Home > ราชประสงค์

ราชประสงค์ ย่านธุรกิจ บันทึกสมรภูมิครั้งใหญ่

“ราชประสงค์” ย่านธุรกิจใจกลางกรุงและหมุดหมายการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลายครั้ง  โดยเฉพาะการชุมนุมครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 7-19 พฤษภาคม 2553 ที่ทุกคนต้องจดจำ การสลายม็อบแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ หลังพยายามกดดันให้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ มีการเผาอาคารหลายแห่ง รวมทั้งห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ผ่านไปมากกว่าสิบปี ย่านราชประสงค์ยังคงเป็นที่นัดหมายของกลุ่มการเมือง เพราะความเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศที่สามารถกดดันฝ่ายต่างๆ ได้ หากย้อนประวัติศาสตร์เก่าแก่ ก่อนปี 2325 ย่านราชประสงค์เดิมเป็นทุ่งนาและสระบัวเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ ชานพระนคร เดินทางได้อย่างยากลำบาก จนเมื่อปี 2380 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองแสนแสบ ด้วยพระราชประสงค์เพื่อขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบและเสบียงอาหารไปยังญวน ซึ่งในเวลาต่อมามีการอพยพผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบ เป็นชุมชนขนาดเล็ก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขึ้นครองราชย์ต้องประทับในพระบรมมหาราชวัง ไม่มีสถานที่กว้างขวางให้เป็นที่ทรงสำราญพระอิริยาบถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดลอกสระกว้าง 2 สระ ริมคลองแสนแสบฝั่งใต้ ซึ่งเป็นที่นาหลวง สร้างพระราชวังตากอากาศเรียกว่า พระราชวังปทุมวัน รวมถึงสร้างพระอารามนามว่า วัดปทุมวนาราม เมื่อปี 2396 ต่อมา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนพระรามที่ 1

Read More

ห้างลุ้นกำลังซื้ออีกเฮือก มึนม็อบดาวกระจายลาม

แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจออกพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 ให้มีการอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อผ่าทางตันของประเทศ แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นที่ยังต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษการเมืองส่งผลเต็มๆ ต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของประชาชน ทั้งที่กลุ่มห้างค้าปลีกต่างคาดหวังการฟื้นรายได้อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสสุดท้าย หลังปัญหาโควิด-19 คลี่คลาย ที่สำคัญ 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มคณะราษฎร 2563 และแนวร่วมธรรมศาสตร์ และการชุมนุม คือ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี 2. เปิดสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงสั่งปล่อยตัวและไม่ดำเนินคดีใด ๆ กับกลุ่มผู้ถูกจับกุมอีก ล้วนเป็นการเรียกร้องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย เกมนี้จึงเหมือนหนังเรื่องยาว ต้องดูท่าทีของแต่ละฝ่าย แต่ต้องยอมรับว่าการงัดกลยุทธ์ม็อบดาวกระจายตามจุดสำคัญทั่วกรุงเทพฯ สามารถกดดันรัฐบาลอย่างได้ผล เนื่องจากเลือกจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ โดยประเดิมหมุดแรกย่านราชประสงค์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ช้อปปิ้งสตรีท มีห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไล่ไปตั้งแต่เซ็นทรัลเวิลด์ เกษรวิลเลจ สยามพารากอน อัมรินทร์พลาซ่า

Read More

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More