Home > ICT

“สามารถเทลคอม” จับมือ “หัวเว่ย” ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

“สามารถเทลคอม” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจับมือหัวเว่ย ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมฉลอง 35 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศด้านดิจิทัล บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นบริษัทในเครือสามารถคอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านโซลูชัน ICT และผู้ให้บริการรวมทั้งผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี มุ่งเน้นการให้บริการระบบโครงข่ายที่ทันสมัยอย่างครอบคลุมและรอบด้านให้กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจและขยายบริการในยุคดิจิทัล ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ICT ของประเทศไทย สามารถเทลคอมได้ช่วยเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐหลากหลายแห่ง ผ่านผลิตภัณฑ์ด้านโทรคมนาคมที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก เพื่อมุ่งหวังตอบโจทย์ความคาดหวังที่สูงของลูกค้าและสร้างความร่วมมือแบบต่างได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมองว่าความสำเร็จในการประมูลโครงการใหญ่ นั้น ไม่เคยเป็นเพราะโชคช่วย แต่มาจากความทุ่มเท การทำงานหนัก และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยาวนานเกือบสี่ทศวรรษ สามารถเทลคอมยังคงมุ่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและครอบคลุมตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศไทย นอกจากนี้ สามารถเทลคอมยังมุ่งสานต่อการเติบโตของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นในด้านการพัฒนาและให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศไปในทิศทางเดียวกัน ความร่วมมือที่ใช่ก่อให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่างสามารถเทลคอม และหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยขณะนั้น สามารถเทลคอมกำลังมองหาหุ้นส่วนกลยุทธ์ระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมตำแหน่งความเป็นผู้นำของบริษัท แต่ยังช่วยให้เกิดการขยายธุรกิจได้อีกด้วย โดยสามารถเทลคอมมองว่าหัวเว่ยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

Read More

นวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม ทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง”

เมื่อนวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม เกิดเป็นทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง” ผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย เมื่อกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G, AI, ICT, และ IoT มาประยุกต์ใช้กับบริการหรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เรามักจะนึกถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสะดวกสบายในอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมไอทีซึ่งนำนวัตกรรมใหม่ดังกล่าวมาช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การนำ 5G มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อให้บริการเครือข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูงสุดแก่ทั้งผู้บริโภคและองค์กร หรือแม้แต่ด้านสาธารณสุขที่นำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้บริการมีความรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่กระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การนำนวัตกรรมล้ำสมัยดังกล่าวมาปรับใช้ด้านคมนาคมและการสัญจรนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมากนัก ทั้งที่การคมนาคมถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองใหญ่ทุกแห่งบนโลก เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้ร่วมนำนวัตกรรมดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับการเปิดให้บริการทางด่วนอัจฉริยะจากเวียงจันทน์ถึงวังเวียง ซึ่งร่วมก่อสร้างและพัฒนาโดยบริษัท Yunnan Construction and Investment Holding Group ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด่วนเวียงจันทน์-วังเวียงนี้ถือเป็น “ทางด่วนอัจฉริยะแห่งแรก” ของประเทศลาว ทั้งนี้ หัวเว่ยและพันธมิตร Yunnan Huayuan Electronics

Read More

Digital University อีกก้าวของจุฬาฯ ที่ยังไม่ใกล้ “เสาหลักของแผ่นดิน”

 ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 2555-2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก: World Class National University” เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว หนึ่งในพันธกิจสำคัญของจุฬาฯ คือการผลักดันมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital University อันเป็นยุทธศาสตร์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารของมหาวิทยาลัยอย่างรอบด้าน ด้วยเหตุนี้ กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้จัดให้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ “WiFi4CU” ระหว่างจุฬาฯ กับ 4 ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของไทย ได้แก่ เอไอเอส, ดีแทค, ทรู และทีโอที ในการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่แนวราบทั้งหมดของจุฬาฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี “ทุกวันนี้ การเรียนการสอนทุกอย่างใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อน การวิจัยก็ใช้เครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกเข้าด้วยกัน ตอนนี้กิจกรรมมหาวิทยาลัยหลายๆ อย่างได้ขึ้นไปอยู่บนระบบ ICT เกือบหมด เราพยายามขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ใช้

Read More