Home > อี-คอมเมิร์ซ

ถึงคราวผู้ค้าออนไลน์ไทยปรับตัว เมื่อทุนจีนเข้าชิงส่วนแบ่งเค้ก

ดูจะเป็นความท้าทายสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยไม่น้อยในห้วงยามนี้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานานัปการที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน ทั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก การล็อกดาวน์ประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในช่วงเวลาหนึ่ง สภาวะเศรษฐกิจที่คนไทยเริ่มพาตัวเองเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่รัดเข็มขัดมากขึ้น และการถูกรุกคืบจากทุนจีนในหลายตลาด สัปดาห์ก่อนมีประเด็นที่ถูกพูดถึงอยู่ในโลกออนไลน์ถึงกรณีที่ว่า ทุนจีนเข้ามารุกตลาดค้าออนไลน์ในไทยซึ่งน่าจะสร้างผลกระทบต่อผู้ค้าออนไลน์ไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าด้วยการเปิดพรีออเดอร์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในไทย การกินส่วนต่างกำไรจากค่าหิ้วหรือค่าดำเนินการ นับเป็นรายได้ที่ทำให้ผู้ค้าไทยยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้จะใช้เวลาในการรอสินค้านานร่วมเดือนหรือมากกว่านั้น ทว่า เมื่อทุนจีนมองเห็นช่องโหว่ดังกล่าว อันนำมาซึ่งการสร้างช่องทางการเข้ามาขยายฐานธุรกิจ เพื่อหารส่วนแบ่งเค้กก้อนใหญ่นี้ ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อวงการค้าออนไลน์ในไทย เป็นเพราะว่า ต่างชาติเข้ามาเปิดตลาดการค้าบนโลกออนไลน์ในไทยมากขึ้น ทั้ง Lazada, Shopee, JD Central และการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาชอปทางออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงข้อตกลง FTA ระหว่างไทยจีน ที่ทำให้การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หากมูลค่าของสินค้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขรายละเอียดในข้อตกลงเขตการค้าเสรี นอกจากนี้ ตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปี 2019 ที่มีมูลค่าสูงถึง 163,300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยหันมาชอปปิงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาไวรัสโควิด-19 จะเริ่มระบาดแล้วก็ตาม ขณะที่ Priceza ประเมินจากสถานการณ์ในปีนี้ว่า ตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท ยังมีอีกข้อมูลจากไพรซ์ซ่าที่น่าสนใจระบุว่า ตลาด E-Commerce

Read More

เปิดตัว “The Hub Thailand” ตลาดสินค้าไทยออนไลน์ใหม่ ใหญ่ที่สุดในไทย สินค้าไทยสู่ตลาดสากล

เปิดตัว “The Hub Thailand” ตลาดสินค้าไทยออนไลน์ ใหญ่ที่สุดในไทย “เดอะฮับไทยแลนด์” ลุยตลาดอี-คอมเมิร์ซไทย หนุนเศรษฐกิจหลังปลดล็อดดาวน์ ซื้อ-ขายง่าย ส่งไวภายใน 3 ชั่วโมง The Hub Thailand (เดอะฮับไทยแลนด์) ตลาดสินค้าไทยออนไลน์ใหม่ แหล่งการซื้อ-ขายสินค้าไทยที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในไทย พัฒนาโดยฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ชูไฮไลท์ “ซื้อง่าย-ส่งเร็วภายใน 3 ชั่วโมง” หวังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยหลังวิกฤตโควิด-19 เต็มกำลัง ยกระดับขีดความสามารถการขายสู่ตลาดทั่วโลก นายสรเชษฐ์ วรรณธนาเลิศ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ อี-มาร์เก็ตเพลส บริษัท เจเนอรัล อิเลคทรอนิค คอมเมอร์ซ เซอร์วิสเซส จำกัด เปิดเผยว่า ได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการซื้อ-ขายสินค้าและบริการไทยขึ้น ภายใต้ชื่อ “The Hub Thailand” บนแนวคิด “เว็บไซต์คนไทยเพื่อคนไทย พร้อมผลักสินค้าไทยสู่ตลาดสากลด้วยบริการที่ครบวงจร” โดยมีจุดเด่นที่แตกต่างคือ เป็นช่องทางการซื้อ-ขายสำหรับสินค้าแบรนด์ไทยโดยเฉพาะ และเป็นแหล่งรวมผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทยออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยระบบที่ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว มีระบบความปลอดภัยสูงสุดมาตรฐานระดับโลก “สินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่ผสานภูมิศาสตร์

