Home > พม่า

โอสถสภา เดินหน้ารุกธุรกิจต่างประเทศ ลุยสร้างโรงงานเครื่องดื่มใหม่ในเมียนมาร์ พร้อมรักษาแชมป์เบอร์หนึ่งในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในเมียนมาร์

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) นำโดย ธนา ไชยประสิทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.โอสถสภา และ ดร. สาย ซามทุน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลอย เฮง จำกัด และกรรมการบริษัท โอสถสภา เมียนมาร์ จำกัด เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดหน้าดินเพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมติละวา โซนบี กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมี วรรณิภา ภักดีบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โอสถสภา และ ประธาน ไชยประสิทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.โอสถสภา ร่วมในพิธี เมื่อเร็วๆ นี้ โดยโรงงานนี้นับเป็นโรงงานแห่งแรกของโอสถสภาในเมียนมาร์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทย และบริษัท ลอย

Read More

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

พม่าย้อนรอยไทย เปิดมหากาพย์เพย์ทีวี

 การเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัท ชเวตันลวิน มีเดีย จำกัด (Shwe Than Lwin Media) ผู้บริหารธุรกิจสื่อโทรทัศน์รายใหญ่ในพม่ากับบริษัท ตี๋ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มุมหนึ่งเป็นการช่วงชิงโอกาสรุกตลาดของนักธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมสื่อพม่าที่กำลังก้าวผ่านจากยุคปิดกั้นข่าวสาร แต่อีกมุมหนึ่งสะท้อนภาพการแข่งขันอย่างดุเดือดในสมรภูมิธุรกิจในพม่า ทั้งทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม ทั้งระบบฟรีทูแอร์ (Free-to-Air) และเพย์ทีวี (Pay TV) ผู้สันทัดกรณีที่เข้ามาฝังรากในตลาดทีวีของประเทศพม่าสะท้อนสถานการณ์การแข่งขันไม่ต่างอะไรกับตลาดเพย์ทีวีของไทยเมื่อ 20 ปีก่อนและมีคู่แข่งรายใหญ่ห้ำหั่นกันเพียง 2 ค่าย โดยมีประชากร 50 กว่าล้านคน เป็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคข่าวสารอย่างหิวกระหาย หลังจากทางการควบคุมข่าวสารมานานหลายสิบปี  ปัจจุบัน ช่องโทรทัศน์ในพม่ามี 4 สถานีหลัก เป็นของทางการ 2 ค่ายและเอกชน 2 ค่าย โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์เริ่มครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน  ช่องแรกเป็นช่องของรัฐบาลพม่า “MRTV” ออกอากาศครั้งแรกในเดือนเมษายน 2523 เน้นข่าวสารของรัฐบาล ทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของพม่า ก่อนที่จะย้ายสถานีหลักไปยังกรุงเนปิดอว์ในปี 2550

Read More

น่านฟ้าเปิดที่เมียนมาร์ สายการบินรุมยึดหัวหาด

หลังจากที่เมียนมาร์เดินเครื่องปฏิรูปและเปิดประเทศ บรรดานักลงทุนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างพุ่งความสนใจไปยังอัญมณีแห่งอาเซียนแห่งนี้ รวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ที่เตรียมขยับปีกเร่งเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ เพื่อยึดหัวหาดตามเมืองหลักๆ ของเมียนมาร์ เตรียมพร้อมรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของธุรกิจการบินที่น่าติดตามเป็นเวลาหลายสิบปีที่เมียนมาร์ปิดประเทศด้วยเหตุผลความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน จนในที่สุดรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ยอมถอนอำนาจ เปิดให้พลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ เกิดการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ของเมียนมาร์แน่นอนว่าประเทศที่ปิดตัวเองมานาน แต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เมื่อถึงคราวเปิดประเทศต้อนรับการมาเยือนจากต่างชาติ จึงเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามและเป็นขุมทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างหมายตา ซึ่งรวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ของไทย ที่เร่งเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ และเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเพื่อเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นปัจจุบันสายการบินของไทย 3 แห่งคือ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์สและไทยแอร์เอเชีย ได้ให้บริการบินเข้าเมียนมาร์เป็นประจำอยู่แล้ว โดยเที่ยวบินส่วนใหญ่จะมีจุดหมายปลายทางที่เมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางธุรกิจของเมียนมาร์ แต่นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา บรรดาสายการบินต่างๆ ได้ขยับขยายเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและจุดหมายปลายทางไปยังเมืองอื่นๆ ของเมียนมาร์เพิ่มขึ้น เพื่อหวังช่วงชิงจำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเดือนตุลาคม 2555 สายการบินไทยแอร์เอเชียโลว์คอสต์ยอดนิยม ประเดิมเปิดเที่ยวบิน บินตรง กรุงเทพฯ–มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเมียนมาร์ และเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน กรุงเทพฯ–ย่างกุ้ง ต่อวันให้มากขึ้น โดยเจาะกลุ่มคนวัยเกษียณที่ต้องการไปทำบุญนายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า ได้เปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ โดยทำการบินเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งเพิ่มเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง

