Home > อาฟเตอร์ช็อก

นักวิจัยเตือนเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว แนะชาวน่านสำรวจโครงสร้างบ้าน-โบราณสถาน

นักวิจัยเตือนอาจมีอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งหลังเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงจังหวัดน่าน ขอให้ประชาชนสำรวจโครงสร้างบ้านและโบราณสถาน หากพบรอยร้าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แนะไทยควรมีระบบแจ้งเหตุแผ่นดินไหว และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการอนุรักษ์โบราณสถาน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ที่เกิดขึ้นที่ประเทศลาวเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ได้ส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ โดยพบร่องรอยกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถและองค์พระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดภูมินทร์ พบรอยร้าวขยายเพิ่มจากความเสียหายแผ่นดินไหวครั้งก่อน 6.4 ริกเตอร์เมื่อปี 2562 และพบรอยร้าวใหม่อีกหลายจุดเป็นแนวยาวจนมองเห็นปูนภายในอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย โดยมีระยะห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ถือว่าได้มีความรุนแรงระดับปานกลาง จึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ แต่ด้วยระยะทางที่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก จึงเชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารบ้าง แต่ก็คาดว่าจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้โครงสร้างอาคารในประเทศไทยเกิดการถล่มลงมา อย่างไรก็ตามโครงสร้างอาคารในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้แผ่นดินไหวมากกว่านี้อาจเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารหลายหลังที่ไม่ได้ออกแบบและก่อสร้างมาให้ต้านแผ่นดินไหวหรือเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม “ประชาชนจึงควรสำรวจโครงสร้างบ้านเรือนของตนเองด้วยว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โคนเสาด้านล่างและกำแพง หากสังเกตเห็นรอยร้าวหรือปูนกะเทาะออกมา จะต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าตรวจสอบโดยละเอียดทันที ทั้งนี้อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกได้ในช่วงระยะเวลา

Read More