Read More

อีเบย์ชูกลยุทธ์เด็ด ต่อจิ๊กซอว์-ปั้นทักษะค้าปลีกออนไลน์ หนุนผู้ขายคนไทยสู่ความสำเร็จระดับโลกบนอีเบย์

อีเบย์ (eBay) ผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซระดับโลก เผยแผนธุรกิจมุ่งเสริมศักยภาพผู้ขายคนไทย ขยายธุรกิจและประสบความสำเร็จในการค้าปลีกออนไลน์บนอีเบย์ กับโอกาสในการเข้าถึงผู้ซื้ออีเบย์กว่า 180 ล้านคน ใน 190 ประเทศทั่วโลก ด้วยแผนกลยุทธ์แบบบูรณาการของอีเบย์เพื่อการพัฒนาทักษะผู้ขายไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน กับโอกาสทองสู่เป้าหมายความสำเร็จในตลาดออนไลน์ระดับโลกให้ทวีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นางเจนนี หุย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเบย์ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน กล่าวว่า “การค้าปลีกส่งออกข้ามประเทศ (Cross Border Trade: CBT) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกทั้งหมดถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2565 เอเชียแปซิฟิกจะขึ้นแท่นเป็นภูมิภาคที่มีการค้าปลีกส่งออกข้ามประเทศใหญ่ที่สุดในตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งด้านการนำเข้าและส่งออก ในปี 2561 ตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวม 23.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตสู่มูลค่า 102 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ภายในปี 2568 เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านอี-คอมเมิร์ซระดับโลก อีเบย์จึงมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ อีเบย์มุ่งเน้นที่แผนกลยุทธ์แบบบูรณาการเพื่อหนุนผู้ประกอบการไทยทุกขนาดให้สามารถเติบโตได้ในการค้าปลีกออนไลน์ระดับโลกบนอีเบย์ กับโครงการหลากหลายรูปแบบที่เน้นการปั้นทักษะค้าปลีกออนไลน์ ส่งเสริมศักยภาพผู้ขายไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป” “แพลตฟอร์มของอีเบย์ช่วยเชื่อมโยงผู้ประกอบการธุรกิจไทยทุกขนาดกับผู้ซื้ออีเบย์กว่า 180 ล้านคนใน 190

Read More

เคอรี่-ไปรษณีย์ไทย ปูพรมพรึ่บ สกัดหน้าใหม่

สงครามธุรกิจโลจิสติกส์ บริการส่งพัสดุแบบด่วนหรือ “Express” ร้อนเดือดขึ้นหลายเท่า เพราะหลังจากกลุ่ม “อาลีบาบา” ของมหาเศรษฐีระดับโลก “แจ็ค หม่า” ทุ่มทุนดัน “Best Express - Flash Express” 2 แบรนด์ธุรกิจขนส่งสินค้าเข้ามาเจาะตลาดโลจิสติกส์ในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด น้องใหม่ J&T Express จากประเทศจีน เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ พร้อมๆ กับการเร่งปูพรมสาขาทั่วเมือง ที่สำคัญ หลายทำเลกลายเป็นสมรภูมิช้างชนช้าง ชนิดคูหาติดคูหา ร้านชนร้าน จนทำให้ทั้งไปรษณีย์ไทยและเคอรี่เอ็กซ์เพรส ต้องเร่งปูพรมสาขาสกัดคู่แข่งหน้าใหม่อย่างเร่งด่วน ไม่นับการชูจุดแข็งด้านบริการทุกรูปแบบ เหตุผลสำคัญมาจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดขนส่งสินค้าและพัสดุที่พุ่งพรวดต่อเนื่องตามธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตก้าวกระโดด โดยข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA คาดการณ์มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ชของประเทศไทยในปี 2562 จะพุ่งสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท หรือเติบโต 12-13% จากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3.15 ล้านล้านบาท และปี 2560

