Home > 5G

อีริคสันและดีป้าผนึกกำลังร่วมกันขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้วยเครือข่าย 5G ในประเทศไทย

อีริคสันและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันผ่านการใช้เครือข่าย 5G ในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะประกอบด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ความรู้ความเข้าใจขั้นสูง และเทคโนโลยีล้ำสมัยของอีริคสันเพื่อเร่งเดินหน้าประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ส่วนหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ยังระบุว่า อีริคสันและดีป้าจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรม (Innolab) ใน Thailand Digital Valley ของดีป้าในจังหวัดชลบุรี เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบเครือข่าย 5G และศูนย์บริการสำหรับการทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายใหม่ ๆ อาทิ การแบ่งปันคลื่นความถี่ (Spectrum Sharing) ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ในประเทศไทย มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “อีริคสันจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศ 5G ในฐานะผู้นำเทคโนโลยี 5G ระดับโลก อีริคสันจะนำเทคโนโลยีและโซลูชันล้ำสมัยมาผสานรวมเข้ากับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับโลกของเรา เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล” ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

Read More

จาก Go Global สู่ Go Fully Digital เปิดทางฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและเป็นตัวเร่งบทบาทของดิจิทัลให้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการทำงาน การเรียน การสื่อสาร การซื้ออาหารและสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ ที่ล้วนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น ไม่เพียงมีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีความสำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมและเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ซึ่งหลายๆ ฝ่ายมองว่านี่คือการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และเมื่อประเทศกำลังเข้าสู่การฟื้นฟูหลังเผชิญกับวิกฤตโควิดที่หนักหน่วงครั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจึงน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่เข้ามาช่วยพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางในการฟื้นฟูประเทศหลังโควิดไว้ว่า “ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู่ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมากๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ทั้ง 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนำมาใช้เร็วขึ้น และจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับกับอุตสาหกรรม 4.0” ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะยกระดับศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนในชื่อ “แผน 6S”

Read More

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก ชี้ตลาดเสรีและความร่วมมือจำเป็นต่อการเติบโตไปพร้อมกัน นายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ได้กล่าวในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการทำเหมืองอัจฉริยะในเมืองไท่หยวนถึงวิสัยทัศน์ต่อความร่วมมือทางการค้าที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเสรี โดยย้ำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้จากนโยบายการค้าเสรี และตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะถ่ายโอนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 5G ให้แก่ส่วนรวมเพื่อการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีอย่างเท่าเทียมทั่วโลก นายเหริน เจิ้งเฟย กล่าวถึงความสำคัญของการเปิดนโยบายการค้าเสรีไว้ว่า “ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนต่างต้องการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านสังคมและการเงิน ทุกคนทั่วโลกก็เช่นกัน ในเวลาที่มนุษยชาติกำลังก้าวต่อไปข้างหน้า ไม่มีบริษัทหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลกได้ด้วยตัวคนเดียว เนื่องจากการพัฒนาในระดับโลกจำเป็นต้องมีการระดมความร่วมมือกันจากทั่วทุกมุมโลก” นอกจากนี้ เหริน เจิ้งเฟย ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากเทคโนโลยี 5G ในระดับโลกไว้ว่า “เราพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในทุกด้าน ไม่เพียงแค่ลิขสิทธิ์ในการผลิตแต่ยังรวมไปถึงซอร์สโปรแกรม ซอร์สโค้ด ด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ ไปจนถึงความรู้ความชำนาญและการออกแบบชิปเซ็ต” ในยุคสมัยใหม่ของภาคอุตสาหกรรมที่มีความอิสระ ทั้งสายการผลิตและการร่วมมือกันอย่างเปิดกว้างระหว่างองค์กรจากหลายประเทศทั่วโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น หัวเว่ยในฐานะผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านไอซีทีระดับโลกจะยังคงมุ่งมั่นให้บริการแพลตฟอร์มแก่ภาคอุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ การท่าเรือ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมถ่านหิน ที่ต้องการนำโซลูชันด้านไอซีทีมาประยุกต์ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์สำหรับนำไปใช้พัฒนาและต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการตามความมุ่งมั่นในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า หัวเว่ยจึงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมให้รุดหน้ามากกว่าการจำกัดอยู่แค่ด้านโทรคมนาคม ด้วยการก่อตั้งศูนย์การวิจัยและห้องปฏิบัติการร่วมกว่า 100 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี

Read More

นวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม ทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง”

