Home > Education

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

Limited Education แก้ปัญหาผ่านแบรนด์ เปลี่ยนการศึกษาไทยให้เป็นของ (ไม่) ลิมิเต็ด

เสื้อยืดสีขาวที่มีตัวอักษรโย้เย้สะกดชื่อแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่บนตัวเสื้อ หรือ ป้าย “ขนมปังเนยโสด” ที่อยู่บนกล่องขนมปังเนยสดของร้านขนมหวานชื่อดังอย่าง After You คงเคยผ่านตาของใครหลายคน แม้มุมหนึ่งอาจจะดูน่ารัก ดึงดูดความสนใจ ประหนึ่งการตลาดรูปแบบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายใต้ตัวอักษรเหล่านั้นกำลังสะท้อนความจริงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่โดยส่วนมากมักนึกถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นหลัก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นปัญหาที่เห็นภาพเด่นชัดในสังคมไทย ทว่าช่องว่างของรายได้และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื้อรังที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตัวอักษรโย้เย้และคำสะกดผิดที่อยู่บนเสื้อยืดสีขาวและกล่องขนมข้างต้น คือหนึ่งในความพยายามที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านโครงการ “Limited Education” ที่เป็นดั่งพื้นที่รวบรวมสินค้า Limited Edition จากแบรนด์ดังต่างๆ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยเชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยจะลดลงได้ เมื่อเกิดพื้นที่แห่งความร่วมมือจากทุกคน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ อุดหนุน และส่งต่อประเด็นปัญหา ผ่านสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษโดยใช้คำที่สะกดผิดจากลายมือจริงของเด็ก ที่ดูผ่านๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นลายมือของเด็กประถม แต่แท้ที่จริงแล้วทุกตัวอักษรและทุกข้อความที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เป็นฝีมือของเด็กระดับมัธยมต้น ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น “จากสถิติปี 2563 เราพบว่า

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

8 ภาคี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประชุมเตรียมจัดงาน ครบรอบ 10 ปี ชูประเด็นประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดย รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสต์น้อย ประเทศไทย เป็นประธานประชุมเตรียมจัด “งานสัมมนาวิชาการครบรอบ 10 ปี บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน” โดยมีตัวแทนของหน่วยงานภาคีแต่ละเครือข่ายเข้าร่วมประชุม ร่วมระดมความคิดเห็นพร้อมนำเสนอรูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานและเป็นองค์ปาฏกถาพิเศษ ในวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2552 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจกรรม Haus der kleinen Forscher (บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) ณ ประเทศเยอรมนี ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล ต่อมาในปี 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาร่วมกับ บริษัท นานมีบุ๊คส์

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย นับหนึ่งไปได้ถึงไหน

ศตวรรษที่ 20 หลายสิ่งหลายอย่างถูกพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่บางครั้งหลายคนวิ่งตามแทบไม่ทัน แม้แต่ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยถูกเพิกเฉยมาอย่างยาวนานกลับได้รับการใส่ใจและค่อยๆ ถูกแก้ไขให้ดีขึ้น การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้เราได้มีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะการทำงานในระบบราชการไทย หลายกระทรวงเริ่มบูรณาการและเห็นผลลัพธ์ที่ดีภายใต้คำว่า “ปฏิรูป” แต่นั่นคงไม่ใช่กับกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงวันนี้ นโยบายด้านการศึกษาไทยที่ยังคงมีอยู่แทบจะทุกรัฐบาล คือความพยายามที่จะ “ปฏิรูปการศึกษา” แน่นอนว่า การศึกษาคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมในทุกมิติ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทยอาจทำให้หลายฝ่ายกุมขมับ ที่รัฐบาลทุกชุดเริ่มนับหนึ่งเมื่อก้าวเข้ามาบริหารประเทศ รอยต่อของแต่ละรัฐบาลสร้างให้เกิดความยากในการทำงานแทบจะทุกกระทรวง ทบวง กรม การขาดไร้ซึ่งความต่อเนื่องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางทางกั้นไม่ให้การศึกษาไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน น่าแปลกที่กระทรวงการศึกษามีนโยบายที่จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปศึกษาดูงานยังประเทศเหล่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาด้านการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันหลายคนยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการศึกษาไทยไม่เพียงแต่ยังไม่พัฒนา แต่ดูเหมือนจะมีโอกาสถอยหลังเข้าคลองอีกด้วย เห็นได้จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันจาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดโดย IMD (International Institute for Management Development) ซึ่งมักจะจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในหลายด้าน โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยอยู่ที่อันดับ 56 ทั้งปี 2561 และ 2562 ไม่ใช่เพียงผลการจัดอันดับความสามารถด้านการแข่งขันเท่านั้น ที่เป็นการชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการศึกษาที่อาจถึงขั้นวิกฤต แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ผลการสอบวัดผล มากกว่าจะสร้างรากฐานความรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน หากจะนำเอาแนวความคิดของสิงคโปร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีแนวความคิดที่น่าสนใจว่า

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย คุณภาพ มาตรฐาน และความเหลื่อมล้ำ!

