Home > มหาวิทยาลัยศิลปากร

ม.ศิลปากร โชว์ผลงาน ‘ศิลปะฝาท่อสาธารณูปโภค’ หวังส่งเสริมทัศนียภาพสุนทรีย์ เยาวราช-เจริญกรุง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดเผยผลงานล่าสุด “ศิลปะบนฝาท่อสาธารณูปโภค” เพื่อเผยแพร่แผนที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ด้วยแนวคิดในการใช้กิจกรรมและงานสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นสื่อเผยแพร่อัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน รวมถึงส่งเสริมทัศนะสุนทรีย์เมืองเก่าย่านเยาวราช-เจริญกรุง รองศาสตราจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากโครงการวิจัย “การออกแบบประติมากรรมบนที่สาธารณะกับการมีส่วนร่วมของชุมชน” ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ศิลปะกราฟิตี้ รั้วกั้นทางเดินริมน้ำ และฝาท่อระบายน้ำ โดยกองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้นำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้ และเป็นแนวทางการออกแบบเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองโอ่งอ่าง และโครงการศิลปะชุมชนกิจกรรมแต้มสี กรุงเทพฯ ปี 2561 นั้น แผนที่แสดงแนวทางการวางตำแหน่งฝาท่อ ล่าสุดนักวิจัยได้ร่วมกันออกแบบฝาท่อสาธารณูปโภคภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช” ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ในย่านเยาวราช-เจริญกรุง เพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะใช้งานศิลปะและการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในย่านชุมชนที่นำไปสู่การสร้างหมุดหมายบนแผนที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งผลลัพธ์ของการสำรวจพื้นที่และการทำงานร่วมกับนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ข้อสรุปเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมจะพัฒนาให้เกิดฝาท่อที่มีความเป็นศิลปะ โดยการออกแบบสื่อถึงโบราณสถาน อาคาร ร้านค้า สถานที่อันเป็นที่มาของชื่อย่าน และสาธารณูปโภคที่มีขึ้นครั้งแรกของกรุงเทพมหานคร รวมถึงอัตลักษณ์ด้านการค้าของย่านเยาวราช “ในการออกแบบเราได้สร้างภาพที่มีลักษณะกราฟิก เพื่อให้ผู้ชมจดจำได้ง่าย โดยคำนึงว่าต้องสื่อถึงที่มาได้โดยตรง และเชื่อมโยงไปสู่ความหมายและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ฝาท่อที่ออกแบบมาชุดนี้ ตัวอย่างเช่น

Read More

ภาคีจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์-โคมไฟ สืบสานวิถีเยาวราชส่งต่อคนรุ่นใหม่

ภาคีวัฒนธรรมชี้อัตลักษณ์ย่านเยาวราชสูงค่า ร่วมถ่ายทอดแก่นแท้ของเทศกาลไหว้พระจันทร์และองค์ความรู้ในพื้นที่อย่างเหมาะสม หากลวิธีส่งต่อให้คนรุ่นใหม่สืบสานพื้นที่วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและสีสันที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว โครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับชุมชนเลื่อนฤทธิ์ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช จัดกิจกรรม “Moon Festival” ไหว้พระจันทร์ วันดูโคม ชมศิลปะ ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถ.เยาวราช พร้อมจัดเสวนา “คุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด, ประเพณีจีนในสังคมไทย” ศ. ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ ผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์มีความสำคัญรองมาจากเทศกาลตรุษจีน นักวิจัยใช้พื้นที่ของชุมชนและเทศกาลเป็นตัวเชื่อมคนภายในกับคนภายนอกให้มองเข้ามาในพื้นที่เยาวราชซึ่งยังคงรักษาประเพณีไว้ โดยมีอีกตัวเชื่อมหนึ่งคือ “โคมไฟ” อันเป็นสัญลักษณ์การไหว้พระจันทร์ในอดีต เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ แนวคิดเรื่องคุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด โดยมองว่าวัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราจะปรับเปลี่ยนและอยู่กับวัฒนธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร การถ่ายทอดประเพณีไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งค้นหากลไกแนวทางจัดการศิลปะของชุมชน และสร้างเวทีพบปะสังสรรค์ทางความคิด โดยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชนเป็นภาคีสำคัญ ด้านนายไพศาล หทัยบวรพงษ์ ผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมจีน เผยว่า ในฐานะลูกหลานจีนรุ่นที่ 3 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเทศกาลไหว้พระจันทร์ในประเทศไทยที่นับวันเลือนหายไป ในขณะที่ช่วงเดินทางไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่เมืองซัวเถา

Read More

สายครีเอทีฟถูกใจสิ่งนี้!! “ไปรษณีย์ไทย” ชี้เป้าสินค้าเด็ดตลาดนัดออนไลน์จากศิลปากร แหล่งรวมสินค้าสร้างสรรค์สุดยูนิค