เมื่อนวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม เกิดเป็นทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง” ผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย เมื่อกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G, AI, ICT, และ IoT มาประยุกต์ใช้กับบริการหรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เรามักจะนึกถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสะดวกสบายในอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมไอทีซึ่งนำนวัตกรรมใหม่ดังกล่าวมาช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การนำ 5G มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อให้บริการเครือข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูงสุดแก่ทั้งผู้บริโภคและองค์กร หรือแม้แต่ด้านสาธารณสุขที่นำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้บริการมีความรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่กระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การนำนวัตกรรมล้ำสมัยดังกล่าวมาปรับใช้ด้านคมนาคมและการสัญจรนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมากนัก ทั้งที่การคมนาคมถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองใหญ่ทุกแห่งบนโลก เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้ร่วมนำนวัตกรรมดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับการเปิดให้บริการทางด่วนอัจฉริยะจากเวียงจันทน์ถึงวังเวียง ซึ่งร่วมก่อสร้างและพัฒนาโดยบริษัท Yunnan Construction and Investment Holding Group ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด่วนเวียงจันทน์-วังเวียงนี้ถือเป็น “ทางด่วนอัจฉริยะแห่งแรก” ของประเทศลาว ทั้งนี้ หัวเว่ยและพันธมิตร Yunnan Huayuan Electronics

Read More

การผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลักเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Digital Hub แห่งอาเซียน

ภาวะการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญในขณะนี้ หนึ่งในกุญแจสำคัญที่อาจเป็นคำตอบสำหรับเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระดับประเทศได้คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)” ซึ่งนอกจากจะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาประเทศ ยังเปิดโอกาสให้ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลหรือ Digital Hub ของภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การจะยกระดับศักยภาพประเทศไทยให้ไปถึงขั้นนั้นได้จำเป็นต้องอาศัยการผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลัก ทั้งนี้ นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในไทยและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้แก่ประเทศมาตลอด 21 ปี ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของการผสานพลังของ 5 เทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วย Connectivity, Computing, Cloud, AI และ Applications เพื่อผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ดังนี้ เทคโนโลยีแขนงแรกคือ การเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Intelligent Connectivity) เน้นการเชื่อมต่อแบบอัจฉริยะและความเร็วสูง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการนำไปใช้ในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ด้วยการเชื่อมต่อในความเร็วระดับมากกว่า 100 Mbps นี้ จะทำให้มีการใช้งาน

Read More

หัวเว่ย ออกแถลงการณ์ กรณีสหราชอาณาจักรแบนเครือข่าย 5G ของหัวเว่ย

จากกรณีที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศเมื่อวันอังคารที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลมีมติห้ามมิให้บริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของสหราชอาณาจักรซื้ออุปกรณ์ 5G จากหัวเว่ยหลังสิ้นสุดปี 2020 เป็นต้นไป และต้องถอดชุดอุปกรณ์ 5G ของหัวเว่ยออกจากเครือข่ายทั้งหมดของผู้ให้บริการภายในปี 2027 นายเอ็ดเวิร์ด บรูว์สเตอร์ (Edward Brewster) โฆษกหัวเว่ยแห่งสหราชอาณาจักรชี้แจงว่า “การตัดสินใจอันน่าผิดหวังของรัฐบาลสหราชอาณาจักรครั้งนี้ถือเป็นข่าวร้ายของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนในสหราชอาณาจักร นอกจากจะเสี่ยงต่อความล่าช้าในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย การแบนครั้งนี้เป็นการเดินถอยหลังแทนที่จะก้าวไปข้างหน้า เราจึงขอให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรพิจารณาการตัดสินใจนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นว่ามาตรการกีดกันครั้งใหม่จากสหรัฐฯ นี้จะไม่กระทบกับด้านความยืดหยุ่นและด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของเราที่มีการใช้งานในสหราชอาณาจักร น่าเสียดายที่อนาคตของหัวเว่ยในสหราชอาณาจักรได้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยมิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์แต่อย่างใด ในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นในสหราชอาณาจักร และในฐานะองค์กรที่ยึดมั่นในการแสดงความรับผิดชอบ เราจะยังคงมุ่งให้บริการและช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างที่ปฏิบัติมาโดยตลอด ทั้งนี้ เราจะทำการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งว่าการประกาศในวันนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราในด้านใด และเราจะทำงานร่วมกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรเพื่อชี้แจงว่าหัวเว่ยจะสามารถช่วยยกระดับการเชื่อมต่อในสหราชอาณาจักรให้ดียิ่งขึ้น”

Read More

รู้จัก “1+8+N” กลยุทธ์ในสนามแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะและอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย

หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ในฐานะผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคทั่วไป มุ่งมั่นสร้างวิถีชีวิตอัจฉริยะอย่างแท้จริงให้แก่ผู้ใช้ ด้วยแนวคิด “ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ” หรือ “Seamless AI Life” ต่อยอดจากการเป็นผู้ส่งมอบสมาร์ทโฟนแถวหน้าของตลาด ด้วยการเพิ่มเติมสมาร์ทดีไวซ์และอุปกรณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อบูรณาการการใช้งาน ผ่านการเชื่อมต่อ แบ่งปันคอนเทนต์และเสริมศักยภาพของแต่ละอุปกรณ์ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมนำร่องด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำที่ตอบสนองเทรนด์ความต้องการแห่งอนาคต จุดแข็งของหัวเว่ยคือเป็นการเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี ที่มีระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เป็นของตนเอง ซึ่งนับเป็นความได้เปรียบอย่างยิ่งในการสร้างอีโคซิสเต็มที่ไร้รอยต่อภายในอาณาจักรของหัวเว่ย ภายใต้กลยุทธ์ธุรกิจที่ชื่อว่า “1+8+N” ซึ่งจะกำหนดแนวทางการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีอัจฉริยะของหัวเว่ยตลอดระยะเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเลข 1 หมายถึง สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์หลักที่จะเป็นหัวใจในการเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานของดีไวซ์อื่นๆ ขณะที่ 8 หมายถึง สมาร์ทดีไวซ์อื่นๆ อีก 8 อย่างที่จะเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ได้แก่ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ หูฟังไร้สาย แว่นตา ทีวีหรือหน้าจออัจฉริยะ ลำโพง และรถยนต์ ส่วน

Read More

ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช เพิ่มโอกาสรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

ทีโอที ใช้ 5G หนุนศักยภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช 2020 เพิ่มโอกาสรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลัง 3 ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ของไทย ได้แก่ ทีโอที เอไอเอส และทรู ซึ่งโดดเด่นในศักยภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายมาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้เป็นอย่างดี เพื่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การผนึกกำลังของมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยผู้นำเครือข่าย 5G เรามุ่งพัฒนาเพื่อสังคมส่วนรวมให้ประชาชนคนไทยได้เข้าถึงการรักษาในระยะฉุกเฉินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั้งชนิดตีบและแตกอย่างรวดเร็ว ด้วยหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit) เปรียบเสมือนการนำโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน เพื่อลดระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดสมองที่อุดตันทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการลดลงได้ โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แบบเบ็ดเสร็จในรถ ตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่เกิน 4 ชั่วโมง โดยผู้พบผู้ป่วยโทรแจ้ง 1669 เข้าศูนย์เอราวัณ

Read More

หัวเว่ย-ดีลอยท์ร่วมมือจัดทำสมุดปกขาว ศึกษาวิธีใช้ 5G สู้โควิด-19

ภายใต้ความร่วมมือกับหัวเว่ย บริษัทดีลอยท์ (Deloitte) ได้เผยแพร่รายงานสมุดปกขาว วิเคราะห์ความสามารถในการใช้งานฟีเจอร์หลักๆ ของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและรักษาโรคระบาดใหญ่ รวมทั้งผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของระบบสาธารณสุขเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสาธารณะครั้งใหญ่ สมุดปกขาวซึ่งใช้ชื่อว่า “สู้โรคโควิด-19 ด้วย 5G: โอกาสพัฒนาระบบสาธารณสุข” (Combating COVID-19 with 5G: Opportunities to improve public health systems) เป็นการวิเคราะห์ตัวอย่างของการควบคุมและการรักษาโรคโควิด-19 ในประเทศจีน เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายในช่วงที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสาธารณะครั้งใหญ่นี้ นอกจากรายงานดังกล่าวจะนำเสนอผลการค้นคว้าเหล่านี้แล้ว ยังกล่าวถึงประเด็นที่ว่าฟีเจอร์หลักๆ ของเทคโนโลยี 5G เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง ศูนย์รวมจุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่ ค่าความหน่วงต่ำ และแบนด์วิดท์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี Big Data, AI, และ Cloud เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันโรคระบาดใหญ่ได้อย่างไรบ้าง โดยฟีเจอร์เหล่านี้สามารถแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งผ่านข้อมูลในช่วงที่เกิดโรคระบาด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และวิธีการรักษาใหม่ๆ พร้อมกันไปด้วย ในบรรดาผลการค้นคว้าทั้งหมด สมุดปกขาวระบุว่าประสิทธิภาพของการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการคัดกรองหาผู้ติดเชื้อและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายอุปกรณ์มือถือที่มีความเสถียรสูงอย่าง 5G

Read More