การศึกษาไทยมีประเด็นที่น่าสนใจรับศักราชใหม่ จากแนวความคิดอันสร้างสรรค์ของ ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยที่ให้นักเรียนเริ่มทดลองแต่งชุดไปรเวตมาเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นัยสำคัญของการทดลองนี้อยู่ตรงที่เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน ว่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของนักเรียนในเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ และในวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ภาพนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยการแต่งชุดไปรเวต มุมหนึ่งต้องยอมรับว่า การแสดงออกของนักเรียนกลุ่มนี้สร้างสีสันและอุดมไปด้วยไอเดีย ทว่า อีกแง่มุมหนึ่งกลายเป็นประเด็นให้สังคมได้ถกแถลง เมื่อหลายฝ่ายมองว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกด้วยการใส่ชุดไปรเวตไม่ใช่เรื่องผิดแปลก อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กเหล่านี้ได้มีอิสระทางความคิด รู้จักแสดงออกในทางที่เหมาะสม ขณะที่อีกฟากฝั่งกลับร้องหาความถูกต้องเหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขอันว่าด้วยกฎระเบียบมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นในยุคสมัยหนึ่ง แม้ว่าโลกจะหมุนไปทุกวินาที และปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การทำงานเชิงรุกของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ส่งหนังสือแจ้งไปยังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อขอให้โรงเรียนทบทวนเรื่องดังกล่าว ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด แม้โรงเรียนจะชี้แจงไปก่อนหน้าแล้วว่า “นี่เป็นการทดลองทำวิจัยเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียนเท่านั้น” ซึ่ง สช. แสดงความกังวลว่า แนวทางดังกล่าวของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องระเบียบวินัยและค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง บริบทของสังคมไทย และปัญหาสังคม แน่นอน หากเปิดใจให้กว้าง ความกังวลของ สช. ดูจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ขณะที่การศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤต มีหลายปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะต้องหันมาระดมความคิดเข้าแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องการขาดแคลนทรัพยากร บุคลากรที่มีศักยภาพ การศึกษาที่เด็กนักเรียนสามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการอนุญาตให้นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สามารถแต่งชุดไปรเวตได้ 1 วันใน 1

Read More

ธนินท์ เจียรวนนท์ ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นซีอีโอในอนาคต

ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุ่มทั้งเวลาและเงินทุนสร้าง “สถาบันผู้นำ” ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เพื่อรองรับอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่มีการลงทุนในเกือบ 20 ประเทศ มีการค้าระหว่างประเทศอีกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจเกษตรอาหาร ธุรกิจการตลาดและลอจิสติกส์ ธุรกิจโทรคมนาคมและมีเดีย ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมหนัก ธุรกิจสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน มูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล “อนาคตของซีพี ที่สำคัญที่สุดคือ คน ซีพีจะยืนหยัดมั่นคงเหมือนดาวฤกษ์ได้ต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะนำพาให้คนในเครือฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน” นั่นถือเป็นวรรคทองและหัวใจสำคัญที่สุด ซึ่งธนินท์เคยกล่าวผ่านสื่อ ย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเกือบ 4,000 ล้านบาท ตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้นำ C.P. Leadership Institute ในพื้นที่ 145 ไร่ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาข้อมูลเรื่องการสร้างคนที่ดีที่สุดขององค์กรชั้นนำระดับโลก และนำคณะผู้บริหารระดับสูงไปเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จีอี บริษัทซัมซุง และบริษัทโบอิง