กลุ่มเฟซบุ๊ก “ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆ” จากความตั้งใจที่ต้องการให้ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้เจอกัน จนกลายเป็นตลาดนัดออนไลน์ หรือ Market place ทำให้พ่อค้า แม่ค้า สามารถหารายได้ในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่กลุ่มเฟซบุ๊กชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาว ๆ นั้น เต็มไปด้วยสินค้าซ่อนกลิ่นอายความอาร์ตและคูลตามแบบฉบับเด็กศิลปากร สินค้าจำนวนไม่น้อยมีเพียงแค่ชิ้นเดียวในโลก กลุ่ม เฟซบุ๊กนี้จึงเป็นเหมือนตลาดสำหรับคนรักงานคราฟท์ และสินค้าที่มีความเฉพาะตัว นายกิตติพัฒน์ ปราการรัตน อดีตนายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะผู้ดูแล และผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก “ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆ” เล่าว่า “ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาว ๆ ” เป็นประโยคที่ล้อมาจาก “ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว” ซึ่งเป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเป้าหมายในช่วงแรกเพื่อเน้นการอุดหนุนสินค้าพี่น้องร่วมสถาบันเท่านั้น แต่จากการพูดคุยหลายคนได้รับผลกระทบของ COVID-19 หลายคน จึงเริ่มเปิดให้คนภายนอกสามารถสั่งสินค้าจากโพสต์ต่าง ๆ ของเด็กศิลปากรได้ โดยมีกฎสำคัญ คือ “ห้ามดราม่า” และเพื่อไม่ให้พลาดสินค้าน่าCFวันนี้เราเลยจากชี้เป้าร้านเด็ดร้านดัง ที่เรียกว่ามียอดไลค์ ยอดคอมเม้นแบบนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นของตกแต่ง

Read More

ประติมากรรมฝาท่อระบายน้ำ ศิลปะสุดชิคปรับโฉมกรุงเทพฯ

แนวคิดที่ว่าประติมากรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองและช่วยให้เมืองมีความงดงาม เป็นแนวคิดทางศิลปะและการจัดผังเมืองที่สังคมไทยได้อิทธิพลจากตะวันตก ในระยะแรกประติมากรรมบนที่สาธารณะของเมืองเกิดขึ้นโดยการจัดการของรัฐ ซึ่งมีการเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสม และโครงการมักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดผังเมือง เช่น ตั้งอยู่บนลานพระราชวัง หรือตั้งบนแยกถนนที่ตัดขึ้นใหม่ งานประติมากรรมสาธารณะในช่วงเริ่มต้นของไทยมักเป็นอนุสาวรีย์หรือเป็นส่วนประดับสะพาน น้ำพุ หรืออาจเป็นส่วนประดับอาคารของราชการ การจัดการอย่างชัดเจนในระยะแรก ๆ โดยรัฐ ทำให้ประติมากรรมบนที่สาธารณะมีทางสุนทรีย์ และสื่อความหมายของผลงานถึงสาธารณชนได้ดี ทั้งยังเป็นหมุดหมายที่ส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมือง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็ว การจัดการเมืองไม่ทันต่อสถานการณ์ได้ทำลายทัศนียภาพของเมืองที่เคยงดงามในอดีต การขยายถนนได้รื้อทำลายสะพานซึ่งมีอายุกว่า 100 ปีลงมาก งานศิลปกรรมประดับตกแต่งสะพานรวมไปถึงน้ำพุประดับตามแยกถนนสายสำคัญจึงถูกรื้อทำลายลงด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีความแออัด การจัดสรรพื้นที่ในเมืองให้เป็นที่สาธารณะใหม่ขึ้น เช่น ลานคนเมือง จัตุรัสเมือง หรือสวนหย่อมทำได้ยาก สภาพเมืองปัจจุบันจึงไม่เอื้ออำนวยต่อโครงงานประติมากรรมบนที่สาธารณะเช่นในอดีต กรุงเทพมหานครมีแนวคิดและความพยายามแทรกงานศิลปะลงบนพื้นที่เมือง โดยริเริ่มโครงการติดตั้งงานประติมากรรมถาวรตามจุดตัดของถนนหลายแห่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่เหมาะสมให้แก่ผลงานประติมากรรม ผลงานบางชิ้นถูกรื้อทิ้งเมื่อมีการปรับปรุงผิวจราจร บางชิ้นถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแล กรุงเทพมหานครจึงมักเลือกสวนสาธารณะเป็นที่ติดตั้งโครงการประติมากรรม แต่ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้พื้นที่ชุมชนและภูมิทัศน์ของเมืองมีทัศนียภาพโดยรวมที่ดีขึ้นมากนัก ปัจจุบันมีภาคธุรกิจ องค์กร และเอกชนหลายรายนำประติมากรรมมาติดตั้งหน้าอาคารสำนักงานของตัวเอง ช่วยสร้างทัศนียภาพของเมืองให้งดงามไปพร้อมกับการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงธุรกิจขององค์กร เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการเหล่านี้มักเกิดในย่านธุรกิจสำคัญบนพื้นที่ ซึ่งเจ้าของเป็นผู้ดูแลรักษาให้งานประติมากรรมอยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ส่วนในย่านชุมชนที่มีงานประติมากรรมติดตั้ง หากไม่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการมักขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ ทำให้ผลงานเหล่านั้นเสื่อมโทรมในเวลาไม่นานและมักถูกรื้อถอนไป ผลลัพธ์ของการจัดการที่ผ่านมาชี้ชัดว่าการจัดการทัศนียภาพของเมืองขนาดมหานครโดยรัฐฝ่ายเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมืองให้งดงามขึ้นจึงต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย โครงการประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะที่จะประสบผลสำเร็จต้องการการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และชุมชน ฝ่ายมนุษยศาสตร์

Read More

งานวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2558 “123 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี”

 มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมศิลปากร สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร และสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2558 “123 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 09.00 น. ณ ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ การจัดงานประกอบด้วยการตักบาตร การวางช่อดอกไม้ การแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 20 ประจำปี 2558 โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศิลปิน นักประพันธ์ นักวิจารณ์ศิลปะ หัวข้อ “สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ สู่กลิ่นสีแดนหิมวันต์” การเสวนาเล่าเรื่อง “72 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร กับวังถนนหน้าพระลาน” โดยนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร การฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพยนตร์สั้น

Read More