Read More

เมียนมาร์ ปูพรมเปิด 3 ด่านหลัก รับ AEC-ท่องเที่ยว-การค้า

 เงื่อนกำหนดของเวลาว่าด้วยการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาในปี 2015 กลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้แต่ละประเทศต่างเร่งปรับปรุงและปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการเชื่อมโยง Connectivity ที่อาเซียนตั้งไว้ความเคลื่อนไหวที่เห็นชัดที่สุดในมิติที่ว่านี้ ปรากฏขึ้นในกรณีของเมียนมาร์ ซึ่งกำลังเร่งเปิดประตูการค้าหลังจากที่เปิดประเทศทั้งในมิติของเศรษฐกิจและการเมือง ไปก่อนหน้านี้ โดยความคลี่คลายดังกล่าวในเมียนมาร์ได้หนุนนำให้เมียนมาร์กลับมาเป็นที่สนใจของประชาคมนานาชาติอย่างกว้างขวางในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก้าวย่างของรัฐบาลเมียนมาร์คืบหน้าไปสู่การประกาศที่จะเปิดด่านการค้าถาวร 3 จุดหลักกับประเทศไทยทั้งที่ด่านแม่สาย จ.เชียงราย ด่านแม่สอด จ.ตาก และที่เกาะสอง จ. ระนอง ซึ่งหากพิจารณาในมิติทางภูมิศาสตร์ ต้องยอมรับว่านี่คือการเปิดด่านที่นำไปสู่การเชื่อมโยงเมียนมาร์เข้ากับโลกภายนอกโดยผ่านประเทศไทยที่ทรงพลังอย่างยิ่งแม้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมทะเลจีนใต้ หรือทะเลตะวันออก ผ่านเวียดนาม-สปป.ลาว-ไทย กับอันดามัน เชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดีย ผ่านทางสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of Union of Myanmar) จะถูกพูดถึงกันมานานแต่พื้นที่ปลายทางฝั่งตะวันตกของ EWEC ที่อยู่ในเมียนมาร์ ตั้งแต่เมียวดี กอกาเร็ก หรือกรุกกริก พะอัน รัฐกะเหรี่ยง-เมาะละแหม่ง รัฐมอญ

Read More

ค่ายรถมะกันเหยียบคันเร่ง รุกขยายตลาดในเมียนมาร์

 ตลาดรถยนต์ในเมียนมาร์กำลังกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการค่ายรถยนต์จากซีกโลกตะวันตกต่างโหมสรรพกำลังเข้ารุกทำตลาดหลังจากรัฐบาลตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรและกดดันเมียนมาร์มายาวนานการขยับตัวของค่ายรถยนต์จากอเมริกาดูจะเป็นไปอย่างคึกคักและต่อเนื่องมากเป็นพิเศษ เมื่อฟอร์ดร่วมกับ “แคปิตัล ออโตโมทีฟ” บริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับแถวหน้าของพม่า เปิดตัวโชว์รูมผู้แทนจำหน่าย ฟอร์ด อย่างเป็นทางการในย่างกุ้ง เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมากลยุทธ์การตลาดของฟอร์ดในเมียนมาร์ นอกจากจะอยู่ที่การสร้างความหลากหลายและการจับกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงแล้ว เป้าหมายของฟอร์ดยังอยู่ที่การเบียดชิงพื้นที่การตลาดในกลุ่มรถกระบะที่คาดการณ์ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง ควบคู่กับความจำเริญทางเศรษฐกิจภายหลังการเปิดประเทศ“รถยนต์ฟอร์ดที่จะจำหน่ายในเมียนมาร์จะนำเข้าจากทั้งโรงงานในอเมริกาเหนือ และประเทศไทย โดยรถกระบะรุ่น เอฟ-ซีรี่ส์ และฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ จะเป็นหนึ่งในรถรุ่นแรกๆ ที่ฟอร์ดจะเปิดตัวในเมียนมาร์” เดวิด เวสเตอร์แมน ผู้จัดการระดับภูมิภาค ตลาดเอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ โกร๊ธ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ระบุแม้ว่าฟอร์ดจะเพิ่งเริ่มเข้าไปทำตลาดในย่างกุ้ง แต่แผนของฟอร์ดย่อมไม่ได้จำกัดอยู่เท่านั้น หากแต่เตรียมพร้อมที่จะขยายไปสู่หัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ของเมียนมาร์ด้วยการขยายเครือข่ายของผู้แทนจำหน่ายในอนาคตเป้าหมายของฟอร์ดย่อมไม่ใช่สิ่งเกินความคาดหวัง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า พันธมิตรของฟอร์ดในเมียนมาร์ ที่ชื่อ แคปิตัล ออโตโมทีฟ เป็นบริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญและประสบผลสำเร็จในฐานะผู้กระจายสินค้าจากโลกตะวันตกอย่าง “เป๊ปซี่

Read More