Read More

ไปรษณีย์ไทยสู้ศึกรอบด้าน เร่งผลงานสนองกลยุทธ์ 4.0

กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาเมื่อมีรายงานว่า สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) ไม่ผ่านการประเมินผลงานประจำปี 2560 จนเกิดกระแสรวมตัวชุมนุมประท้วงของกลุ่มพนักงานพร้อมติดริบบิ้นดำเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้ล่าสุด บอร์ดไปรษณีย์ไทยรีบออกมติสยบความเคลื่อนไหวยืนยันการประเมินผลงานยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ดูเหมือน “ไปรษณีย์ไทย” กำลังเจอศึกรอบด้าน ทั้งการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโลจิสติกส์ที่เคยผูกขาดมาอย่างยาวนาน เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามารุกตลาดดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นเคอรี่เอ็กซ์เพรส เอสซีจีเอ็กซ์เพรส และไลน์แมน แถมบิ๊ก ปณท ยังถูกเกาะติดผลงานชนิดมีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ ทั้งหมดทำให้ไปรษณีย์ไทยในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทุกวิธี โดยเฉพาะการสนองนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งผลงานรูปธรรมชิ้นสำคัญก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 แผนสำคัญ คือการให้ไปรษณีย์ไทยเป็นตัวกลางต่อยอดเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 24,700 หมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายได้ด้วย “อีคอมเมิร์ซ” โจทย์สำคัญ คือ ชาวบ้านขายสินค้า ปณท เป็นตัวกลางติดต่อผู้ซื้อด้วยระบบออนไลน์ เงินมาถึงชาวบ้านทั่วประเทศ ลูกหลานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ ชาวบ้านในชุมชนลืมตาอ้าปากได้ ถ้าสำเร็จย่อมหมายถึงผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล คสช. ซึ่งบิ๊กไปรษณีย์อย่างสมร เทิดธรรมพิบูล รับรู้ความต้องการและเป้าหมายของรัฐบาลอย่างดีตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งช่วงเดือนมกราคม 2559 แน่นอนว่า

Read More

KLICK2JOY แผนบุก PTT Online

 ปตท. กำลังเร่งเปิดแนวรบธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการบุกเข้าสู่สมรภูมิใหม่ในยุคเทคโนโลยีขยายตัวอย่างรวดเร็วและตลาดอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด ผลพวงจากนโยบาย “Digital Economy” ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2558   การนำร่องเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์ CLICK2JOY ของยักษ์น้ำมันอย่าง ปตท. จึงตั้งเป้าหมายรุกเข้าสู่ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ เจาะกลุ่มผู้บริโภคตามแผนโรดแมป 5 ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2562 สอดประสานกับเครือข่ายค้าปลีกที่เดินหน้าสยายปีกครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ มินิซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ ร้านจอยคาเฟ่คอนวีเนียน ร้านอาหารในเครือจิฟฟี่ ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ ที” ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” รวมทั้งยังมีฐานลูกค้าสมาชิก “บลูการ์ด” อีกส่วนหนึ่งจากธุรกิจน้ำมัน แม้ช่วงเวลากว่า 6 เดือน เว็บไซต์ CLICK2JOY ยังทำรายได้ยอดขายเฉลี่ยเพียงหลักแสนบาทต่อเดือน เนื่องจากหลังเผยโฉมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สู่สื่อสาธารณะ แต่อาศัยการบอกต่อลูกค้าผ่านร้านจิฟฟี่และเครือข่ายสังคมออนไลน์เท่านั้น ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและลูกค้าประจำของร้านจิฟฟี่  สรีนา แซ่ด่าน ผู้จัดการส่วนบริหารแบรนด์และกิจกรรมการตลาดลูกค้า บริษัท

Read More