Home > Energy (Page 4)

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

บ้านปูจับธุรกิจปลายน้ำ เดินหมากด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ความแข็งแกร่งของบริษัทบ้านปูดูจะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นการเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากถ่านหิน น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับต้นๆ ในแวดวงธุรกิจพลังงาน กระนั้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา การเปิดตัวบริษัทลูกที่ถือว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการธุรกิจพลังงานอย่างบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร “ถ้าเปรียบบริษัทบ้านปู เป็นเหมือนลูกชาย บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี ก็เป็นเหมือนลูกสาว” สมฤดี ชัยมงคล กรรมการบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวในพิธีเปิด แม้ว่านัยหนึ่งของการเบนเข็มธุรกิจของบ้านปูมาให้ความสำคัญในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จะสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ที่มีแผนว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยแผนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2558-2579 (Alternative Energy Development plan: AEDP 2015) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยรวมของประเทศจาก 13.9 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2579 กระนั้นอีกนัยหนึ่งที่น่าขบคิดว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี นั่นเพราะการขาดทุนสูงถึง 1,534 ล้านบาท ในปี 2558

Read More

บี.กริม เดินเครื่องดับบลิวเอชเอ 1 รองรับอุตสาหกรรมขยายตัว

“จากการคาดการณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยน่าจะมีการขยายตัวจากปี 2559 ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์” ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว และนี่เองที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บี.กริม เพาเวอร์ ดับบลิวเอชเอ 1 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดชลบุรี เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา การเลือกพื้นที่ก่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของ บี.กริม ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ดูจะประจวบเหมาะกับแผนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันเมืองชายแดนให้มีความกระเตื้องด้านเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ จนท้ายที่สุด ภายใต้การนำทัพของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ด้วยเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงความหมายที่แท้จริงเกี่ยวกับการนำประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่หวังว่านโยบายดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการนำไปสู่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมหลัก เป้าหมายที่รัฐบาลเรียกขานว่า First S-curve

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

บี.กริม สยายปีกธุรกิจไฟฟ้า กับเป้าหมาย Battery of Asean ของลาว

  หลังจากเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 ที่จังหวัดระยองไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการเตรียมความพร้อมในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ นับได้ว่าจังหวะการก้าวย่างของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในขณะนี้จะผ่านการวางแผนอย่างเป็นระบบมาแล้ว รวมไปถึงกลยุทธ์ที่เปิดเผยว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทมีการตั้งเป้าหมายที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ว่าต้องการจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ 5,000 เมกะวัตต์ และดูจะเป็นไปได้มาก แม้ว่า บี.กริม จะมองว่าตัวเองเป็นเพียงนักลงทุนธุรกิจพลังงานขนาดเล็กเท่านั้น เพราะเมื่อพิจารณาจากโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือที่มีอยู่ 43 โครงการ ที่มีกำลังการผลิต 2,357 เมกะวัตต์ และโครงการที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว 28 โครงการ โดยมีกำลังการผลิต 1,626 เมกะวัตต์ ทำให้เห็นว่าเป้าหมายของ บี.กริม ดูจะไม่ไกลเกินเอื้อมเลย นอกจากโครงการโรงไฟฟ้าที่ บี.กริม ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยแล้ว สปป.ลาว ถือเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ บี.กริม เลือกในการวางหมากรุกตลาดพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาวที่ต้องการจะเป็น Bettery of Asean

Read More

อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ บนกลยุทธ์ที่เติบโตอย่างมั่นคง

  นับเป็นก้าวย่างสำคัญของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 ไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้ว่า บี.กริม เพาเวอร์ จะเป็นบริษัทในกลุ่ม บี.กริม ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศมายาวนานกว่า 139 ปี จังหวะก้าวเดินนับจากนี้ของ บี.กริม เพาเวอร์ดูจะเป็นไปเพื่อสร้างความสำเร็จอีกขั้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า “การสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ด้วยการทำให้ลูกค้าเห็นความถึงศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีคุณภาพสูง และราคาต่ำกว่าคู่แข่ง นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้า” ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ อธิบาย  โรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 มีกำลังการผลิตรวม 262.2 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญด้านหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการในการเลือกลงทุนสร้างโรงงาน เมื่อมองเห็นว่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีสาธารณูปโภคพื้นฐานคือ พลังงานไฟฟ้า และไอน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนของประเทศให้เติบโตมากขึ้น  แม้ว่าปี 2558 และ 2559

Read More

วิกฤตพลังงานในไทย บี.กริม เบนเข็มรุกพลังงานสะอาดใน AEC

  ท่ามกลางกระแสคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จังหวัดกระบี่ กำลังร้อนระอุ ไม่แพ้สภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง แสงแดดที่แผดเผาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเพียงไม่กี่วัน หลังจากรัฐบาลสั่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทของการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ Power Development Plan: PDP ซึ่งเป็นแผนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าระยะยาว 15-20 ปี ทั้งการสร้างความมั่นคงและเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงนโยบายพลังงานของประเทศและปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสม  หรือจะอธิบายอย่างง่ายๆ ว่าการเร่งดำเนินการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเป็นไปเพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่มีการขยายตัวของประชากร รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กระนั้นคำสั่งเร่งเครื่องโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสการคัดค้านทั้งจากประชาชนในพื้นที่ องค์กรที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือกระแสการต่อต้านจากสังคมโซเชียล ที่ร่วมกันลงชื่อแสดงความไม่เห็นด้วยผ่าน Social Network  ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านหาใช่การต่อต้านโครงการที่มุ่งนำพาเอาความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ หากแต่เป็นการคัดค้านต่อกรณีการทำรายงาน EHIA และ EIA ที่ดูจะเร่งรีบเพื่อให้โครงการโรงไฟฟ้าเป็นรูปเป็นร่างโดยเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตพลังงานของไทยที่ปริมาณทรัพยากรด้านพลังงานของประเทศกำลังนับถอยหลัง แต่เป็นการขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA และ EHIA รายงานการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านต่างถือเหตุผลของตัวเองเข้าพูดคุยกัน หากแต่ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งในมิติของฝ่ายสนับสนุนที่มีความกังวลถึงความขาดแคลนพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และต้องการที่จะรองรับการเติบโตอย่างขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นเสมือนเครื่องจักรตัวสำคัญที่จะสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ รายได้จากการท่องเที่ยวต่อปีนั้น