Read More

RSU 5.0 นวัตกรรม ม.รังสิต บนความพยายามของการศึกษาไทย

ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับการเปิดเผยทิศทางและภาพรวมของแผนการที่กำลังดำเนินไปอย่างมีกรอบโครง ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในอนาคต ภาพชัดที่ฉายขึ้นมานั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังที่มุ่งจะสร้างนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีหมุดหมายเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แผนการลงทุนในธุรกิจของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผุดโรงพยาบาลอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และด้วยงบประมาณสูงนับหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นคำตอบที่สามารถไขข้อข้องใจในคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ที่ว่าศักยภาพด้านการแพทย์ของไทยนั้นก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ทว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กลับบอกว่า “จุดประสงค์ของเราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพื่อทำธุรกิจ แต่อยากจะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องแสดงศักยภาพของประเทศ” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า มีแนวความคิดในการสร้างโรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวัง และสลดหดหู่ มาเป็นการอยู่กับธรรมชาติ สถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข เป็น The Most Humanized Medical Care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร นอกจากนี้แนวความคิดที่สองคือ การสร้างโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต และแนวความคิดที่สาม คือการเป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine ที่ประกอบไปด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย กลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นอกจากความต้องการจะปรับรูปแบบของโรงพยาบาลให้ห่างไกลจากความหดหู่และความสิ้นหวังของผู้เข้ามารักษาพยาบาลแล้ว

Read More

โอกาสทางธุรกิจ บนวิกฤตการศึกษาไทย

   “ถ้าคุณตัดสินปลาทองด้วยความสามารถในการปีนขึ้นต้นไม้...ก็คงเป็นเรื่องที่โง่เขลา” ถ้อยความเริ่มต้นของ “I just sued the school system!” วิดีโอคลิปความยาว 6 นาทีของ Prince Ea ที่มีผู้เข้าชมกว่า 7 ล้านครั้งภายในช่วงเวลาเพียง 24 ชั่วโมงหลังจากที่เผยแพร่ออกมา สื่อแสดงถึงความกังวลใจต่อวิกฤตว่าด้วยการศึกษาในระดับนานาชาติที่น่าสนใจไม่น้อย ประเด็นแหลมคมจากวิดีโอคลิปดังกล่าวไม่เพียงแต่จะตั้งคำถามต่อกระบวนทัศน์ในการจัดระบบการศึกษาที่ล้มเหลวและหน่วงเหนี่ยวพัฒนาการของเยาวชนที่ต่อเนื่องยาวนานเท่านั้น หากยังกล่าวหาว่า “โรงเรียนเป็นฆาตกรที่สังหารความคิดสร้างสรรค์ ทำลายเอกลักษณ์และเหยียดหยามทางความคิด” อีกด้วย ขณะที่สำหรับสังคมไทยวิดโอคลิปดังกล่าวก็คงเป็นเพียงประหนึ่งคลื่นลูกหนึ่งในกระแสธารของโซเซียลมีเดียที่ท่วมทะลักต่อการรับรู้ก่อนจะจางหายและผ่านพ้นจากความสนใจไปอย่างรวดเร็ว  ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยวิดิโอคลิปครูหรือบุคลากรทางการศึกษาใช้กำลังประทุษร้ายทางกายภาพต่อนักเรียน ภายใต้การนิยามว่า เป็นการลงโทษ สั่งสอน ด้วยหวังจะให้ลูกศิษย์เป็นคนดีเข้ามาทดแทน ความล้มเหลวที่น่าอับอายของระบบการศึกษาที่ล้าหลังของสังคมไทยกลายเป็นโอกาสในการลงทุนของโรงเรียนนานาชาติ ที่เป็นประหนึ่งการเปิดทางเลือกใหม่ไปโดยปริยาย ควบคู่กับความพยายามที่จะเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาเกิดใหม่เหล่านี้เข้ากับชื่อเสียงและอัตลักษณ์ของโรงเรียนที่มีรากฐานยาวนานในต่างแดน  แม้ว่าในความเป็นจริงกลไกและกระบวนการศึกษาเรียนรู้ในแต่ละแห่งจะดำเนินไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่อาจไม่ได้มีความเกี่ยวโยงใดๆ ต่อกันเลย นอกจากค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อมาเป็นแบรนด์ในการสร้างตลาดเท่านั้น วิกฤตด้านการศึกษาของไทยอาจส่งผลให้โรงเรียนนานาชาติที่ผูกโยงเข้ากับชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาชั้นนำจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมามีสถานะเป็นทางเลือก ทั้งในมิติของมาตรฐานการศึกษาและชื่อเสียงเกียรติประวัติที่ยาวนาน แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าการบริหารจัดการภายในจะดำเนินไปอย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวัง เพราะในขณะที่ licence fee จากการใช้ชื่อสถาบันต้นทางกลายเป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่ทำให้โรงเรียนนานาชาติจำเป็นต้องคำนวณปริมาณนักเรียนที่จะรับสมัครในแต่ละปีและช่วงชั้นให้เหมาะสมต่อความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ประเด็นว่าด้วยคุณภาพการเรียนการสอนก็กลายเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่สำหรับโรงเรียนนานาชาติอย่าง Phuket International Academy (PIA) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 และมีนักเรียนจากช่วงอายุ 2–18 ปี รวมกว่า 400 คน ความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานด้านคุณภาพการศึกษาดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆ กับการแสวงหาเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้นสำหรับดึงดูดความสนใจของผู้ปกครอง  กรณีดังกล่าวนำไปสู่การผนึกผสาน

