียนมาพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยไทยนำโดย ศ.ดร.​เสมอชัย​ พูลสุวรรณ​ เมธีวิจัยอาวุโส​ สกว.​ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เพื่อนำองค์ความรู้หัวข้อ "กู่พญาเต่งมาซีและจิตรกรรมฝาผนัง: การหายไปและการฟื้นฟูความรู้ใหม่อีกครา" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “พระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)” คืนกลับไปยังดินแดนพุกาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายการคุ้มครองป้องกันและการพัฒนามรดกวัฒนธรรมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง​ ประจำปี 2562​ ณ​ เมืองโบราณพุกาม “เมืองพุกาม” เป็นเมืองโบราณที่เลื่องชื่อด้วยมีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาทั้งเจดีย์และกู่พญาซึ่งมีหน้าที่เป็นวิหารอยู่ในอาคารหลังเดียวกันที่มีอยู่จำนวนมากมายหลายพันองค์จนได้รับสมญาเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาจิตรกรรมฝาผนังของกู่พญาเต่งมาซีได้ถูกลักลอบตัดออกจากแหล่งโดยนักแสวงโชค​นามว่า​ ‘โธมัน’​ คณะวิจัยได้สร้างสมมติฐานถึงแบบแผนของจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว​ โดยบูรณาการกับการสำรวจรังวัดตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี​เลเซอร์สแกนเนอร์สามมิติ​ รวมถึงตรวจทานจารึกภาษาพม่าโบราณ​ที่เขียนกำกับไว้ โดยทำงานร่วมกับนักวิชาการอาวุโสด้านโบราณคดีและจารึกพม่า​จากกรมโบราณคดีเมียนมา​ ร่วมกับการสอบทานกับพระไตรปิฎก​และคัมภีร์พระพุทธศาสนาต่าง ๆ อีกทั้งสอบทวนภาพถ่ายฟิล์มกระจกที่โธมันถ่ายไว้​และตีพิมพ์ลงในหนังสือเกี่ยวกับพุกามด้วยอากาศยานไร้คนขับ​เพื่อสร้างหุ่นจำลองภาพหมอกจุดรูปทรงภายนอกของตัวอาคาร​ พร้อมกันนี้นักวิจัยได้ประสานงานเข้าไปศึกษาคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ​ของพิพิธภัณฑ์​ชาติพันธุ์วิทยาแห่งนครฮัมบูร์ก​ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีไว้และเอกสาร​ที่เกี่ยวเนื่อง​จากงานจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์​ ผลลัพธ์​ของการวิจัยนำมาซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจต่อบริบททางสังคม​ วัฒนธรรม​ การเมือง​ที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา​ในช่วงภายหลังหัวเลี้ยวหัวต่อจากการปฏิรูปศาสนาสำนักมหาวิหารในลังกาเมื่อราวพันกว่าปีที่แล้ว​ ซึ่งกลายเป็นแบบแผนของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาคสนามขั้นต้นเรื่อง​

Read More