Read More

บ้านปูเพาเวอร์: ผู้นำธุรกิจพลังงาน รุกตลาด CLMV และเอเชียแปซิฟิก

   การแถลงข่าวประกาศขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบ้านปู ที่พร้อมจะเปิดให้ประชาชนผู้สนใจจองซื้อหุ้นที่ราคาเสนอขายสุดท้ายได้ในวันระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ หากจะพิจารณาถึงเหตุผลของการระดมทุนในครั้งนี้ นั่นคือการนำเงินที่จะได้มาชำระคืนเงินกู้จากบริษัทแม่ และนำเงินไปลงทุนขยายธุรกิจพลังงานทั้งในและต่างประเทศ เหตุผลดังกล่าวดูจะสะท้อนภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงทิศทางในการเดินเกมก้าวต่อไปบนธุรกิจพลังงานของบ้านปู เพาเวอร์ คือนอกเหนือจากการปลดหนี้ที่มีต่อบริษัทแม่ อันมีสาเหตุมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหงสาที่มีมูลค่าหนี้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะหมายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะตามมาในอีกหลายมิติ หากแต่ในมิติที่กำลังดำเนินไปในครั้งนี้ดูน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการที่บ้านปู เพาเวอร์มีหมุดหมายสำคัญที่จะเบนเข็มและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในการรุกตลาด CLMV และตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้หากมองในตัวเลขมูลค่าการเสนอขายที่น่าจะได้รับคือ 11,673–13,618 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการชำระหนี้คืนต่อบริษัทแม่ 90 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จะปลอดหนี้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้การใช้เม็ดเงินที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนธุรกิจพลังงานในอนาคต เป้าหมายที่ว่าคือการขยายกำลังการผลิต 4,300 เมกะวัตต์ (เทียบเท่า) ภายในปี พ.ศ.2568 โดยมีตลาดใหญ่ที่บ้านปู เพาเวอร์ ให้ความสนใจและมีโครงการอยู่อย่างต่อเนื่องคือกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศลาว  ซึ่งวรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

“ขยะ” วาระแห่งชาติ จากมูลฝอยสู่พลังงานทดแทน

  เหตุการณ์น้ำท่วมขังบนพื้นผิวถนนหลังจากฝนตกได้ไม่นาน แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นจนชินตาและคาดเดาได้ง่าย รวมไปถึงต้นสายปลายเหตุที่รับรู้โดยทั่วกันว่ามาจากการสะสมของปริมาณขยะมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำ แต่ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนเสียที อีกทั้งระบบการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานและขาดประสิทธิภาพ จึงเป็นการซ้ำเติมปัญหามลพิษให้รุนแรงมากขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นมาแล้วจากการเกิดเพลิงไหม้บ่อขยะหลายแห่ง  จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อรัฐบาลผู้ชอบแก้ไขออกประกาศให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำโรดแมป เพื่อจัดการปัญหาขยะและของเสียอันตรายที่สั่งสมเป็นจำนวนมาก โดยทิศทางของรัฐบาลคือการแปรรูปขยะมาเป็นพลังงาน โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจำนวน 53 โรงทั่วประเทศ แน่นอนว่าปัญหาในพื้นที่กรุงเทพมหานครน่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของ กทม. หากแต่การหนีปัญหาด้วยการย้ายขึ้นไปอยู่บนดอยเพื่อที่จะไม่ต้องพบกับปัญหาน้ำท่วมขัง หรือการเชิญชวนให้ช่วยกันภาวนาให้ฝนตกเพื่อแก้ไขวิกฤตน้ำแล้ง ซึ่งปัญหาเหมือนจะรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และนั่นไม่ใช่ทางออกที่ฉลาดนัก องค์กรความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้า ประมาณการว่าประเทศไทยผลิตขยะเฉลี่ย 13,000 ตันต่อวัน หรือประชากรหนึ่งคน ผลิตขยะประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่ง กทม. สามารถจัดเก็บขยะได้ประมาณ 9,000 ตันต่อวัน ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นขยะตกค้างตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทั้งนี้สำนักสิ่งแวดล้อมจึงแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะบริเวณดังกล่าวโดยการจัดทำเป็นสวนหากพบว่าบริเวณนั้นมีการทิ้งขยะ  แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากแต่การแก้ปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองอยู่ในขณะนี้นั้น หนทางที่อาจเรียกได้ว่าจีรังยั่งยืนคือการสร้างวินัยของคนไทย ให้รู้จักและเข้าใจแยกแยะขยะได้ ซึ่งจะนำไปสู่การคัดแยกก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี นั่นเพราะญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาวิกฤตขยะเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งญี่ปุ่นประกาศให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติไม่ต่างจากไทย  หากแต่การที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำ “คู่มือการอยู่อาศัย” ที่อธิบายถึงลักษณะของขยะแต่ละชิ้น และแยกแยะอย่างละเอียด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ญี่ปุ่นแบ่งประเภทของขยะดังนี้ ขยะเผาได้ เป็นวัสดุที่เผาไฟได้ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปเผาในเตาเผาขยะและนำพลังงานความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้า ขยะเผาไม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว ยาง

Read More