Read More

อาชีพ โอกาส และการศึกษา

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา กำลังติดตามมาด้วยคำถามที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง เป็นปัญหาพื้นฐานที่กำลังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างและการพัฒนาในอนาคตของศรีลังกาเลยทีเดียว ศรีลังกาเป็นดินแดนที่มีเกียรติประวัติด้านการศึกษามาอย่างยาวนานนับย้อนกลับไปได้ไกลกว่า 2,000 ปี ขณะที่กระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาสมัยใหม่ก็ส่งผลให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือในหมู่ประชากร (literacy rate) สูงถึงร้อยละ 98.1 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือแม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียแห่งอื่นๆ ศรีลังกาก็จัดเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ การศึกษาของศรีลังกา มีบทบาทอย่างสำคัญในชีวิตของชาวศรีลังกาและแวดล้อมมิติทางวัฒนธรรมของสังคมศรีลังกาไว้อย่างแนบแน่นนับเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อผนวกรวมให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ก็ยิ่งเป็นการเปิดพื้นที่กว้างให้กับนักคิดนักเขียนและนักวิชาการชาวศรีลังกาให้ได้แสวงหาองค์ความรู้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานการศึกษาสมัยใหม่ตามแบบของระบบจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มิได้จำกัดความอยู่เฉพาะความได้เปรียบจากความสามารถในการสื่อสาร อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงรูปแบบการจัดระบบการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน และปกป้องให้อาชีพครูไม่ตกอยู่ภายใต้ค่าตอบแทนราคาต่ำหรือจากการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งและสถาปนาอย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถสร้างเสริมชื่อเสียงโดดเด่นในแวดวงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตชนชั้นนำ เพื่อสนองตอบต่อพัฒนาการทางสังคมในเวลาต่อมา พัฒนาการด้านการศึกษาในช่วงหลังจากที่ศรีลังกาได้รับเอกราช ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผลของความตื่นตัวว่าด้วยสิทธิ และแนวทางการพัฒนาที่ระบุให้การศึกษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ต้องจัดสรรให้กับประชาชนทุกคน พร้อมทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐสร้างเสริมหลักประกันในการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรที่ว่านี้กระจายสู่หมู่ชนทุกระดับ เมื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในทรัพยากรที่รัฐต้องบริหารจัดการ ความสามารถในการกระจายโอกาสจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมาศรีลังกาพยายามที่จะส่งมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดให้กับประชาชน โดยเยาวชนในระดับประถมและมัธยมศึกษาจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้การศึกษาดำเนินไปอย่างไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ขณะที่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นกว่านั้น เป็นการแข่งขันที่พิสูจน์ทราบกันด้วยความสามารถในการสอบแข่งขัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะได้รับการจัดสรรไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการนี้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถหนุนนำการพัฒนาให้กับสังคมในกาลอนาคต การแข่งขันเพื่อเบียดชิงทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดในระดับที่สูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลให้เกิดสถาบันกวดวิชาเพื่อหนุนส่งความสามารถในการสอบได้คะแนนดีในหลายระดับชั้น ซึ่งธุรกิจสถานกวดวิชาเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ทางสังคมอย่างหนักว่าเป็นการทำร้ายความสดใส สุขภาพและจิตวิญญาณวัยเด็กของเยาวชน อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของสถาบันกวดวิชาในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของศรีลังกาที่อนุญาตให้เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเปิดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาบัตร ขณะที่ความพยายามที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยเอกชนได้รับการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่า การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนจะทำให้ระบบการศึกษามีสถานะไม่แตกต่างจาก สินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินตราและความสามารถทางเศรษฐกิจซื้อหามาได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของศรีลังกาในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอยู่ 15 แห่งสามารถรองรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อได้เพียงร้อยละ 16-20

Read More