Home > Energy (Page 3)

บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง ประกาศความร่วมมือในโครงการ พลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้

บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีสะอาดและทันสมัย หนึ่งในบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชียแปซิฟิก และบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (Phuket City Development: PKCD) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในภูเก็ต เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างชาญฉลาด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในโครงการ “พัฒนาพลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้” เพื่อร่วมกันผลักดันแผนพัฒนาภูเก็ตสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ตอบรับนโนบายพลังงาน 4.0 ของรัฐบาล ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการวางระบบไมโครกริด ด้วยการนำระบบจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มาใช้ในพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดภูเก็ต ติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric Vehicle) เพื่อความทันสมัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และกรรมการ บริษัท บ้านปู

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ลงนามความร่วมมือกับพันธมิตรพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีไทยและเวียดนามร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่าง บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) กับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศเวียดนามขนาดใหญ่ที่สุดของอาเซียน ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ เหงียน ซวน ฟุก (Nguyễn Xuân Phúc) นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือการพัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 420 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2562 ระหว่าง บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) และ XUAN CAU COMPANY LIMITED ประเทศเวียดนาม โดยมี ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานคณะกรรมการบริษัท และ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) และ Mr.

Read More

‘ผลิตไฟฟ้าลาว’ ปลื้มกระแสโรดโชว์คึกคัก เผยนักลงทุนไทยสนใจลงทุนหุ้นกู้วงเงิน 17,500 ล้านบาท เตรียมขายผ่าน 5 แบงก์ กรกฎาคมนี้

บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN) ปลื้มนักลงทุนไทยให้การตอบรับคึกคัก หลังการโรดโชว์ต่อนักลงทุนสถาบัน นำเสนอข้อมูลการระดมทุน ด้วยการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท วงเงินไม่เกิน 17,500 ล้านบาท เตรียมกำหนดรายละเอียดการเสนอขายพร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมี 5 แบงก์เป็นผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่าย มั่นใจกระแสตอบรับดี ด้วยความมั่นคงของบริษัทฯ และโอกาสในการเติบโต ชี้ธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นด้านพลังงานทำให้ EDL-GEN เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นายอดิศร วสุคุปต์ สิงห์สัจจะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวิน ไพน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บุกเบิกด้านการระดมทุนข้ามพรมแดน ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับกิจการในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ต้องการระดมทุนในประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษา (Sole Advisor) ของบริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน หรือ EDL-GEN เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้จัดโรดโชว์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EDL-GEN รวมถึงแผนการระดมทุนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท อันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ จากทริสเรทติ้ง วงเงินไม่เกิน 17,500

Read More

BGRIM ยัน 2 โรงไฟฟ้ากำลังผลิต 240 MW ไม่มีสะดุด! มั่นใจ SCOD ภายในปี 64 ตามแผน เตรียมย้าย BGPR1-BGPR2 ไปนิคมฯ จ.สมุทรปราการ

BGRIM ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ยัน 2 โรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 240 MW ไม่มีสะดุด! มั่นใจขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ตามแผน เผยอยู่ระหว่างยื่นขอย้ายที่ตั้ง 2 โรงไฟฟ้า “BGPR1-BGPR2” ไปนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ) จ.สมุทรปราการ มั่นใจช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับพื้นที่ EEC ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ในระหว่างดำเนินการขอย้ายที่ตั้งโรงไฟฟ้าโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ราชบุรี) 1 จำกัด (BGPR 1)และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์(ราชบุรี) 2 จำกัด (BGPR 2) กำลังการผลิตรวม 240

Read More

บ้านปูฯ รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2561 สร้างการเติบโตต่อเนื่อง เดินหน้าเต็มกำลังสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจร

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2561 ผลการดำเนินงานเติบโตตามเป้าหมาย มีรายได้จากการขายรวม 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,079 ล้านบาท) และมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้น 11 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 347 ล้านบาท) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมผลกระทบจากค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาคดีหงสาจำนวน 86 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,713 ล้านบาท) และการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นที่ส่งผลให้บริษัทฯ รับรู้ขาดทุนในทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,041 ล้านบาท) บริษัทฯ จะมีกำไรสุทธิจำนวน 79 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,492 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม จากการเดินหน้าการผนึกกำลังกลุ่มธุรกิจหลัก จากธุรกิจต้นน้ำ

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ผนึกพันธมิตร ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 420 เมกะวัตต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี นาง ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิลิปปินส์

Read More

ความมั่นคงพลังงานไทย บนทางแพร่งและทางเลือก

ความเป็นไปของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งที่จังหวัดกระบี่ ด้วยกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา กำลังการผลิตรวม 2,000 เมกะวัตต์ กำลังสะท้อนภาพมิติความคิดของทั้งระบบการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของไทยได้อย่างน่าสนใจ เนื่องเพราะภายใต้ “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579” (Thailand Power Development Plan: PDP ฉบับปี 2015) หรือ PDP2015 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวในกรอบเวลา 20 ปี ระบุถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไว้ ในฐานะที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางพลังงานในภาคใต้ ภายใต้แผนดังกล่าวระบุว่าความต้องการพลังงานในภาคใต้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2562-2567 ต้องมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3 โรง จำแนกเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในปี 2562 โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เครื่องที่ 1 ในปี 2564 และเครื่องที่ 2 ในปี 2567 แม้ว่าความเคลื่อนไหวล่าสุด รัฐมนตรีพลังงานจะลงนามในข้อตกลงร่วมกับ “เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เพื่อให้เริ่มกระบวนการ

Read More

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

ปิดฉากแบรนด์ PURE ยกปั๊มให้ ESSO สวมสิทธิ์

ข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงพลังงานไทยรอบล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวใดกระตุ้นความสนใจของผู้คนในแวดวงธุรกิจให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเท่ากับข่าวยุติการทำตลาดสถานีน้ำมันภายใต้แบรนด์ “PURE” จำนวน 49 แห่ง พร้อมกับการแปลงร่างสวมทับด้วยแบรนด์ “ESSO” เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุที่กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจ เพราะทั้ง ESSO และ RPC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “PURE” ต่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้ข่าวที่ว่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทไต่ระดับขึ้นสูงในการซื้อขายช่วงที่ผ่านมา แม้จะเป็นหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่อาจไม่มีนัยความหมายหรือสะท้อนสภาพความเป็นไปในเชิงโครงสร้างที่แท้จริงของตลาดหลักทรัพย์ไทยมากนัก แต่สำหรับนักลงทุนระยะสั้นหรือประเภทซื้อมาขายไปในวันเดียวในลักษณะ day trade ข่าวความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้กลับกลายเป็นปัจจัยส่งเสริมที่กระตุ้นการซื้อขายและผลักดันราคาให้เห็นเป็นข่าวได้อย่างมีสีสัน ทั้งนี้ จากการแจ้งของ บมจ.อาร์พีซีจี (RPC) ที่ระบุว่า คณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติให้บริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจการค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เพียว” ปรับเปลี่ยนการบริหารงานเป็นสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” เพื่อเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งทางธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต โดยได้ลงนามความร่วมมือระหว่างกันกับ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) เพื่อทำสัญญาซื้อขายน้ำมันและให้ใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” ซึ่งภายหลังจากนี้ สถานีบริการน้ำมันของ PTEC จำนวน 49

Read More