Home > เศรษฐกิจจีน

เศรษฐกิจจีนโตต่อเนื่อง พินิจแผนฟื้นฟูจีน-ไทยปรับประยุกต์ใช้

โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มาครบ 1 ปี การอุบัติของโรคระบาดส่งผลกระทบในหลายมิติ ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะการหดตัวอย่างรุนแรงในด้านเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่จีน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ทว่า ด้วยศักยภาพที่มีอิทธิพลมาจากรูปแบบการปกครอง เป็นผลสืบเนื่องให้รัฐบาลจีนสามารถสั่งการได้อย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ประการสำคัญคือ การให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการต่อสู้กับโรคร้ายครั้งนี้ แม้ว่าโลกจะยังไม่สามารถประกาศชัยชนะที่มีต่อโรคโควิด-19 ได้ ทว่า การฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันสั้นของจีน ดูจะเป็นการประกาศชัยชนะต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขที่น่าสนใจของเศรษฐกิจจีนเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงไตรมาส 3/2563 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน นี่นับเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้เป็นอย่างดี กระทั่งตัวเลขเศรษฐกิจจีนไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เปิดเผย เศรษฐกิจจีนไตรมาส 4/2563 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2563 เติบโตเกินคาดที่ร้อยละ 2.3 เป็นผลจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังอย่างทันท่วงทีและเห็นผล เห็นได้จากอัตราการขยายตัวของตัวเลขค้าปลีกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกรอบร้อยละ 4.3-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในไตรมาสสุดท้าย และสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมในหลายหมวดหมู่อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเริ่มเห็นการฟื้นฟูได้ดีของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กลับมาได้ดีกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ชี้ให้เห็นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ ที่ขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงไตรมาส 4/2563 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2563 (ก่อนเริ่มกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งในเดือนธันวาคม

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

สัญญาณส่งออกหดตัว ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางความอึมครึมของสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจระดับนำทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังส่งผ่านคลื่นแห่งความกังวลใจและพร้อมจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดูเหมือนว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีได้แสดงอาการอ่อนไหวและตอบรับ “ภาวะซึมไข้” แล้วอย่างช้าๆ แนวโน้มแห่งอาการซึมไข้ทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ปรากฏให้เห็นเฉพาะจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3 เท่านั้นหากนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าห้วงเวลานับจากนี้ เศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปในทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปี และส่งผลซบเซาเลยไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 อีกด้วย ข้อมูลที่นำไปสู่การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในเชิงลบส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยมีประเด็นว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักในการกดทับภาวการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยประเมินว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลจากทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอีกด้วย ความเป็นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มาช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 หากแต่ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส

Read More